สศอ. คาดปี 49 อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังขยายตัวได้อีก แต่ไทยต้องสู้ด้วยฝีมือ หนีสินค้าต้นทุนต่ำจากคู่แข่งจีนและเวียดนาม ชี้ตลาดหลัก สหรัฐอเมริกา-อียู-ญี่ปุ่น ยังพร้อมรับสินค้าคุณภาพจากไทย
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในปี 2549 จะมีการปรับตัวได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก จึงคาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าปี 2548 โดยขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดอาเซียน และยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาค ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง 1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2548(ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 6,112.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 5.4 ตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน
โดยการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,927.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากมูลค่า 1,885.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 1,927.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ17.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 382.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
"สำหรับสถานการณ์การผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อพิจารณาตามดัชนีอุตสาหกรรม ซึ่ง สศอ. ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดในรอบปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ดัชนีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น เพราะราคาขายในประเทศสูงกว่าการนำเข้า ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และการผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 7.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค
ดัชนีการส่งสินค้าเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีชะลอตัวลงร้อยละ 8.8 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2547 ขยายตัวตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.3 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และการผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 8.9 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากการจำหน่ายน้อยกว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีสินค้าสะสมในสต๊อก"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ถึงแม้ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในบางรายการเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง แต่โดยภาพรวมยังเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักที่รองรับสินค้าของไทย ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงมีความมั่นใจในสินค้าที่มีคุณภาพจากไทย ถึงแม้คู่แข่งสำคัญ เช่น จีน และ เวียดนาม ทำการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่คุณภาพของสินค้าของไทย ซึ่งได้เปรียบคู่แข่งอยู่มากจะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในปี 2549 ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในปี 2549 จะมีการปรับตัวได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก จึงคาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าปี 2548 โดยขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดอาเซียน และยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาค ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง 1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2548(ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 6,112.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 5.4 ตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน
โดยการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,927.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากมูลค่า 1,885.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 1,927.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ17.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 382.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
"สำหรับสถานการณ์การผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อพิจารณาตามดัชนีอุตสาหกรรม ซึ่ง สศอ. ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดในรอบปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ดัชนีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น เพราะราคาขายในประเทศสูงกว่าการนำเข้า ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และการผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 7.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค
ดัชนีการส่งสินค้าเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีชะลอตัวลงร้อยละ 8.8 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2547 ขยายตัวตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.3 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และการผลิตเครื่องแต่งกาย(ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 8.9 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากการจำหน่ายน้อยกว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีสินค้าสะสมในสต๊อก"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ถึงแม้ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในบางรายการเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง แต่โดยภาพรวมยังเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักที่รองรับสินค้าของไทย ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงมีความมั่นใจในสินค้าที่มีคุณภาพจากไทย ถึงแม้คู่แข่งสำคัญ เช่น จีน และ เวียดนาม ทำการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่คุณภาพของสินค้าของไทย ซึ่งได้เปรียบคู่แข่งอยู่มากจะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในปี 2549 ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-