คำถาม : ทำไมเซี่ยงไฮ้จึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของจีน
คำตอบ : เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Municipality) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีน ทิศเหนือติดปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) และทิศใต้ติดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำหังโจว (Hangzhou Delta) รวมทั้งอยู่ห่างจากกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน เพียง 1,068 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมดังกล่าว เกื้อหนุนให้เซี่ยงไฮ้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าของจีน ทั้งเพื่อกระจายต่อไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศและเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ เซี่ยงไฮ้ยังมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ครบครัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2548 มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติที่เกิดขึ้นจริง(Actual Utilized FDI) ในเซี่ยงไฮ้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4% เป็น 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 11.3% ของ Actual Utilized FDI ทั้งหมดในจีน
ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งหลายด้าน เพื่อพัฒนาศักยภาพของเซี่ยงไฮ้ให้เหมาะต่อการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของจีน ดังนี้
1) ทางบก เซี่ยงไฮ้มีระบบคมนาคมทางบกที่ทันสมัย โดยมีทางหลวงที่สามารถเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญอื่น ๆ ในจีน รวมทั้งมีรถโดยสารกว่า 1,000 สาย รถไฟใต้ดิน 4 สาย (และมีแผนจะก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินเพิ่มอีก 8 สายภายในปี 2553) รถไฟลอยฟ้า อีกทั้งยังมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับอีกหลายเมืองทางตอนเหนือ ตอนใต้ และทางตะวันตก อาทิ กรุงปักกิ่ง เมืองหางโจว (เมืองหลวงมณฑลเจ้อเจียง) เมืองกว่างโจว (เมืองหลวงมณฑลกวางตุ้ง) เมืองหวู่ฮั่น (เมืองหลวงมณฑลหูเป่ย์) เมืองหนานจิง (เมืองหลวงมณฑลเจียงซู) ฮ่องกง และมาเก๊า นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนจะก่อสร้างทางด่วนเชื่อมเซี่ยงไฮ้กับเกาะ Chongming ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง (อยู่ภายใต้การปกครองของเซี่ยงไฮ้) เพื่อพัฒนาเกาะ Chongming ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอนาคต โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2551
2) ทางน้ำ เซี่ยงไฮ้มีท่าเรือหลัก คือ Shanghai Port ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางตอนกลางของจีน โดย Shanghai Port สามารถเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งทางน้ำกับท่าเรืออื่น ๆ ได้อีกกว่า 500 แห่ง ใน 200 ประเทศทั่วโลกทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2548 Shanghai Port ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 18.1 ล้าน TEUs (Twenty Feet -- Equivalent Units : หน่วยเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก ฮ่องกงที่รองรับตู้สินค้าได้ 22 ล้าน TEUs และคาดว่าจะรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้าน TEUs ในปี 2553 นอกจากนี้ เซี่ยงไฮ้ยังสามารถขนส่งและกระจายสินค้าผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง ไปยังมณฑลทางตอนในของจีน รวมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือในเมืองต่าง ๆ ในภาคกลางของจีน อาทิ ในมณฑลหูหนาน หูเป่ย์ และอานฮุย ไปจนถึงภาคตะวันตกของจีน อาทิ มณฑลเสฉวนและเทศบาลนครฉงชิ่ง ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ในอนาคตรัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือระดับนานาชาติ เช่นเดียวกับท่าเรือฮ่องกง
3) ทางอากาศ เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศในภาคตะวันออกของจีน โดยมีท่าอากาศยานสำคัญ 2 แห่ง คือ Hongqiao Airport (รองรับผู้โดยสารได้ 13.76 ล้านคน/ปี) และ Pudong International Airport(รองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคน/ปี) ซึ่งมีเที่ยวบินเชื่อมไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ในจีน และกว่า 60 เมืองสำคัญทั่วโลกทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนจะขยายท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง เพื่อยกระดับเซี่ยงไฮ้ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยคาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางผ่านเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นราว 3 เท่า เป็น 100 ล้านคน/ปี และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 7 ล้านตัน ภายในปี 2558
นอกจากนี้ รัฐบาลเซี่ยงไฮ้ยังได้จัดตั้ง Logistics Park ขึ้นหลายแห่ง เพื่อช่วยให้การขนส่งและกระจายสินค้าจากเซี่ยงไฮ้ ไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศและต่างประเทศ ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิ
* Waigaoqiao Logistics Park เป็น Logistics Park แห่งแรกของจีน เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี 2547 โดยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะต่อการเป็นเมืองท่าสำหรับขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) ขึ้นในพื้นที่นี้อีกด้วย ทำให้สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศผ่านเขตการค้าเสรีแห่งนี้เสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราปกติ ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายจะพัฒนาให้ Waigaoqiao Logistics Park เป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศที่สำคัญของจีนต่อไป
* Northwest Comprehensive Logistics Park ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ บริเวณจุดบรรจบของเส้นทางสำคัญ 4 สาย คือ ทางหลวงภายในประเทศหมายเลข 204 หมายเลข 312 (ราว 60%-70% ของปริมาณสินค้าที่ขนส่งในเซี่ยงไฮ้ทั้งหมดจะต้องขนผ่านทางหลวงหมายเลข 312) Hunning Expressway และ Suhong Airport Expressway นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกที่เชื่อมต่อไปยังคลังสินค้า อู่เรือ และสนามบินต่าง ๆ ของเซี่ยงไฮ้ได้อย่างทั่วถึง ทำให้พื้นที่แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น "West Gate" ของเซี่ยงไฮ้ ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาให้ Logistics Park แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางบก ศูนย์กลางการกระจายสินค้าต่อไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ และศูนย์คลังสินค้าทัณฑ์บนที่สำคัญของจีนในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Municipality) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีน ทิศเหนือติดปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) และทิศใต้ติดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำหังโจว (Hangzhou Delta) รวมทั้งอยู่ห่างจากกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน เพียง 1,068 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมดังกล่าว เกื้อหนุนให้เซี่ยงไฮ้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าของจีน ทั้งเพื่อกระจายต่อไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศและเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ เซี่ยงไฮ้ยังมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ครบครัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2548 มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติที่เกิดขึ้นจริง(Actual Utilized FDI) ในเซี่ยงไฮ้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4% เป็น 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 11.3% ของ Actual Utilized FDI ทั้งหมดในจีน
ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งหลายด้าน เพื่อพัฒนาศักยภาพของเซี่ยงไฮ้ให้เหมาะต่อการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของจีน ดังนี้
1) ทางบก เซี่ยงไฮ้มีระบบคมนาคมทางบกที่ทันสมัย โดยมีทางหลวงที่สามารถเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญอื่น ๆ ในจีน รวมทั้งมีรถโดยสารกว่า 1,000 สาย รถไฟใต้ดิน 4 สาย (และมีแผนจะก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินเพิ่มอีก 8 สายภายในปี 2553) รถไฟลอยฟ้า อีกทั้งยังมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับอีกหลายเมืองทางตอนเหนือ ตอนใต้ และทางตะวันตก อาทิ กรุงปักกิ่ง เมืองหางโจว (เมืองหลวงมณฑลเจ้อเจียง) เมืองกว่างโจว (เมืองหลวงมณฑลกวางตุ้ง) เมืองหวู่ฮั่น (เมืองหลวงมณฑลหูเป่ย์) เมืองหนานจิง (เมืองหลวงมณฑลเจียงซู) ฮ่องกง และมาเก๊า นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนจะก่อสร้างทางด่วนเชื่อมเซี่ยงไฮ้กับเกาะ Chongming ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง (อยู่ภายใต้การปกครองของเซี่ยงไฮ้) เพื่อพัฒนาเกาะ Chongming ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอนาคต โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2551
2) ทางน้ำ เซี่ยงไฮ้มีท่าเรือหลัก คือ Shanghai Port ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางตอนกลางของจีน โดย Shanghai Port สามารถเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งทางน้ำกับท่าเรืออื่น ๆ ได้อีกกว่า 500 แห่ง ใน 200 ประเทศทั่วโลกทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2548 Shanghai Port ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 18.1 ล้าน TEUs (Twenty Feet -- Equivalent Units : หน่วยเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก ฮ่องกงที่รองรับตู้สินค้าได้ 22 ล้าน TEUs และคาดว่าจะรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้าน TEUs ในปี 2553 นอกจากนี้ เซี่ยงไฮ้ยังสามารถขนส่งและกระจายสินค้าผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง ไปยังมณฑลทางตอนในของจีน รวมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือในเมืองต่าง ๆ ในภาคกลางของจีน อาทิ ในมณฑลหูหนาน หูเป่ย์ และอานฮุย ไปจนถึงภาคตะวันตกของจีน อาทิ มณฑลเสฉวนและเทศบาลนครฉงชิ่ง ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ในอนาคตรัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือระดับนานาชาติ เช่นเดียวกับท่าเรือฮ่องกง
3) ทางอากาศ เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศในภาคตะวันออกของจีน โดยมีท่าอากาศยานสำคัญ 2 แห่ง คือ Hongqiao Airport (รองรับผู้โดยสารได้ 13.76 ล้านคน/ปี) และ Pudong International Airport(รองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคน/ปี) ซึ่งมีเที่ยวบินเชื่อมไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ในจีน และกว่า 60 เมืองสำคัญทั่วโลกทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนจะขยายท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง เพื่อยกระดับเซี่ยงไฮ้ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยคาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางผ่านเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นราว 3 เท่า เป็น 100 ล้านคน/ปี และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 7 ล้านตัน ภายในปี 2558
นอกจากนี้ รัฐบาลเซี่ยงไฮ้ยังได้จัดตั้ง Logistics Park ขึ้นหลายแห่ง เพื่อช่วยให้การขนส่งและกระจายสินค้าจากเซี่ยงไฮ้ ไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศและต่างประเทศ ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิ
* Waigaoqiao Logistics Park เป็น Logistics Park แห่งแรกของจีน เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี 2547 โดยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะต่อการเป็นเมืองท่าสำหรับขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) ขึ้นในพื้นที่นี้อีกด้วย ทำให้สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศผ่านเขตการค้าเสรีแห่งนี้เสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราปกติ ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายจะพัฒนาให้ Waigaoqiao Logistics Park เป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศที่สำคัญของจีนต่อไป
* Northwest Comprehensive Logistics Park ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ บริเวณจุดบรรจบของเส้นทางสำคัญ 4 สาย คือ ทางหลวงภายในประเทศหมายเลข 204 หมายเลข 312 (ราว 60%-70% ของปริมาณสินค้าที่ขนส่งในเซี่ยงไฮ้ทั้งหมดจะต้องขนผ่านทางหลวงหมายเลข 312) Hunning Expressway และ Suhong Airport Expressway นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกที่เชื่อมต่อไปยังคลังสินค้า อู่เรือ และสนามบินต่าง ๆ ของเซี่ยงไฮ้ได้อย่างทั่วถึง ทำให้พื้นที่แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น "West Gate" ของเซี่ยงไฮ้ ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาให้ Logistics Park แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางบก ศูนย์กลางการกระจายสินค้าต่อไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ และศูนย์คลังสินค้าทัณฑ์บนที่สำคัญของจีนในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-