มาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกถุงมือยาง เนื่องจากอุตสาหกรรมถุงมือยางเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมุ่งพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก เมื่อประกอบกับมาเลเซียเป็นแหล่งผลิตยางพาราสำคัญของโลก ทำให้อุตสาหกรรมถุงมือยางของมาเลเซียมีการพัฒนามาเป็นลำดับ ปัจจุบันแม้มาเลเซียลดพื้นที่เพาะปลูกยางพาราและหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน แต่กลับก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกถุงมือยางรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดโลกสูงถึงร้อยละ 60 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทิ้งห่างไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 22 ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการส่งออกถุงมือยางของมาเลเซียจะสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปี 2547 ที่มีมูลค่าส่งออก 1,067 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มาเลเซียก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกถุงมือยางรายใหญ่สุดของโลก คือ
* การมีเทคโนโลยีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพที่รวดเร็วและทันสมัย ส่งผลให้กระบวนการผลิตถุงมือยางของมาเลเซียมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ปัจจุบันมาเลเซียสามารถผลิตถุงมือยางได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ชิ้นต่อชั่วโมง เทียบกับไทยที่ผลิตได้ 3,000-6,000 ชิ้นต่อชั่วโมง
* การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ถุงมือยางของมาเลเซียมีคุณภาพสูง และตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้า อาทิ ถุงมือผ่าตัด ถุงมือทนการเจาะทะลุ (สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม) และการพัฒนาถุงมือยางที่มีปริมาณสารโปรตีนต่ำเพื่อแก้ปัญหาการแพ้สารโปรตีนในถุงมือยาง
* รัฐบาลมาเลเซียมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมถุงมือยางอย่างจริงจังโดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี อาทิ การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และภาษีนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต รวมถึงการจัดตั้ง Malaysian Rubber Export Council เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกในการรุกตลาดส่งออกใหม่และขยายตลาดส่งออกเดิม ส่งผลให้ผู้ส่งออกถุงมือยางของมาเลเซียสามารถจำหน่ายถุงมือยางผ่านตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ของประเทศคู่ค้าได้โดยตรง
* ผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซียกว่าร้อยละ 50 ได้รับมาตรฐาน SMG (Standard Malaysian Gloves) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S. Food and Drug Administration : USFDA) กำหนด ส่งผลให้ถุงมือยางของมาเลเซียได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าสำคัญ
* ความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อต่าง ๆ อาทิ ไข้หวัดนก และโรคเอดส์ ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกจะขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5-10 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นราว 1,000 ล้านคู่ต่อปี
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมถุงมือยางของมาเลเซียยังมีจุดอ่อนบางประการที่อาจเป็นอุปสรรค ต่อการส่งออกในระยะต่อไป โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนน้ำยางข้นซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ซึ่งเป็นผลจากการที่มาเลเซียมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางพาราและหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากไทย ซึ่งมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบน้ำยางข้นจากการเป็นแหล่งปลูกยางพาราสำคัญอันดับ 1 ของโลก จากสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยจึงควรเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางโดยใช้กรณีของมาเลเซียเป็นตัวอย่างทั้งการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การใช้เทคโนโลยีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพที่ทันสมัยและรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยอาศัยจุดแข็งจากการมีวัตถุดิบน้ำยางข้นเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มาเลเซียก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกถุงมือยางรายใหญ่สุดของโลก คือ
* การมีเทคโนโลยีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพที่รวดเร็วและทันสมัย ส่งผลให้กระบวนการผลิตถุงมือยางของมาเลเซียมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ปัจจุบันมาเลเซียสามารถผลิตถุงมือยางได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ชิ้นต่อชั่วโมง เทียบกับไทยที่ผลิตได้ 3,000-6,000 ชิ้นต่อชั่วโมง
* การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ถุงมือยางของมาเลเซียมีคุณภาพสูง และตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้า อาทิ ถุงมือผ่าตัด ถุงมือทนการเจาะทะลุ (สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม) และการพัฒนาถุงมือยางที่มีปริมาณสารโปรตีนต่ำเพื่อแก้ปัญหาการแพ้สารโปรตีนในถุงมือยาง
* รัฐบาลมาเลเซียมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมถุงมือยางอย่างจริงจังโดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี อาทิ การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และภาษีนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต รวมถึงการจัดตั้ง Malaysian Rubber Export Council เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกในการรุกตลาดส่งออกใหม่และขยายตลาดส่งออกเดิม ส่งผลให้ผู้ส่งออกถุงมือยางของมาเลเซียสามารถจำหน่ายถุงมือยางผ่านตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ของประเทศคู่ค้าได้โดยตรง
* ผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซียกว่าร้อยละ 50 ได้รับมาตรฐาน SMG (Standard Malaysian Gloves) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S. Food and Drug Administration : USFDA) กำหนด ส่งผลให้ถุงมือยางของมาเลเซียได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าสำคัญ
* ความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อต่าง ๆ อาทิ ไข้หวัดนก และโรคเอดส์ ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกจะขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5-10 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นราว 1,000 ล้านคู่ต่อปี
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมถุงมือยางของมาเลเซียยังมีจุดอ่อนบางประการที่อาจเป็นอุปสรรค ต่อการส่งออกในระยะต่อไป โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนน้ำยางข้นซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ซึ่งเป็นผลจากการที่มาเลเซียมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางพาราและหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากไทย ซึ่งมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบน้ำยางข้นจากการเป็นแหล่งปลูกยางพาราสำคัญอันดับ 1 ของโลก จากสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยจึงควรเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางโดยใช้กรณีของมาเลเซียเป็นตัวอย่างทั้งการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การใช้เทคโนโลยีการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพที่ทันสมัยและรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยอาศัยจุดแข็งจากการมีวัตถุดิบน้ำยางข้นเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-