กรุงเทพ--19 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเสนอร่างความตกลงฯ ให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ศกนี้ ก่อนการทำประชาพิจารณ์ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม เป็นการทำประชาพิจารณ์พอเป็นพิธี ตัดหนทางที่ประชาชนจะตรวจสอบผลดีผลเสียของร่าง นั้น
นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) ชี้แจงว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเสนอร่างความตกลง JTEPA ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเท่านั้น ว่า การเจรจายกร่างความตกลงได้เสร็จสิ้นแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว ดังนั้น เพื่อความรอบคอบโปร่งใส กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเพิ่มเติมว่า จะมีการทำประชาพิจารณ์ใหญ่โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม จะมีการถ่ายทอดทั้งโทรทัศน์และวิทยุทั่วประเทศ เพื่อฟังเสียงประชาชน และกระทรวงการต่างประเทศยังเสนอให้คณะรัฐมนตรีนำร่างความตกลงฯ ไปเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติถกแถลง อภิปราย ให้ข้อคิดเห็นในเดือนมกราคมศกหน้าว่า สมควรมีการลงนามทั้งฉบับหรือไม่ หลังจากนั้น คาดว่า คณะรัฐมนตรีจึงจะพิจารณามีมติว่าจะลงนามหรือไม่
เสียงประชาชนจากการทำประชาพิจารณ์ และการอภิปรายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนเสียงของภาคประชาสังคม จึงมีความหมายและจะเป็นเสียงที่รัฐบาลต้องคำนึงอย่างยิ่งในการช่วยการตัดสินใจว่าจะลงนามหรือไม่
สำหรับข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ JTEPA นั้น คณะเจรจาฯ ได้เชิญเข้าพบและชี้แจงทำความเข้าใจมาโดยตลอด อีกทั้งยังเชิญตัวแทน FTA Watch ไปตรวจสอบร่างความตกลงฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทุกวัน เพื่อให้การอภิปรายในวันทำประชาพิจารณ์มีคุณค่ากับประชาชนมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์กับสาธารณชนจริงๆ
นายพิศาลฯ ย้ำในที่สุดว่า ตลอดกระบวนการเจรจา ได้พยายามเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่มาโดยตลอด โดยเฉพาะการให้โอกาสกับกลุ่ม FTA Watch
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้ TDRI ศึกษาเจาะลึกทุกมาตราในความตกลงฯ เป็นเวลาถึง 3 เดือน โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หัวหน้าคณะศึกษาจะนำเสนอผลการศึกษาในช่วงต้นของการทำประชาพิจารณ์วันศุกร์นี้ ก่อนการอภิปรายระหว่างผู้เจรจากับผู้ไม่เห็นด้วย หากมีสิ่งใดที่เป็นข้อแนะนำในทางสร้างสรรค์ คณะเจรจาฯ ก็ยินดีเปิดรับฟัง เพราะยิ่งช่วยกันคิด ช่วยกันวิจารณ์บนข้อเท็จจริง ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเสนอร่างความตกลงฯ ให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ศกนี้ ก่อนการทำประชาพิจารณ์ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม เป็นการทำประชาพิจารณ์พอเป็นพิธี ตัดหนทางที่ประชาชนจะตรวจสอบผลดีผลเสียของร่าง นั้น
นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) ชี้แจงว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเสนอร่างความตกลง JTEPA ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเท่านั้น ว่า การเจรจายกร่างความตกลงได้เสร็จสิ้นแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว ดังนั้น เพื่อความรอบคอบโปร่งใส กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเพิ่มเติมว่า จะมีการทำประชาพิจารณ์ใหญ่โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม จะมีการถ่ายทอดทั้งโทรทัศน์และวิทยุทั่วประเทศ เพื่อฟังเสียงประชาชน และกระทรวงการต่างประเทศยังเสนอให้คณะรัฐมนตรีนำร่างความตกลงฯ ไปเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติถกแถลง อภิปราย ให้ข้อคิดเห็นในเดือนมกราคมศกหน้าว่า สมควรมีการลงนามทั้งฉบับหรือไม่ หลังจากนั้น คาดว่า คณะรัฐมนตรีจึงจะพิจารณามีมติว่าจะลงนามหรือไม่
เสียงประชาชนจากการทำประชาพิจารณ์ และการอภิปรายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนเสียงของภาคประชาสังคม จึงมีความหมายและจะเป็นเสียงที่รัฐบาลต้องคำนึงอย่างยิ่งในการช่วยการตัดสินใจว่าจะลงนามหรือไม่
สำหรับข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ JTEPA นั้น คณะเจรจาฯ ได้เชิญเข้าพบและชี้แจงทำความเข้าใจมาโดยตลอด อีกทั้งยังเชิญตัวแทน FTA Watch ไปตรวจสอบร่างความตกลงฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทุกวัน เพื่อให้การอภิปรายในวันทำประชาพิจารณ์มีคุณค่ากับประชาชนมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์กับสาธารณชนจริงๆ
นายพิศาลฯ ย้ำในที่สุดว่า ตลอดกระบวนการเจรจา ได้พยายามเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่มาโดยตลอด โดยเฉพาะการให้โอกาสกับกลุ่ม FTA Watch
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้ TDRI ศึกษาเจาะลึกทุกมาตราในความตกลงฯ เป็นเวลาถึง 3 เดือน โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หัวหน้าคณะศึกษาจะนำเสนอผลการศึกษาในช่วงต้นของการทำประชาพิจารณ์วันศุกร์นี้ ก่อนการอภิปรายระหว่างผู้เจรจากับผู้ไม่เห็นด้วย หากมีสิ่งใดที่เป็นข้อแนะนำในทางสร้างสรรค์ คณะเจรจาฯ ก็ยินดีเปิดรับฟัง เพราะยิ่งช่วยกันคิด ช่วยกันวิจารณ์บนข้อเท็จจริง ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-