คำถาม : ภาวะการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นอย่างไร
คำตอบ : จากรายงานเรื่อง "World Investment Report 2005 : Transnational Corporations and the
Internationalization of R&D" ของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ที่เผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2548 พบว่า ในปี 2547 เงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศไหลเข้า (Foreign Direct Investment Inflows : FDI Inflows) ของทั้งโลก มีมูลค่า 648.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 2% จากปี 2546 (เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี) โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Countries) มี FDI Inflows ลดลง 14.1% เหลือ 380 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 4) ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 40.2% เป็น 233.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มีสัดส่วน 36% ของ FDI Inflows ของโลก ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา) ส่วนกลุ่ม South-East Europe and the CIS มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 44.8% เป็น 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4)
สำหรับในปี 2547 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทุกภูมิภาค ล้วนมี FDI Inflows เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป ดังนี้
* กลุ่มประเทศเอเชีย-โอเชียเนีย (54 ประเทศ) : มี FDI Inflows เพิ่มขึ้นถึง 46% เป็น 147.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการควบรวมกิจการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการทางการเงิน โดยมุ่งเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีการเร่งปรับปรุงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและกฎระเบียบด้านการลงทุน ทั้งนี้ FDI Inflows ราว 92% ของกลุ่มนี้กระจุกตัวอยู่ใน 10 ประเทศ โดยประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ จีน (มี FDI Inflows สูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก) มูลค่าราว 61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินเดีย ตามลำดับ
แนวโน้ม : คาดว่า FDI Inflows ในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้จะยังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะจีน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น สำหรับภาคการผลิตที่คาดว่าจะดึงดูด FDI Inflows ได้เพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ ส่วนภาคบริการได้แก่ บริการทางการเงิน ธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
* กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (40 ประเทศ) : มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 44% เป็น 67.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มลาตินอเมริกาฟื้นตัวดีขึ้น อีกทั้งประเทศในกลุ่มนี้ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติด้านแร่ธาตุและพลังงาน (เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกลุ่ม)ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ราคาแร่ธาตุและพลังงานในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ทำให้มี FDI Inflows ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมาก ประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ บราซิล รองลงมา ได้แก่ เม็กซิโก ชิลี และอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของ FDI Inflows สูงสุดในกลุ่ม
แนวโน้ม : คาดว่าจะมี FDI Inflows เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2549-2550 อันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของกลุ่มยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลของแต่ละประเทศในกลุ่มได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมี FDI Inflows เพิ่มขึ้นในธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์) การก่อสร้าง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ(อาทิ น้ำมัน ทองแดง และเหล็ก) มากกว่าธุรกิจในภาคบริการ
* กลุ่มประเทศแอฟริกา (53 ประเทศ) : มี FDI Inflows อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.6% เป็น 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย FDI Inflows กว่า 60% เป็นการเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม (ส่วนใหญ่เป็นการควบรวมกิจการระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่อาทิ ทองคำ เพชร แพลทินัม และทองแดง สำหรับประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ ไนจีเรีย รองลงมา ได้แก่ แองโกลา อิเควทอเรียลกินี ซูดาน และอียิปต์ ตามลำดับ
แนวโน้ม : คาดว่า FDI Inflows จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสหรัฐฯ มีแผนจะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากทวีปแอฟริกาจาก 18% ของปริมาณน้ำมันที่สหรัฐฯ นำเข้าทั้งหมด เป็น 25% ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหม่หลายแหล่ง ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติยังคงมุ่งเข้ามาลงทุนในแอฟริกา
เป็นที่น่าสังเกตว่า การเพิ่มขึ้นของ FDI Inflows ในประเทศกำลังพัฒนาด้วยการที่บริษัทข้ามชาติจากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาควบรวมกิจการกับบริษัทท้องถิ่น ทำให้มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะเฉพาะทางอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ อันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูง อีกทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลของแต่ละประเทศยังจูงใจให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในประเทศของตน ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-
คำตอบ : จากรายงานเรื่อง "World Investment Report 2005 : Transnational Corporations and the
Internationalization of R&D" ของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ที่เผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2548 พบว่า ในปี 2547 เงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศไหลเข้า (Foreign Direct Investment Inflows : FDI Inflows) ของทั้งโลก มีมูลค่า 648.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 2% จากปี 2546 (เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี) โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Countries) มี FDI Inflows ลดลง 14.1% เหลือ 380 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 4) ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 40.2% เป็น 233.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มีสัดส่วน 36% ของ FDI Inflows ของโลก ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา) ส่วนกลุ่ม South-East Europe and the CIS มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 44.8% เป็น 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4)
สำหรับในปี 2547 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทุกภูมิภาค ล้วนมี FDI Inflows เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป ดังนี้
* กลุ่มประเทศเอเชีย-โอเชียเนีย (54 ประเทศ) : มี FDI Inflows เพิ่มขึ้นถึง 46% เป็น 147.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการควบรวมกิจการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการทางการเงิน โดยมุ่งเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีการเร่งปรับปรุงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและกฎระเบียบด้านการลงทุน ทั้งนี้ FDI Inflows ราว 92% ของกลุ่มนี้กระจุกตัวอยู่ใน 10 ประเทศ โดยประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ จีน (มี FDI Inflows สูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก) มูลค่าราว 61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินเดีย ตามลำดับ
แนวโน้ม : คาดว่า FDI Inflows ในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้จะยังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะจีน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น สำหรับภาคการผลิตที่คาดว่าจะดึงดูด FDI Inflows ได้เพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ ส่วนภาคบริการได้แก่ บริการทางการเงิน ธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
* กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (40 ประเทศ) : มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น 44% เป็น 67.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มลาตินอเมริกาฟื้นตัวดีขึ้น อีกทั้งประเทศในกลุ่มนี้ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติด้านแร่ธาตุและพลังงาน (เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกลุ่ม)ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ราคาแร่ธาตุและพลังงานในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ทำให้มี FDI Inflows ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมาก ประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ บราซิล รองลงมา ได้แก่ เม็กซิโก ชิลี และอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของ FDI Inflows สูงสุดในกลุ่ม
แนวโน้ม : คาดว่าจะมี FDI Inflows เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2549-2550 อันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของกลุ่มยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลของแต่ละประเทศในกลุ่มได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมี FDI Inflows เพิ่มขึ้นในธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์) การก่อสร้าง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ(อาทิ น้ำมัน ทองแดง และเหล็ก) มากกว่าธุรกิจในภาคบริการ
* กลุ่มประเทศแอฟริกา (53 ประเทศ) : มี FDI Inflows อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.6% เป็น 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย FDI Inflows กว่า 60% เป็นการเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม (ส่วนใหญ่เป็นการควบรวมกิจการระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่อาทิ ทองคำ เพชร แพลทินัม และทองแดง สำหรับประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุด คือ ไนจีเรีย รองลงมา ได้แก่ แองโกลา อิเควทอเรียลกินี ซูดาน และอียิปต์ ตามลำดับ
แนวโน้ม : คาดว่า FDI Inflows จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสหรัฐฯ มีแผนจะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากทวีปแอฟริกาจาก 18% ของปริมาณน้ำมันที่สหรัฐฯ นำเข้าทั้งหมด เป็น 25% ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหม่หลายแหล่ง ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติยังคงมุ่งเข้ามาลงทุนในแอฟริกา
เป็นที่น่าสังเกตว่า การเพิ่มขึ้นของ FDI Inflows ในประเทศกำลังพัฒนาด้วยการที่บริษัทข้ามชาติจากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาควบรวมกิจการกับบริษัทท้องถิ่น ทำให้มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะเฉพาะทางอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ อันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูง อีกทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลของแต่ละประเทศยังจูงใจให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในประเทศของตน ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-