“ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน มิ.ย.49 ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนพ.ค. จากผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องปรับอากาศ และบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ สัญชาติไต้หวัน มาลงทุนในไทย เนื่องจากหนีภาษีสูงในจีน —กระจายความเสี่ยง ”
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มิ.ย. 2549
หน่วย : ล้านบาท
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 44,366 -1 21
IC 23,224 2 24
เครื่องรับโทรทัศน์สี 7,466 17 28
เครื่องปรับอากาศ 7,132 -14 -15
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 133,470 2 9
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2549 ชะลอตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 231 ลดลงร้อยละ 2.27 โดยเป็นการปรับตัวลดลงส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นผลเนื่องจากสินค้าบางชนิด เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ที่ปรับตัวลดลงตามฤดูกาลประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังในเดือนพฤษภาคมค่อนข้างสูงในเดือนมิถุนายนจึงผลิตเพิ่มตามคำสั่งซื้อเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาวะอุตสหากรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างทรงตัวดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.24 เป็นผลมาจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางตัว เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดใหญ่ และกระติกน้ำร้อน และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ IC ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 133,470 ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเครื่องรับโทรทัศน์สี ตู้เย็น และ IC ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 50,868 ล้านบาท ชะลอตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และตลาดอียู มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เนื่องมาจากกระแสฟุตบอลโลกซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีจนถึงต้นไตรมาส 3
สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 82,602 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 เป็นผลจากตัว IC ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการขยายตัวในตลาดอาเซียนและจีน สูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของจีนในผลิตภัณฑ์ IC ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญมีมากทำให้จีนเองผลิตไม่ทัน
3. แนวโน้ม
ภาวการผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม 2549 ค่อนข้างทรงตัวในระยะ 1- 2 เดือนนี้เนื่องจากปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ เช่น ทองแดง และเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมของประเทศส่งผลต่อการใช้จ่ายสินค้าด้วย ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมและ ไตรมาส 3/2549 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์เป็นสินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มขึ้น
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 มีค่า 166.15 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 (170.56) ร้อยละ 2.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (161.45) ร้อยละ 2.9
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตสบู่และผงซักฟอก เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2549 มีค่า 69.86 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 (71.07) ร้อยละ —1.7 แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (69.37) ร้อยละ 0.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตสบู่และผงซักฟอก เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน2549
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 378 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 315 รายหรือมากกว่าร้อยละ 20.0 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,238.19 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 7,162.03 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,331 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 เช่นกัน ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,428 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 594 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —36.4 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 14,340 คน ร้อยละ —34.9 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 13,596.85 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ —32.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 30 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป และอุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 25 รายเท่ากัน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ
อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ 3,301 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบเครื่องใช้ในการกีฬา การบริหารร่างกาย การเล่นบิลเลียด มีเงินทุน 835 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 1,490 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น อบ ควบ บิดเกลียว กรอ ฟอก ย้อมสีเส้นใย คนงาน 489 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 144 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ —5.3 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,371.40 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,843.29 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,342 คน น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,796 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 155 ราย คิดเป็นร้อยละ —7.1 ในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,914 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 เช่นกันที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,115.02 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 18 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 16 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คืออุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง เงินทุน 263 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำรองเท้าและชิ้นส่วนจากพลาสติก เงินทุน 200 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549
คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง คนงาน 929 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำรองเท้าและชิ้นส่วนจากพลาสติก คนงาน 650 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 90 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีจำนวน 100 โครงการ หรือลดลงร้อยละ -10.0 แต่มีเงินลงทุน 39,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 38,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 2.6
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวน 123 โครงการ ร้อยละ —26.8 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 231,900 ล้านบาท ร้อยละ —83.0
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 203 33,200
2.โครงการต่างชาติ 100% 198 70,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 200 95,200
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 88,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 35,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มิ.ย. 2549
หน่วย : ล้านบาท
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 44,366 -1 21
IC 23,224 2 24
เครื่องรับโทรทัศน์สี 7,466 17 28
เครื่องปรับอากาศ 7,132 -14 -15
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 133,470 2 9
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2549 ชะลอตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 231 ลดลงร้อยละ 2.27 โดยเป็นการปรับตัวลดลงส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นผลเนื่องจากสินค้าบางชนิด เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ที่ปรับตัวลดลงตามฤดูกาลประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังในเดือนพฤษภาคมค่อนข้างสูงในเดือนมิถุนายนจึงผลิตเพิ่มตามคำสั่งซื้อเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาวะอุตสหากรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างทรงตัวดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.24 เป็นผลมาจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางตัว เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดใหญ่ และกระติกน้ำร้อน และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ IC ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 133,470 ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเครื่องรับโทรทัศน์สี ตู้เย็น และ IC ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 50,868 ล้านบาท ชะลอตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และตลาดอียู มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เนื่องมาจากกระแสฟุตบอลโลกซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีจนถึงต้นไตรมาส 3
สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 82,602 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 เป็นผลจากตัว IC ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการขยายตัวในตลาดอาเซียนและจีน สูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของจีนในผลิตภัณฑ์ IC ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญมีมากทำให้จีนเองผลิตไม่ทัน
3. แนวโน้ม
ภาวการผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม 2549 ค่อนข้างทรงตัวในระยะ 1- 2 เดือนนี้เนื่องจากปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ เช่น ทองแดง และเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมของประเทศส่งผลต่อการใช้จ่ายสินค้าด้วย ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมและ ไตรมาส 3/2549 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์เป็นสินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มขึ้น
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 มีค่า 166.15 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 (170.56) ร้อยละ 2.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (161.45) ร้อยละ 2.9
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตสบู่และผงซักฟอก เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2549 มีค่า 69.86 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 (71.07) ร้อยละ —1.7 แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (69.37) ร้อยละ 0.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตสบู่และผงซักฟอก เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน2549
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 378 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 315 รายหรือมากกว่าร้อยละ 20.0 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,238.19 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 7,162.03 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,331 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 เช่นกัน ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,428 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 594 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —36.4 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 14,340 คน ร้อยละ —34.9 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 13,596.85 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ —32.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 30 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป และอุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 25 รายเท่ากัน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ
อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ 3,301 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบเครื่องใช้ในการกีฬา การบริหารร่างกาย การเล่นบิลเลียด มีเงินทุน 835 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 1,490 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น อบ ควบ บิดเกลียว กรอ ฟอก ย้อมสีเส้นใย คนงาน 489 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 144 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ —5.3 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,371.40 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,843.29 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,342 คน น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,796 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 155 ราย คิดเป็นร้อยละ —7.1 ในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,914 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 เช่นกันที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,115.02 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 18 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 16 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549 คืออุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง เงินทุน 263 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำรองเท้าและชิ้นส่วนจากพลาสติก เงินทุน 200 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2549
คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง คนงาน 929 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำรองเท้าและชิ้นส่วนจากพลาสติก คนงาน 650 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 90 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีจำนวน 100 โครงการ หรือลดลงร้อยละ -10.0 แต่มีเงินลงทุน 39,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 38,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 2.6
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวน 123 โครงการ ร้อยละ —26.8 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 231,900 ล้านบาท ร้อยละ —83.0
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 203 33,200
2.โครงการต่างชาติ 100% 198 70,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 200 95,200
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 88,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 35,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-