แท็ก
อุตสาหกรรม
- ผู้เปลี่ยนศัตรูสู่พันธมิตร -
กระแสคลัสเตอร์ทางรอดภาคอุตสาหกรรม
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมาทวีความเข้มข้นขึ้นมาก ธุรกิจเป็นจำนวนมากที่ล้มหายตายจากไป เนื่องจากไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งโดยเฉพาะคู่แข่งต่างชาติได้ ท่ามกลางภาวะเช่นนี้ คำว่า “คลัสเตอร์” (Cluster) กลายเป็นคำฮิตติดปากที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรม ว่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจภายในกลุ่มต่าง ๆ กลายสภาพเป็นเครือข่ายที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการแข่งขันของทั้งภาคพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรมให้สามารถอยู่รอดได้ ซึ่งเมื่อมีการพูดถึงคลัสเตอร์แล้วก็มักจะพาดพิงไปถึง ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent) หรือ CDA ด้วย เพราะ CDA เปรียบเสมือนกลไกสำคัญที่ประสานเชื่อมโยงกลไกทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในคลัสเตอร์เข้าด้วยกัน CDA เป็นใคร? CDA มีความสำคัญแค่ไหน? และมีบทบาทหน้าที่อย่างไร? จะได้กล่าวถึงต่อไปภายหลัง แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ คลัสเตอร์ กันก่อน
คลัสเตอร์ เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักคิดและนักวิชาการจาก ศาสตราจารย์ไมเคิล พอร์เตอร์ (Prof. Michael E. Porter) ปรมาจารย์ทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกแห่งมหาวิทยาลัยอาร์วารด์ (Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ผลงานในเรื่องคลัสเตอร์มากว่า 20 ปี แล้ว สำหรับในประเทศไทยเอง คลัสเตอร์ เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้างในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายกทักษิณ ได้เชิญ ศาสตราจารย์พอร์เตอร์ เข้ามาช่วยวิเคราะห์หาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้เสนอแนะให้ใช้แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันหรือว่าเพิ่มความเก่งของไทยให้สามารถแข่งขันต่อสู้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ดีขึ้น
รัฐบาลดันกลยุทธ์คลัสเตอร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกลยุทธ์การพัฒนาคลัสเตอร์ และกำหนดไว้อย่างชัดเจนในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินด้าน “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้” ให้หน่วยราชการต่าง ๆ กระตุ้นการพัฒนาคลัสเตอร์หรือที่เรียกเป็นทางการว่า “การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันว่า สภาพัฒน์ กำลังผลักดันนโยบายดังกล่าวโดยจัดให้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 หน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นเข้าใจ เห็นความสำคัญและร่วมมือกันในการพัฒนาคลัสเตอร์ต่างๆ อย่างจริงจัง
ภาพการลงนาม MOU ร่วมกันพัฒนาคลัสเตอร์, 10 มิถุนายน 2547
คลัสเตอร์ — เครือข่ายวิสาหกิจ - พันธมิตรอุตสาหกรรม
เมื่อพูดถึงคำว่า คลัสเตอร์ คนทั่วไปจะนึกถึง สิ่งที่เหมือน ๆ กัน คล้าย ๆ กัน ที่กระจุกกันหรืออยู่รวมกัน หากเปิดพจนานุกรมจะพบว่า Cluster แปลว่า กลุ่ม รวมเป็นกลุ่ม หรือทำให้อยู่ร่วมเป็นกลุ่ม แต่ในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมนั้น นักวิชาการและผู้รู้ต่าง ๆ ได้ให้คำจำกัดความของคลัสเตอร์ไว้มากมายหลายหลาก โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วคลัสเตอร์มักจะหมายถึง การกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์ของวิสาหกิจ หรือบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกัน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกัน ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายของหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากคลัสเตอร์ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมักจะหมายถึงการกระจุกตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันในท้องถิ่นหรือในพื้นที่หนึ่งเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าจะมีการเชื่อมโยงหรือการทำธุรกรรมระหว่างกันมากน้อยเพียงใด ในประเทศไทยเอง ก็ยังมีความเห็นต่างๆ ที่หลากหลาย บ้างก็ว่าประเทศไทยยังไม่มีคลัสเตอร์ บ้างก็ว่ามีแต่คลัสเตอร์ที่ยังไม่พัฒนาบ้าง บางท่านก็ว่าคลัสเตอร์ของจริงต้องเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบ้าง บางท่านก็แบ่งความเป็นคลัสเตอร์ตามจำนวนวิสาหกิจต่อหน่วยพื้นที่ ซึ่งก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
จะว่าไปแล้วคลัสเตอร์เป็นกระบวนการที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น แก่นสำคัญจึงน่าจะอยู่ที่การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย ร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มเก่งขึ้น สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ มากกว่าการที่จะชี้ว่ากลุ่มนี้เป็นคลัสเตอร์ หรือกลุ่มนั้นไม่ใช่คลัสเตอร์ ถึงแม้กลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มขาดองค์ประกอบบางอย่างตามความหมายที่สมบูรณ์แบบของคลัสเตอร์ ก็อาจเป็นคลัสเตอร์แบบไทยๆ ที่น่าส่งเสริมก็ได้
คลัสเตอร์แบบไทยๆ
ในประเทศไทยเอง การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้มีความเก่งมากขึ้นหรือแข่งขันได้ดีขึ้น มีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะรวมกันเพื่อเรียกร้องให้คนอื่นมาสนับสนุนบ้าง รวมตัวกันเพื่อต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์บ้าง รวมตัวกันฮั๊วงานบ้าง หรือเป็นแบบเจอปัญหาทีก็รวมตัวกันทีบ้าง แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของคลัสเตอร์แบบไทย ๆ ให้เห็นภาพ จะขอกล่าวถึง แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร ซึ่งหนังสือ ยุทธศาสตร์ธุรกิจ SMEs (ธนาคารกรุงเทพ, 2543) ได้บรรยายไว้ สรุปได้ว่า ถนนข้าวสารเป็นถนนเส้นสั้นๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น พระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว แต่กลับมีบริการที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ตั้งแต่ห้องพักให้เช่าหรือเกสท์เฮ้าส์มากกว่า 6,000 ห้อง ในราคาระดับต่างๆ กัน มีร้านอาหารนานาชาติหลากหลายแทบทุกประเภท ทั้งร้านกาแฟ บาร์เบียร์ ร้านขายของที่ระลึกเครื่องเงิน ร้านขายเครื่องประดับ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ร้านหนังสือ ร้านอินเตอร์เนต บู๊ธแลกเงิน ร้านรับฝากของ มีบริษัทท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งจัดรถบริการออกเดินทางเริ่มจากถนนข้าวสารไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยม ที่สำคัญคือเจ้าของกิจการต่างๆ ในย่านถนนข้าวสาร รวมตัวกันเป็นชมรมเพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มของตนอย่างเป็นรูปธรรม โดยชมรมเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนภายนอก เป็นจุดศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆ มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การสำรวจข้อมูลกิจการต่างๆ เพื่อทำสถิติ การปรับปรุงทางเท้าและสถานที่ให้ดูสวยงาม การตั้งกลุ่มเรียนภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ดีขึ้น ดังนั้นหากพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของย่านถนนข้าวสาร จะเห็นว่า ในบริเวณพื้นที่ย่านถนนข้าวสาร มีการกระจุกตัวของผู้ประกอบการหรือ SMEs ที่ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านักท่องเที่ยว โดยที่ SMEs แต่ละแห่งมีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน มีความร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน ในขณะเดียวกันก็ยังแข่งขันกันตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการสร้างจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ในการเสนอบริการของตนเอง การร่วมมือกันในขณะที่ยังแข่งขันกันด้วยนี้เองที่เป็นหัวใจ และเป็นพลังสำคัญที่ทำให้ย่านธุรกิจถนนข้าวสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อความต้องการแทบทุกสิ่งของนักท่องเที่ยวตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรุกขยายผลการพัฒนาคลัสเตอร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่สานต่อนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติจริง ได้ริเริ่มการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนำร่องตั้งแต่ปี 2546 ผ่านหน่วยงานทั้งจากส่วนกลางและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมตามภาคต่างๆ จนปัจจุบันมีคลัสเตอร์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพัฒนาและให้การสนับสนุนอยู่จำนวนกว่า 10 คลัสเตอร์ โดยมุ่งหวังที่จะทดลองค้นหาแนวทางและวิธีการพัฒนาคลัสเตอร์ที่เหมาะสมกับประเภทของอุตสาหกรรมและท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ ค้นหาวิธีการประเมินผลการพัฒนาคลัสเตอร์ รวมทั้งเพื่อสั่งสม ประสบการณ์และเฟ้นหาแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จซึ่งจะเป็นต้นแบบให้หน่วยงานและผู้สนใจทั่วไปได้มองเห็นภาพและนำแนวทางไปปฏิบัติเพื่อขยายผลเพิ่มได้
ในปี 2549 นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเพิ่มจำนวนการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอีกกว่า 20 แห่ง โดยการพัฒนาคลัสเตอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมุ่งเน้นที่การรวมตัวทางธุรกิจแบบบูรณาการที่ดึงเอาความร่วมมือทุกส่วนมาผนวกไว้รวมกัน ให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก มีการจัดทำทิศทางของกลุ่ม มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติชัดเจน ส่วนหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ ก็ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน โดยยึดหลักสำคัญคือ การสร้างความร่วมมือเพื่อเสริมจุดแข็ง และอุดจุดอ่อนของกลุ่ม
รวมเป็นคลัสเตอร์แล้วได้อะไร
หากยังลังเลสงสัย ไม่มั่นใจในประโยชน์ของการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์ ขอให้ลองดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างคลัสเตอร์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าไปร่วมพัฒนาและให้การสนับสนุนในช่วงระหว่างปี 2546 ถึง 2548 ดังนี้
คลัสเตอร์สิ่งทอชัยภูมิ
- สร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี ส่งผลให้มีการตั้งโรงงานสิ่งทอในจังหวัดเพิ่มขึ้นจาก 23 โรง เป็น 32 โรง และเกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 3,000 คน
- สมาชิกเริ่มจับคู่เป็นพันธมิตรรับออเดอร์ร่วมกัน (Share Order) แล้ว 9 คู่ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น
คลัสเตอร์ชิ้นส่วนยานยนต์ (CTAP)
- บุกตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ทวีปอเมริกา คาดว่าจะได้ออเดอร์จากประเทศแคนาดาและอเมริกาประมาณ 270 ล้านบาทในปี 2549
- ร่วมมือกับสถาบันไทย-เยอรมัน รับเป็นต้นแบบกลุ่มผู้ผลิตเชื่อมโยงเครือข่ายต่างประเทศ
คลัสเตอร์รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน (SMEs007+)
- จากกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ รุกคืบไปเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์
- สร้างธุรกิจใหม่ เปิดแฟรน์ไชส์ร้านช่างซ่อมเครือข่าย (MoPro Shop) เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า
คลัสเตอร์อาหารในเขตภาคกลาง
- รวมกลุ่มผลิตบรรจุภัณฑ์กลางของกลุ่มเพื่อลดต้นทุน
- บุกตลาดจีนเพิ่มยอดขายมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
คลัสเตอร์รถโดยสารราชบุรี
- รับออเดอร์การผลิตรถโดยสารร่วมกันมูลค่ารวมกว่า 60 ล้านบาท
จะเห็นว่าประโยชน์ของคลัสเตอร์นั้น มีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของสมาชิกในแต่ละคลัสเตอร์ การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเป็นกระบวนการที่นำไปสู่พลังซึ่งเกิดจากความเก่งของแต่ละคนมารวมกันเป็นกลุ่ม เป็นพันธมิตร ทำให้เกิดความเก่งโดยรวม
ผู้ประสานงานคลัสเตอร์หัวใจสำคัญการพัฒนาคลัสเตอร์
การพัฒนาคลัสเตอร์จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ตัวแทนจากหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ จึงจำต้องมีกลไกที่ประสานเชื่อมโยงระหว่างทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในคลัสเตอร์ โดยผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวคือผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent) หรือที่เรียกกันว่า CDA ซึ่งควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในอุตสาหกรรมของกลุ่มพอสมควรและ ไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งนี้ UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) หน่วยงานต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการพัฒนา CDA ได้กำหนดบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของ CDA ไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของ CDA
- เข้าใจในความต้องการของสมาชิกคลัสเตอร์
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในคลัสเตอร์
- ชักจูงให้สมาชิกคล้อยตามและผลักดันให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมของกลุ่ม
- คลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้
- สนับสนุนการดำเนินงานของคลัสเตอร์ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
- ชักจูงให้เครือข่ายวิสาหกิจเข้าถึงผู้ให้บริการ (Business Development Service) ได้ดียิ่งขึ้น
CDA ผู้ประสานกับทุกส่วนของคลัสเตอร์
คุณสมบัติของ CDA
- เข้าใจธุรกิจ เข้าใจผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs
- มีอัธยาศัยไมตรีดี มีศิลปะในการโน้มน้าวใจคน
- มุ่งมั่น กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบ
- เปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดผู้อื่น และกล้าทดลอง
- เป็นคนในพื้นที่ หรือมีความคุ้นเคยกับพื้นที่
- อยู่ในช่วงอายุ 30 — 50 ปี
- มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของคลัสเตอร์บ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิค
จากบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของ CDA ที่วางไว้ คงเป็นที่น่าหนักใจไม่น้อย สำหรับการเฟ้นหา CDA ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนโดนใจ ซึ่งจากประสบการณ์การพัฒนาคลัสเตอร์ที่ผ่านมา พบว่าแหล่งที่มาของ CDA นั้น มีหลากหลาย ทั้งจากหน่วยที่รับผิดชอบในการพัฒนาคลัสเตอร์โดยตรง หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเช่นสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม หน่วยงานเฉพาะทางต่างๆ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่ปรึกษา
การพัฒนา CDA
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตระหนักดีถึงความสำคัญของ CDA จึงได้พัฒนากลไกในการสร้าง CDA มาตั้งแต่ปี 2546 เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม CDA ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนำแนวทางหลักสูตรการพัฒนา CDA ของ UNIDO และหน่วยงานในระดับนานาชาติอื่น มาปรับให้เข้ากับวิถีแบบไทยๆ โดยเนื้อหาหลักสูตรที่สำคัญประกอบด้วย
- การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
- พื้นฐานการเป็นผู้ประสานงานคลัสเตอร์
- การสื่อสารและทำงานเป็นทีม
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
- การต่อรองและการเจรจาธุรกิจ
- กระบวนการวางแผน
- การจัดทำแผนกลยุทธ์
- การเขียนข้อเสนอโครงการ
- บูรณาการหลักการสู่การปฎิบัติ (ทัศนศึกษาดูงาน)
ภาพการอบรม CDA หลักสูตรเสริมสร้างพลังอำนาจ
นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดการอบรมพัฒนา CDA ไปแล้ว 4 ครั้ง โดยเชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมโครงการ และมีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วประมาณ 130 คน
ทฤษฎีในห้องเรียนสู่การปฏิบัติ
ในปัจจุบัน CDA บางส่วนซึ่งผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวได้กลายเป็นกำลังสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคลัสเตอร์ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ คลัสเตอร์สิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ คลัสเตอร์รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน (SMEs007+) คลัสเตอร์หัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ (เครือข่ายหัตถกรรมดำรงวิจิตร) คลัสเตอร์โรงหล่อพระจังหวัดพิษณุโลก (เครือข่ายพุทธศิลป์สองแคว) และคลัสเตอร์อื่นๆ อีกหลายแห่ง โดยภาระกิจสำคัญของ CDA เหล่านี้คือการปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้ประกอบการและตัวแทนหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ของการค้าโลก ยังคงยึดถือแนวทางการประกอบธุรกิจแบบเก่า โดยเฉพาะการมองว่าผู้อื่นเป็นศัตรู หรือมีแต่จะมาตักตวงเอาแต่ผลประโยชน์ ให้กลายเป็นผู้ประกอบการที่มีทั้งความเชี่ยวชาญเฉพาะ มีประสบการณ์จากการแข่งขันกัน และในขณะเดียวกันก็มีการร่วมมือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและเกิดเป็นเครือข่ายที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือเรียกว่า เปลี่ยนศัตรูสู่พันธมิตร เพื่อช่วยขับเคลื่อนระบบการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังที่มีผู้กล่าวว่า “โลกยุคใหม่ การค้ายุคใหม่ จะมามัวเป็นศัตรูกัน คงไม่มีใครอยู่รอด การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการจับมือกัน รวมหัวกัน สู้ด้วยกัน คงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ทางเลือก แต่อาจเป็นทางรอดทางเดียวที่เราไม่มีสิทธิเลือก”
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
กระแสคลัสเตอร์ทางรอดภาคอุตสาหกรรม
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมาทวีความเข้มข้นขึ้นมาก ธุรกิจเป็นจำนวนมากที่ล้มหายตายจากไป เนื่องจากไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งโดยเฉพาะคู่แข่งต่างชาติได้ ท่ามกลางภาวะเช่นนี้ คำว่า “คลัสเตอร์” (Cluster) กลายเป็นคำฮิตติดปากที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรม ว่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจภายในกลุ่มต่าง ๆ กลายสภาพเป็นเครือข่ายที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการแข่งขันของทั้งภาคพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรมให้สามารถอยู่รอดได้ ซึ่งเมื่อมีการพูดถึงคลัสเตอร์แล้วก็มักจะพาดพิงไปถึง ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent) หรือ CDA ด้วย เพราะ CDA เปรียบเสมือนกลไกสำคัญที่ประสานเชื่อมโยงกลไกทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในคลัสเตอร์เข้าด้วยกัน CDA เป็นใคร? CDA มีความสำคัญแค่ไหน? และมีบทบาทหน้าที่อย่างไร? จะได้กล่าวถึงต่อไปภายหลัง แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ คลัสเตอร์ กันก่อน
คลัสเตอร์ เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักคิดและนักวิชาการจาก ศาสตราจารย์ไมเคิล พอร์เตอร์ (Prof. Michael E. Porter) ปรมาจารย์ทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกแห่งมหาวิทยาลัยอาร์วารด์ (Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ผลงานในเรื่องคลัสเตอร์มากว่า 20 ปี แล้ว สำหรับในประเทศไทยเอง คลัสเตอร์ เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้างในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายกทักษิณ ได้เชิญ ศาสตราจารย์พอร์เตอร์ เข้ามาช่วยวิเคราะห์หาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้เสนอแนะให้ใช้แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันหรือว่าเพิ่มความเก่งของไทยให้สามารถแข่งขันต่อสู้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ดีขึ้น
รัฐบาลดันกลยุทธ์คลัสเตอร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกลยุทธ์การพัฒนาคลัสเตอร์ และกำหนดไว้อย่างชัดเจนในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินด้าน “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้” ให้หน่วยราชการต่าง ๆ กระตุ้นการพัฒนาคลัสเตอร์หรือที่เรียกเป็นทางการว่า “การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันว่า สภาพัฒน์ กำลังผลักดันนโยบายดังกล่าวโดยจัดให้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 หน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นเข้าใจ เห็นความสำคัญและร่วมมือกันในการพัฒนาคลัสเตอร์ต่างๆ อย่างจริงจัง
ภาพการลงนาม MOU ร่วมกันพัฒนาคลัสเตอร์, 10 มิถุนายน 2547
คลัสเตอร์ — เครือข่ายวิสาหกิจ - พันธมิตรอุตสาหกรรม
เมื่อพูดถึงคำว่า คลัสเตอร์ คนทั่วไปจะนึกถึง สิ่งที่เหมือน ๆ กัน คล้าย ๆ กัน ที่กระจุกกันหรืออยู่รวมกัน หากเปิดพจนานุกรมจะพบว่า Cluster แปลว่า กลุ่ม รวมเป็นกลุ่ม หรือทำให้อยู่ร่วมเป็นกลุ่ม แต่ในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมนั้น นักวิชาการและผู้รู้ต่าง ๆ ได้ให้คำจำกัดความของคลัสเตอร์ไว้มากมายหลายหลาก โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วคลัสเตอร์มักจะหมายถึง การกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์ของวิสาหกิจ หรือบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกัน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกัน ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายของหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากคลัสเตอร์ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมักจะหมายถึงการกระจุกตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันในท้องถิ่นหรือในพื้นที่หนึ่งเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าจะมีการเชื่อมโยงหรือการทำธุรกรรมระหว่างกันมากน้อยเพียงใด ในประเทศไทยเอง ก็ยังมีความเห็นต่างๆ ที่หลากหลาย บ้างก็ว่าประเทศไทยยังไม่มีคลัสเตอร์ บ้างก็ว่ามีแต่คลัสเตอร์ที่ยังไม่พัฒนาบ้าง บางท่านก็ว่าคลัสเตอร์ของจริงต้องเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบ้าง บางท่านก็แบ่งความเป็นคลัสเตอร์ตามจำนวนวิสาหกิจต่อหน่วยพื้นที่ ซึ่งก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
จะว่าไปแล้วคลัสเตอร์เป็นกระบวนการที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น แก่นสำคัญจึงน่าจะอยู่ที่การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย ร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มเก่งขึ้น สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ มากกว่าการที่จะชี้ว่ากลุ่มนี้เป็นคลัสเตอร์ หรือกลุ่มนั้นไม่ใช่คลัสเตอร์ ถึงแม้กลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มขาดองค์ประกอบบางอย่างตามความหมายที่สมบูรณ์แบบของคลัสเตอร์ ก็อาจเป็นคลัสเตอร์แบบไทยๆ ที่น่าส่งเสริมก็ได้
คลัสเตอร์แบบไทยๆ
ในประเทศไทยเอง การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้มีความเก่งมากขึ้นหรือแข่งขันได้ดีขึ้น มีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะรวมกันเพื่อเรียกร้องให้คนอื่นมาสนับสนุนบ้าง รวมตัวกันเพื่อต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์บ้าง รวมตัวกันฮั๊วงานบ้าง หรือเป็นแบบเจอปัญหาทีก็รวมตัวกันทีบ้าง แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของคลัสเตอร์แบบไทย ๆ ให้เห็นภาพ จะขอกล่าวถึง แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร ซึ่งหนังสือ ยุทธศาสตร์ธุรกิจ SMEs (ธนาคารกรุงเทพ, 2543) ได้บรรยายไว้ สรุปได้ว่า ถนนข้าวสารเป็นถนนเส้นสั้นๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น พระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว แต่กลับมีบริการที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ตั้งแต่ห้องพักให้เช่าหรือเกสท์เฮ้าส์มากกว่า 6,000 ห้อง ในราคาระดับต่างๆ กัน มีร้านอาหารนานาชาติหลากหลายแทบทุกประเภท ทั้งร้านกาแฟ บาร์เบียร์ ร้านขายของที่ระลึกเครื่องเงิน ร้านขายเครื่องประดับ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ร้านหนังสือ ร้านอินเตอร์เนต บู๊ธแลกเงิน ร้านรับฝากของ มีบริษัทท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งจัดรถบริการออกเดินทางเริ่มจากถนนข้าวสารไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยม ที่สำคัญคือเจ้าของกิจการต่างๆ ในย่านถนนข้าวสาร รวมตัวกันเป็นชมรมเพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มของตนอย่างเป็นรูปธรรม โดยชมรมเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนภายนอก เป็นจุดศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆ มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การสำรวจข้อมูลกิจการต่างๆ เพื่อทำสถิติ การปรับปรุงทางเท้าและสถานที่ให้ดูสวยงาม การตั้งกลุ่มเรียนภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ดีขึ้น ดังนั้นหากพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของย่านถนนข้าวสาร จะเห็นว่า ในบริเวณพื้นที่ย่านถนนข้าวสาร มีการกระจุกตัวของผู้ประกอบการหรือ SMEs ที่ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านักท่องเที่ยว โดยที่ SMEs แต่ละแห่งมีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน มีความร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน ในขณะเดียวกันก็ยังแข่งขันกันตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการสร้างจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ในการเสนอบริการของตนเอง การร่วมมือกันในขณะที่ยังแข่งขันกันด้วยนี้เองที่เป็นหัวใจ และเป็นพลังสำคัญที่ทำให้ย่านธุรกิจถนนข้าวสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อความต้องการแทบทุกสิ่งของนักท่องเที่ยวตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรุกขยายผลการพัฒนาคลัสเตอร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่สานต่อนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติจริง ได้ริเริ่มการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนำร่องตั้งแต่ปี 2546 ผ่านหน่วยงานทั้งจากส่วนกลางและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมตามภาคต่างๆ จนปัจจุบันมีคลัสเตอร์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพัฒนาและให้การสนับสนุนอยู่จำนวนกว่า 10 คลัสเตอร์ โดยมุ่งหวังที่จะทดลองค้นหาแนวทางและวิธีการพัฒนาคลัสเตอร์ที่เหมาะสมกับประเภทของอุตสาหกรรมและท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ ค้นหาวิธีการประเมินผลการพัฒนาคลัสเตอร์ รวมทั้งเพื่อสั่งสม ประสบการณ์และเฟ้นหาแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จซึ่งจะเป็นต้นแบบให้หน่วยงานและผู้สนใจทั่วไปได้มองเห็นภาพและนำแนวทางไปปฏิบัติเพื่อขยายผลเพิ่มได้
ในปี 2549 นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเพิ่มจำนวนการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอีกกว่า 20 แห่ง โดยการพัฒนาคลัสเตอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมุ่งเน้นที่การรวมตัวทางธุรกิจแบบบูรณาการที่ดึงเอาความร่วมมือทุกส่วนมาผนวกไว้รวมกัน ให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก มีการจัดทำทิศทางของกลุ่ม มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติชัดเจน ส่วนหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ ก็ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน โดยยึดหลักสำคัญคือ การสร้างความร่วมมือเพื่อเสริมจุดแข็ง และอุดจุดอ่อนของกลุ่ม
รวมเป็นคลัสเตอร์แล้วได้อะไร
หากยังลังเลสงสัย ไม่มั่นใจในประโยชน์ของการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์ ขอให้ลองดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างคลัสเตอร์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าไปร่วมพัฒนาและให้การสนับสนุนในช่วงระหว่างปี 2546 ถึง 2548 ดังนี้
คลัสเตอร์สิ่งทอชัยภูมิ
- สร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี ส่งผลให้มีการตั้งโรงงานสิ่งทอในจังหวัดเพิ่มขึ้นจาก 23 โรง เป็น 32 โรง และเกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 3,000 คน
- สมาชิกเริ่มจับคู่เป็นพันธมิตรรับออเดอร์ร่วมกัน (Share Order) แล้ว 9 คู่ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น
คลัสเตอร์ชิ้นส่วนยานยนต์ (CTAP)
- บุกตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ทวีปอเมริกา คาดว่าจะได้ออเดอร์จากประเทศแคนาดาและอเมริกาประมาณ 270 ล้านบาทในปี 2549
- ร่วมมือกับสถาบันไทย-เยอรมัน รับเป็นต้นแบบกลุ่มผู้ผลิตเชื่อมโยงเครือข่ายต่างประเทศ
คลัสเตอร์รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน (SMEs007+)
- จากกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ รุกคืบไปเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์
- สร้างธุรกิจใหม่ เปิดแฟรน์ไชส์ร้านช่างซ่อมเครือข่าย (MoPro Shop) เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า
คลัสเตอร์อาหารในเขตภาคกลาง
- รวมกลุ่มผลิตบรรจุภัณฑ์กลางของกลุ่มเพื่อลดต้นทุน
- บุกตลาดจีนเพิ่มยอดขายมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
คลัสเตอร์รถโดยสารราชบุรี
- รับออเดอร์การผลิตรถโดยสารร่วมกันมูลค่ารวมกว่า 60 ล้านบาท
จะเห็นว่าประโยชน์ของคลัสเตอร์นั้น มีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของสมาชิกในแต่ละคลัสเตอร์ การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเป็นกระบวนการที่นำไปสู่พลังซึ่งเกิดจากความเก่งของแต่ละคนมารวมกันเป็นกลุ่ม เป็นพันธมิตร ทำให้เกิดความเก่งโดยรวม
ผู้ประสานงานคลัสเตอร์หัวใจสำคัญการพัฒนาคลัสเตอร์
การพัฒนาคลัสเตอร์จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ตัวแทนจากหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ จึงจำต้องมีกลไกที่ประสานเชื่อมโยงระหว่างทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในคลัสเตอร์ โดยผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวคือผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent) หรือที่เรียกกันว่า CDA ซึ่งควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในอุตสาหกรรมของกลุ่มพอสมควรและ ไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งนี้ UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) หน่วยงานต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการพัฒนา CDA ได้กำหนดบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของ CDA ไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของ CDA
- เข้าใจในความต้องการของสมาชิกคลัสเตอร์
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในคลัสเตอร์
- ชักจูงให้สมาชิกคล้อยตามและผลักดันให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมของกลุ่ม
- คลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้
- สนับสนุนการดำเนินงานของคลัสเตอร์ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
- ชักจูงให้เครือข่ายวิสาหกิจเข้าถึงผู้ให้บริการ (Business Development Service) ได้ดียิ่งขึ้น
CDA ผู้ประสานกับทุกส่วนของคลัสเตอร์
คุณสมบัติของ CDA
- เข้าใจธุรกิจ เข้าใจผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs
- มีอัธยาศัยไมตรีดี มีศิลปะในการโน้มน้าวใจคน
- มุ่งมั่น กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบ
- เปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดผู้อื่น และกล้าทดลอง
- เป็นคนในพื้นที่ หรือมีความคุ้นเคยกับพื้นที่
- อยู่ในช่วงอายุ 30 — 50 ปี
- มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของคลัสเตอร์บ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิค
จากบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของ CDA ที่วางไว้ คงเป็นที่น่าหนักใจไม่น้อย สำหรับการเฟ้นหา CDA ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนโดนใจ ซึ่งจากประสบการณ์การพัฒนาคลัสเตอร์ที่ผ่านมา พบว่าแหล่งที่มาของ CDA นั้น มีหลากหลาย ทั้งจากหน่วยที่รับผิดชอบในการพัฒนาคลัสเตอร์โดยตรง หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเช่นสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม หน่วยงานเฉพาะทางต่างๆ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่ปรึกษา
การพัฒนา CDA
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตระหนักดีถึงความสำคัญของ CDA จึงได้พัฒนากลไกในการสร้าง CDA มาตั้งแต่ปี 2546 เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม CDA ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนำแนวทางหลักสูตรการพัฒนา CDA ของ UNIDO และหน่วยงานในระดับนานาชาติอื่น มาปรับให้เข้ากับวิถีแบบไทยๆ โดยเนื้อหาหลักสูตรที่สำคัญประกอบด้วย
- การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
- พื้นฐานการเป็นผู้ประสานงานคลัสเตอร์
- การสื่อสารและทำงานเป็นทีม
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
- การต่อรองและการเจรจาธุรกิจ
- กระบวนการวางแผน
- การจัดทำแผนกลยุทธ์
- การเขียนข้อเสนอโครงการ
- บูรณาการหลักการสู่การปฎิบัติ (ทัศนศึกษาดูงาน)
ภาพการอบรม CDA หลักสูตรเสริมสร้างพลังอำนาจ
นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดการอบรมพัฒนา CDA ไปแล้ว 4 ครั้ง โดยเชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมโครงการ และมีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วประมาณ 130 คน
ทฤษฎีในห้องเรียนสู่การปฏิบัติ
ในปัจจุบัน CDA บางส่วนซึ่งผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวได้กลายเป็นกำลังสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคลัสเตอร์ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ คลัสเตอร์สิ่งทอจังหวัดชัยภูมิ คลัสเตอร์รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน (SMEs007+) คลัสเตอร์หัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ (เครือข่ายหัตถกรรมดำรงวิจิตร) คลัสเตอร์โรงหล่อพระจังหวัดพิษณุโลก (เครือข่ายพุทธศิลป์สองแคว) และคลัสเตอร์อื่นๆ อีกหลายแห่ง โดยภาระกิจสำคัญของ CDA เหล่านี้คือการปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้ประกอบการและตัวแทนหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ของการค้าโลก ยังคงยึดถือแนวทางการประกอบธุรกิจแบบเก่า โดยเฉพาะการมองว่าผู้อื่นเป็นศัตรู หรือมีแต่จะมาตักตวงเอาแต่ผลประโยชน์ ให้กลายเป็นผู้ประกอบการที่มีทั้งความเชี่ยวชาญเฉพาะ มีประสบการณ์จากการแข่งขันกัน และในขณะเดียวกันก็มีการร่วมมือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและเกิดเป็นเครือข่ายที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือเรียกว่า เปลี่ยนศัตรูสู่พันธมิตร เพื่อช่วยขับเคลื่อนระบบการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังที่มีผู้กล่าวว่า “โลกยุคใหม่ การค้ายุคใหม่ จะมามัวเป็นศัตรูกัน คงไม่มีใครอยู่รอด การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการจับมือกัน รวมหัวกัน สู้ด้วยกัน คงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ทางเลือก แต่อาจเป็นทางรอดทางเดียวที่เราไม่มีสิทธิเลือก”
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-