ภาวะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,395 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 19.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า 13,611 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 11,197 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.74 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปุ๋ยในไตรมาสที่ 3 มีการนำเข้าลดลงร้อยละ 23.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา ภาวะ
เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมได้ขยับราคาปุ๋ยเคมีขึ้นเป็นตันละ 1,800 — 2,000 บาท เป็นการปรับตัว
ตามราคาน้ำมัน โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งจากการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีการปรับขึ้นค่าระวางเรือที่นำเข้าสินค้ามาจากทวีปยุโรป
เกาหลีและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 300 % จากสาเหตุดังกล่าวส่งผลให้ราคาปุ๋ยเคมีเพิ่มสูงขึ้น
อุตสาหกรรมสี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการ
ชะลอตัวลง จากปัจจัยลบหลายประการ เศรษฐกิจก็มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 / Q3 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 7,873 9,513 9,395 -1.24 19.34
1.2 อินทรีย์ * 29 19,758 21,867 21,452 -1.9 8.57
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,222 13,763 13,611 -1.1 -4.29
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 11,845 14,682 11,197 -23.74 -5.47
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 8,851 8,514 8,551 0.43 -3.39
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,308 4,294 4,276 -0.42 -0.75
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,843 3,773 3,937 4.35 2.44
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,458 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 23.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออก 2,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.98 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,662 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมสีในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 2,276 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากมีปริมาณ
การสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไต้หวัน จีน และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 969 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้ราคาปุ๋ยในตลาด
โลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 / Q3 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 1,531 1,503 1,760 17.1 15
1.2 อินทรีย์ * 29 4,402 2,888 5,458 88.99 23.99
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 1,871 2,204 2,424 9.98 29.59
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 353 647 969 49.77 174.82
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 1,772 2,048 2,276 11.13 28.45
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 5,729 6,228 7,662 23.03 33.73
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,190 2,091 3,280 56.86 49.81
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
จากการที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้เริ่มนำระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์มาใช้บังคับ ซึ่งจะทำให้มีความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้า
เคมีและสินค้าอื่นๆ ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ อันจะส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความ
พร้อมในการลดอุปสรรคทางการค้าและรักษาส่วนแบ่งตลาดให้คงอยู่ ซึ่งในขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและสภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการดำเนินการหลายส่วนด้วยกัน โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมาธิการยุโรป ในการสำรวจห้องปฎิ
บัติการทดสอบที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับให้สอดคล้องกับมาตรฐานอียู ซึ่งไทยได้นำเสนอโครงการสำรวจ
และยกระดับห้องแล็บไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ช่วยพิจารณาถึงศักยภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบไทย และหาแนวทางความร่วมมือในการถ่าย
ทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้านเคมีภัณฑ์ขั้นสูงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,395 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 19.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า 13,611 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 11,197 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.74 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปุ๋ยในไตรมาสที่ 3 มีการนำเข้าลดลงร้อยละ 23.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา ภาวะ
เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมได้ขยับราคาปุ๋ยเคมีขึ้นเป็นตันละ 1,800 — 2,000 บาท เป็นการปรับตัว
ตามราคาน้ำมัน โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งจากการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีการปรับขึ้นค่าระวางเรือที่นำเข้าสินค้ามาจากทวีปยุโรป
เกาหลีและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 300 % จากสาเหตุดังกล่าวส่งผลให้ราคาปุ๋ยเคมีเพิ่มสูงขึ้น
อุตสาหกรรมสี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการ
ชะลอตัวลง จากปัจจัยลบหลายประการ เศรษฐกิจก็มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 / Q3 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 7,873 9,513 9,395 -1.24 19.34
1.2 อินทรีย์ * 29 19,758 21,867 21,452 -1.9 8.57
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,222 13,763 13,611 -1.1 -4.29
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 11,845 14,682 11,197 -23.74 -5.47
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 8,851 8,514 8,551 0.43 -3.39
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,308 4,294 4,276 -0.42 -0.75
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,843 3,773 3,937 4.35 2.44
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,458 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 23.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออก 2,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.98 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,662 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมสีในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 2,276 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากมีปริมาณ
การสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไต้หวัน จีน และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 969 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้ราคาปุ๋ยในตลาด
โลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 / Q3 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 1,531 1,503 1,760 17.1 15
1.2 อินทรีย์ * 29 4,402 2,888 5,458 88.99 23.99
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 1,871 2,204 2,424 9.98 29.59
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 353 647 969 49.77 174.82
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 1,772 2,048 2,276 11.13 28.45
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 5,729 6,228 7,662 23.03 33.73
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,190 2,091 3,280 56.86 49.81
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
จากการที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้เริ่มนำระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์มาใช้บังคับ ซึ่งจะทำให้มีความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้า
เคมีและสินค้าอื่นๆ ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ อันจะส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความ
พร้อมในการลดอุปสรรคทางการค้าและรักษาส่วนแบ่งตลาดให้คงอยู่ ซึ่งในขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและสภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการดำเนินการหลายส่วนด้วยกัน โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมาธิการยุโรป ในการสำรวจห้องปฎิ
บัติการทดสอบที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับให้สอดคล้องกับมาตรฐานอียู ซึ่งไทยได้นำเสนอโครงการสำรวจ
และยกระดับห้องแล็บไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ช่วยพิจารณาถึงศักยภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบไทย และหาแนวทางความร่วมมือในการถ่าย
ทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้านเคมีภัณฑ์ขั้นสูงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-