นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2549 และปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงินรวม 21,729 ล้านเยน โดยชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนด 29 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9 ล้านบาท และ Refinance โดยออกตราสาร ECP (Euro Commercial Paper) เพื่อใช้เป็น Bridge Financing วงเงิน 21,700 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,959 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 33 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการ Refinance เงินกู้จากJBIC ด้วยเงินบาท วงเงิน 7,037 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,450 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 212 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 1,385 ล้านบาท ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1,000 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 385 ล้านบาท
1.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนก่อนครบกำหนด วงเงินเทียบเท่า 8,022 ล้านบาท 2) Roll Over เงินกู้ ECP วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,908 ล้านบาท ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ ADB และ IBRD และต่อมาได้กู้เงินในรูปตราสาร FRN วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อชำระคืนเงินกู้ ECP ดังกล่าว 3) Refinance เงินกู้ JBIC 21,700 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,959 ล้านบาท เงินกู้ ADB และ IBRD รวม 154 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5,900 ล้านบาท และเงินกู้ FRN วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการออก ECP วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และพันธบัตรเงินบาท วงเงิน 24,500 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 654 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 4) แปลงหนี้เงินกู้สกุลเงินเยนเป็นเงินกู้สกุลเงินบาท วงเงิน 19,731 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว นอกจากจะสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 8,022 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 3,887 ล้านบาท แล้ว ยังสามารถปิดความเสี่ยงของหนี้ต่างประเทศได้บางส่วนด้วย
สำหรับรัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก JBIC ก่อนครบกำหนด 14,506 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 4,995 ล้านบาท 2) Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท วงเงินรวม 49,682 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 17,000 ล้านบาท และ 3) การทำ Swap เงินกู้ต่างประเทศเป็นเงินบาท วงเงินรวม 24,209 ล้านบาท เพื่อปิดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 2,346 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 10,000 ล้านบาท พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) 50,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ก่อนครบกำหนด 578 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 578 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 64 ล้านบาท และ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 31,185 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) ซึ่งได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 10,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 10,000 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 26,777 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 18,428 ล้านบาท และกู้เงินบาทสมทบ 1,299 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 7,050 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยได้กู้เงินภายใต้แผนการก่อหนี้ต่างประเทศ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 2,985 ล้านบาท
2.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 212,983 ล้านบาท เป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจตามแผนก่อหนี้จากต่างประเทศ 12,356 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 200,627 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 121,393 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 79,234 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 22,446 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 5,930 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 16,516 ล้านบาท
3.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากงบประมาณรวม 134,965 ล้านบาท และกองทุนฯ ชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอน 40,000 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2549 มีจำนวน 3,237,305 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.34 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,956,298 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 905,243 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 293,022 ล้านบาท และหนี้ขององค์กรของรัฐอื่น 82,741 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 23,447 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 3,360 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 6,885 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 17,331 ล้านบาท และ 2,590 ล้านบาท ตามลำดับ
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 514,857 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.90 และหนี้ในประเทศ 2,722,449 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.10 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,660,629 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.19 และหนี้ระยะสั้น 576,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.81 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 92/2549 17 ตุลาคม 49--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงินรวม 21,729 ล้านเยน โดยชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนด 29 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9 ล้านบาท และ Refinance โดยออกตราสาร ECP (Euro Commercial Paper) เพื่อใช้เป็น Bridge Financing วงเงิน 21,700 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,959 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 33 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการ Refinance เงินกู้จากJBIC ด้วยเงินบาท วงเงิน 7,037 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,450 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 212 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 1,385 ล้านบาท ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1,000 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 385 ล้านบาท
1.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนก่อนครบกำหนด วงเงินเทียบเท่า 8,022 ล้านบาท 2) Roll Over เงินกู้ ECP วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,908 ล้านบาท ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ ADB และ IBRD และต่อมาได้กู้เงินในรูปตราสาร FRN วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อชำระคืนเงินกู้ ECP ดังกล่าว 3) Refinance เงินกู้ JBIC 21,700 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,959 ล้านบาท เงินกู้ ADB และ IBRD รวม 154 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5,900 ล้านบาท และเงินกู้ FRN วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการออก ECP วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และพันธบัตรเงินบาท วงเงิน 24,500 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 654 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 4) แปลงหนี้เงินกู้สกุลเงินเยนเป็นเงินกู้สกุลเงินบาท วงเงิน 19,731 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว นอกจากจะสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 8,022 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 3,887 ล้านบาท แล้ว ยังสามารถปิดความเสี่ยงของหนี้ต่างประเทศได้บางส่วนด้วย
สำหรับรัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก JBIC ก่อนครบกำหนด 14,506 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 4,995 ล้านบาท 2) Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท วงเงินรวม 49,682 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 17,000 ล้านบาท และ 3) การทำ Swap เงินกู้ต่างประเทศเป็นเงินบาท วงเงินรวม 24,209 ล้านบาท เพื่อปิดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 2,346 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 10,000 ล้านบาท พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) 50,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ก่อนครบกำหนด 578 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 578 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 64 ล้านบาท และ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 31,185 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) ซึ่งได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 10,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 10,000 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 26,777 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 18,428 ล้านบาท และกู้เงินบาทสมทบ 1,299 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 7,050 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยได้กู้เงินภายใต้แผนการก่อหนี้ต่างประเทศ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 2,985 ล้านบาท
2.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 212,983 ล้านบาท เป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจตามแผนก่อหนี้จากต่างประเทศ 12,356 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 200,627 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 121,393 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 79,234 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนกันยายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 22,446 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 5,930 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 16,516 ล้านบาท
3.2 ในปีงบประมาณ 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากงบประมาณรวม 134,965 ล้านบาท และกองทุนฯ ชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอน 40,000 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2549 มีจำนวน 3,237,305 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.34 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,956,298 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 905,243 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 293,022 ล้านบาท และหนี้ขององค์กรของรัฐอื่น 82,741 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 23,447 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 3,360 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 6,885 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 17,331 ล้านบาท และ 2,590 ล้านบาท ตามลำดับ
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 514,857 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.90 และหนี้ในประเทศ 2,722,449 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.10 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,660,629 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.19 และหนี้ระยะสั้น 576,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.81 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 92/2549 17 ตุลาคม 49--