คุณสมโภช : คุณชวนครับในข้อเท็จจริงของการไม่ส่งเนี่ย มีเหตุผลอะไรถึงไม่ส่งและทราบว่าเป็นข่าวบอกว่าคุณชวนไม่เห็นด้วยในข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไรครับ
คุณชวน : ในวันที่ประชุมทางพรรคได้มอบหมายให้ผมไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปจังหวัดชุมพร ผมเลยไม่ได้อยู่เลยตั้งแต่วันที่ 25 — 26 — 27 กลับมาคืนวันที่ 28 แต่ว่าได้รับทราบจากท่านหัวหน้าพรรคท่านก็สรุปปัญหาให้ฟังตั้งแต่เมื่อวานเรียบร้อยแล้วครับ ก็คิดว่าเป็นการตัดสินใจของพรรคที่ชัดเจนแน่นอน ซึ่งผมก็เห็นว่าเมื่อเราตัดสินใจแล้วก็ควรจะดำเนินการไปตามนั้นไม่ควรที่จะสับสนกลับไปกลับมา ก็เป็นเรื่องที่ได้รับทราบจากหัวหน้าพรรคด้วยเหตุด้วยผลชัดเจนแล้วครับ
คุณสมโภช: แนวทางนี้สวนทางกับแนวทางของคุณชวนหรือเปล่าครับ เพราะภาพคุณชวนเป็นภาพของความเป็นประธิปไตย
คุณชวน : แนวทางนี้ก็ไม่ได้สวนทางกับประชาธิปไตยนะครับ เพราะว่าในความเห็นผมตอนแรก ผมก็เรียนท่านหัวหน้าพรรคว่าใจผมนั้นอยากให้ส่ง แล้วท่านก็กรุณาให้เกียรติโทรศัพท์ไปหารือระหว่างที่ผมปฏิบัติภารกิจอยู่ที่นครศรีธรรมราชเนี่ย แต่ว่าในที่สุดเมื่อที่ประชุมมีมติมาแล้วก็ท่านหัวหน้าพรรคสรุปให้ผมฟังถึงเหตุผลทั้งหมด ผมก็เห็นว่าท่านตัดสินใจดีแล้วครับ และก็ทุกเรื่องที่ท่านหัวหน้าอภิสิทธิ์คิดหรือตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ มองหน้า มองหลัง และมองหลักความถูกต้องทุกอย่าง อย่างดีที่สุดซึ่งผมก็ เมื่อวานนี้ก็ได้คุยกับท่านแล้วก็ให้กำลังใจฮะ ว่าให้ท่านทำงานให้สู้ต่อไปและอย่าไปท้อถอยครับ
คุณสมโภช: ประชาธิปัตย์เสี่ยงเกินไปหรือเปล่าครับ ที่เลือกแนวทางลักษณะอย่างนี้กับการเมืองในอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับประชาธิปัตย์
คุณชวน : อันนี้ผมคิดว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของพรรค เพราะว่าท่านหัวหน้าพรรคก็อธิบายชัดเจนมาแต่ต้นแล้วว่า จะยอมรับระบบทักษิณหรือไม่ เพราะว่ากระบวนการที่ผ่านมา 5 ปีเนี่ย ต้องยอมรับว่าการเมืองของเราเนี่ยมันเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามกฎบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การดำเนินการอะไรก็ตามไม่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมืองมีการละเมิดกฎเกณฑ์อะไรต่าง ๆ ด้วยระบบที่เรียกว่าระบบทักษิณ เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้มันเป็นทางเลือกว่าเราจะส่งเสริมระบบนี้หรือเราจะไม่ส่งเสริมระบบนี้ ท่านหัวหน้าพรรคท่านก็บอกว่าเราไม่ควรจะส่งเสริมระบบทักษิณ ท่านก็ตัดสินใจไปในทางที่ผมก็คิดว่าท่านก็มีเหตุมีผลที่สมบูรณ์แล้ว
คุณสมโภช: ข้อครหาที่ว่าประชาธิปัตย์และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ชาติไทย มหาชน ไม่อยู่ในกติกา กติกาในระบอบประชาธิปไตย ในมุมมองของคุณชวนเป็นอย่างไร
คุณชวน : ครับผม อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจนะครับ ผมว่าโดยส่วนรวมแล้วบ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุขได้ก็ต่อเมื่อทุกคนต้องเคารพกติกาของบ้านเมือง แต่ว่าคำว่ากติกา กับการเลือกตั้งเนี่ย มันอยู่ตรงที่ว่าถ้าเราลงสมัครเลือกตั้งแล้วเราโกงเลือกตั้ง ซื้อเสียง ทุจริต ทุกรูปแบบ อย่างนี้ถือว่าเป็นการละเมิดกติกา แต่ถ้าเราไม่ส่งผู้สมัครเนี่ย มันไม่ได้เป็นการละเมิดกติกา มันเป็นการตัดสินใจในทางเลือกของตนเอง ไม่ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการส่วนหนึ่งของขบวนการประชาธิปไตย หรือการเลือกตั้ง สูญเสียโอกาสในการเสนอตัวไป แต่ว่าไม่ได้ละเมิดกติกาเลยครับ ผมเข้าใจว่านายกฯ ทักษิณ เข้าใจคำว่ากติกาผิด เพราะกติกาหมายถึงว่าเมื่อเราตกลงแข่งขันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเราต้องปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์นั้น ๆ เช่น ถ้ามีการเลือกตั้งชัดเจนนะครับว่า การเลือกตั้งในรอบ 73 ปีเนี่ย ผมพูดได้เลยว่าเราละเมิดกติการุนแรงที่สุดก็คือการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วเมื่อมีการเลือกตั้งปี 2548 นะครับ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีการซื้อเสียง มีระบบการทั้งข้าราชการ ทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง แม้กระทั่งผู้มีอิทธิพล ไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อเอาคะแนนเสียงให้มากอย่างเดียว เพื่ออ้างความชอบธรรมว่ามีเสียงอยู่กี่ล้านเสียง อย่างนี้เป็นการละเมิดกติกา แต่ว่าถ้าเราไม่ลงสมัคร ไม่เป็นการละเมิดกติกา มิฉะนั้นนึกออกไม๊ครับมีการเลือกตั้งซ่อมที่สตูล พรรคไทยรักไทยไม่ส่งผู้สมัครครับ อย่างนี้ละเมิดกติกาไม๊ คำตอบก็คือไม่ละเมิดกติกา แต่ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกคนของพรรคไทยรักไทย เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่อยากทำความเข้าใจ และผมขอถือโอกาสย้ำว่า 5 ปีที่ผ่านมาเนี่ย ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือการละเมิดกติกา การแทรกแซงองค์กรอิสระ การใช้วิธีการนอกกฎหมาย ล้วนแล้วแต่นำความเสียหายมาสู่บ้านเมือง เช่น การแทรกแซงองค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรเพื่อหวังให้การบริหารบ้านเมืองไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้นทำไม่ได้ครับ เพราะองค์กรที่ตรวจสอบรัฐบาลนั้นถูกแทรกแซงหมด ทำให้คนเหล่านั้นไม่สามารถสรรหาคนที่เหมาะสมได้ ในที่สุดก็ได้คนซึ่งมาจากระบบโพย หรือมาตามโผ วุฒิสภาซึ่งควรเป็นองค์กรหรือควรเป็นสถาบันที่กลั่นกรองคนเข้ามาทำงานในองค์กรอิสระ ก็ไม่สามารถจะหาคนที่เหมาะสมได้เพราะวุฒิสภาส่วนหนึ่ง คนดี ๆ ก็เยอะ แต่ส่วนหนึ่งก็มาจากระบบถูกซื้อไป อย่างที่เขาพูดกันในที่ประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี่เองว่าอย่างน้อย 60 กว่าคนของวุฒิสมาชิกเนี่ย กินเงินเดือนของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ลงมติเลือกใครก็เลือกไปตามโพย เราจึงเห็นได้ชัดยกตัวอย่างของที่เราเห็นชัดก็คือ กกต. กกต.ชุดปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีคนดีอยู่นะครับ แต่ว่าในขณะเดียวกันก็มีคนส่วนหนึ่งที่คอยปกป้องคนรัฐบาล เมื่อไหร่ก็ตามที่คนของรัฐบาลถูกข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกตั้งไม่ถูกต้องเนี่ย คนส่วนหนึ่งจะคอยมีความเห็นคัดค้านตลอดเวลา จึงไม่สามารถลงมติเป็นเอกฉันท์ตามกฎหมาย กกต. ได้ ในที่สุดพวกโกงเลือกตั้ง ทุจริตการเลือกตั้งก็จะได้รับการปกป้อง เพราะอะไร เพราะองค์กรอิสระถูกแทรกแซง ที่ผมเรียนเรื่องนี้เพราะว่าถ้าเราย้อนกลับไปดูว่าองค์กรอิสระไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นนะครับ มันเกิดขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญใช้ คือมีการเลือกมาหลายคณะแล้ว แต่ว่าชุดก่อน ๆ ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลทำไมเขาถึงได้คนที่เหมาะสม และทำไมสามารถทำงานได้เป็นปกติ เพราะประชาธิปัตย์ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงครับ ไม่ได้ส่งคนตัวเองเข้าไปแข่งขัน
คุณสมโภช: ท่านครับขอสุดท้ายเลยครับแนวโน้มทางการเมืองในอนาคตนับจากนี้จะเป็นอย่างไรในส่วนของรัฐบาลข้างหน้า
คุณชวน : อันนี้ผมตอบไม่ได้ ไม่ใช่นักพยากรณ์นะครับ ผมตอบไม่ได้ว่าการเมืองต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่ผมเห็นคำขวัญว่าจะส่งเสริมประชาธิปไตย จะรักษากติกาบ้านเมือง นั่นก็แสดงว่ารัฐบาลของไทยรักไทย เขาจะมาเปลี่ยนแนวจากเดิม 5 ปีที่ไม่เคยเคารพกฎกติกาบ้านเมือง ทำอะไรตามอำเภอใจ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นให้ความสำคัญกับกติกามากขึ้น เสียดายว่าถ้าเราทำตามกติกาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองก็จะไม่เป็นอย่างนี้เช่น ปัญหาภาคใต้ถ้าเราเคารพกติกาตั้งแต่ต้น ไม่ใช้ระบบอุ้มฆ่านอกกฎหมายเนี่ยปัญหาก็ไม่บานปลายสูญเสียอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่คนบริสุทธิ์ต้องตายจำนวนมาก สังเวยให้กับนโยบายและการทำงานที่ผิดพลาดนอกกติกาของรัฐบาลชุดไทยรักไทย
คุณสมโภช: ครับคุณชวนครับ สุดท้ายจริง ๆ ครับ เหงาไม๊ ที่ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
คุณชวน : ผมเป็นคนเคารพมติของพรรคและก็เห็นว่าเมื่อท่านหัวหน้าพรรคตัดสินใจอย่างไร ก็เต็มใจที่ปฏิบัติ โอกาสที่ออกไปหาเสียงประชาชนก็ไม่มี แต่อย่างไรก็ยังต้องไปแต่ว่าไม่ได้ไปในฐานะที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้นเอง ไม่มีปัญหาอะไรครับ เพราะถือว่าเป็นมติที่ชอบของพรรคแล้วและเป็นมติที่เราทุกคนเห็นว่าหัวหน้าพรรคให้ดำเนินการโดยชอบและก็มีเหตุผลสมบูรณ์แล้วครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มี.ค. 2549--จบ--
คุณชวน : ในวันที่ประชุมทางพรรคได้มอบหมายให้ผมไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปจังหวัดชุมพร ผมเลยไม่ได้อยู่เลยตั้งแต่วันที่ 25 — 26 — 27 กลับมาคืนวันที่ 28 แต่ว่าได้รับทราบจากท่านหัวหน้าพรรคท่านก็สรุปปัญหาให้ฟังตั้งแต่เมื่อวานเรียบร้อยแล้วครับ ก็คิดว่าเป็นการตัดสินใจของพรรคที่ชัดเจนแน่นอน ซึ่งผมก็เห็นว่าเมื่อเราตัดสินใจแล้วก็ควรจะดำเนินการไปตามนั้นไม่ควรที่จะสับสนกลับไปกลับมา ก็เป็นเรื่องที่ได้รับทราบจากหัวหน้าพรรคด้วยเหตุด้วยผลชัดเจนแล้วครับ
คุณสมโภช: แนวทางนี้สวนทางกับแนวทางของคุณชวนหรือเปล่าครับ เพราะภาพคุณชวนเป็นภาพของความเป็นประธิปไตย
คุณชวน : แนวทางนี้ก็ไม่ได้สวนทางกับประชาธิปไตยนะครับ เพราะว่าในความเห็นผมตอนแรก ผมก็เรียนท่านหัวหน้าพรรคว่าใจผมนั้นอยากให้ส่ง แล้วท่านก็กรุณาให้เกียรติโทรศัพท์ไปหารือระหว่างที่ผมปฏิบัติภารกิจอยู่ที่นครศรีธรรมราชเนี่ย แต่ว่าในที่สุดเมื่อที่ประชุมมีมติมาแล้วก็ท่านหัวหน้าพรรคสรุปให้ผมฟังถึงเหตุผลทั้งหมด ผมก็เห็นว่าท่านตัดสินใจดีแล้วครับ และก็ทุกเรื่องที่ท่านหัวหน้าอภิสิทธิ์คิดหรือตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ มองหน้า มองหลัง และมองหลักความถูกต้องทุกอย่าง อย่างดีที่สุดซึ่งผมก็ เมื่อวานนี้ก็ได้คุยกับท่านแล้วก็ให้กำลังใจฮะ ว่าให้ท่านทำงานให้สู้ต่อไปและอย่าไปท้อถอยครับ
คุณสมโภช: ประชาธิปัตย์เสี่ยงเกินไปหรือเปล่าครับ ที่เลือกแนวทางลักษณะอย่างนี้กับการเมืองในอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับประชาธิปัตย์
คุณชวน : อันนี้ผมคิดว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของพรรค เพราะว่าท่านหัวหน้าพรรคก็อธิบายชัดเจนมาแต่ต้นแล้วว่า จะยอมรับระบบทักษิณหรือไม่ เพราะว่ากระบวนการที่ผ่านมา 5 ปีเนี่ย ต้องยอมรับว่าการเมืองของเราเนี่ยมันเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามกฎบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การดำเนินการอะไรก็ตามไม่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมืองมีการละเมิดกฎเกณฑ์อะไรต่าง ๆ ด้วยระบบที่เรียกว่าระบบทักษิณ เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้มันเป็นทางเลือกว่าเราจะส่งเสริมระบบนี้หรือเราจะไม่ส่งเสริมระบบนี้ ท่านหัวหน้าพรรคท่านก็บอกว่าเราไม่ควรจะส่งเสริมระบบทักษิณ ท่านก็ตัดสินใจไปในทางที่ผมก็คิดว่าท่านก็มีเหตุมีผลที่สมบูรณ์แล้ว
คุณสมโภช: ข้อครหาที่ว่าประชาธิปัตย์และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ชาติไทย มหาชน ไม่อยู่ในกติกา กติกาในระบอบประชาธิปไตย ในมุมมองของคุณชวนเป็นอย่างไร
คุณชวน : ครับผม อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจนะครับ ผมว่าโดยส่วนรวมแล้วบ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุขได้ก็ต่อเมื่อทุกคนต้องเคารพกติกาของบ้านเมือง แต่ว่าคำว่ากติกา กับการเลือกตั้งเนี่ย มันอยู่ตรงที่ว่าถ้าเราลงสมัครเลือกตั้งแล้วเราโกงเลือกตั้ง ซื้อเสียง ทุจริต ทุกรูปแบบ อย่างนี้ถือว่าเป็นการละเมิดกติกา แต่ถ้าเราไม่ส่งผู้สมัครเนี่ย มันไม่ได้เป็นการละเมิดกติกา มันเป็นการตัดสินใจในทางเลือกของตนเอง ไม่ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการส่วนหนึ่งของขบวนการประชาธิปไตย หรือการเลือกตั้ง สูญเสียโอกาสในการเสนอตัวไป แต่ว่าไม่ได้ละเมิดกติกาเลยครับ ผมเข้าใจว่านายกฯ ทักษิณ เข้าใจคำว่ากติกาผิด เพราะกติกาหมายถึงว่าเมื่อเราตกลงแข่งขันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเราต้องปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์นั้น ๆ เช่น ถ้ามีการเลือกตั้งชัดเจนนะครับว่า การเลือกตั้งในรอบ 73 ปีเนี่ย ผมพูดได้เลยว่าเราละเมิดกติการุนแรงที่สุดก็คือการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วเมื่อมีการเลือกตั้งปี 2548 นะครับ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีการซื้อเสียง มีระบบการทั้งข้าราชการ ทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง แม้กระทั่งผู้มีอิทธิพล ไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อเอาคะแนนเสียงให้มากอย่างเดียว เพื่ออ้างความชอบธรรมว่ามีเสียงอยู่กี่ล้านเสียง อย่างนี้เป็นการละเมิดกติกา แต่ว่าถ้าเราไม่ลงสมัคร ไม่เป็นการละเมิดกติกา มิฉะนั้นนึกออกไม๊ครับมีการเลือกตั้งซ่อมที่สตูล พรรคไทยรักไทยไม่ส่งผู้สมัครครับ อย่างนี้ละเมิดกติกาไม๊ คำตอบก็คือไม่ละเมิดกติกา แต่ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกคนของพรรคไทยรักไทย เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่อยากทำความเข้าใจ และผมขอถือโอกาสย้ำว่า 5 ปีที่ผ่านมาเนี่ย ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือการละเมิดกติกา การแทรกแซงองค์กรอิสระ การใช้วิธีการนอกกฎหมาย ล้วนแล้วแต่นำความเสียหายมาสู่บ้านเมือง เช่น การแทรกแซงองค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรเพื่อหวังให้การบริหารบ้านเมืองไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้นทำไม่ได้ครับ เพราะองค์กรที่ตรวจสอบรัฐบาลนั้นถูกแทรกแซงหมด ทำให้คนเหล่านั้นไม่สามารถสรรหาคนที่เหมาะสมได้ ในที่สุดก็ได้คนซึ่งมาจากระบบโพย หรือมาตามโผ วุฒิสภาซึ่งควรเป็นองค์กรหรือควรเป็นสถาบันที่กลั่นกรองคนเข้ามาทำงานในองค์กรอิสระ ก็ไม่สามารถจะหาคนที่เหมาะสมได้เพราะวุฒิสภาส่วนหนึ่ง คนดี ๆ ก็เยอะ แต่ส่วนหนึ่งก็มาจากระบบถูกซื้อไป อย่างที่เขาพูดกันในที่ประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี่เองว่าอย่างน้อย 60 กว่าคนของวุฒิสมาชิกเนี่ย กินเงินเดือนของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ลงมติเลือกใครก็เลือกไปตามโพย เราจึงเห็นได้ชัดยกตัวอย่างของที่เราเห็นชัดก็คือ กกต. กกต.ชุดปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีคนดีอยู่นะครับ แต่ว่าในขณะเดียวกันก็มีคนส่วนหนึ่งที่คอยปกป้องคนรัฐบาล เมื่อไหร่ก็ตามที่คนของรัฐบาลถูกข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกตั้งไม่ถูกต้องเนี่ย คนส่วนหนึ่งจะคอยมีความเห็นคัดค้านตลอดเวลา จึงไม่สามารถลงมติเป็นเอกฉันท์ตามกฎหมาย กกต. ได้ ในที่สุดพวกโกงเลือกตั้ง ทุจริตการเลือกตั้งก็จะได้รับการปกป้อง เพราะอะไร เพราะองค์กรอิสระถูกแทรกแซง ที่ผมเรียนเรื่องนี้เพราะว่าถ้าเราย้อนกลับไปดูว่าองค์กรอิสระไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นนะครับ มันเกิดขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญใช้ คือมีการเลือกมาหลายคณะแล้ว แต่ว่าชุดก่อน ๆ ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลทำไมเขาถึงได้คนที่เหมาะสม และทำไมสามารถทำงานได้เป็นปกติ เพราะประชาธิปัตย์ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงครับ ไม่ได้ส่งคนตัวเองเข้าไปแข่งขัน
คุณสมโภช: ท่านครับขอสุดท้ายเลยครับแนวโน้มทางการเมืองในอนาคตนับจากนี้จะเป็นอย่างไรในส่วนของรัฐบาลข้างหน้า
คุณชวน : อันนี้ผมตอบไม่ได้ ไม่ใช่นักพยากรณ์นะครับ ผมตอบไม่ได้ว่าการเมืองต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่ผมเห็นคำขวัญว่าจะส่งเสริมประชาธิปไตย จะรักษากติกาบ้านเมือง นั่นก็แสดงว่ารัฐบาลของไทยรักไทย เขาจะมาเปลี่ยนแนวจากเดิม 5 ปีที่ไม่เคยเคารพกฎกติกาบ้านเมือง ทำอะไรตามอำเภอใจ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นให้ความสำคัญกับกติกามากขึ้น เสียดายว่าถ้าเราทำตามกติกาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองก็จะไม่เป็นอย่างนี้เช่น ปัญหาภาคใต้ถ้าเราเคารพกติกาตั้งแต่ต้น ไม่ใช้ระบบอุ้มฆ่านอกกฎหมายเนี่ยปัญหาก็ไม่บานปลายสูญเสียอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่คนบริสุทธิ์ต้องตายจำนวนมาก สังเวยให้กับนโยบายและการทำงานที่ผิดพลาดนอกกติกาของรัฐบาลชุดไทยรักไทย
คุณสมโภช: ครับคุณชวนครับ สุดท้ายจริง ๆ ครับ เหงาไม๊ ที่ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
คุณชวน : ผมเป็นคนเคารพมติของพรรคและก็เห็นว่าเมื่อท่านหัวหน้าพรรคตัดสินใจอย่างไร ก็เต็มใจที่ปฏิบัติ โอกาสที่ออกไปหาเสียงประชาชนก็ไม่มี แต่อย่างไรก็ยังต้องไปแต่ว่าไม่ได้ไปในฐานะที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้นเอง ไม่มีปัญหาอะไรครับ เพราะถือว่าเป็นมติที่ชอบของพรรคแล้วและเป็นมติที่เราทุกคนเห็นว่าหัวหน้าพรรคให้ดำเนินการโดยชอบและก็มีเหตุผลสมบูรณ์แล้วครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มี.ค. 2549--จบ--