กรุงเทพ--12 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยผลักดันยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออก และมาตรการอุดหนุนภายในในการเจรจาสินค้าเกษตร ในขณะที่ขอความยืดหยุ่นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป และแสดงความผิดหวังต่อข้อเสนอของสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิบัตร
คณะผู้แทนไทยในการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า ในวันที่สามของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 6 ที่จังหวัดเชียงใหม่ (11 มกราคม2549) ในเรื่องสินค้าเกษตร ทั้งสองฝ่ายได้หารือในเรื่องรูปแบบการลดภาษีสินค้าเกษตร ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้แจ้งรายการสินค้าที่เป็นเป้าหมายของแต่ละฝ่ายภายในเดือนมกราคม นอกจากนั้น จะได้ปรับปรุงข้อเสนอในการลดภาษีสินค้าเกษตรที่ไม่ได้มีโควตา และยื่นรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่กันภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ อนึ่ง ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออกทุกรูปแบบ รวมทั้งเสนอให้ลดการใช้มาตรการอุดหนุนภายในประเทศต่อสินค้าบางรายการ เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน
ส่วนการเจรจาสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ได้เสนอกฎแหล่งกำเนิดสินค้าในลักษณะที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเส้นใยเป็นต้นไป (yarn forward) ที่จะต้องนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศภาคีเท่านั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีข้อยกเว้นให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศที่สามได้ โดยสหรัฐฯ รับที่จะหารือกับภาคเอกชนของตนต่อไป
การเจรจาเรื่องระเบียบพิธีการด้านศุลกากร ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในเรื่องการเผยแพร่กฎระเบียบและมาตรการศุลกากรต่อสาธารณชน เพื่อเป็นการให้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนการบังคับใช้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนไทยในการส่งสินค้าเข้าตลาดสหรัฐฯ
ในการเจรจาสินค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรูปแบบ แนวทางในการเปิดตลาดบริการรายสาขา และฝ่ายไทยได้ย้ำให้สหรัฐฯ ยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้อง (safeguards) และข้อจำกัด เพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน (restrictions to safeguard the Balance of Payment) ไว้ใน FTA นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเตรียมการเจรจาเปิดเสรีรายสาขาต่อไป
สำหรับวันที่สามของการเจรจาหัวข้อทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมในเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการเรื่องการขออนุญาตล่วงหน้า ก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรของไทยไปใช้ โดยให้ใส่เป็นขั้นตอนการรับจดสิทธิบัตร เพื่อป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ และการแบ่งปันผลประโยชน์หากมีการนำเอาทรัพยากรทางชีวภาพของไทยไปใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ ต่อมา ในช่วงบ่าย ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เสนอร่างบทในเรื่องสิทธิบัตร ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงความผิดหวังต่อข้อเสนอดังกล่าว โดยเห็นว่าข้อเสนอของสหรัฐฯ น่าที่จะสะท้อนถึงความห่วงกังวลของคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยที่ได้หยิบยกขึ้นกับสหรัฐฯ ตลอดมาก่อนหน้านี้
ในการเจรจากลุ่มเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade capacity building/SMEs) ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินโครงการสำคัญที่ช่วยให้ไทยส่งสินค้าที่มีศักยภาพเข้าตลาดสหรัฐฯ ได้สะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การศึกษาดูงานด้านศุลกากร สิ่งทอ และการจัดการพบปะทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทย (match making) กับผู้ผลิตสิ่งทอสหรัฐฯ และการศึกษาดูงานที่ North Carolina State University College of Textiles, Textiles/Clothing Technology Corps (TC2) และ North Carolina Center for Applied Textile Technology (NCCATT) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งทอและศุลกากรที่ประเทศไทยหลังจากการศึกษาดูงานที่ North Carolina และการจัดฝึกอบรมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐและเอกชนทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการไต่สวน และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ในกรณีที่ถูกฟ้องร้องในเรื่องการทุ่มตลาดและการใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (AD/CVD) ซึ่งฝ่ายไทยได้ยื่นรายละเอียดการจัดโครงการให้ฝ่ายสหรัฐฯ แล้ว นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะส่งผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ มาให้คำปรึกษาเรื่องนโยบายการแข่งขันที่ประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ไทยผลักดันยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออก และมาตรการอุดหนุนภายในในการเจรจาสินค้าเกษตร ในขณะที่ขอความยืดหยุ่นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป และแสดงความผิดหวังต่อข้อเสนอของสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิบัตร
คณะผู้แทนไทยในการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า ในวันที่สามของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 6 ที่จังหวัดเชียงใหม่ (11 มกราคม2549) ในเรื่องสินค้าเกษตร ทั้งสองฝ่ายได้หารือในเรื่องรูปแบบการลดภาษีสินค้าเกษตร ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้แจ้งรายการสินค้าที่เป็นเป้าหมายของแต่ละฝ่ายภายในเดือนมกราคม นอกจากนั้น จะได้ปรับปรุงข้อเสนอในการลดภาษีสินค้าเกษตรที่ไม่ได้มีโควตา และยื่นรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่กันภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ อนึ่ง ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออกทุกรูปแบบ รวมทั้งเสนอให้ลดการใช้มาตรการอุดหนุนภายในประเทศต่อสินค้าบางรายการ เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน
ส่วนการเจรจาสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ได้เสนอกฎแหล่งกำเนิดสินค้าในลักษณะที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเส้นใยเป็นต้นไป (yarn forward) ที่จะต้องนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศภาคีเท่านั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีข้อยกเว้นให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศที่สามได้ โดยสหรัฐฯ รับที่จะหารือกับภาคเอกชนของตนต่อไป
การเจรจาเรื่องระเบียบพิธีการด้านศุลกากร ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในเรื่องการเผยแพร่กฎระเบียบและมาตรการศุลกากรต่อสาธารณชน เพื่อเป็นการให้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนการบังคับใช้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนไทยในการส่งสินค้าเข้าตลาดสหรัฐฯ
ในการเจรจาสินค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรูปแบบ แนวทางในการเปิดตลาดบริการรายสาขา และฝ่ายไทยได้ย้ำให้สหรัฐฯ ยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้อง (safeguards) และข้อจำกัด เพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน (restrictions to safeguard the Balance of Payment) ไว้ใน FTA นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเตรียมการเจรจาเปิดเสรีรายสาขาต่อไป
สำหรับวันที่สามของการเจรจาหัวข้อทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมในเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการเรื่องการขออนุญาตล่วงหน้า ก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรของไทยไปใช้ โดยให้ใส่เป็นขั้นตอนการรับจดสิทธิบัตร เพื่อป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ และการแบ่งปันผลประโยชน์หากมีการนำเอาทรัพยากรทางชีวภาพของไทยไปใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ ต่อมา ในช่วงบ่าย ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เสนอร่างบทในเรื่องสิทธิบัตร ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงความผิดหวังต่อข้อเสนอดังกล่าว โดยเห็นว่าข้อเสนอของสหรัฐฯ น่าที่จะสะท้อนถึงความห่วงกังวลของคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยที่ได้หยิบยกขึ้นกับสหรัฐฯ ตลอดมาก่อนหน้านี้
ในการเจรจากลุ่มเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade capacity building/SMEs) ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินโครงการสำคัญที่ช่วยให้ไทยส่งสินค้าที่มีศักยภาพเข้าตลาดสหรัฐฯ ได้สะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การศึกษาดูงานด้านศุลกากร สิ่งทอ และการจัดการพบปะทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทย (match making) กับผู้ผลิตสิ่งทอสหรัฐฯ และการศึกษาดูงานที่ North Carolina State University College of Textiles, Textiles/Clothing Technology Corps (TC2) และ North Carolina Center for Applied Textile Technology (NCCATT) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งทอและศุลกากรที่ประเทศไทยหลังจากการศึกษาดูงานที่ North Carolina และการจัดฝึกอบรมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐและเอกชนทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการไต่สวน และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ในกรณีที่ถูกฟ้องร้องในเรื่องการทุ่มตลาดและการใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (AD/CVD) ซึ่งฝ่ายไทยได้ยื่นรายละเอียดการจัดโครงการให้ฝ่ายสหรัฐฯ แล้ว นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะส่งผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ มาให้คำปรึกษาเรื่องนโยบายการแข่งขันที่ประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-