กรุงเทพ--18 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue Ministerial Meeting) ครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2549 ณ กรุงโดฮา กาตาร์ ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 28 ประเทศ (บาห์เรน บังกลาเทศ บรูไนฯ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ สิงคโปร์ เวียดนาม คาซักสถาน ภูฏาน รัสเซีย คูเวต อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย โอมาน มองโกเลีย ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย) เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ในด้านต่างๆ ตลอดจนพัฒนาการที่สำคัญในภูมิภาคที่สมาชิกสนใจร่วมกัน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกฯ ในอนาคต
การประชุมฯ จะจัดขึ้นในแบบ “Retreat” กล่าวคือ ไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมไว้ล่วงหน้า โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ สามารถหารือแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันในประเด็นต่างๆ ได้อย่างเปิดกว้างภายใต้บรรยากาศที่เป็นกันเอง อย่างไรก็ตามประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานหลัก (Main Coordinator) ของ ACDได้เตรียมประเด็นสำหรับที่ประชุมพิจารณาใช้ประกอบการหารือฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะแจ้งให้ผู้ร่วมประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือในกรอบ ACD ช่วงปี 2548-2549 อาทิ การประชุม ACD Energy Forum ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนกันยายน 2548 ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้มีการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของ ACD และการประชุม ACD Tourism Business Forum ณ ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนเมษายน 2549 ซึ่งที่ประชุมฯ ได้รับรองแผนการดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้กาตาร์ในฐานะประเทศเจ้าภาพการประชุมฯ จะรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบถึงสถานะล่าสุดของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD ใน 19 สาขา (พลังงาน การแก้ไขปัญหาความยากจน การเกษตร การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม เทคโนโลยี ชีวภาพ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันด้านการจัดมาตรฐานเอเชีย ความร่วมมือด้านผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการเงิน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมศึกษา การสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างด้านกฎหมาย ความปลอดภัยบนท้องถนน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ) สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีการหารือในการประชุมฯ ครั้งนี้คือ การพิจารณาร่างเอกสารแนวทางการรับสมาชิกใหม่ของ ACD ซึ่งในขณะนี้ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสสถานได้ติดต่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก ACDอย่างเป็นทางการและเอกสาร Concept Paper เรื่อง ACD Forum: Future Direction เกี่ยวกับแนวทาง/กลไกการประสานงานเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของ ACD ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ประสาน งานหลักเป็นผู้ยกร่างเอกสารทั้งสอง
โอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ฯ มีกำหนดที่จะเข้าเฝ้าฯ H.H. Sheikh Tamim bin Hamad bin Khalifa Al-Thani มกุฏราชกุมารกาตาร์ (H.H. Sheikh Hamad bin Khalifa Al-Thani สมเด็จพระราชาธิบดีกาตาร์ และ H.H. Sheikha Mozah bint Nasser Al-Missned พระชายาจะเสด็จร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี) และพบหารือทวิภาคีกับ Sheikh Hamad bin Jassim bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศกาตาร์ นาย Mohammed Hussein Al Shaali รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Sheikh Dr. Mohammed Sabah Al-Salem Al-Sabah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวต
นาย M. Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ นาย Kassymzhomart Tokaev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซักสถาน นาย Khurshid M. Kasuri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน นาย Yousef bin Alawi bin Abdullah รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการต่างประเทศโอมาน และนาย E.Ahamed รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียด้วย
อนึ่ง ก่อนหน้าการเดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ดร. กันตธีร์ฯ จะเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2549 ซึ่งในระหว่างการเยือน ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการที่จะเข้าเฝ้าฯ H.M. King Hamad bin Isa Al Khalifa สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรบาห์เรน H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรี และพบหารือกับ Shaikh Mohammed bin Mubarak Al Khalifa รองนายกรัฐมนตรี Shaikh Khalid bin Ahmed Al Khalifa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ Dr. Majid Ali Al Nuaimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการราชอาณาจักรบาห์เรน
ประเด็นสำคัญที่ ดร. กันตธีร์ฯ จะหยิบยกขึ้นหารือกับบุคคลระดับสูงของบาห์เรนในระหว่างการเยือนฯ คือ การส่งเสริมความสัมพันธ์และร่วมมือระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะกรอบการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference: OIC) ซึ่งบาห์เรนได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยเป็นอย่างดีในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของประเทศสมาชิกฯ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงกรณีปัญหาภาคใต้ และในกรอบสหประชาชาติ ซึ่งบาห์เรนให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของรองนายกรัฐมนตรี
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยยังจะแลกเปลี่ยนความเห็นกับฝ่ายบาห์เรนในเรื่องคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน (มิถุนายน 2545) ความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทย-บาห์เรน (มิถุนายน 2545) ความตกลงด้านการบินไทย-บาห์เรน (ฉบับที่ 2) การจัดตั้งศูนย์ Thai Business Center ที่กรุงมานามา (มีนาคม 2549) เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ/การค้า/การลงทุนระหว่างสองประเทศ และความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 บริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามความตกลง Technical Evaluation Agreement กับบริษัท Bahrain Petroleum Company (BAPCO) นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะพบปะกับแรงงานไทยในบาห์เรน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวนประมาณ 1,500 คนด้วย
ไทยและบาห์เรนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 การค้าสองฝ่ายในปี 2548 มีมูค่า 184.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 จากปี 2547) โดยไทยส่งออกสินค้าไปบาห์เรน 66.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ด้าย/เส้นใยประดิษฐ์ เสื้อผ้า ตู้เย็น และข้าว) และนำเข้าจากบาห์เรน 117.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (น้ำมัน สินแร่โลหะ และปุ๋ย) โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้นำและสมาชิกพระราชวงศ์ระดับสูงของบาห์เรนนิยมเดินทางมาพักผ่อนที่ประเทศไทยมาก และในช่วงงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของสมเด็จพระราชาธิบดีบาห์เรนองค์ปัจจุบันก็จะเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จมาร่วมงานฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue Ministerial Meeting) ครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2549 ณ กรุงโดฮา กาตาร์ ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 28 ประเทศ (บาห์เรน บังกลาเทศ บรูไนฯ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ สิงคโปร์ เวียดนาม คาซักสถาน ภูฏาน รัสเซีย คูเวต อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย โอมาน มองโกเลีย ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย) เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ในด้านต่างๆ ตลอดจนพัฒนาการที่สำคัญในภูมิภาคที่สมาชิกสนใจร่วมกัน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกฯ ในอนาคต
การประชุมฯ จะจัดขึ้นในแบบ “Retreat” กล่าวคือ ไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมไว้ล่วงหน้า โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ สามารถหารือแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันในประเด็นต่างๆ ได้อย่างเปิดกว้างภายใต้บรรยากาศที่เป็นกันเอง อย่างไรก็ตามประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานหลัก (Main Coordinator) ของ ACDได้เตรียมประเด็นสำหรับที่ประชุมพิจารณาใช้ประกอบการหารือฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะแจ้งให้ผู้ร่วมประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือในกรอบ ACD ช่วงปี 2548-2549 อาทิ การประชุม ACD Energy Forum ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนกันยายน 2548 ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้มีการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของ ACD และการประชุม ACD Tourism Business Forum ณ ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนเมษายน 2549 ซึ่งที่ประชุมฯ ได้รับรองแผนการดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้กาตาร์ในฐานะประเทศเจ้าภาพการประชุมฯ จะรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบถึงสถานะล่าสุดของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD ใน 19 สาขา (พลังงาน การแก้ไขปัญหาความยากจน การเกษตร การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม เทคโนโลยี ชีวภาพ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันด้านการจัดมาตรฐานเอเชีย ความร่วมมือด้านผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการเงิน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมศึกษา การสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างด้านกฎหมาย ความปลอดภัยบนท้องถนน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ) สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีการหารือในการประชุมฯ ครั้งนี้คือ การพิจารณาร่างเอกสารแนวทางการรับสมาชิกใหม่ของ ACD ซึ่งในขณะนี้ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสสถานได้ติดต่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก ACDอย่างเป็นทางการและเอกสาร Concept Paper เรื่อง ACD Forum: Future Direction เกี่ยวกับแนวทาง/กลไกการประสานงานเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของ ACD ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ประสาน งานหลักเป็นผู้ยกร่างเอกสารทั้งสอง
โอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ฯ มีกำหนดที่จะเข้าเฝ้าฯ H.H. Sheikh Tamim bin Hamad bin Khalifa Al-Thani มกุฏราชกุมารกาตาร์ (H.H. Sheikh Hamad bin Khalifa Al-Thani สมเด็จพระราชาธิบดีกาตาร์ และ H.H. Sheikha Mozah bint Nasser Al-Missned พระชายาจะเสด็จร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี) และพบหารือทวิภาคีกับ Sheikh Hamad bin Jassim bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศกาตาร์ นาย Mohammed Hussein Al Shaali รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Sheikh Dr. Mohammed Sabah Al-Salem Al-Sabah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวต
นาย M. Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ นาย Kassymzhomart Tokaev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซักสถาน นาย Khurshid M. Kasuri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน นาย Yousef bin Alawi bin Abdullah รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการต่างประเทศโอมาน และนาย E.Ahamed รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียด้วย
อนึ่ง ก่อนหน้าการเดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ดร. กันตธีร์ฯ จะเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2549 ซึ่งในระหว่างการเยือน ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการที่จะเข้าเฝ้าฯ H.M. King Hamad bin Isa Al Khalifa สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรบาห์เรน H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรี และพบหารือกับ Shaikh Mohammed bin Mubarak Al Khalifa รองนายกรัฐมนตรี Shaikh Khalid bin Ahmed Al Khalifa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ Dr. Majid Ali Al Nuaimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการราชอาณาจักรบาห์เรน
ประเด็นสำคัญที่ ดร. กันตธีร์ฯ จะหยิบยกขึ้นหารือกับบุคคลระดับสูงของบาห์เรนในระหว่างการเยือนฯ คือ การส่งเสริมความสัมพันธ์และร่วมมือระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะกรอบการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference: OIC) ซึ่งบาห์เรนได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยเป็นอย่างดีในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของประเทศสมาชิกฯ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงกรณีปัญหาภาคใต้ และในกรอบสหประชาชาติ ซึ่งบาห์เรนให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการสมัครตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของรองนายกรัฐมนตรี
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยยังจะแลกเปลี่ยนความเห็นกับฝ่ายบาห์เรนในเรื่องคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน (มิถุนายน 2545) ความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทย-บาห์เรน (มิถุนายน 2545) ความตกลงด้านการบินไทย-บาห์เรน (ฉบับที่ 2) การจัดตั้งศูนย์ Thai Business Center ที่กรุงมานามา (มีนาคม 2549) เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ/การค้า/การลงทุนระหว่างสองประเทศ และความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 บริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามความตกลง Technical Evaluation Agreement กับบริษัท Bahrain Petroleum Company (BAPCO) นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะพบปะกับแรงงานไทยในบาห์เรน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวนประมาณ 1,500 คนด้วย
ไทยและบาห์เรนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 การค้าสองฝ่ายในปี 2548 มีมูค่า 184.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 จากปี 2547) โดยไทยส่งออกสินค้าไปบาห์เรน 66.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ด้าย/เส้นใยประดิษฐ์ เสื้อผ้า ตู้เย็น และข้าว) และนำเข้าจากบาห์เรน 117.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (น้ำมัน สินแร่โลหะ และปุ๋ย) โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้นำและสมาชิกพระราชวงศ์ระดับสูงของบาห์เรนนิยมเดินทางมาพักผ่อนที่ประเทศไทยมาก และในช่วงงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของสมเด็จพระราชาธิบดีบาห์เรนองค์ปัจจุบันก็จะเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จมาร่วมงานฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-