จีนเป็นประเทศที่ทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนและทำธุรกิจค้าขายด้วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในการรองรับสินค้าเพราะมีประชากรถึงกว่า 1,300 ล้านคน (ร้อยละ 22 ของประชากรโลก) และเศรษฐกิจมีอัตราขยายตัวสูงและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจในจีนราบรื่นและประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากการศึกษากฎระเบียบการค้าและการลงทุน ระบบการชำระเงิน รวมถึงแนวโน้มตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคจีนแล้ว การเรียนรู้ถึงธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบธุรกิจของชาวจีนนับเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อการค้ากับจีน
รายละเอียดที่น่าสนใจของธรรมเนียมปฏิบัติในการติดต่อธุรกิจกับชาวจีน มีดังนี้
* การนัดหมาย ควรนัดหมายล่วงหน้า และเลือกนัดหมายในช่วงเวลาเปิดทำการของธุรกิจ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. ยกเว้นช่วงพักกลางวันระหว่างเวลา 12.00-14.00 น. อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการนัดหมายช่วงวันสำคัญ อาทิ วันตรุษจีน และวันชาติจีน (วันที่ 1 ตุลาคม) เนื่องจากบริษัทในจีนมักปิดทำการหลายวันในช่วงนี้ นอกจากนี้ ควรตระหนักว่านักธุรกิจชาวจีนนั้นให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรไปสายกว่าเวลานัดหมาย
* การแต่งกาย ควรแต่งกายสุภาพด้วยเสื้อผ้าสีเรียบ โดยเฉพาะสีน้ำตาล สีเทา และสีดำ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่เราติดต่อด้วย สำหรับผู้ชายควรสวมชุดสูทและผูกเนกไท ส่วนผู้หญิงควรสวมสูทหรือเสื้อคอปิดกับกระโปรงยาวคลุมเข่าและรองเท้าส้นเตี้ย ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงเนื่องจากชาวจีนเห็นว่าเป็นรองเท้าที่เหมาะกับงานสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรองที่ไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันชาวจีน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ เปิดรับการแต่งกายตามแฟชั่นต่างประเทศมากขึ้น แต่การแต่งกายสุภาพตามที่กล่าวไว้ข้างต้นย่อมสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่เราติดต่อด้วย โดยเฉพาะในการ พบปะกันครั้งแรก
* การแลกเปลี่ยนนามบัตร เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจในจีน เนื่องจากผู้ประกอบการชาวจีนนิยมแลกเปลี่ยนนามบัตร ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนนามบัตรควรใช้มือทั้ง 2 ข้างยื่นหรือรับนามบัตรกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแสดงความสุภาพและความนอบน้อม และไม่ควรเก็บนามบัตรทันทีโดยไม่อ่านรายละเอียด เพราะถือเป็นการเสียมารยาทสำหรับรายละเอียดในนามบัตรควรเป็นภาษาจีน หรือด้านหนึ่งเป็นภาษาไทย/อังกฤษ และอีกด้านหนึ่งเป็นภาษาจีน
* การประชุม ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีน ผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดจะเดินเข้าห้องประชุมเป็นคนแรกตามด้วยผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญรองลงมาตามลำดับ และเมื่อการประชุมเสร็จสิ้นลงผู้ประกอบการไทยควรเป็นฝ่ายเดินออกจากห้องประชุมก่อน
* การมอบของขวัญ เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันในระยะยาว โดยมักมอบให้แก่หัวหน้าคณะทำงานในฐานะตัวแทนบริษัทเมื่อการตกลงเจรจาทางธุรกิจเสร็จสิ้นลง หรืออาจมอบให้ในวันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ ของขวัญที่มอบให้อาจเป็นแก้ว ปากกา หรือพวงกุญแจ ที่มีตราหรือสัญลักษณ์ของบริษัทติดอยู่ หรือเป็นของที่แสดงถึงความเป็นไทย โดยมีมูลค่าไม่สูงนัก เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อหวังผลประโยชน์
สำหรับการมอบของขวัญให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการส่วนตัวเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ไม่ควรกระทำในที่สาธารณะ และควรแสดงให้ชัดเจนว่าของขวัญดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงมิตรภาพ มิใช่เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ของขวัญที่มอบให้ในลักษณะนี้ควรมีมูลค่าพอสมควร อาทิ สุราหรือบรั่นดีชั้นเลิศ เครื่องคิดเลข ปากกาคุณภาพดี (ยกเว้นปากกาที่มีหมึกสีแดง) หรือเป็นสิ่งของที่มีคุณค่าต่อผู้รับ อาทิ แสตมป์สำหรับผู้ชอบสะสมแสตมป์ (เป็นงานอดิเรกที่นิยมมากในจีน) สำหรับสิ่งที่ไม่ควรนำมามอบเป็นของขวัญ คือ ผ้าเช็ดหน้า รองเท้าฟาง และของมีคม อาทิ มีด และกรรไกร เนื่องจากเป็นสิ่งที่สื่อถึงความไม่เป็นมงคล นอกจากนี้ ควรให้สิ่งของที่มีจำนวนหรือเกี่ยวข้องกับเลขมงคล อาทิ 6 หมายถึงราบรื่น และ 8 หมายถึงร่ำรวย ควรห่อของขวัญด้วยกระดาษสีแดง สีชมพู สีทอง หรือสีเงิน ซึ่งชาวจีนถือเป็นสีมงคล และหากเตรียมของขวัญไปจากประเทศไทยก็ควรนำไปห่อที่ประเทศจีน เพราะด่านศุลกากรอาจสั่งให้แกะห่อของขวัญเพื่อขอตรวจสอบได้ นอกจากนี้ เมื่อจะมอบของขวัญควรยื่นให้ด้วยมือทั้งสองข้างเพื่อแสดงความสุภาพ และไม่ควรขอให้ผู้รับแกะของขวัญต่อหน้าในทันที
* การร่วมรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารร่วมกันนอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ปรากฏในการประชุมอย่างเป็นทางการ อาทิ ข้อมูลของคู่แข่งทั้งนี้ เวลารับประทานอาหารกลางวันของชาวจีนเริ่มตั้งแต่เวลา 11.30 น. หรือ 12.00 น. และอาหารเย็นเวลาประมาณ 18.00 น. หากเป็นเจ้าภาพควรไปก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที แต่หากเป็นแขกควรไปตรงตามเวลานัดทั้งนี้ เจ้าภาพควรนั่งกลางโต๊ะและหันหน้าไปทางประตู ส่วนแขกสำคัญนั่งอยู่ทางซ้ายมือของเจ้าภาพ นอกจากนี้ เจ้าภาพควรตักอาหารที่ดีที่สุดบนโต๊ะให้แก่แขกสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการแสดงมิตรภาพ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-
รายละเอียดที่น่าสนใจของธรรมเนียมปฏิบัติในการติดต่อธุรกิจกับชาวจีน มีดังนี้
* การนัดหมาย ควรนัดหมายล่วงหน้า และเลือกนัดหมายในช่วงเวลาเปิดทำการของธุรกิจ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. ยกเว้นช่วงพักกลางวันระหว่างเวลา 12.00-14.00 น. อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการนัดหมายช่วงวันสำคัญ อาทิ วันตรุษจีน และวันชาติจีน (วันที่ 1 ตุลาคม) เนื่องจากบริษัทในจีนมักปิดทำการหลายวันในช่วงนี้ นอกจากนี้ ควรตระหนักว่านักธุรกิจชาวจีนนั้นให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรไปสายกว่าเวลานัดหมาย
* การแต่งกาย ควรแต่งกายสุภาพด้วยเสื้อผ้าสีเรียบ โดยเฉพาะสีน้ำตาล สีเทา และสีดำ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่เราติดต่อด้วย สำหรับผู้ชายควรสวมชุดสูทและผูกเนกไท ส่วนผู้หญิงควรสวมสูทหรือเสื้อคอปิดกับกระโปรงยาวคลุมเข่าและรองเท้าส้นเตี้ย ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงเนื่องจากชาวจีนเห็นว่าเป็นรองเท้าที่เหมาะกับงานสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรองที่ไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันชาวจีน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ เปิดรับการแต่งกายตามแฟชั่นต่างประเทศมากขึ้น แต่การแต่งกายสุภาพตามที่กล่าวไว้ข้างต้นย่อมสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่เราติดต่อด้วย โดยเฉพาะในการ พบปะกันครั้งแรก
* การแลกเปลี่ยนนามบัตร เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจในจีน เนื่องจากผู้ประกอบการชาวจีนนิยมแลกเปลี่ยนนามบัตร ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนนามบัตรควรใช้มือทั้ง 2 ข้างยื่นหรือรับนามบัตรกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแสดงความสุภาพและความนอบน้อม และไม่ควรเก็บนามบัตรทันทีโดยไม่อ่านรายละเอียด เพราะถือเป็นการเสียมารยาทสำหรับรายละเอียดในนามบัตรควรเป็นภาษาจีน หรือด้านหนึ่งเป็นภาษาไทย/อังกฤษ และอีกด้านหนึ่งเป็นภาษาจีน
* การประชุม ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีน ผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดจะเดินเข้าห้องประชุมเป็นคนแรกตามด้วยผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญรองลงมาตามลำดับ และเมื่อการประชุมเสร็จสิ้นลงผู้ประกอบการไทยควรเป็นฝ่ายเดินออกจากห้องประชุมก่อน
* การมอบของขวัญ เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันในระยะยาว โดยมักมอบให้แก่หัวหน้าคณะทำงานในฐานะตัวแทนบริษัทเมื่อการตกลงเจรจาทางธุรกิจเสร็จสิ้นลง หรืออาจมอบให้ในวันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ ของขวัญที่มอบให้อาจเป็นแก้ว ปากกา หรือพวงกุญแจ ที่มีตราหรือสัญลักษณ์ของบริษัทติดอยู่ หรือเป็นของที่แสดงถึงความเป็นไทย โดยมีมูลค่าไม่สูงนัก เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อหวังผลประโยชน์
สำหรับการมอบของขวัญให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการส่วนตัวเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ไม่ควรกระทำในที่สาธารณะ และควรแสดงให้ชัดเจนว่าของขวัญดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงมิตรภาพ มิใช่เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ของขวัญที่มอบให้ในลักษณะนี้ควรมีมูลค่าพอสมควร อาทิ สุราหรือบรั่นดีชั้นเลิศ เครื่องคิดเลข ปากกาคุณภาพดี (ยกเว้นปากกาที่มีหมึกสีแดง) หรือเป็นสิ่งของที่มีคุณค่าต่อผู้รับ อาทิ แสตมป์สำหรับผู้ชอบสะสมแสตมป์ (เป็นงานอดิเรกที่นิยมมากในจีน) สำหรับสิ่งที่ไม่ควรนำมามอบเป็นของขวัญ คือ ผ้าเช็ดหน้า รองเท้าฟาง และของมีคม อาทิ มีด และกรรไกร เนื่องจากเป็นสิ่งที่สื่อถึงความไม่เป็นมงคล นอกจากนี้ ควรให้สิ่งของที่มีจำนวนหรือเกี่ยวข้องกับเลขมงคล อาทิ 6 หมายถึงราบรื่น และ 8 หมายถึงร่ำรวย ควรห่อของขวัญด้วยกระดาษสีแดง สีชมพู สีทอง หรือสีเงิน ซึ่งชาวจีนถือเป็นสีมงคล และหากเตรียมของขวัญไปจากประเทศไทยก็ควรนำไปห่อที่ประเทศจีน เพราะด่านศุลกากรอาจสั่งให้แกะห่อของขวัญเพื่อขอตรวจสอบได้ นอกจากนี้ เมื่อจะมอบของขวัญควรยื่นให้ด้วยมือทั้งสองข้างเพื่อแสดงความสุภาพ และไม่ควรขอให้ผู้รับแกะของขวัญต่อหน้าในทันที
* การร่วมรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารร่วมกันนอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ปรากฏในการประชุมอย่างเป็นทางการ อาทิ ข้อมูลของคู่แข่งทั้งนี้ เวลารับประทานอาหารกลางวันของชาวจีนเริ่มตั้งแต่เวลา 11.30 น. หรือ 12.00 น. และอาหารเย็นเวลาประมาณ 18.00 น. หากเป็นเจ้าภาพควรไปก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที แต่หากเป็นแขกควรไปตรงตามเวลานัดทั้งนี้ เจ้าภาพควรนั่งกลางโต๊ะและหันหน้าไปทางประตู ส่วนแขกสำคัญนั่งอยู่ทางซ้ายมือของเจ้าภาพ นอกจากนี้ เจ้าภาพควรตักอาหารที่ดีที่สุดบนโต๊ะให้แก่แขกสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการแสดงมิตรภาพ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-