ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยแนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 ปีนี้ของไทยจะยังชะลอตัวหรือทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 3 รายงานแนวโน้ม
ธุรกิจเดือน ก.ย.ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า แนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 49 ของไทยจะยังคงชะลอตัวหรือทรงตัวใน
ระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาส 3 แม้ว่าความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากการรัฐประหาร โดยผู้ประกอบการไทยที่ได้เริ่มลงทุนไปแล้วก็ยังคง
ดำเนินการตามแผนการลงทุนเดิม ส่วนผู้ประกอบการต่างชาติแม้จะยังไม่ถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยแต่ก็หันไปขยายการลงทุนในต่างประเทศ
ที่มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจมากกว่าไทย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ประกอบการต่างชาติบางรายที่พร้อมจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย
เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีการย้ายฐานการผลิตจอแอลซีดีและโทรทัศน์จากญี่ปุ่นเข้ามาผลิตในประเทศไทย เป็นต้น (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
2. ธปท.รายงาน ก.คลังสอบพบความผิดปกติในงบการเงิน ธอส. รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานมายัง ก.คลังหลังตรวจพบว่า ในงบการเงินของ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในช่วงที่ผ่านมา
ได้แสดงผลขาดทุนที่ไม่สามารถระบุถึงที่มาได้ถึงจำนวน 3 พันล้านบาท แต่ได้ลงบัญชีในลักษณะตั้งเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ทั้งนี้ เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้น
กลับพบว่าเป็นผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการสวอปเงินหรือการแปลงหนี้ต่างประเทศ จึงรายงานมายัง ก.คลัง เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.เตรียมเปิดให้บริการโอนและถอนเงินในต่างประเทศผ่านตู้เอทีเอ็มในปี 50 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างพัฒนาความร่วมมือด้านการให้บริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มร่วมกับต่างประเทศ
ให้มีบริการที่หลากหลายประเภทและสะดวกขึ้น แต่มีค่าบริการที่ถูกลงกว่าการทำธุรกรรมผ่านทางเคาน์เตอร์ของ ธพ. โดยผู้ใช้บริการจะสามารถ
ใช้บริการทั้งถอนเงินสดและโอนเงินไปมาระหว่างกันผ่านทางตู้เอทีเอ็มของประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ง่ายขึ้น แต่เสีย
ค่าธรรมเนียมถูกลง คาดว่า ปี 50 จะสามารถให้บริการโอนเงินระหว่าง 4 ประเทศผ่านตู้เอ็ทีเอ็มพูลได้ จากปัจจุบันที่มีธนาคาร 2 แห่งทำได้แล้ว
(โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. ปลัด ก.คลังส่งหนังสือแย้งแก้ไข พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินที่เตรียมเสนอ ครม.วันอังคารนี้ แหล่งข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 28 พ.ย.นี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจ
สถาบันการเงินเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งก่อนหน้านี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ปลัด ก.คลังได้ทำหนังสือถึง รมว.คลัง ว่า
ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจในการดูแลสถาบันการเงินไว้ที่ ธปท.เพียงแห่งเดียว ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการตรวจสอบ
และถ่วงดุล ขณะเดียวกัน ก.คลังเป็นผู้มีหน้าที่จะต้องรักษาความอยู่ดีมีสุข และวินัยการเงินการคลัง จึงควรมีส่วนร่วมตัดสินใจ เพราะผลกระทบที่
เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเงินภาษีของประชาชนและภาระ งปม.ได้ นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ธปท.มีอำนาจสั่งปิดกิจการและ
ควบรวมกิจการของสถาบันการเงินเองทั้งหมด โดย ก.คลังมีหน้าที่เฉพาะออกใบอนุญาตประกอบกิจการสถาบันการเงิน และรับทราบการ
กระทำใด ๆ ของ ธปท.ที่จะต้องรายงาน รมว.คลัง โดยเร็วเท่านั้น เท่ากับเป็นการลดบทบาทการตรวจสอบและถ่วงดุลของ ก.คลังต่อการปฏิบัติ
งานของ ธปท.ที่ได้รวมอำนาจไว้ที่เดียว ซึ่งในอนาคตจะส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงและมีผลให้เกิดวิกฤติการเงินอย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้
อย่างไรก็ตาม รมว.คลังได้ทำหนังสือตอบกลับปลัด ก.คลังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จากวิกฤติการเงินในอดีตที่ผ่านมา หากปล่อยให้ ธปท.ตัดสินใจใน
ปัญหาจะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างทันท่วงที แต่อุปสรรค คือ การต้องส่งมาให้ ก.คลัง ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซง และ
มีการตัดสินใจล่าช้า ผลการตัดสินใจช้าดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลมากกว่า ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่า ธปท.จะรวบอำนาจโดยไร้การตรวจสอบ
และถ่วงดุล เพราะมีแนวคิดจะแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.ด้วยเช่นกัน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของยุโรปยังคงไม่ชัดเจน รายงานจากโรม เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 49 นาย
Lorenzo Bini Smaghi กรรมาธิการ ธ.กลางสหภาพยุโรปกล่าวว่า ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่
ภายหลัง
การประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางยุโรปในเดือน ธ.ค. เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปชะลอลง ประกอบกับมีความเสี่ยงและ
ความไม่แน่นอน ทั้งนี้โดยทั่วไปเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวแต่ยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลีที่เศรษฐกิจอาจจะ
ชะลอตัว อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของยุโรปอาจจะสิ้นสุดลง เนื่องจากตัวเลขล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตในอัตราชะลอลง
แต่ยังคงมีการขยายตัวอยู่รวมทั้งยังคงมีความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดและแนวโน้มราคาน้ำมัน ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า
ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่ 7 ธ.ค.
ซึ่งธ.กลางยุโรปเน้นว่ายังคงมีความไม่แน่นอน (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน พ.ย.49 ปรับตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 27 พ.ย.49 บริษัทที่ปรึกษา
ด้านอสังหาริมทรัพย์ Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีนับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค.47 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งนี้ ทิศทางของราคาบ้านแสดง
ให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดบ้านมามากกว่า 2 เดือน และยังคงแสดงทิศทางการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้ตลาดบ้าน สรอ.จะต้อง
ประสบกับภาวะความต้องการที่ชะลอตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Hometrack คาดการณ์ว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 5
ในเดือนนี้อาจส่งผลกระทบให้ราคาบ้านขยายตัวในปีหน้า โดยคาดว่าราคาบ้านเฉลี่ยปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้ายังดูสดใส แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 25 พ.ย.49 Peer Steinbrueck รมว.คลังของเยอรมนี กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้ายังดูสดใส
แม้ว่ารัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเพราะเป็นแผนระยะยาว
เพื่อต้องการลดแรงกดดันจากการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและลดต้นทุนแรงงานที่ไม่มีค่าจ้าง ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะต่ำกว่า
ปีนี้เล็กน้อย โดยคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น การบริโภค
ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น และแม้แต่อุตสาหกรรมการก่อสร้างก็เริ่มพลิกฟื้นหลังจากชะงักงันมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ รวมถึงการจัดเก็บภาษีรายได้ของ
รัฐในปีนี้ก็คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันจากการที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปีเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันรายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ
24 พ.ย.49 ธ.กลางมาเลเซียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปีเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันของการประชุมนโยบายการเงิน
หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมร้อยละ 0.80 ต่อปีในระหว่างเดือน พ.ย.48 ถึง เม.ย.49 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง
จากการลดลงของราคาน้ำมันและการชะลอตัวลงของราคาสินค้าและค่าจ้าง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค.49 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี
ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ลดลงจากร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.49 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดย ธ.กลางมาเลเซียคาดว่าอัตราเงิน
เฟ้อเฉลี่ยในปี 49 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 3.0 ต่อปี ในปี 48 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 50 จะชะลอตัวลงมาอยู่
ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวลง รัฐบาลก็หันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริโภคในประเทศซึ่งชะลอตัวลง
ซึ่งดูได้จากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงมากกว่า 1 ใน 3 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่อย่างไร
ก็ดี รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 49 อาจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 5.8 ต่อปีที่คาดไว้โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายภาครัฐ สอดคล้องกับความ
เห็นของ ธ.กลางมาเลเซียที่คาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะยังคงขยายตัวในอัตราคงที่ต่อไปในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำและ
เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้ว จึงไม่มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นักวิเคราะห์บางคนคาดไว้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 พ.ย. 49 24 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.548 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3534/36.6392 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.87/12.46 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.86 55.94 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยแนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 ปีนี้ของไทยจะยังชะลอตัวหรือทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 3 รายงานแนวโน้ม
ธุรกิจเดือน ก.ย.ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า แนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 49 ของไทยจะยังคงชะลอตัวหรือทรงตัวใน
ระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาส 3 แม้ว่าความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากการรัฐประหาร โดยผู้ประกอบการไทยที่ได้เริ่มลงทุนไปแล้วก็ยังคง
ดำเนินการตามแผนการลงทุนเดิม ส่วนผู้ประกอบการต่างชาติแม้จะยังไม่ถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยแต่ก็หันไปขยายการลงทุนในต่างประเทศ
ที่มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจมากกว่าไทย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ประกอบการต่างชาติบางรายที่พร้อมจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย
เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีการย้ายฐานการผลิตจอแอลซีดีและโทรทัศน์จากญี่ปุ่นเข้ามาผลิตในประเทศไทย เป็นต้น (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
2. ธปท.รายงาน ก.คลังสอบพบความผิดปกติในงบการเงิน ธอส. รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานมายัง ก.คลังหลังตรวจพบว่า ในงบการเงินของ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในช่วงที่ผ่านมา
ได้แสดงผลขาดทุนที่ไม่สามารถระบุถึงที่มาได้ถึงจำนวน 3 พันล้านบาท แต่ได้ลงบัญชีในลักษณะตั้งเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ทั้งนี้ เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้น
กลับพบว่าเป็นผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการสวอปเงินหรือการแปลงหนี้ต่างประเทศ จึงรายงานมายัง ก.คลัง เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.เตรียมเปิดให้บริการโอนและถอนเงินในต่างประเทศผ่านตู้เอทีเอ็มในปี 50 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างพัฒนาความร่วมมือด้านการให้บริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มร่วมกับต่างประเทศ
ให้มีบริการที่หลากหลายประเภทและสะดวกขึ้น แต่มีค่าบริการที่ถูกลงกว่าการทำธุรกรรมผ่านทางเคาน์เตอร์ของ ธพ. โดยผู้ใช้บริการจะสามารถ
ใช้บริการทั้งถอนเงินสดและโอนเงินไปมาระหว่างกันผ่านทางตู้เอทีเอ็มของประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ง่ายขึ้น แต่เสีย
ค่าธรรมเนียมถูกลง คาดว่า ปี 50 จะสามารถให้บริการโอนเงินระหว่าง 4 ประเทศผ่านตู้เอ็ทีเอ็มพูลได้ จากปัจจุบันที่มีธนาคาร 2 แห่งทำได้แล้ว
(โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. ปลัด ก.คลังส่งหนังสือแย้งแก้ไข พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินที่เตรียมเสนอ ครม.วันอังคารนี้ แหล่งข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 28 พ.ย.นี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจ
สถาบันการเงินเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งก่อนหน้านี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ปลัด ก.คลังได้ทำหนังสือถึง รมว.คลัง ว่า
ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจในการดูแลสถาบันการเงินไว้ที่ ธปท.เพียงแห่งเดียว ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการตรวจสอบ
และถ่วงดุล ขณะเดียวกัน ก.คลังเป็นผู้มีหน้าที่จะต้องรักษาความอยู่ดีมีสุข และวินัยการเงินการคลัง จึงควรมีส่วนร่วมตัดสินใจ เพราะผลกระทบที่
เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเงินภาษีของประชาชนและภาระ งปม.ได้ นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ธปท.มีอำนาจสั่งปิดกิจการและ
ควบรวมกิจการของสถาบันการเงินเองทั้งหมด โดย ก.คลังมีหน้าที่เฉพาะออกใบอนุญาตประกอบกิจการสถาบันการเงิน และรับทราบการ
กระทำใด ๆ ของ ธปท.ที่จะต้องรายงาน รมว.คลัง โดยเร็วเท่านั้น เท่ากับเป็นการลดบทบาทการตรวจสอบและถ่วงดุลของ ก.คลังต่อการปฏิบัติ
งานของ ธปท.ที่ได้รวมอำนาจไว้ที่เดียว ซึ่งในอนาคตจะส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงและมีผลให้เกิดวิกฤติการเงินอย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้
อย่างไรก็ตาม รมว.คลังได้ทำหนังสือตอบกลับปลัด ก.คลังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จากวิกฤติการเงินในอดีตที่ผ่านมา หากปล่อยให้ ธปท.ตัดสินใจใน
ปัญหาจะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างทันท่วงที แต่อุปสรรค คือ การต้องส่งมาให้ ก.คลัง ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซง และ
มีการตัดสินใจล่าช้า ผลการตัดสินใจช้าดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลมากกว่า ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่า ธปท.จะรวบอำนาจโดยไร้การตรวจสอบ
และถ่วงดุล เพราะมีแนวคิดจะแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.ด้วยเช่นกัน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของยุโรปยังคงไม่ชัดเจน รายงานจากโรม เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 49 นาย
Lorenzo Bini Smaghi กรรมาธิการ ธ.กลางสหภาพยุโรปกล่าวว่า ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่
ภายหลัง
การประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางยุโรปในเดือน ธ.ค. เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปชะลอลง ประกอบกับมีความเสี่ยงและ
ความไม่แน่นอน ทั้งนี้โดยทั่วไปเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวแต่ยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลีที่เศรษฐกิจอาจจะ
ชะลอตัว อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของยุโรปอาจจะสิ้นสุดลง เนื่องจากตัวเลขล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตในอัตราชะลอลง
แต่ยังคงมีการขยายตัวอยู่รวมทั้งยังคงมีความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดและแนวโน้มราคาน้ำมัน ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า
ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่ 7 ธ.ค.
ซึ่งธ.กลางยุโรปเน้นว่ายังคงมีความไม่แน่นอน (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน พ.ย.49 ปรับตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 27 พ.ย.49 บริษัทที่ปรึกษา
ด้านอสังหาริมทรัพย์ Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีนับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค.47 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งนี้ ทิศทางของราคาบ้านแสดง
ให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดบ้านมามากกว่า 2 เดือน และยังคงแสดงทิศทางการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้ตลาดบ้าน สรอ.จะต้อง
ประสบกับภาวะความต้องการที่ชะลอตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Hometrack คาดการณ์ว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 5
ในเดือนนี้อาจส่งผลกระทบให้ราคาบ้านขยายตัวในปีหน้า โดยคาดว่าราคาบ้านเฉลี่ยปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้ายังดูสดใส แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 25 พ.ย.49 Peer Steinbrueck รมว.คลังของเยอรมนี กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้ายังดูสดใส
แม้ว่ารัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเพราะเป็นแผนระยะยาว
เพื่อต้องการลดแรงกดดันจากการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและลดต้นทุนแรงงานที่ไม่มีค่าจ้าง ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะต่ำกว่า
ปีนี้เล็กน้อย โดยคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น การบริโภค
ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น และแม้แต่อุตสาหกรรมการก่อสร้างก็เริ่มพลิกฟื้นหลังจากชะงักงันมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ รวมถึงการจัดเก็บภาษีรายได้ของ
รัฐในปีนี้ก็คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันจากการที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปีเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันรายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ
24 พ.ย.49 ธ.กลางมาเลเซียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปีเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันของการประชุมนโยบายการเงิน
หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมร้อยละ 0.80 ต่อปีในระหว่างเดือน พ.ย.48 ถึง เม.ย.49 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง
จากการลดลงของราคาน้ำมันและการชะลอตัวลงของราคาสินค้าและค่าจ้าง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค.49 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี
ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ลดลงจากร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.49 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดย ธ.กลางมาเลเซียคาดว่าอัตราเงิน
เฟ้อเฉลี่ยในปี 49 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 3.0 ต่อปี ในปี 48 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 50 จะชะลอตัวลงมาอยู่
ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวลง รัฐบาลก็หันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริโภคในประเทศซึ่งชะลอตัวลง
ซึ่งดูได้จากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงมากกว่า 1 ใน 3 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่อย่างไร
ก็ดี รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 49 อาจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 5.8 ต่อปีที่คาดไว้โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายภาครัฐ สอดคล้องกับความ
เห็นของ ธ.กลางมาเลเซียที่คาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะยังคงขยายตัวในอัตราคงที่ต่อไปในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำและ
เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้ว จึงไม่มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นักวิเคราะห์บางคนคาดไว้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 พ.ย. 49 24 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.548 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3534/36.6392 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.87/12.46 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.86 55.94 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--