บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันศุกร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๓. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอออกจากระเบียบวาระการประชุม
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติขอถอนร่างพระราช บัญญัติดังกล่าวจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาใหม่
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๘,
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันอังคารที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๘ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๓ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) รายงานประจำปี ๒๕๔๖ และประจำปี ๒๕๔๗ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๖
(๓) รายงานประจำปี ๒๕๔๖ และประจำปี ๒๕๔๗ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักเกณฑ์และสิทธิของข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่งคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติพัฒนา
การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมาตรฐาน
การปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๐๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๐๓. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๐๔. นายไพจิต ศรีวรขาน
๐๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๐๖. นายสามารถ แก้วมีชัย
๐๗. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๐๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๙. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๑๐. นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ
๑๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๑๒. นายสมชาติ จงผิตะ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติพัฒนา
การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ต่อมา ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๐๒. นายปกิต พัฒนกุล
๐๓. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๐๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๐๕. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๐๖. นายประสิทธิ์ จันทาทอง
๐๗. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๐๘. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๐๙. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๑๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๐๒. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๐๓. นายชวลิต มหาจันทร์ ๐๔. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ
๐๕. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๖. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๐๗. นายอุดมเดช รัตนเสถียร ๐๘. นางสาวสุวิมล พันธ์เจริญวรกุล
๐๙. นาวาโท เดชา สุขารมณ์ ๑๐. นายเชน เทือกสุบรรณ
๑๑. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ๑๒. นายวินัย วิริยกิจจา
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมาตรฐาน การปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายธงชาติ รัตนวิชา ๐๒. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๐๓. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๐๔. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
๐๕. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ๐๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๐๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๐๘. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๐๙. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ๑๐. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๑๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ ๐๒. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๐๓. นายจำรัส เวียงสงค์ ๐๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๐๕. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๐๖. นายวิทยา บุรณศิริ
๐๗. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๐๘. พันเอก วินัย สมพงษ์
๐๙. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๐. นายจุติ ไกรฤกษ์
๑๑. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๒. นายอมร อนันตชัย
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในลำดับถัดไป คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๒. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลง
หุ้นส่วนผู้จัดการ) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง
เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๔. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๐๗ นาฬิกา
(นายทวี พวงทะวาย)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๗ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักเกณฑ์และสิทธิของข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
๕. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
๖. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ....
๗. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
*************************
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันศุกร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๓. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอออกจากระเบียบวาระการประชุม
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติขอถอนร่างพระราช บัญญัติดังกล่าวจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาใหม่
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๘,
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘ และครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันอังคารที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๘ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๓ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) รายงานประจำปี ๒๕๔๖ และประจำปี ๒๕๔๗ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปี ๒๕๔๖
(๓) รายงานประจำปี ๒๕๔๖ และประจำปี ๒๕๔๗ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักเกณฑ์และสิทธิของข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่งคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติพัฒนา
การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมาตรฐาน
การปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๐๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๐๓. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๐๔. นายไพจิต ศรีวรขาน
๐๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๐๖. นายสามารถ แก้วมีชัย
๐๗. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๐๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๙. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๑๐. นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ
๑๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๑๒. นายสมชาติ จงผิตะ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติพัฒนา
การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ต่อมา ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๐๒. นายปกิต พัฒนกุล
๐๓. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๐๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๐๕. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๐๖. นายประสิทธิ์ จันทาทอง
๐๗. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๐๘. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๐๙. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๑๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๐๒. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๐๓. นายชวลิต มหาจันทร์ ๐๔. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ
๐๕. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๖. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๐๗. นายอุดมเดช รัตนเสถียร ๐๘. นางสาวสุวิมล พันธ์เจริญวรกุล
๐๙. นาวาโท เดชา สุขารมณ์ ๑๐. นายเชน เทือกสุบรรณ
๑๑. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ๑๒. นายวินัย วิริยกิจจา
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมาตรฐาน การปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายธงชาติ รัตนวิชา ๐๒. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๐๓. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๐๔. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
๐๕. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ๐๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๐๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๐๘. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๐๙. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ๑๐. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๑๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ ๐๒. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๐๓. นายจำรัส เวียงสงค์ ๐๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๐๕. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๐๖. นายวิทยา บุรณศิริ
๐๗. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๐๘. พันเอก วินัย สมพงษ์
๐๙. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๐. นายจุติ ไกรฤกษ์
๑๑. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๒. นายอมร อนันตชัย
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในลำดับถัดไป คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๒. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลง
หุ้นส่วนผู้จัดการ) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง
เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๔. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๐๗ นาฬิกา
(นายทวี พวงทะวาย)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๗ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักเกณฑ์และสิทธิของข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
๕. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
๖. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ....
๗. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
*************************