กรุงเทพ--19 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา และ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 25—29 กรกฎาคม 2548
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3
การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา และ
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 25—29 กรกฎาคม 2548
1. ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 (38th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences - PMC) และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 (12th ASEAN Regional Forum — ARF) ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือในการประชุมต่างๆ มีดังนี้
? กฏบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งสำหรับไทย ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี 2510 และเป็นสถานที่ลงนามปฏิญญาอาเซียน
ค.ศ. 1967 เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ กฏบัตรอาเซียนจะเป็นกรอบทางกฎหมายที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความร่วมมืออาเซียน อันจะช่วยวางรากฐานที่เข้มแข็งให้อาเซียนในการพัฒนาไปสู่
การเป็นประชาคมอาเซียนในที่สุด และเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปอาเซียนในภาพรวม
? การเตรียมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) ซึ่ง
กำหนดจะจัดขึ้นที่มาเลเซียในปลายปีนี้ โดยอาเซียนจะพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับประเทศที่สำคัญนอกภูมิภาคที่จะเข้าร่วม เช่น อินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และการส่งเสริมให้มีความร่วมมือมากยิ่งขึ้นภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยดำเนินการควบคู่ไปกับกระบวนการอาเซียน+3
? การบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Management and Emergency Response) ซึ่งไทย
ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทยและประเทศต่างๆ ไทยจึงผลักดันการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันการเกิดภัยพิบัติ และการจัดตั้งระบบเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียน (ASEAN Standby Arrangements for Disaster Relief and Emergency Response) เพื่อเตรียมความพร้อมในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ในการให้ความช่วยเหลือทั้งก่อนและในช่วงเกิดภัยพิบัติทั้งในรูปของการประสานงาน เครื่องมืออุปกรณ์และ
งบประมาณ ในการนี้ อาเซียนจะพิจารณาร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Draft ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response - DMER) ซึ่งเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ
? การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการอนุวัติตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme - VAP) และการลดช่องว่างด้านการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะอำนวยต่อกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นเพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นประชาคมภายในปี 2563 หรือก่อนหน้านั้น
? การเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ที่นครนิวยอร์กในเดือนกันยายน 2548 ในฐานะที่อาเซียนเป็นกลุ่มภูมิภาคที่มีความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และสหประชาชาติกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูปและพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มภูมิภาคอื่นๆ ทั้ง 2 ฝ่ายควรพิจารณาวิธีการที่จะส่งเสริมความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อนึ่ง ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียน-สหประชาชาติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2543
? การพิจารณารับติมอร์-เลสเตเข้าร่วมการประชุม ARF และการส่งเสริมให้ ARF มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการลดความตึงเครียดในภูมิภาค เช่น มีส่วนช่วยสนับสนุนกระบวนการเจรจา 6 ฝ่าย
ในเรื่องคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น นอกจากนี้ ARF น่าจะหามาตรการที่จะช่วยสนับสนุนให้การทูตในเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
? การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้าย โดยจะมีการลงนามในเอกสาร Joint Declaration on Counter-Terrorism 3 ฉบับ ระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน นิวซีแลนด์ และสาธารรัฐเกาหลีตามลำดับ นอกจากนี้ ที่ประชุม ARF จะพิจารณาเอกสาร
ถ้อยแถลงของ ARF ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวกรองและความปลอดภัยของเอกสารเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ (ARF Statement on Information Sharing
and Intelligence Exchange and Document Integrity and Security in Enhancing Cooperation to Combat Terrorism and Other Transnational Crimes) ซึ่งไทยและแคนาดาเป็นผู้เสนอ
3. ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานอาเซียน-สหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศจะเป็นประธานร่วมการประชุม PMC10+1 ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ และพิจารณาวิธีการที่จะยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) มากยิ่งขึ้น
4. การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้มีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาอาเซียนเพื่อสร้างความคุ้นเคยและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน สำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่จะมีขึ้น
ก่อนหน้านั้น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยคือ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
5. กำหนดการการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
วันที่ 25 กรกฎาคม 2548
19.30 น. - งานเลี้ยงอาหารค่ำโดยนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นเจ้าภาพ
วันที่ 26 กรกฎาคม 2548
08.30น. - รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าเยี่ยมคารวะนายบุนยัง วอละจิด นายกรัฐมนตรีลาว
09.00น. - พิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
10.00-12.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38 (Retreat)
15.00-17.00 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
17.30-18.00 น. - พิธีปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
18.05-18.35 น. - การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว
ซึ่งเป็นประธานการประชุม
วันที่ 27 กรกฎาคม 2548
14.30-16.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ +3
(จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
วันที่ 28 กรกฎาคม 2548
08.00-12.20 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ของประเทศคู่เจรจา (PMC 10+1)
14.00-16.00 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ของประเทศคู่เจรจา (PMC 10+10)
16.05-16.35 น. - การแถลงข่าวร่วมของการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศ
อาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา
20.00 น. - งานเลี้ยงอาหารค่ำโดยนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นเจ้าภาพ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2548
09.00-12.00 น. - การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของการประชุมอาเซียนว่าด้วย
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ครั้งที่ 12 (ARF Retreat)
16.45-17.15 น. - การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศลาวในฐานะประธานการประชุม ARF ครั้งที่ 12
16.45-17.15 น. - พิธีลงนามเอกสารต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา และ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 25—29 กรกฎาคม 2548
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3
การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา และ
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 25—29 กรกฎาคม 2548
1. ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกำหนดจะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 (38th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences - PMC) และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 (12th ASEAN Regional Forum — ARF) ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548 ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือในการประชุมต่างๆ มีดังนี้
? กฏบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งสำหรับไทย ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี 2510 และเป็นสถานที่ลงนามปฏิญญาอาเซียน
ค.ศ. 1967 เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ กฏบัตรอาเซียนจะเป็นกรอบทางกฎหมายที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความร่วมมืออาเซียน อันจะช่วยวางรากฐานที่เข้มแข็งให้อาเซียนในการพัฒนาไปสู่
การเป็นประชาคมอาเซียนในที่สุด และเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปอาเซียนในภาพรวม
? การเตรียมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) ซึ่ง
กำหนดจะจัดขึ้นที่มาเลเซียในปลายปีนี้ โดยอาเซียนจะพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับประเทศที่สำคัญนอกภูมิภาคที่จะเข้าร่วม เช่น อินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และการส่งเสริมให้มีความร่วมมือมากยิ่งขึ้นภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยดำเนินการควบคู่ไปกับกระบวนการอาเซียน+3
? การบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Management and Emergency Response) ซึ่งไทย
ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ของไทยและประเทศต่างๆ ไทยจึงผลักดันการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันการเกิดภัยพิบัติ และการจัดตั้งระบบเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียน (ASEAN Standby Arrangements for Disaster Relief and Emergency Response) เพื่อเตรียมความพร้อมในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ในการให้ความช่วยเหลือทั้งก่อนและในช่วงเกิดภัยพิบัติทั้งในรูปของการประสานงาน เครื่องมืออุปกรณ์และ
งบประมาณ ในการนี้ อาเซียนจะพิจารณาร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Draft ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response - DMER) ซึ่งเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ
? การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการอนุวัติตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme - VAP) และการลดช่องว่างด้านการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะอำนวยต่อกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นเพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นประชาคมภายในปี 2563 หรือก่อนหน้านั้น
? การเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ที่นครนิวยอร์กในเดือนกันยายน 2548 ในฐานะที่อาเซียนเป็นกลุ่มภูมิภาคที่มีความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และสหประชาชาติกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูปและพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มภูมิภาคอื่นๆ ทั้ง 2 ฝ่ายควรพิจารณาวิธีการที่จะส่งเสริมความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อนึ่ง ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียน-สหประชาชาติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2543
? การพิจารณารับติมอร์-เลสเตเข้าร่วมการประชุม ARF และการส่งเสริมให้ ARF มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการลดความตึงเครียดในภูมิภาค เช่น มีส่วนช่วยสนับสนุนกระบวนการเจรจา 6 ฝ่าย
ในเรื่องคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น นอกจากนี้ ARF น่าจะหามาตรการที่จะช่วยสนับสนุนให้การทูตในเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
? การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้าย โดยจะมีการลงนามในเอกสาร Joint Declaration on Counter-Terrorism 3 ฉบับ ระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน นิวซีแลนด์ และสาธารรัฐเกาหลีตามลำดับ นอกจากนี้ ที่ประชุม ARF จะพิจารณาเอกสาร
ถ้อยแถลงของ ARF ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวกรองและความปลอดภัยของเอกสารเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ (ARF Statement on Information Sharing
and Intelligence Exchange and Document Integrity and Security in Enhancing Cooperation to Combat Terrorism and Other Transnational Crimes) ซึ่งไทยและแคนาดาเป็นผู้เสนอ
3. ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานอาเซียน-สหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศจะเป็นประธานร่วมการประชุม PMC10+1 ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ และพิจารณาวิธีการที่จะยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) มากยิ่งขึ้น
4. การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้มีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาอาเซียนเพื่อสร้างความคุ้นเคยและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน สำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่จะมีขึ้น
ก่อนหน้านั้น หัวหน้าคณะผู้แทนไทยคือ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
5. กำหนดการการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
วันที่ 25 กรกฎาคม 2548
19.30 น. - งานเลี้ยงอาหารค่ำโดยนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นเจ้าภาพ
วันที่ 26 กรกฎาคม 2548
08.30น. - รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าเยี่ยมคารวะนายบุนยัง วอละจิด นายกรัฐมนตรีลาว
09.00น. - พิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
10.00-12.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 38 (Retreat)
15.00-17.00 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
17.30-18.00 น. - พิธีปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38
18.05-18.35 น. - การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว
ซึ่งเป็นประธานการประชุม
วันที่ 27 กรกฎาคม 2548
14.30-16.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ +3
(จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
วันที่ 28 กรกฎาคม 2548
08.00-12.20 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ของประเทศคู่เจรจา (PMC 10+1)
14.00-16.00 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ของประเทศคู่เจรจา (PMC 10+10)
16.05-16.35 น. - การแถลงข่าวร่วมของการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศ
อาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา
20.00 น. - งานเลี้ยงอาหารค่ำโดยนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นเจ้าภาพ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2548
09.00-12.00 น. - การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของการประชุมอาเซียนว่าด้วย
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ครั้งที่ 12 (ARF Retreat)
16.45-17.15 น. - การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศลาวในฐานะประธานการประชุม ARF ครั้งที่ 12
16.45-17.15 น. - พิธีลงนามเอกสารต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-