วันที่ 20 ธันวาคม 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริต พรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยว่า ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ให้ตรวจสอบหาผู้กระทำความผิดและผู้รับผิดชอบในการประมูลระบบ E-Auction โครงการติดตั้งอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA ภูมิภาค 51 จังหวัด มูลค่า 13,400 ล้านบาท หลังจากได้ทำการตรวจสอบพยานหลักฐานเบื้องต้นพบว่า การประมูลไม่โปร่งใส และไม่ปรับบริษัทคู่สัญญา กรณีส่งมอบงานไม่ทันกำหนด คิดเป็นเงิน 3,780 ล้านบาท
โดยบริษัท กสท. ได้ประกาศขายซองประกวดราคา ในปลายเดือนสิงหาคม 2547 ปรากฏว่าผู้ชนะการประมูล คือ กิจการร่วมค้าหัวเหว่ยภายหลังลงนามในสัญญากับบมจ.กสท.โทรคมนาคม ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดโดยต้องส่งมอบสถานีฐานจำนวน 800 แห่ง ภายในวันที่ 26 มกราคม 2549 ซึ่งต้องถูกปรับวันละ 90 ล้านบาท เป็นจำนวน 42 วัน รวมค่าปรับ 3,780 ล้านบาท ปรากฎว่า กสท. ไม่ปรับกิจการร่วมค้าหัวเหว่ย โดยกิจการร่วมค้าหัวเหว่ย ขอแก้ไขสัญญาให้สถานีที่อยู่ในเฟส 2 ประมาณ 201 สถานีมาอยู่ในเฟส 1 เนื่องจากกิจการร่วมค้าหัวเหว่ยไม่สามารถติดตั้งสถานีฐานตามเฟส 1 ให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ และได้ส่งมอบสถานีฐานจำนวน 648 สถานี ในวันที่ 26 มกราคม 2549 มีบางสถานีไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ซึ่งถือว่าผิดสัญญา โดยกิจการร่วมค้าหัวเหว่ยอ้างปัญหาน้ำท่วม และขอขยายเวลาอีก 42 วัน ซึ่งการแก้ไขสัญญา เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้าหัวเหว่ย ทำความเสียหายกับทาง กสท. อย่างมาก เนื่องจาก บมจ.กสท.กำหนดเป้าหมายในปี 2549 จะต้องมีลูกค้า 60,000 ราย
แต่ผลจากความล่าช้าของโครงการ ทำให้ กสท. มีลูกค้าในเดือนธันวาคม 2549 เพียง 5,000 รายเท่านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีไอซีที ต้องรับผิดชอบในการประมูลที่มีเงื่อนงำ โดยเฉพาะการอนุญาตให้เอกชนไม่ต้องทดสอบประสิทธิภาพทางเทคนิคทั้งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อดีตรัฐมนตรีไอซีทีเห็นชอบกับข้อกำหนดไม่ต้องตรวจสอบความสามารถทางเทคนิคของเครื่องมือและอุปกรณ์ และ TOR ไม่กำหนดเรื่องผลงานของผู้จะเข้าร่วมประมูล นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรียังไปเป็นประธานในพิธีการประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกิจการร่วมค้าหัวเห่วย เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัทในเครือชินวัตรอีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ธ.ค. 2549--จบ--
โดยบริษัท กสท. ได้ประกาศขายซองประกวดราคา ในปลายเดือนสิงหาคม 2547 ปรากฏว่าผู้ชนะการประมูล คือ กิจการร่วมค้าหัวเหว่ยภายหลังลงนามในสัญญากับบมจ.กสท.โทรคมนาคม ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดโดยต้องส่งมอบสถานีฐานจำนวน 800 แห่ง ภายในวันที่ 26 มกราคม 2549 ซึ่งต้องถูกปรับวันละ 90 ล้านบาท เป็นจำนวน 42 วัน รวมค่าปรับ 3,780 ล้านบาท ปรากฎว่า กสท. ไม่ปรับกิจการร่วมค้าหัวเหว่ย โดยกิจการร่วมค้าหัวเหว่ย ขอแก้ไขสัญญาให้สถานีที่อยู่ในเฟส 2 ประมาณ 201 สถานีมาอยู่ในเฟส 1 เนื่องจากกิจการร่วมค้าหัวเหว่ยไม่สามารถติดตั้งสถานีฐานตามเฟส 1 ให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ และได้ส่งมอบสถานีฐานจำนวน 648 สถานี ในวันที่ 26 มกราคม 2549 มีบางสถานีไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ซึ่งถือว่าผิดสัญญา โดยกิจการร่วมค้าหัวเหว่ยอ้างปัญหาน้ำท่วม และขอขยายเวลาอีก 42 วัน ซึ่งการแก้ไขสัญญา เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้าหัวเหว่ย ทำความเสียหายกับทาง กสท. อย่างมาก เนื่องจาก บมจ.กสท.กำหนดเป้าหมายในปี 2549 จะต้องมีลูกค้า 60,000 ราย
แต่ผลจากความล่าช้าของโครงการ ทำให้ กสท. มีลูกค้าในเดือนธันวาคม 2549 เพียง 5,000 รายเท่านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีไอซีที ต้องรับผิดชอบในการประมูลที่มีเงื่อนงำ โดยเฉพาะการอนุญาตให้เอกชนไม่ต้องทดสอบประสิทธิภาพทางเทคนิคทั้งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อดีตรัฐมนตรีไอซีทีเห็นชอบกับข้อกำหนดไม่ต้องตรวจสอบความสามารถทางเทคนิคของเครื่องมือและอุปกรณ์ และ TOR ไม่กำหนดเรื่องผลงานของผู้จะเข้าร่วมประมูล นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรียังไปเป็นประธานในพิธีการประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกิจการร่วมค้าหัวเห่วย เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัทในเครือชินวัตรอีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ธ.ค. 2549--จบ--