พฤติกรรมชีวิตครอบครัวลูกวัยรุ่น (1)
บทความวิจัยตอนนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรม และลักษณะความต้องการของครอบครัวที่มีบุตรในช่วงวัยรุ่น การเข้าใจถึงพฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้จะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้อย่างแท้จริง กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยมีจำนวน 25 ครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการลงบันทึกกิจวัตรประจำวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ระยะเวลาในการทำวิจัย ในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่มีบุตรในช่วงอายุระหว่าง 13 ปี จนถึง 25 ปี และบุตรของกลุ่มตัวอย่างไม่มีรายได้อื่นใด ต้องพึ่งพิงอยู่กับพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่างจะกระจายอยู่ในกลุ่มที่มีฐานะยากจน (รายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน) กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง (รายได้ของครอบครัว 15,000 ถึง 60,000 บาทต่อเดือน) ไปจนถึงกลุ่มที่มีฐานะดี (รายได้ของครอบครัวมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับปริญญาเอก ทางด้านสถานที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างมีความหลากหลาย ตั้งแต่อาศัยอยู่ในชุมชุนแออัด ไปจนถึงมีบ้านเดี่ยว อาชีพของกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยอาชีพรับจ้าง ทำงานเอกชนและรับราชการ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งหาข้อมูลพฤติกรรมของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น รวมทั้งทัศนคติ กิจวัตรประจำวัน ค่าใช้จ่าย การใช้เวลาของสมาชิกในครอบครัว การใช้เวลาของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น
การใช้เวลาของคนที่มีครอบครัวและมีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นแต่ยังไม่มีรายได้นั้นการใช้เวลาส่วนใหญ่จะใช้เวลาทุ่มเทให้กับการทำงาน 50 — 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มคนโสดที่ใช้เวลาทุ่มเทให้กับการทำงานประมาณ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลุ่มคนที่มีครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นจะมีเวลาเพื่อการทำงานมากกว่าชีวิตในตอนที่มีบุตรเล็ก โดยมีเหตุผลใหญ่ๆ สองประการคือ 1) กลุ่มวัยรุ่นในช่วง 13 ปีขึ้นไปมีการใช้เวลาร่วมกับบุพการีน้อยลงกว่าในช่วงที่มีอายุน้อย โดยหันไปใช้เวลากับเพื่อน แฟน การเรียนพิเศษ และสามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาบุพการี ทำให้พ่อแม่มีเวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 2) ค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นของบุตรที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมากกว่าในช่วงที่บุตรยังเล็ก สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดี มักจะส่งบุตรหลานของตนเองไปเรียนต่อต่างประเทศหรือเรียนในหลักสูตรนานานาชาติ ทำให้ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายมีภาระที่จะต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น ความทุ่มเทในการทำงานจะใช้เวลาในการทำงานเป็นเครื่องบ่งชี้ จากรูปแบบความทุ่มเทในการทำงาน ช่วงชีวิตโสดจะมีความทุ่มเทให้กับการทำงานมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีครอบครัวและมีบุตรที่อายุยังน้อยการให้ความสำคัญจะมุ่งตรงไปที่บุตรเป็นสำคัญ โดยอาจจะต้องลดบทบาทของการทำงานลงและใช้เวลาเลี้ยงดูบุตรมากขึ้น จากการให้สัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าในช่วงที่มีบุตรเล็ก จะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เงินเดือนขึ้นน้อยลง โดยเฉพาะผู้หญิงการมีบุตรจะมีผลกระทบกับงานมากกว่าผู้ชาย สำหรับการใช้เวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตามอายุของบุตรที่เติบโตขึ้นจนถึงเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นคนที่มีบทบาทเป็นพ่อแม่จะกลับมาให้ความสำคัญกับการงานมากขึ้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกับกลุ่มคนโสด การใช้เวลาร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางถึงมีฐานะดี ในวันธรรมดาวันจันทร์ถึงวันศุกร์ จะใช้เวลาร่วมกันระหว่างเวลา 19.00 ถึง 21.00 น. ซึ่งมักเป็นเวลาที่ใช้ในการรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ดูข่าว ชมละครทางโทรทัศน์ร่วมกัน ในช่วงเวลาดังกล่าวหัวข้อที่สนทนาระหว่างกันจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการเรียน กิจวัตรประจำวันของบุตร สำหรับครอบครัวที่มีรถยนต์ไปส่งบุตรหลานไปโรงเรียนจะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการสนทนากับบุตรของตน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับในวันหยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์ ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกคือ ช่วงเช้า 9.00-12.00 น. และในช่วงเย็น 18.00-21.00 น. ในบางครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะดีมักจะกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว ใช้เวลาอยู่ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก แต่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนจะมีเวลาอยู่ร่วมกันน้อยกว่าครอบครัวที่มีฐานะดี ครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นสามารถแบ่งลักษณะพฤติกรรมของครอบครัวเป็น 4 กลุ่มคือ
พ่อแม่
ครอบครัวยุ่งเหยิง
ระดับความสุข: 3
ครอบครัวอบอุ่น
ระดับความสุข: 9
ครอบครัวพังทลาย
ระดับความสุข: 1
ครอบครัวพึ่งพิง
ระดับความสุข: 5
1.ครอบครัวอบอุ่น
ลักษณะของครอบครัวประเภทนี้จะมีบุตรหลานเรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนที่ใกล้บ้าน บุตรหลานของครอบครัวนี้จะมีผลการศึกษาดี มีความประพฤติดี เชื่อฟังพ่อแม่ พ่อและแม่ทำงานในบริษัทที่มั่นคงหรือมีกิจการเป็นของตนเอง ครอบครัวประเภทนี้โดยเฉลี่ยจะมีบุตรไม่มาก ประมาณ1-2 คน พ่อแม่มีรายได้รวมกันมากกว่า 60,000 บาทต่อเดือน พ่อแม่มีความซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ครอบครัวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ร่วมกันในวันธรรมดาวันจันทร์ถึงวันศุกร์มากกว่าวันละ 5 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงเช้ามีเวลารับประทานอาหารเช้าร่วมกันโดยผู้เป็นแม่เตรียมเป็นผู้เตรียมอาหารเช้าร่วมกับลูก ในช่วงเช้าครอบครัวมีเวลาพูดคุยถึงกิจกรรมที่จะต้องทำของสมาชิกในครอบครัวในวันนี้ ครอบครัวที่อยู่ในกลุ่มนี้มีสิ่งที่เหมือนกันคือผู้เป็นแม่จะเป็นแม่บ้าน อยู่ที่บ้านหรือประกอบอาชีพที่มีเวลาอิสระในการทำงาน ส่วนในช่วงเย็นผู้เป็นพ่อหรือแม่จะไปรับลูกที่โรงเรียนหรือลูกเดินทางกลับบ้านเอง การกลับบ้านของสมาชิกในครอบครัวจะกลับมาในช่วง 17.00-18.00 น. ช่วง 18.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่รับประทานอาหารร่วมกัน พักผ่อนดูรายการโทรทัศน์ ชมละครร่วมกัน และในระหว่างเวลารับประทานอาหารครอบครัวจะมีการสนทนาในเรื่องการเรียนของผู้เป็นลูก กิจกรรมของลูกในวันนี้ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่พ่อ แม่และลูกประสบพบในวันนี้ เมื่อถูกถามถึงบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตจะมีคำตอบคือครอบครัว ความสำคัญของครอบครัวจะสำคัญมากกว่างาน หัวหน้าครอบครัวมีทัศนคติว่า การทำงานทำเพื่อให้ได้เงินมาสร้างความสุขในครอบครัว ระดับของความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับดีมาก (9 จาก 10คะแนน)
2.ครอบครัวพึ่งพิง
ลักษณะของครอบครัวพึ่งพิง สมาชิกของครอบครัวจะมีการพึ่งพิงกับบุคคลรอบข้าง พ่อแม่จะเป็นหนี้ กู้ยืมมาจากสถาบันการเงินหรือคนรอบข้าง รายได้ไม่พอกับรายจ่ายในครอบครัว มีเงินเก็บน้อย พ่อแม่พึ่งพิงกับญาติในการดูแลเอาใจใส่ลูกตนเอง ครอบครัวจะเป็นครอบครัวใหญ่มีญาติพี่น้องอาศัยรวมอยู่ด้วยกัน ทั้งบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ทำงานนอกบ้าน พ่อแม่มีปัญหาทะเลาะกันอยู่เสมอๆ และหัวข้อที่ทะเลาะกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องเงินและเรื่องชู้สาว ความไม่ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน
ลักษณะของครอบครัวกลุ่มนี้จะมีลูกที่มีความประพฤติดี เรียนดี ในบางครอบครัวลูกเรียนในต่างประเทศ เมื่อถามถึงที่มาของความประพฤติที่ดีและผลการศึกษาที่ดี พบว่ามาจากครู อาจารย์ที่โรงเรียน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆและสังคมที่โรงเรียน มากกว่ามาจากผู้เป็นพ่อแม่ การใช้เวลาอยู่ร่วมกันจะเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ มีเวลารับประทานอาหารร่วมกันพ่อแม่ลูก เดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากผู้เป็นพ่อและแม่ไม่มีเวลา เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการทำงาน สถานที่ทำงานไกลจากบ้านใช้เวลาในการเดินทาง 4-5 ชั่วโมงต่อวัน หัวหน้าครอบครัวมีแนวคิดในการหาเงินเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อมีเวลาว่างมักเลือกที่จะทำงานมากกว่าพักผ่อนกับครอบครัว สิ่งที่ทำให้มีความสุขคือการมีเงินมากๆ กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะของครอบครัวพึ่งพิงได้ให้ระดับความสุขของครอบครัวเท่ากับ 5 จาก 10 คะแนน
3.ครอบครัวยุ่ง เหยิง
ลักษณะครอบครัวประเภทนี้พ่อแม่มีฐานะดี มีการศึกษาสูง มีรายได้เกินกว่ารายจ่ายมาก มีตำแหน่งการงานอยู่ในระดับสูงของบริษัทเอกชน ราชการหรือเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ทั้งพ่อและแม่มุ่งแต่งาน ครอบครัวในกลุ่มนี้มักจะมีพี่เลี้ยงให้กับบุตรของตนตั้งแต่เด็ก บุตรหลานของครอบครัวประเภทนี้มีความประพฤติไม่เหมาะสม เกเร ชอบเที่ยวเตร่ เรียนไม่ดี ในบางครอบครัวติดยาเสพติด หนีออกจากบ้าน ไปอยู่กับเพื่อน จากพฤติกรรมของบุตรหลานจะนำมาซึ่งความทุกข์ให้กับบุคคลที่เป็นพ่อแม่ จากกลุ่มตัวอย่างที่ให้คะแนนระดับความสุขในครอบครัวตนเอง จะให้คะแนนในระดับ 3 จาก 10 คะแนน จะสังเกตได้ว่าความสุขของครอบครัวกลุ่มนี้มีค่าน้อยกว่าครอบครัวในกลุ่มที่สอง จากการสัมภาษณ์สาเหตุหลักที่ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุขคือพฤติกรรมของบุตรหลานของครอบครัวประเภทนี้เอง จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าพฤติกรรมของบุตรที่ไม่ดีจะส่งผลให้ความสุขในครอบครัวลดลงมากกว่าพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ไม่ดี ดังนั้นครอบครัวที่มีบุตรดีจะสามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ความสุขในครอบครัวได้ส่วนหนึ่ง
4.ครอบครัวพังทลาย
ลักษณะของครอบครัวในกลุ่มนี้พ่อแม่มีรายได้รวมกันไม่พอกับรายจ่าย มุ่งทำงานหาเงิน พ่อแม่มีการศึกษาน้อย ไม่มีเวลาให้กับบุตร ฝากบุตรไว้กับญาติพี่น้องหรือคนข้างบ้านตั้งแต่เด็ก บุตรหลานของครอบครัวนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนใกล้บ้าน เพื่อนที่โรงเรียนหรือเพื่อนที่มหาวิทยาลัย บุตรที่อยู่ในวัยรุ่นในกลุ่มนี้จะต่างจากวัยรุ่นในกลุ่มที่สอง ครอบครัวพึ่งพิง คือมีสิ่งแวดล้อมของบุตรที่แย่กว่า สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยแก่การเป็นวัยรุ่นที่ดี มีพฤติกรรมเหมาะสม ไม่มีที่พึ่งพิง ที่ปรึกษา การใช้เวลาร่วมกันระหว่างพ่อ แม่และลูกแทบจะไม่มีเลย จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่าความถี่ในการใช้ชีวิตร่วมกัน พักผ่อนรับประทานอาหารมีเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวจะต่างคนต่างกิน ซื้อรับประทานข้างนอกก่อนเข้าบ้าน เมื่อถามหัวหน้าครอบครัวถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุขคือการไปเที่ยวกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้พบว่าการมีบุตรของครอบครัวในกลุ่มนี้เป็นไปโดยความไม่ตั้งใจ ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ให้ระดับคะแนนความสุขในการใช้ชีวิตครอบครัว จะให้คะแนนอยู่ในระดับ 1 จาก 10 คะแนน
ในด้านการตลาดสำหรับร้านอาหาร หรือสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มครอบครัว ที่มุ่งเน้นการใช้บริการร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่เหมาะสมควรจะเป็นกลุ่มครอบครัวอบอุ่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับครอบครัว ความเป็นอยู่ ความสะดวกสบายของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก มีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ความถี่ในการใช้บริการเป็นครอบครัวยังสูงกว่ากลุ่มอื่นๆอีกด้วย
จากระดับความสุขของครอบครัวในแต่ละประเภท ครอบครัวที่มีระดับของความสุขในครอบครัวอยู่ในระดับสูงมีสิ่งที่แตกต่างจากครอบครัวที่มีระดับของความสุขน้อย คือ 1) บุคคลที่ดำรงบทบาทเป็นแม่จะเป็นแม่บ้านหรือประกอบอาชีพอิสระมีเวลาให้กับบุตรของตนมาก ส่วนผู้ที่มีบทบาทเป็นพ่อจะเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายภายในครอบครัวและมีความซื่อสัตย์ต่อภรรยาของตน 2) บุตรมีความประพฤติดีและมีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน
สำหรับบทความในตอนต่อไปของพฤติกรรมครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่น จะอธิบายถึงความแตกต่างของรูปแบบการใช้จ่าย การออม การพักผ่อน และค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ของครอบครัวทั้ง 4 ประเภท
พฤติกรรมครอบครัวลูกวัยรุ่น (2)
บทความวิจัยตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากบทความวิจัยในตอนแรกที่ได้อธิบายถึงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย การใช้เวลาของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น และได้อธิบายถึงลักษณะของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นทั้ง 4 ประเภท โดยอาศัยเกณฑ์การแบ่งตามลักษณะพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและระดับของความสุขในครอบครัว
สำหรับบทความวิจัยตอนนี้จะอธิบายถึงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวทั้ง 4 ประเภทที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายสำหรับสินค้าในแต่ละหมวดหมู่แตกต่างกัน ทั้งนี้รูปแบบการใช้จ่ายภายในครอบครัวสามารถนำมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดระดับของความสุขในครอบครัวการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่น การสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นจะใช้วิธีการดำเนินงานวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่าง 25 ครอบครัวเขียนบันทึกประจำวันถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในแต่ละวัน และรายการค่าใช้จ่าย เป็นเวลาสองสัปดาห์ นอกจากนี้การวิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบการวิจัยควบคู่กันไปด้วย โดยมีช่วงระยะเวลาการวิจัยอยู่ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2548
จากการวิจัยพบว่าครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยรุ่นในแต่ละประเภทมีการให้น้ำหนักการใช้จ่ายและความสำคัญต่อสิ่งที่ใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่ไม่เท่ากัน รูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวสะท้อนถึงพฤติกรรมของครอบครัวและสามารถใช้บ่งบอกถึงระดับของความสุขในครอบครัวรูปแบบรายจ่ายของแต่ละครอบครัวจะถูกจำแนกเป็น 6 หมวดหมู่คือ กลุ่มที่ 1 หมวดการออม/ฝากธนาคาร/ลงทุน/ประกันชีวิต กลุ่มที่ 2 หมวดอาหาร/สินค้าอุปโภคบริโภค/เสื้อผ้า/การเดินทาง กลุ่มที่ 3 หมวดกิจกรรมพักผ่อน/ดูภาพยนตร์/ท่องเที่ยว กลุ่มที่ 4 หมวดสินค้าคงทน/รถยนต์/ที่อยู่อาศัย/เฟอร์นิเจอร์ กลุ่มที่ 5 หมวดการศึกษาของลูก และหมวดที่ 6 หมวดอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายที่ให้ผู้อื่น เช่นค่าเลี้ยงดูพ่อ แม่ หรือ ค่าภาษีสังคมต่างๆ เป็นต้น จากการจำแนกค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวเป็น 6 ประเภทข้างต้น ร่วมกับคะแนนวัดระดับของความสุขในครอบครัว สามารถแสดงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นทั้ง 4 กลุ่ม ดังนี้
1.ครอบครัวอบอุ่น ครอบครัวประเภทนี้มีระดับความสุขในครอบครัวสูงที่สุด รูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวจะมีสัดส่วนของเงินออมอยู่สูงเมื่อเทียบกับครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ พ่อแม่มีการงานที่มั่นคง มีเวลาให้กับลูกและมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นลำดับแรก ครอบครัวจะใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อน ท่องเที่ยว ซึ่งสะท้อนในรูปของค่าใช้จ่ายในหมวดการพักผ่อนและท่องเที่ยว จะสูงกว่าครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ลักษณะการออมของครอบครัวในกลุ่มนี้จะเป็นการฝากธนาคาร ประกันชีวิต การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมประเภทต่างๆ สำหรับเงินเก็บเพื่ออนาคตของลูกจะมีการวางแผนอย่างชัดเจน เมื่อถูกถามถึงบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตจะมีคำตอบที่ชัดเจนคือครอบครัว ความสำคัญของครอบครัวจะสำคัญมากกว่างาน หัวหน้าครอบครัวมีทัศนคติว่า การทำงานเพื่อให้ได้เงินมาเสริมสร้างความสุขในครอบครัว ระดับของความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับดีมาก (9 จาก 10คะแนน)
2.ครอบครัวพึ่งพิง ลักษณะของครอบครัวประเภทนี้จะเป็นครอบครัวใหญ่ ญาติพี่น้องอาศัยอยู่รวมกัน พ่อแม่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น อาชีพส่วนใหญ่ของผู้นำครอบครัวประเภทนี้เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือรับราชการ รายจ่ายมีทั้งมาจากบุตรและมาจากญาติพี่น้องภายในครอบครัว พ่อแม่มีเวลาให้กับลูกน้อย ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่หมวดหมู่การอุปโภคบริโภค มักจะทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่าการไปรับประทานอาหารนอกบ้านหรือซื้อมารับประทาน เนื่องจากครอบครัวกลุ่มนี้เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกภายในครอบครัว ครอบครัวในกลุ่มนี้มีเงินออมน้อย ไม่มีการลงทุนระยะยาว ไม่มีการทำประกันชีวิต มีเพียงบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ครอบครัวในกลุ่มนี้มีการพักผ่อนร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวน้อย สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีโอกาสไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเท่านั้น ระดับความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับ 5 จาก 10 คะแนน จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง รายได้ที่หามาได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทำให้รู้สึกเหนื่อย และต้องอดทนในการทำงานถึงแม้จะมีปัญหาจากที่ทำงานก็ต้องทนเพื่อให้มีค่าใช้จ่ายมาจุนเจือครอบครัว หัวข้อที่ทะเลาะกันในครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเงินทอง ส่วนเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาไม่ราบรื่นมากนัก และมีเรื่องชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆของครอบครัวในกลุ่มนี้สูงขึ้น
3.ครอบครัวยุ่งเหยิง รูปแบบค่าใช้จ่ายของครอบครัวในกลุ่มนี้จะกระจายไปในหมวดอุปโภคบริโภค หมวดการออม และหมวดสินค้าคงทน ลูกจะได้รับเงินเพื่อใช้ประจำวันสูงกว่าครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ มีบัตรเครดิตเสริมให้กับลูก จากการสัมภาษณ์พบว่าพ่อแม่รู้สึกว่าไม่มีเวลาให้กับลูกเนื่องจากต้องทุ่มเทให้กับงานจึงต้องการชดเชยความสุขให้กับลูกโดยการให้เงิน และซื้อสิ่งต่างๆที่ลูกต้องการ นอกจากนี้ครอบครัวในกลุ่มนี้รู้สึกว่าครอบครัวไปท่องเที่ยวร่วมกันน้อยเกินไป ระดับของความสุขในครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับ 3 จาก 10 คะแนน สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การประพฤติที่ไม่ดีและการไม่ตั้งใจเรียนหนังสือของลูก ความจริงแล้วครอบครัวในกลุ่มนี้มีความพร้อมทั้งเงินและทรัพย์สมบัติ รายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่มาก มีการออมสูง และมีการแบ่งสัดส่วนของค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆอย่างชัดเจนทั้งในส่วนของ ค่าใช้จ่ายต่างๆภายในครอบครัว เงินออมเพื่อการศึกษาของลูก และเงินออมในกรณีฉุกเฉิน สิ่งที่ขาดสำหรับครอบครัวในกลุ่มนี้ คือเวลาระหว่างพ่อแม่และลูก หากพิจารณาถึงหมวดค่าใช้จ่ายจะพบว่าการใช้จ่ายในรูปสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ สินค้าฟุ่มเฟือย เป็นหมวดการใช้จ่ายที่โดดเด่นมากกว่ากลุ่มครอบครัวอื่นๆใน 3 ประเภทที่เหลือ กิจกรรมที่ให้ความสุขมากที่สุดสำหรับกลุ่มครอบครัวประเภทนี้คือการได้ซื้อสินค้าต่างๆที่มียี่ห้อ ราคาแพง
4.ครอบครัวพังทลาย ครอบครัวในกลุ่มนี้มีปัญหามากที่สุดในครอบครัวทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการให้ค่าของระดับความสุขในครอบครัวมีเพียง 1 จาก 10 คะแนนเท่านั้น ครอบครัวประเภทนี้มีปัญหาใหญ่ 2 ด้าน คือ ด้านรายได้ไม่พอกับรายจ่ายและปัญหาที่มาจากลูก ค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวดการอุปโภคบริโภค ส่วนค่าใช้จ่ายในหมวดการออมและหมวดการพักผ่อนและการท่องเที่ยวแทบจะไม่มีเลย ผลจากการสัมภาษณ์ของครอบครัวในกลุ่มนี้พบว่า บุคคลที่เป็นพ่อแม่รู้สึกถึงความเหนื่อยทั้งกายและใจ ในบางครอบครัวร้องไห้ขณะให้สัมภาษณ์ เนื่องจากรายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ต้องมีภาระหนี้สินมากมาย สินค้าที่ซื้อก็ต้องอาศัยการผ่อนชำระเป็นงวดๆเท่านั้น สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกจะใช้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล และให้ลูกไปขอทุนการศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย พ่อแม่มีการทะเลาะกันบ่อยครั้งซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องรายจ่ายในครอบครัว และเรื่องความประพฤติของลูก
จากลักษณะของครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยรุ่น 4 ประเภทข้างต้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทัศนคติการให้ความสำคัญต่อครอบครัว ความประพฤติของบุคคลที่เป็นพ่อแม่และลูก ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อระดับความสุขในครอบครัว สำหรับในรายละเอียดของรูปแบบการใช้จ่ายจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของเงินที่ใช้เพื่อการพักผ่อนและการท่องเที่ยวของครอบครัวเป็นส่วนที่แตกต่างกันมากที่สุดของครอบครัวทั้ง 4 ประเภท ดังนั้นการใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนในครอบครัวจะช่วยให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีขึ้น ซึ่งใช้เป็นสิ่งสะท้อนถึงระดับความสุขในครอบครัว แท้จริงแล้วเรื่องที่ทะเลาะกันภายในครอบครัวนั้นจะมี 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องเงินและเรื่องความสัมพันธ์ชู้สาว ดังนั้นครอบครัวที่มีระดับของความสุขสูงจะไม่มีการทะเลาะภายในครอบครัวในสองเรื่องดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นรูปแบบการใช้จ่ายภายในครอบครัวมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของกลุ่มครอบครัว ดังที่ได้นำเสนอข้างต้น การพิจารณาถึงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวในแต่ละประเภทของครอบครัวของท่านเอง จะทำให้ทราบว่าครอบครัวของท่านอยู่ประเภทใด และการปรับรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวของท่านให้ใกล้เคียงกับรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวอบอุ่น จะทำให้ครอบครัวท่านได้มีความสุขเพิ่มมากขึ้น
โดยสรุปจากงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่แตกต่างระหว่างครอบครัวที่มีระดับของความสุขมากกับครอบครัวที่มีระดับของความสุขน้อย คือ 1) บุคคลที่ดำรงบทบาทเป็นแม่จะเป็นแม่บ้านหรือประกอบอาชีพอิสระมีเวลาให้กับลูกมาก ส่วนผู้ที่มีบทบาทเป็นพ่อจะเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายภายในครอบครัวและมีความซื่อสัตย์ต่อภรรยาของตน 2) ลูกมีความประพฤติดี ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน 3) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน ท่องเที่ยวในครอบครัวสูง นอกจากนี้พฤติกรรมของบุคคลที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่สำคัญคือความทุ่มเทให้กับการทำงานจะเพิ่มมากขึ้นใกล้เคียงกับชีวิตในช่วงโสด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
บทความวิจัยตอนนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรม และลักษณะความต้องการของครอบครัวที่มีบุตรในช่วงวัยรุ่น การเข้าใจถึงพฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้จะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้อย่างแท้จริง กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยมีจำนวน 25 ครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการลงบันทึกกิจวัตรประจำวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ระยะเวลาในการทำวิจัย ในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่มีบุตรในช่วงอายุระหว่าง 13 ปี จนถึง 25 ปี และบุตรของกลุ่มตัวอย่างไม่มีรายได้อื่นใด ต้องพึ่งพิงอยู่กับพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่างจะกระจายอยู่ในกลุ่มที่มีฐานะยากจน (รายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน) กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง (รายได้ของครอบครัว 15,000 ถึง 60,000 บาทต่อเดือน) ไปจนถึงกลุ่มที่มีฐานะดี (รายได้ของครอบครัวมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับปริญญาเอก ทางด้านสถานที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างมีความหลากหลาย ตั้งแต่อาศัยอยู่ในชุมชุนแออัด ไปจนถึงมีบ้านเดี่ยว อาชีพของกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยอาชีพรับจ้าง ทำงานเอกชนและรับราชการ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งหาข้อมูลพฤติกรรมของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น รวมทั้งทัศนคติ กิจวัตรประจำวัน ค่าใช้จ่าย การใช้เวลาของสมาชิกในครอบครัว การใช้เวลาของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น
การใช้เวลาของคนที่มีครอบครัวและมีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นแต่ยังไม่มีรายได้นั้นการใช้เวลาส่วนใหญ่จะใช้เวลาทุ่มเทให้กับการทำงาน 50 — 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มคนโสดที่ใช้เวลาทุ่มเทให้กับการทำงานประมาณ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลุ่มคนที่มีครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นจะมีเวลาเพื่อการทำงานมากกว่าชีวิตในตอนที่มีบุตรเล็ก โดยมีเหตุผลใหญ่ๆ สองประการคือ 1) กลุ่มวัยรุ่นในช่วง 13 ปีขึ้นไปมีการใช้เวลาร่วมกับบุพการีน้อยลงกว่าในช่วงที่มีอายุน้อย โดยหันไปใช้เวลากับเพื่อน แฟน การเรียนพิเศษ และสามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาบุพการี ทำให้พ่อแม่มีเวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 2) ค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นของบุตรที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมากกว่าในช่วงที่บุตรยังเล็ก สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดี มักจะส่งบุตรหลานของตนเองไปเรียนต่อต่างประเทศหรือเรียนในหลักสูตรนานานาชาติ ทำให้ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายมีภาระที่จะต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น ความทุ่มเทในการทำงานจะใช้เวลาในการทำงานเป็นเครื่องบ่งชี้ จากรูปแบบความทุ่มเทในการทำงาน ช่วงชีวิตโสดจะมีความทุ่มเทให้กับการทำงานมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีครอบครัวและมีบุตรที่อายุยังน้อยการให้ความสำคัญจะมุ่งตรงไปที่บุตรเป็นสำคัญ โดยอาจจะต้องลดบทบาทของการทำงานลงและใช้เวลาเลี้ยงดูบุตรมากขึ้น จากการให้สัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าในช่วงที่มีบุตรเล็ก จะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เงินเดือนขึ้นน้อยลง โดยเฉพาะผู้หญิงการมีบุตรจะมีผลกระทบกับงานมากกว่าผู้ชาย สำหรับการใช้เวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตามอายุของบุตรที่เติบโตขึ้นจนถึงเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นคนที่มีบทบาทเป็นพ่อแม่จะกลับมาให้ความสำคัญกับการงานมากขึ้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกับกลุ่มคนโสด การใช้เวลาร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางถึงมีฐานะดี ในวันธรรมดาวันจันทร์ถึงวันศุกร์ จะใช้เวลาร่วมกันระหว่างเวลา 19.00 ถึง 21.00 น. ซึ่งมักเป็นเวลาที่ใช้ในการรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ดูข่าว ชมละครทางโทรทัศน์ร่วมกัน ในช่วงเวลาดังกล่าวหัวข้อที่สนทนาระหว่างกันจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการเรียน กิจวัตรประจำวันของบุตร สำหรับครอบครัวที่มีรถยนต์ไปส่งบุตรหลานไปโรงเรียนจะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการสนทนากับบุตรของตน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับในวันหยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์ ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกคือ ช่วงเช้า 9.00-12.00 น. และในช่วงเย็น 18.00-21.00 น. ในบางครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะดีมักจะกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว ใช้เวลาอยู่ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก แต่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนจะมีเวลาอยู่ร่วมกันน้อยกว่าครอบครัวที่มีฐานะดี ครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นสามารถแบ่งลักษณะพฤติกรรมของครอบครัวเป็น 4 กลุ่มคือ
พ่อแม่
ครอบครัวยุ่งเหยิง
ระดับความสุข: 3
ครอบครัวอบอุ่น
ระดับความสุข: 9
ครอบครัวพังทลาย
ระดับความสุข: 1
ครอบครัวพึ่งพิง
ระดับความสุข: 5
1.ครอบครัวอบอุ่น
ลักษณะของครอบครัวประเภทนี้จะมีบุตรหลานเรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนที่ใกล้บ้าน บุตรหลานของครอบครัวนี้จะมีผลการศึกษาดี มีความประพฤติดี เชื่อฟังพ่อแม่ พ่อและแม่ทำงานในบริษัทที่มั่นคงหรือมีกิจการเป็นของตนเอง ครอบครัวประเภทนี้โดยเฉลี่ยจะมีบุตรไม่มาก ประมาณ1-2 คน พ่อแม่มีรายได้รวมกันมากกว่า 60,000 บาทต่อเดือน พ่อแม่มีความซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ครอบครัวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ร่วมกันในวันธรรมดาวันจันทร์ถึงวันศุกร์มากกว่าวันละ 5 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงเช้ามีเวลารับประทานอาหารเช้าร่วมกันโดยผู้เป็นแม่เตรียมเป็นผู้เตรียมอาหารเช้าร่วมกับลูก ในช่วงเช้าครอบครัวมีเวลาพูดคุยถึงกิจกรรมที่จะต้องทำของสมาชิกในครอบครัวในวันนี้ ครอบครัวที่อยู่ในกลุ่มนี้มีสิ่งที่เหมือนกันคือผู้เป็นแม่จะเป็นแม่บ้าน อยู่ที่บ้านหรือประกอบอาชีพที่มีเวลาอิสระในการทำงาน ส่วนในช่วงเย็นผู้เป็นพ่อหรือแม่จะไปรับลูกที่โรงเรียนหรือลูกเดินทางกลับบ้านเอง การกลับบ้านของสมาชิกในครอบครัวจะกลับมาในช่วง 17.00-18.00 น. ช่วง 18.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่รับประทานอาหารร่วมกัน พักผ่อนดูรายการโทรทัศน์ ชมละครร่วมกัน และในระหว่างเวลารับประทานอาหารครอบครัวจะมีการสนทนาในเรื่องการเรียนของผู้เป็นลูก กิจกรรมของลูกในวันนี้ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่พ่อ แม่และลูกประสบพบในวันนี้ เมื่อถูกถามถึงบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตจะมีคำตอบคือครอบครัว ความสำคัญของครอบครัวจะสำคัญมากกว่างาน หัวหน้าครอบครัวมีทัศนคติว่า การทำงานทำเพื่อให้ได้เงินมาสร้างความสุขในครอบครัว ระดับของความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับดีมาก (9 จาก 10คะแนน)
2.ครอบครัวพึ่งพิง
ลักษณะของครอบครัวพึ่งพิง สมาชิกของครอบครัวจะมีการพึ่งพิงกับบุคคลรอบข้าง พ่อแม่จะเป็นหนี้ กู้ยืมมาจากสถาบันการเงินหรือคนรอบข้าง รายได้ไม่พอกับรายจ่ายในครอบครัว มีเงินเก็บน้อย พ่อแม่พึ่งพิงกับญาติในการดูแลเอาใจใส่ลูกตนเอง ครอบครัวจะเป็นครอบครัวใหญ่มีญาติพี่น้องอาศัยรวมอยู่ด้วยกัน ทั้งบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ทำงานนอกบ้าน พ่อแม่มีปัญหาทะเลาะกันอยู่เสมอๆ และหัวข้อที่ทะเลาะกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องเงินและเรื่องชู้สาว ความไม่ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน
ลักษณะของครอบครัวกลุ่มนี้จะมีลูกที่มีความประพฤติดี เรียนดี ในบางครอบครัวลูกเรียนในต่างประเทศ เมื่อถามถึงที่มาของความประพฤติที่ดีและผลการศึกษาที่ดี พบว่ามาจากครู อาจารย์ที่โรงเรียน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆและสังคมที่โรงเรียน มากกว่ามาจากผู้เป็นพ่อแม่ การใช้เวลาอยู่ร่วมกันจะเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ มีเวลารับประทานอาหารร่วมกันพ่อแม่ลูก เดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากผู้เป็นพ่อและแม่ไม่มีเวลา เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการทำงาน สถานที่ทำงานไกลจากบ้านใช้เวลาในการเดินทาง 4-5 ชั่วโมงต่อวัน หัวหน้าครอบครัวมีแนวคิดในการหาเงินเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อมีเวลาว่างมักเลือกที่จะทำงานมากกว่าพักผ่อนกับครอบครัว สิ่งที่ทำให้มีความสุขคือการมีเงินมากๆ กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะของครอบครัวพึ่งพิงได้ให้ระดับความสุขของครอบครัวเท่ากับ 5 จาก 10 คะแนน
3.ครอบครัวยุ่ง เหยิง
ลักษณะครอบครัวประเภทนี้พ่อแม่มีฐานะดี มีการศึกษาสูง มีรายได้เกินกว่ารายจ่ายมาก มีตำแหน่งการงานอยู่ในระดับสูงของบริษัทเอกชน ราชการหรือเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ทั้งพ่อและแม่มุ่งแต่งาน ครอบครัวในกลุ่มนี้มักจะมีพี่เลี้ยงให้กับบุตรของตนตั้งแต่เด็ก บุตรหลานของครอบครัวประเภทนี้มีความประพฤติไม่เหมาะสม เกเร ชอบเที่ยวเตร่ เรียนไม่ดี ในบางครอบครัวติดยาเสพติด หนีออกจากบ้าน ไปอยู่กับเพื่อน จากพฤติกรรมของบุตรหลานจะนำมาซึ่งความทุกข์ให้กับบุคคลที่เป็นพ่อแม่ จากกลุ่มตัวอย่างที่ให้คะแนนระดับความสุขในครอบครัวตนเอง จะให้คะแนนในระดับ 3 จาก 10 คะแนน จะสังเกตได้ว่าความสุขของครอบครัวกลุ่มนี้มีค่าน้อยกว่าครอบครัวในกลุ่มที่สอง จากการสัมภาษณ์สาเหตุหลักที่ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุขคือพฤติกรรมของบุตรหลานของครอบครัวประเภทนี้เอง จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าพฤติกรรมของบุตรที่ไม่ดีจะส่งผลให้ความสุขในครอบครัวลดลงมากกว่าพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ไม่ดี ดังนั้นครอบครัวที่มีบุตรดีจะสามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ความสุขในครอบครัวได้ส่วนหนึ่ง
4.ครอบครัวพังทลาย
ลักษณะของครอบครัวในกลุ่มนี้พ่อแม่มีรายได้รวมกันไม่พอกับรายจ่าย มุ่งทำงานหาเงิน พ่อแม่มีการศึกษาน้อย ไม่มีเวลาให้กับบุตร ฝากบุตรไว้กับญาติพี่น้องหรือคนข้างบ้านตั้งแต่เด็ก บุตรหลานของครอบครัวนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนใกล้บ้าน เพื่อนที่โรงเรียนหรือเพื่อนที่มหาวิทยาลัย บุตรที่อยู่ในวัยรุ่นในกลุ่มนี้จะต่างจากวัยรุ่นในกลุ่มที่สอง ครอบครัวพึ่งพิง คือมีสิ่งแวดล้อมของบุตรที่แย่กว่า สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยแก่การเป็นวัยรุ่นที่ดี มีพฤติกรรมเหมาะสม ไม่มีที่พึ่งพิง ที่ปรึกษา การใช้เวลาร่วมกันระหว่างพ่อ แม่และลูกแทบจะไม่มีเลย จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่าความถี่ในการใช้ชีวิตร่วมกัน พักผ่อนรับประทานอาหารมีเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวจะต่างคนต่างกิน ซื้อรับประทานข้างนอกก่อนเข้าบ้าน เมื่อถามหัวหน้าครอบครัวถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุขคือการไปเที่ยวกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้พบว่าการมีบุตรของครอบครัวในกลุ่มนี้เป็นไปโดยความไม่ตั้งใจ ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ให้ระดับคะแนนความสุขในการใช้ชีวิตครอบครัว จะให้คะแนนอยู่ในระดับ 1 จาก 10 คะแนน
ในด้านการตลาดสำหรับร้านอาหาร หรือสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มครอบครัว ที่มุ่งเน้นการใช้บริการร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่เหมาะสมควรจะเป็นกลุ่มครอบครัวอบอุ่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับครอบครัว ความเป็นอยู่ ความสะดวกสบายของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก มีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ความถี่ในการใช้บริการเป็นครอบครัวยังสูงกว่ากลุ่มอื่นๆอีกด้วย
จากระดับความสุขของครอบครัวในแต่ละประเภท ครอบครัวที่มีระดับของความสุขในครอบครัวอยู่ในระดับสูงมีสิ่งที่แตกต่างจากครอบครัวที่มีระดับของความสุขน้อย คือ 1) บุคคลที่ดำรงบทบาทเป็นแม่จะเป็นแม่บ้านหรือประกอบอาชีพอิสระมีเวลาให้กับบุตรของตนมาก ส่วนผู้ที่มีบทบาทเป็นพ่อจะเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายภายในครอบครัวและมีความซื่อสัตย์ต่อภรรยาของตน 2) บุตรมีความประพฤติดีและมีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน
สำหรับบทความในตอนต่อไปของพฤติกรรมครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่น จะอธิบายถึงความแตกต่างของรูปแบบการใช้จ่าย การออม การพักผ่อน และค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ของครอบครัวทั้ง 4 ประเภท
พฤติกรรมครอบครัวลูกวัยรุ่น (2)
บทความวิจัยตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากบทความวิจัยในตอนแรกที่ได้อธิบายถึงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย การใช้เวลาของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น และได้อธิบายถึงลักษณะของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นทั้ง 4 ประเภท โดยอาศัยเกณฑ์การแบ่งตามลักษณะพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและระดับของความสุขในครอบครัว
สำหรับบทความวิจัยตอนนี้จะอธิบายถึงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวทั้ง 4 ประเภทที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายสำหรับสินค้าในแต่ละหมวดหมู่แตกต่างกัน ทั้งนี้รูปแบบการใช้จ่ายภายในครอบครัวสามารถนำมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดระดับของความสุขในครอบครัวการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่น การสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นจะใช้วิธีการดำเนินงานวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่าง 25 ครอบครัวเขียนบันทึกประจำวันถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในแต่ละวัน และรายการค่าใช้จ่าย เป็นเวลาสองสัปดาห์ นอกจากนี้การวิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบการวิจัยควบคู่กันไปด้วย โดยมีช่วงระยะเวลาการวิจัยอยู่ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2548
จากการวิจัยพบว่าครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยรุ่นในแต่ละประเภทมีการให้น้ำหนักการใช้จ่ายและความสำคัญต่อสิ่งที่ใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่ไม่เท่ากัน รูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวสะท้อนถึงพฤติกรรมของครอบครัวและสามารถใช้บ่งบอกถึงระดับของความสุขในครอบครัวรูปแบบรายจ่ายของแต่ละครอบครัวจะถูกจำแนกเป็น 6 หมวดหมู่คือ กลุ่มที่ 1 หมวดการออม/ฝากธนาคาร/ลงทุน/ประกันชีวิต กลุ่มที่ 2 หมวดอาหาร/สินค้าอุปโภคบริโภค/เสื้อผ้า/การเดินทาง กลุ่มที่ 3 หมวดกิจกรรมพักผ่อน/ดูภาพยนตร์/ท่องเที่ยว กลุ่มที่ 4 หมวดสินค้าคงทน/รถยนต์/ที่อยู่อาศัย/เฟอร์นิเจอร์ กลุ่มที่ 5 หมวดการศึกษาของลูก และหมวดที่ 6 หมวดอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายที่ให้ผู้อื่น เช่นค่าเลี้ยงดูพ่อ แม่ หรือ ค่าภาษีสังคมต่างๆ เป็นต้น จากการจำแนกค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวเป็น 6 ประเภทข้างต้น ร่วมกับคะแนนวัดระดับของความสุขในครอบครัว สามารถแสดงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวที่มีบุตรอยู่ในวัยรุ่นทั้ง 4 กลุ่ม ดังนี้
1.ครอบครัวอบอุ่น ครอบครัวประเภทนี้มีระดับความสุขในครอบครัวสูงที่สุด รูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวจะมีสัดส่วนของเงินออมอยู่สูงเมื่อเทียบกับครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ พ่อแม่มีการงานที่มั่นคง มีเวลาให้กับลูกและมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นลำดับแรก ครอบครัวจะใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อน ท่องเที่ยว ซึ่งสะท้อนในรูปของค่าใช้จ่ายในหมวดการพักผ่อนและท่องเที่ยว จะสูงกว่าครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ลักษณะการออมของครอบครัวในกลุ่มนี้จะเป็นการฝากธนาคาร ประกันชีวิต การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมประเภทต่างๆ สำหรับเงินเก็บเพื่ออนาคตของลูกจะมีการวางแผนอย่างชัดเจน เมื่อถูกถามถึงบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตจะมีคำตอบที่ชัดเจนคือครอบครัว ความสำคัญของครอบครัวจะสำคัญมากกว่างาน หัวหน้าครอบครัวมีทัศนคติว่า การทำงานเพื่อให้ได้เงินมาเสริมสร้างความสุขในครอบครัว ระดับของความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับดีมาก (9 จาก 10คะแนน)
2.ครอบครัวพึ่งพิง ลักษณะของครอบครัวประเภทนี้จะเป็นครอบครัวใหญ่ ญาติพี่น้องอาศัยอยู่รวมกัน พ่อแม่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น อาชีพส่วนใหญ่ของผู้นำครอบครัวประเภทนี้เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือรับราชการ รายจ่ายมีทั้งมาจากบุตรและมาจากญาติพี่น้องภายในครอบครัว พ่อแม่มีเวลาให้กับลูกน้อย ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่หมวดหมู่การอุปโภคบริโภค มักจะทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่าการไปรับประทานอาหารนอกบ้านหรือซื้อมารับประทาน เนื่องจากครอบครัวกลุ่มนี้เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกภายในครอบครัว ครอบครัวในกลุ่มนี้มีเงินออมน้อย ไม่มีการลงทุนระยะยาว ไม่มีการทำประกันชีวิต มีเพียงบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ครอบครัวในกลุ่มนี้มีการพักผ่อนร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวน้อย สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีโอกาสไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเท่านั้น ระดับความสุขของครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับ 5 จาก 10 คะแนน จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง รายได้ที่หามาได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทำให้รู้สึกเหนื่อย และต้องอดทนในการทำงานถึงแม้จะมีปัญหาจากที่ทำงานก็ต้องทนเพื่อให้มีค่าใช้จ่ายมาจุนเจือครอบครัว หัวข้อที่ทะเลาะกันในครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเงินทอง ส่วนเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาไม่ราบรื่นมากนัก และมีเรื่องชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆของครอบครัวในกลุ่มนี้สูงขึ้น
3.ครอบครัวยุ่งเหยิง รูปแบบค่าใช้จ่ายของครอบครัวในกลุ่มนี้จะกระจายไปในหมวดอุปโภคบริโภค หมวดการออม และหมวดสินค้าคงทน ลูกจะได้รับเงินเพื่อใช้ประจำวันสูงกว่าครอบครัวในกลุ่มอื่นๆ มีบัตรเครดิตเสริมให้กับลูก จากการสัมภาษณ์พบว่าพ่อแม่รู้สึกว่าไม่มีเวลาให้กับลูกเนื่องจากต้องทุ่มเทให้กับงานจึงต้องการชดเชยความสุขให้กับลูกโดยการให้เงิน และซื้อสิ่งต่างๆที่ลูกต้องการ นอกจากนี้ครอบครัวในกลุ่มนี้รู้สึกว่าครอบครัวไปท่องเที่ยวร่วมกันน้อยเกินไป ระดับของความสุขในครอบครัวในกลุ่มนี้อยู่ในระดับ 3 จาก 10 คะแนน สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การประพฤติที่ไม่ดีและการไม่ตั้งใจเรียนหนังสือของลูก ความจริงแล้วครอบครัวในกลุ่มนี้มีความพร้อมทั้งเงินและทรัพย์สมบัติ รายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่มาก มีการออมสูง และมีการแบ่งสัดส่วนของค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆอย่างชัดเจนทั้งในส่วนของ ค่าใช้จ่ายต่างๆภายในครอบครัว เงินออมเพื่อการศึกษาของลูก และเงินออมในกรณีฉุกเฉิน สิ่งที่ขาดสำหรับครอบครัวในกลุ่มนี้ คือเวลาระหว่างพ่อแม่และลูก หากพิจารณาถึงหมวดค่าใช้จ่ายจะพบว่าการใช้จ่ายในรูปสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องประดับ สินค้าฟุ่มเฟือย เป็นหมวดการใช้จ่ายที่โดดเด่นมากกว่ากลุ่มครอบครัวอื่นๆใน 3 ประเภทที่เหลือ กิจกรรมที่ให้ความสุขมากที่สุดสำหรับกลุ่มครอบครัวประเภทนี้คือการได้ซื้อสินค้าต่างๆที่มียี่ห้อ ราคาแพง
4.ครอบครัวพังทลาย ครอบครัวในกลุ่มนี้มีปัญหามากที่สุดในครอบครัวทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการให้ค่าของระดับความสุขในครอบครัวมีเพียง 1 จาก 10 คะแนนเท่านั้น ครอบครัวประเภทนี้มีปัญหาใหญ่ 2 ด้าน คือ ด้านรายได้ไม่พอกับรายจ่ายและปัญหาที่มาจากลูก ค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวดการอุปโภคบริโภค ส่วนค่าใช้จ่ายในหมวดการออมและหมวดการพักผ่อนและการท่องเที่ยวแทบจะไม่มีเลย ผลจากการสัมภาษณ์ของครอบครัวในกลุ่มนี้พบว่า บุคคลที่เป็นพ่อแม่รู้สึกถึงความเหนื่อยทั้งกายและใจ ในบางครอบครัวร้องไห้ขณะให้สัมภาษณ์ เนื่องจากรายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ต้องมีภาระหนี้สินมากมาย สินค้าที่ซื้อก็ต้องอาศัยการผ่อนชำระเป็นงวดๆเท่านั้น สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกจะใช้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล และให้ลูกไปขอทุนการศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย พ่อแม่มีการทะเลาะกันบ่อยครั้งซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องรายจ่ายในครอบครัว และเรื่องความประพฤติของลูก
จากลักษณะของครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยรุ่น 4 ประเภทข้างต้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทัศนคติการให้ความสำคัญต่อครอบครัว ความประพฤติของบุคคลที่เป็นพ่อแม่และลูก ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อระดับความสุขในครอบครัว สำหรับในรายละเอียดของรูปแบบการใช้จ่ายจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของเงินที่ใช้เพื่อการพักผ่อนและการท่องเที่ยวของครอบครัวเป็นส่วนที่แตกต่างกันมากที่สุดของครอบครัวทั้ง 4 ประเภท ดังนั้นการใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนในครอบครัวจะช่วยให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีขึ้น ซึ่งใช้เป็นสิ่งสะท้อนถึงระดับความสุขในครอบครัว แท้จริงแล้วเรื่องที่ทะเลาะกันภายในครอบครัวนั้นจะมี 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องเงินและเรื่องความสัมพันธ์ชู้สาว ดังนั้นครอบครัวที่มีระดับของความสุขสูงจะไม่มีการทะเลาะภายในครอบครัวในสองเรื่องดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นรูปแบบการใช้จ่ายภายในครอบครัวมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของกลุ่มครอบครัว ดังที่ได้นำเสนอข้างต้น การพิจารณาถึงรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวในแต่ละประเภทของครอบครัวของท่านเอง จะทำให้ทราบว่าครอบครัวของท่านอยู่ประเภทใด และการปรับรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวของท่านให้ใกล้เคียงกับรูปแบบการใช้จ่ายของครอบครัวอบอุ่น จะทำให้ครอบครัวท่านได้มีความสุขเพิ่มมากขึ้น
โดยสรุปจากงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่แตกต่างระหว่างครอบครัวที่มีระดับของความสุขมากกับครอบครัวที่มีระดับของความสุขน้อย คือ 1) บุคคลที่ดำรงบทบาทเป็นแม่จะเป็นแม่บ้านหรือประกอบอาชีพอิสระมีเวลาให้กับลูกมาก ส่วนผู้ที่มีบทบาทเป็นพ่อจะเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว มีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายภายในครอบครัวและมีความซื่อสัตย์ต่อภรรยาของตน 2) ลูกมีความประพฤติดี ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน 3) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน ท่องเที่ยวในครอบครัวสูง นอกจากนี้พฤติกรรมของบุคคลที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่สำคัญคือความทุ่มเทให้กับการทำงานจะเพิ่มมากขึ้นใกล้เคียงกับชีวิตในช่วงโสด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-