พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่วันที่ 10-16 กรกฎาคม 2549

ข่าวทั่วไป Monday July 10, 2006 13:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วัน จันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 82/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 10-16 กรกฎาคม 2549
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงจะพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง คลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝน ลดน้อยลงอยู่ในเกณฑ์กระจาย และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
คำเตือน
ในระยะนี้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มของพื้นที่เสี่ยงภัยด้านตะวันตกของประเทศและภาคตะวันออก ซึ่งได้แก่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ระยอง จันทบุรี และตราด ควรเฝ้าระวังภัยที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะสัปดาห์นี้
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาคโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเพชรบูรณ์ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-25 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาคโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเพชรบูรณ์ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-25 กม./ชม. สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนผลผลิตการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. #มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตกชุก ข้าวนาปีที่อยู่ในระยะปักดำถึงเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์กีบอยู่ ในที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
กลาง
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-50 % ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-50 % ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. บริเวณที่มี ฝนตกและอากาศชื้น ชาวสวนองุ่นควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรีบรักษาเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ ดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่งบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่งบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกันเกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะ น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนบริเวณที่ระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม หากพบต้นไม้ที่ล้มเอนควรผูกยึดและค้ำยันให้ตั้งตรง ถ้ามีรอยแผลควรทำความสะอาด ตัดแต่งแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคตาแดงด้วย
ใต้
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-45 กม./ชม.
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-45 กม./ชม. เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณสวน ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ