โฆษกปชป.'องอาจ คล้ามไพบูลย์'เห็นด้วยกับ ข้อเสนอออกกฎมายเอาผิดนักการเมืองทุจริตพร้อมหนุน แนวคิด 'ประชาชน' ร้องทุกข์ในฐานะผู้เสียหายในคดีทุจริต ด้วยตนเองได้ เผยตรงกับแนวคิด 'วาระประชาชน ประชาธิปัตย์'
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายอุดม เฟื้องฟุ้งในฐานะ ตคส. เสนอให้ออกร่างกฎหมายเอาผิดนักการเมือง เรื่องนี้ส่วนตัวแล้วตนมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการออกกฎหมายมาดำเนินการกับนักการเมืองในฐานะผู้ใช้หรือมอบนโยบาย หรือ มีมติให้ข้าราชการประจำไปทำความผิดจนก่อให้เกิดการทุจริต เพราะวงจรทุจริตในบ้านเมืองนั้น ต้องยอมรับว่ามีทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำ นักธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องในวงจรการทุจริต
“ที่ผ่านมากระบวนการสอบสวนจะไปตกอยู่ที่ระดับข้าราชการ เป็นส่วนใหญ่ ตนจึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่คตส..จะเสนอให้มีการร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อที่จะเอาผิดกับนักการเมือง ในฐานะผู้ใช้หรือมอบนโยบาย หรือมติ ให้ข้าราชการดำเนินการ”นายองอาจ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายอุดม เสนอให้ประชาชนถือว่าเป็นผู้เสียหายจากการทุจริต สามารถกล่าวโทษร้องทุกข์ได้ เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น นายองอาจ กล่าวว่า เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้ประกาไว้ในวาระประชาชน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2549 เพราะที่ผ่านมาประชาชนไม่สามารถดำเนินการโดยตรง แต่ต้องดำเนินการผ่าน ตำรวจ อัยการ ปปช.เป็นต้น
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายวิชา มหาคุณ ออกมากล่าวว่าหาก พล.อ.สนธิ บุญรัตนกรินทร์ ได้มาเห็นข้อมูลการทุจริตของปปช.แล้ว จะไม่ใช่แค่อยากร้องไห้ แต่จะร้องไห้ไปอีก 10 ชาติ ตรงนี้ตนคิดว่าคำกล่าวนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนในเรื่องคอรัปชั่น ว่าเป็นมะเร็งร้ายในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มพูลมาขึ้นในช่วงรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าช่วงจังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่ ตคส. ,ปปช. ,รัฐบาล ต้องใช้อำนาจหน้าที่
ที่มีอยู่ดำเนินการทั้งการป้องกัน และปราบปราม โดยเร่งให้มีการออกกฎหมายป้องกันและปราบปราม มาจัดการกับคนทุจริตให้เด็ดขาดกว่าที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้โฆษกพถรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทสถานีไอทีวี ว่าส่วนตัวมีความเห็นว่าวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ขณะนี้สังคมไทยควรจะใช้โอกาสในวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นทางทีวีขณะนี้ แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส แล้วก็ดำเนินการเพื่อให้ไอทีวีนั้น ได้กลับมาสู่จุดประสงค์เดิม ของการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ เป็นไปเพื่อเสนอข่าวตามความจริงตามสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม
“คำว่า ‘ไอทีวี’ หมายความว่า ทีวีเสรี เพราะฉะนั้นผมคิดว่าขณะนี้ก็คงดำเนินการให้นำไปสู่จุดประสงค์นี้ โดยที่พยายามไม่ให้มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานที่ปฏิบัติงาน เพราะคนเหล่านี้ก็ดำเนินงานตามนโยบายตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชามากกว่า ที่จะดำเนินงานด้วยของตัวเอง เพราฉะนั้นถ้าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะนี้ได้ ผมเชื่อว่าพนักงานเองก็ดี รวมทั้งสังคม และผู้ที่เกี่ยวจะยอมรับได้ และที่สำคัญประเทศที่มีสื่อทีวีที่ดีเพิ่มขึ้น”นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ธ.ค. 2549--จบ--
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายอุดม เฟื้องฟุ้งในฐานะ ตคส. เสนอให้ออกร่างกฎหมายเอาผิดนักการเมือง เรื่องนี้ส่วนตัวแล้วตนมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการออกกฎหมายมาดำเนินการกับนักการเมืองในฐานะผู้ใช้หรือมอบนโยบาย หรือ มีมติให้ข้าราชการประจำไปทำความผิดจนก่อให้เกิดการทุจริต เพราะวงจรทุจริตในบ้านเมืองนั้น ต้องยอมรับว่ามีทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำ นักธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องในวงจรการทุจริต
“ที่ผ่านมากระบวนการสอบสวนจะไปตกอยู่ที่ระดับข้าราชการ เป็นส่วนใหญ่ ตนจึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่คตส..จะเสนอให้มีการร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อที่จะเอาผิดกับนักการเมือง ในฐานะผู้ใช้หรือมอบนโยบาย หรือมติ ให้ข้าราชการดำเนินการ”นายองอาจ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายอุดม เสนอให้ประชาชนถือว่าเป็นผู้เสียหายจากการทุจริต สามารถกล่าวโทษร้องทุกข์ได้ เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น นายองอาจ กล่าวว่า เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้ประกาไว้ในวาระประชาชน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2549 เพราะที่ผ่านมาประชาชนไม่สามารถดำเนินการโดยตรง แต่ต้องดำเนินการผ่าน ตำรวจ อัยการ ปปช.เป็นต้น
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายวิชา มหาคุณ ออกมากล่าวว่าหาก พล.อ.สนธิ บุญรัตนกรินทร์ ได้มาเห็นข้อมูลการทุจริตของปปช.แล้ว จะไม่ใช่แค่อยากร้องไห้ แต่จะร้องไห้ไปอีก 10 ชาติ ตรงนี้ตนคิดว่าคำกล่าวนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนในเรื่องคอรัปชั่น ว่าเป็นมะเร็งร้ายในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มพูลมาขึ้นในช่วงรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าช่วงจังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่ ตคส. ,ปปช. ,รัฐบาล ต้องใช้อำนาจหน้าที่
ที่มีอยู่ดำเนินการทั้งการป้องกัน และปราบปราม โดยเร่งให้มีการออกกฎหมายป้องกันและปราบปราม มาจัดการกับคนทุจริตให้เด็ดขาดกว่าที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้โฆษกพถรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทสถานีไอทีวี ว่าส่วนตัวมีความเห็นว่าวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ขณะนี้สังคมไทยควรจะใช้โอกาสในวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นทางทีวีขณะนี้ แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส แล้วก็ดำเนินการเพื่อให้ไอทีวีนั้น ได้กลับมาสู่จุดประสงค์เดิม ของการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ เป็นไปเพื่อเสนอข่าวตามความจริงตามสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม
“คำว่า ‘ไอทีวี’ หมายความว่า ทีวีเสรี เพราะฉะนั้นผมคิดว่าขณะนี้ก็คงดำเนินการให้นำไปสู่จุดประสงค์นี้ โดยที่พยายามไม่ให้มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานที่ปฏิบัติงาน เพราะคนเหล่านี้ก็ดำเนินงานตามนโยบายตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชามากกว่า ที่จะดำเนินงานด้วยของตัวเอง เพราฉะนั้นถ้าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะนี้ได้ ผมเชื่อว่าพนักงานเองก็ดี รวมทั้งสังคม และผู้ที่เกี่ยวจะยอมรับได้ และที่สำคัญประเทศที่มีสื่อทีวีที่ดีเพิ่มขึ้น”นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ธ.ค. 2549--จบ--