นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาการผลิตและการค้าข้าวหอมมะลิไทยที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตามจังหวัดต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมาย ล่าสุดจัดที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงราย พิษณุโลกและนครสวรรค์ในระหว่างวันที่ 11 — 17 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายในท้องที่ที่เป็นโรงสี ผู้ส่งออก พ่อค้าท้องถิ่น ผู้บริหารสหกรณ์ ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษา รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้น 214 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางขั้นส่งออก การสร้างแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทย หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ กระบวนการในการส่งออกจนสามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ส่งออกได้ในที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกข้าวของประเทศโดยรวมต่อไปด้วย
ข้อคิดเห็นที่ได้จากผู้เข้าร่วมการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
1. มีผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย พะเยาและเชียงใหม่จำนวนหนึ่งที่แสดงความสนใจในเรื่องการพัฒนาเป็นผู้ส่งออก ซึ่งจุดนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างผู้ประกอบธุรกิจส่งออกหน้าใหม่ (intertrader) เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาล
2. กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้งการสร้างแบรนด์ และการรับรองคุณภาพในระดับจังหวัด ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศพร้อมที่จะให้การสนับสนุนร่วมมือกับจังกวัดในเรื่องดังกล่าว
3. เนื่องจากการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทางกายภาพไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวหอมปทุมธานีได้อย่างชัดเจนนอกจากวิธีการตรวจวิเคราะห์ DNA ซึ่งเป็นวิธีการที่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นภาระของผู้ส่งออก ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวในระยะยาว กรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้า จึงได้มีโครงการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสายพันธุกรรมข้าวกระจายในแหล่งภูมิภาคโดยการฝีกอบรมถ่ายทอดวิธีการตรวจสอบพันธุกรรมข้าว และเน้นบุคลากรที่เป็นผู้แทนสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิไทยเข้ารับการฝึกอบรม โดยในเบื้องต้นได้ดำเนินการแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะได้ขยายโครงการออกไปสู่บุคลากรในภาคเหนืออีกด้วยโดยจะได้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาคต่อไป
สำหรับผลผลิตข้าวหอมมะลิไทยในจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก และนครสวรรค์ ในฤดูการผลิต 2546/2547 เท่ากับ 27,958 ตัน 68,470 ตัน และ 155,328 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ตามลำดับ และมีผู้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในจังหวัดเชียงราย 3 ราย พิษณุโลก 1 ราย และนครสวรรค์ 3 ราย ในส่วนของยอดส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย 3 เดือนแรก (มค. — มี.ค. 49) มีปริมาณ 564,192.12 ตัน มูลค่า 8,625,273,312 บาท ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นจีน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ข้อคิดเห็นที่ได้จากผู้เข้าร่วมการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
1. มีผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย พะเยาและเชียงใหม่จำนวนหนึ่งที่แสดงความสนใจในเรื่องการพัฒนาเป็นผู้ส่งออก ซึ่งจุดนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างผู้ประกอบธุรกิจส่งออกหน้าใหม่ (intertrader) เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาล
2. กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้งการสร้างแบรนด์ และการรับรองคุณภาพในระดับจังหวัด ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศพร้อมที่จะให้การสนับสนุนร่วมมือกับจังกวัดในเรื่องดังกล่าว
3. เนื่องจากการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทางกายภาพไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวหอมปทุมธานีได้อย่างชัดเจนนอกจากวิธีการตรวจวิเคราะห์ DNA ซึ่งเป็นวิธีการที่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นภาระของผู้ส่งออก ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวในระยะยาว กรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้า จึงได้มีโครงการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสายพันธุกรรมข้าวกระจายในแหล่งภูมิภาคโดยการฝีกอบรมถ่ายทอดวิธีการตรวจสอบพันธุกรรมข้าว และเน้นบุคลากรที่เป็นผู้แทนสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิไทยเข้ารับการฝึกอบรม โดยในเบื้องต้นได้ดำเนินการแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะได้ขยายโครงการออกไปสู่บุคลากรในภาคเหนืออีกด้วยโดยจะได้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาคต่อไป
สำหรับผลผลิตข้าวหอมมะลิไทยในจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก และนครสวรรค์ ในฤดูการผลิต 2546/2547 เท่ากับ 27,958 ตัน 68,470 ตัน และ 155,328 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ตามลำดับ และมีผู้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในจังหวัดเชียงราย 3 ราย พิษณุโลก 1 ราย และนครสวรรค์ 3 ราย ในส่วนของยอดส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย 3 เดือนแรก (มค. — มี.ค. 49) มีปริมาณ 564,192.12 ตัน มูลค่า 8,625,273,312 บาท ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นจีน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-