วันนี้ (25 เม.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ หลังจากการประชุมร่วม 3 อดีตพรรคฝ่ายค้าน เพื่อติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งเสร็จสิ้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกกต. ว่าตนเองรู้สึกไม่สบายใจ รวมทั้ง 3 พรรคมีความเห็นร่วมกันว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานั้น กกต. ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ไม่ได้สนองต่อเจตนารมย์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ กล่าวถือไม่ได้สนองต่อเจตนารมย์ที่ต้องการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ตรงกันข้ามพฤติกรรมหลายอย่างที่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นลำดับว่ามีลักษณะที่ไม่เป็นกลาง และมีลักษณะคล้ายกับจะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองบางพรรค จนทำให้หลายฝ่ายเกิดความรู้สึกว่า กกต. ไม่สามารถเป็นความหวังต่อสังคมและแม้จะทำให้การเลือกตั้งสุจริต ยุติธรรม ได้ตามเป้าหมายของรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ 3 พรรคได้ติดตามเป็นพิเศษคือ ประเด็นที่ได้มีการร้องเรียนไปยัง กกต. ในเรื่องที่ปรากฎว่าได้มีการแก้ไขฐานข้อมูลของ กกต. เรื่องความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ของพรรคการเมืองหลายพรรค รวมทั้งพฤติกรรมในการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเป็นไม้ประดับ และจะทำให้พรรคใหญ่ไม่จำเป็นจะต้องได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ 20 ก็จะสามารถรับการเลือกตั้งได้ และช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาปรากฎว่า อนุกรรมการกกต. ได้สอบสวนเสร็จแล้วพบว่ามีมูลความผิดจริงว่ามีการแก้ไขฐานข้อมูลภายใน กกต. จริง และมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า 3 พรรคฝ่ายค้าน มีความเห็นร่วมกันในความต้องการที่จะเร่งรัดให้ กกต. ได้เร่งเปิดเผยผลการสอบสวนของอนุกรรมการ กกต. และให้ กกต. เร่งขยายผลการสอบสวนไปยังผู้จ้างวานพรรคเล็ก รวมถึงเร่งประกาศผลต่อสาธารณชนโดยเร็วถึงตัวผู้จ้างวาน และผู้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นภายใน กกต. และนักการเมืองจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฎเป็นข่าว
นายจุรินทร์ กล่าวถึงสาเหตุของการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาประชุมว่า เพราะ 3 พรรคฝ่ายค้านเห็นว่า กกต. กำลังมีความพยายามถ่วงเวลาในการสืบสวนให้ถึงผู้จ้างวาน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของผู้สมัครในพรรคการเมืองบางพรรค ดังนั้นทั้ง 3 พรรคเห็นว่า กกต. ควรสืบสวนหาผู้จ้างวานให้ได้โดยเร็วที่สุดเสียก่อน เพื่อ กกต.จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ และหากพบว่ามีผู้สมัครบัญชีรายชื่อกระทำความผิดจริงตามมาตรา 85/1 ของกฎหมายเลือกตั้ง ผู้สมัครคนนั้นจะถูกถอนสิทธิ์เป็นเวลา 1 ปี และจะต้องหลุดจากการได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. ดังนั้นหาก กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง จะทำให้เท่ากับ กกต. ประกาศรับรองผลของผู้สมัครบัญชีรายชื่อที่มีชื่อเข้าข่ายการทุจริตดังกล่าวและเป็นการช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรคได้ส.ส.บัญชีรายชื่อครบ 100 หรือ ครบ 99 คน
“ที่ต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษเนื่องจากเห็นว่า การจ้างวานพรรคการเมืองเล็กมาสมัครเป็นไม้ประดับนั้นเป็นเรื่องใหญ่ และนำมาซึ่งการเลือกตั้งสกปรก” นายจุรินทร์กล่าว
ส่วนกรณีที่ว่าหลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะมีการเปิดสภาได้หรือไม่นั้น ทาง 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยนายจุรินทร์กล่าวว่า เรามีความเห็นตรงกันว่า พฤติกรรมของรัฐบาลในระยะเวลาที่ผ่านมา จากการแสดงความคิดเห็นนั้นได้มีลักษณะการตีความเข้าข้างตัวเอง และมีความพยายามในการเปิดสภาให้ได้ในระยะเวลารวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่เชื่อว่าจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ส่วนองค์กรอื่น ๆ เช่น กกต. วุฒิสภา ขณะนี้จะเห็นได้ว่าขณะนี้มีการโยนกลอง โบ้ยกันไปมา ว่าไม่อยู่ในภาระรับผิดชอบของตน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าหลายฝ่ายเริ่มเห็นว่าการเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรม อีกทั้งจากการที่มีรองหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งบอกว่าหลังการเลือกตั้งครั้งนี้แล้วสามารถที่จะเปิดประชุมสภาได้ภายใน 30 วันนั้น แม้ว่าจะมีส.ส.ไม่ครบ 500 คนนั้น ทาง 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นว่า การกระทำใด ๆ ก็ตามควรเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญเห็นว่าการจะเรียกประชุมรัฐสภาได้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกครบ 500 คน เพราะในหลักของกฎหมายนั้น แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดว่าจะต้องเรียกประชุมสภาภายใน 30 วัน แต่จะต้องมีหลักของเงื่อนไขบังคับก่อนคือจะต้องมีส.ส.ครบ 500 คนที่ได้รับเลือกตั้งมาโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตามเงื่อนไขรองคือเปิดสภาภายใน 30 วัน
นอกจากนี้จากการที่มีการแสดงความคิดเห็นของอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่ามีมาตรา 159 บังคับว่า ภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้งให้มีการเรียกประชุมสภา และได้ตีความในลักษณะที่ว่าการประชุมรัฐสภาหมายถึงสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนเท่าไหร่เท่านั้น ก็เปิดประชุมได้นั้น นายพิเชษฐ์ พันธุ์ วิชาติกุล กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้ชี้แจงว่า กฎหมายเขียนไว้ค่อนข้างชัดว่า มาตรา 98 ภาษากฎหมายเรียกว่าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ถ้าโยงไปมาตรา 159 ภาษากฎหมายเขียนว่าเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ผลคือจะมีการปฏิบัติตามมาตรา 159 ที่เป็นเงื่อนไขบังคับหลังได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติครบตามมาตราที่บังคับก่อน คือมาตรา 98 แล้ว โดยมาตรา 98 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าได้ระบุไว้ชัดเจนถึงสภาผู้แทนราษฎรมีองค์ประกอบคือ สมาชิกจำนวน 500 คน ที่ต้องมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน เมื่อครบตามจำนวนนี้แล้วจึงเข้าข้อกำหนดในเรื่องที่ต้องเรียกประชุมพรรคภายใน 30 วัน
จากการที่อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ได้ตีความจากวรรคหลังของมาตรา 98 ถึงกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ นายพิเชษฐ์กล่าวว่า หากไปดูมาตรา 98 ในวรรค 2 จะเห็นชัดว่า กฎหมายใช้คำว่า “ว่างลง” ดังนั้นคำว่า “ว่างลง” ควรหมายถึง ควรจะมีอยู่ก่อนและว่างลง จึงจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาแทน แต่หากสมาชิกสภายังไม่เคยครบ 100 หรือ 500 คน นั่นคือกรณียังว่างอยู่ ดังนั้นถ้ายังว่างอยู่จึงยังไม่ครบองค์ประกอบ ทำให้ยังเปิดสภาไม่ได้
"ดังนั้น การที่อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ออกมาให้ข่าวเรื่องการแก้เกมวิกฤตเปิดสภานี้ นั่นคือการตีความกฎหมายแบบเข้าข้างตัวเอง ข้าง ๆ คู ๆ และเป็นปัญหาต่อนักเรียนกฎหมาย และเป็นปัญหากับความไม่เชื่อถือในตัวบุคคลอย่างรุนแรงต่อไปในวันข้างหน้า" นายพิเชษฐ์ฝากทิ้งท้ายไว้ในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 เม.ย. 2549--จบ--
ประเด็นที่ 3 พรรคได้ติดตามเป็นพิเศษคือ ประเด็นที่ได้มีการร้องเรียนไปยัง กกต. ในเรื่องที่ปรากฎว่าได้มีการแก้ไขฐานข้อมูลของ กกต. เรื่องความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ของพรรคการเมืองหลายพรรค รวมทั้งพฤติกรรมในการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเป็นไม้ประดับ และจะทำให้พรรคใหญ่ไม่จำเป็นจะต้องได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ 20 ก็จะสามารถรับการเลือกตั้งได้ และช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาปรากฎว่า อนุกรรมการกกต. ได้สอบสวนเสร็จแล้วพบว่ามีมูลความผิดจริงว่ามีการแก้ไขฐานข้อมูลภายใน กกต. จริง และมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า 3 พรรคฝ่ายค้าน มีความเห็นร่วมกันในความต้องการที่จะเร่งรัดให้ กกต. ได้เร่งเปิดเผยผลการสอบสวนของอนุกรรมการ กกต. และให้ กกต. เร่งขยายผลการสอบสวนไปยังผู้จ้างวานพรรคเล็ก รวมถึงเร่งประกาศผลต่อสาธารณชนโดยเร็วถึงตัวผู้จ้างวาน และผู้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นภายใน กกต. และนักการเมืองจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฎเป็นข่าว
นายจุรินทร์ กล่าวถึงสาเหตุของการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาประชุมว่า เพราะ 3 พรรคฝ่ายค้านเห็นว่า กกต. กำลังมีความพยายามถ่วงเวลาในการสืบสวนให้ถึงผู้จ้างวาน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของผู้สมัครในพรรคการเมืองบางพรรค ดังนั้นทั้ง 3 พรรคเห็นว่า กกต. ควรสืบสวนหาผู้จ้างวานให้ได้โดยเร็วที่สุดเสียก่อน เพื่อ กกต.จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ และหากพบว่ามีผู้สมัครบัญชีรายชื่อกระทำความผิดจริงตามมาตรา 85/1 ของกฎหมายเลือกตั้ง ผู้สมัครคนนั้นจะถูกถอนสิทธิ์เป็นเวลา 1 ปี และจะต้องหลุดจากการได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. ดังนั้นหาก กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง จะทำให้เท่ากับ กกต. ประกาศรับรองผลของผู้สมัครบัญชีรายชื่อที่มีชื่อเข้าข่ายการทุจริตดังกล่าวและเป็นการช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรคได้ส.ส.บัญชีรายชื่อครบ 100 หรือ ครบ 99 คน
“ที่ต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษเนื่องจากเห็นว่า การจ้างวานพรรคการเมืองเล็กมาสมัครเป็นไม้ประดับนั้นเป็นเรื่องใหญ่ และนำมาซึ่งการเลือกตั้งสกปรก” นายจุรินทร์กล่าว
ส่วนกรณีที่ว่าหลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะมีการเปิดสภาได้หรือไม่นั้น ทาง 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยนายจุรินทร์กล่าวว่า เรามีความเห็นตรงกันว่า พฤติกรรมของรัฐบาลในระยะเวลาที่ผ่านมา จากการแสดงความคิดเห็นนั้นได้มีลักษณะการตีความเข้าข้างตัวเอง และมีความพยายามในการเปิดสภาให้ได้ในระยะเวลารวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่เชื่อว่าจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ส่วนองค์กรอื่น ๆ เช่น กกต. วุฒิสภา ขณะนี้จะเห็นได้ว่าขณะนี้มีการโยนกลอง โบ้ยกันไปมา ว่าไม่อยู่ในภาระรับผิดชอบของตน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าหลายฝ่ายเริ่มเห็นว่าการเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรม อีกทั้งจากการที่มีรองหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งบอกว่าหลังการเลือกตั้งครั้งนี้แล้วสามารถที่จะเปิดประชุมสภาได้ภายใน 30 วันนั้น แม้ว่าจะมีส.ส.ไม่ครบ 500 คนนั้น ทาง 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นว่า การกระทำใด ๆ ก็ตามควรเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญเห็นว่าการจะเรียกประชุมรัฐสภาได้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกครบ 500 คน เพราะในหลักของกฎหมายนั้น แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดว่าจะต้องเรียกประชุมสภาภายใน 30 วัน แต่จะต้องมีหลักของเงื่อนไขบังคับก่อนคือจะต้องมีส.ส.ครบ 500 คนที่ได้รับเลือกตั้งมาโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตามเงื่อนไขรองคือเปิดสภาภายใน 30 วัน
นอกจากนี้จากการที่มีการแสดงความคิดเห็นของอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่ามีมาตรา 159 บังคับว่า ภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้งให้มีการเรียกประชุมสภา และได้ตีความในลักษณะที่ว่าการประชุมรัฐสภาหมายถึงสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนเท่าไหร่เท่านั้น ก็เปิดประชุมได้นั้น นายพิเชษฐ์ พันธุ์ วิชาติกุล กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้ชี้แจงว่า กฎหมายเขียนไว้ค่อนข้างชัดว่า มาตรา 98 ภาษากฎหมายเรียกว่าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ถ้าโยงไปมาตรา 159 ภาษากฎหมายเขียนว่าเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ผลคือจะมีการปฏิบัติตามมาตรา 159 ที่เป็นเงื่อนไขบังคับหลังได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติครบตามมาตราที่บังคับก่อน คือมาตรา 98 แล้ว โดยมาตรา 98 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าได้ระบุไว้ชัดเจนถึงสภาผู้แทนราษฎรมีองค์ประกอบคือ สมาชิกจำนวน 500 คน ที่ต้องมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน เมื่อครบตามจำนวนนี้แล้วจึงเข้าข้อกำหนดในเรื่องที่ต้องเรียกประชุมพรรคภายใน 30 วัน
จากการที่อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ได้ตีความจากวรรคหลังของมาตรา 98 ถึงกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ นายพิเชษฐ์กล่าวว่า หากไปดูมาตรา 98 ในวรรค 2 จะเห็นชัดว่า กฎหมายใช้คำว่า “ว่างลง” ดังนั้นคำว่า “ว่างลง” ควรหมายถึง ควรจะมีอยู่ก่อนและว่างลง จึงจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาแทน แต่หากสมาชิกสภายังไม่เคยครบ 100 หรือ 500 คน นั่นคือกรณียังว่างอยู่ ดังนั้นถ้ายังว่างอยู่จึงยังไม่ครบองค์ประกอบ ทำให้ยังเปิดสภาไม่ได้
"ดังนั้น การที่อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ออกมาให้ข่าวเรื่องการแก้เกมวิกฤตเปิดสภานี้ นั่นคือการตีความกฎหมายแบบเข้าข้างตัวเอง ข้าง ๆ คู ๆ และเป็นปัญหาต่อนักเรียนกฎหมาย และเป็นปัญหากับความไม่เชื่อถือในตัวบุคคลอย่างรุนแรงต่อไปในวันข้างหน้า" นายพิเชษฐ์ฝากทิ้งท้ายไว้ในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 เม.ย. 2549--จบ--