สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ม.ค.49 ลดลงเล็กน้อย ชี้ยานยนต์-คอมพ์ฯ-ยาสูบ ยอดผลิตจำหน่ายเดือนแรกเบาบาง เหตุผู้ประกอบการเร่งทำยอดก่อนสิ้นปี
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 อยู่ที่ระดับ 152.82 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 จากเดือนธันวาคม 2548 ระดับ 153.33 แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.11 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมของปี 2548 จากระดับ 144.02 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.0
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2548 คือ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 185.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 จากระดับ 166.37 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.39 จากระดับ 155.29 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 114.25 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.01 จากระดับ 114.24 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 จากระดับ 114.10 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 139.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 จากระดับ 138.45
ส่วนดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 157.61 ลดลงร้อยละ 0.77 จากระดับ 158.84 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 จากระดับ 150.37 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 131.51 ลดลงร้อยละ 7.46 จากระดับ 142.10 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.69 จากระดับ 130.60 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 155.96 ลดลงร้อยละ 43.01 จากระดับ 273.65เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.67 จากระดับ158.62
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 ปรับลดเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2548 ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตยาสูบ
โดย การผลิตยานยนต์ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม ร้อยละ 9.1 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายได้ชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อให้ปริมาณการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจซื้อรถไปแล้วในช่วงก่อนสิ้นปี ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างมีแผนการกระตุ้นยอดขายเพื่อช่วงชิงฐานลูกค้าอย่างคึกคัก จึงส่งผลถึงการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนแรกลดลงร้อยละ 25.3 โดยเป็นการลดลงของรถยนต์นั่ง ร้อยละ 33.2 และรถปิคอัพ ร้อยละ 22.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ยังมีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 โดยสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้คือ Hard Disk Drive มีการผลิตลดลงร้อยละ 12.30 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 18.90 เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตและจำหน่ายให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ก่อนสิ้นปี 2548 แต่ในภาพรวมแล้วยังมีแนวโน้มในการขยายตัวได้ดี และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
และ การผลิตยาสูบ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 ร้อยละ 40.98 เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงานหลายแห่ง ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.18 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นรวมทั้งมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้สูบบุหรี่น้อยลง แต่ยังมีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมกราคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญคือ การผลิตน้ำตาล
โดย การผลิตน้ำตาล มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก จากเดือนธันวาคม เนื่องจากชาวไร่อ้อยเร่งส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานตามฤดูการผลิต โดยมีปริมาณอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 17,779,065.52 ตัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 7.24 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งมีอ้อยเข้าสู่โรงงานน้อย โดยได้ผลผลิตน้ำตาลรวม 1,792,862.13 ตัน เป็นน้ำตาลทรายดิบ 973,441.39 ตัน น้ำตาลทรายขาว 539,342.43 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 268,129.65 ตัน ส่วนการจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 มีการผลิตได้น้อยกว่าเนื่องจากปัญหาภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลน้อยลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 อยู่ที่ระดับ 152.82 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 จากเดือนธันวาคม 2548 ระดับ 153.33 แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.11 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมของปี 2548 จากระดับ 144.02 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.0
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2548 คือ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 185.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 จากระดับ 166.37 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.39 จากระดับ 155.29 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 114.25 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.01 จากระดับ 114.24 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 จากระดับ 114.10 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 139.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 จากระดับ 138.45
ส่วนดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 157.61 ลดลงร้อยละ 0.77 จากระดับ 158.84 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 จากระดับ 150.37 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 131.51 ลดลงร้อยละ 7.46 จากระดับ 142.10 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.69 จากระดับ 130.60 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 155.96 ลดลงร้อยละ 43.01 จากระดับ 273.65เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.67 จากระดับ158.62
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2549 ปรับลดเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2548 ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตยาสูบ
โดย การผลิตยานยนต์ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม ร้อยละ 9.1 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายได้ชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อให้ปริมาณการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจซื้อรถไปแล้วในช่วงก่อนสิ้นปี ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างมีแผนการกระตุ้นยอดขายเพื่อช่วงชิงฐานลูกค้าอย่างคึกคัก จึงส่งผลถึงการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนแรกลดลงร้อยละ 25.3 โดยเป็นการลดลงของรถยนต์นั่ง ร้อยละ 33.2 และรถปิคอัพ ร้อยละ 22.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ยังมีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 โดยสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้คือ Hard Disk Drive มีการผลิตลดลงร้อยละ 12.30 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 18.90 เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตและจำหน่ายให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ก่อนสิ้นปี 2548 แต่ในภาพรวมแล้วยังมีแนวโน้มในการขยายตัวได้ดี และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
และ การผลิตยาสูบ มีการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 ร้อยละ 40.98 เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงานหลายแห่ง ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.18 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นรวมทั้งมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้สูบบุหรี่น้อยลง แต่ยังมีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมกราคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญคือ การผลิตน้ำตาล
โดย การผลิตน้ำตาล มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก จากเดือนธันวาคม เนื่องจากชาวไร่อ้อยเร่งส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานตามฤดูการผลิต โดยมีปริมาณอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 17,779,065.52 ตัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 7.24 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งมีอ้อยเข้าสู่โรงงานน้อย โดยได้ผลผลิตน้ำตาลรวม 1,792,862.13 ตัน เป็นน้ำตาลทรายดิบ 973,441.39 ตัน น้ำตาลทรายขาว 539,342.43 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 268,129.65 ตัน ส่วนการจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 มีการผลิตได้น้อยกว่าเนื่องจากปัญหาภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลน้อยลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-