กรุงเทพ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีต่างประเทศเปิดเผย นายกรัฐมนตรีหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติหลายประเด็น ครอบคลุมเรื่องพัฒนาการทางการเมืองในไทย การปฏิรูปสหประชาชาติ การเตรียมรับภัยพิบัติเช่นสึนามิ และสถานการณ์ในภูมิภาค เช่นกรณีของนางออง ซาน ซู จี และความไม่สงบในติมอร์เลสเต
เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 ณ ทำเนียบรัฐบาล ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือข้อราชการระหว่างนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
1. เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า ภารกิจหลักที่เดินทางมาเยือนไทยครั้งนี้ คือเพื่อมาทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสหประชาชาติเห็นว่าพระองค์ทรงมีบทบาทด้านการพัฒนาที่สำคัญมาก และเป็นตัวอย่างอันดีแก่นานาประเทศทั่วโลก
2. นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองภายในของประเทศไทยและกระบวนการต่างๆ โดยยืนยันว่าจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวหน้าต่อไปโดยวิถีทางประชาธิปไตยได้
3. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างประเทศไทยกับสหประชาชาติที่มีอยู่อย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ รวมทั้งได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำคนหนึ่งที่ได้รับเชิญจากสวีเดนให้เข้าร่วมในกลุ่มเครือข่ายผู้นำ 14 ประเทศ ที่สนับสนุนการผลักดันการปฏิรูปสหประชาชาติ และนายโคฟี อันนันได้กล่าวชื่นชมบทบาทของประเทศไทยในการรับมือกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ และการป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
4. นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องพม่า โดยสหประชาชาติชื่นชมบทบาทของไทยต่อพม่า ทั้งบทบาทที่เปิดเผยและบทบาทที่ดำเนินไปเงียบๆ โดยเฉพาะความพยายามในการ “ส่งสัญญาณ” ไปยังพม่า ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องการเห็นความปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยเฉพาะการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ นายอิบรอฮิม กัมบารี รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง ก็เพิ่งเดินทางไปเยือนพม่าและได้พบนางออง ซาน ซู จี รัฐมนตรีต่างประเทศเห็นว่า การที่ทางการพม่ายอมรับการเยือนของผู้แทนพิเศษจากอาเซียนและผู้แทนพิเศษจากสหประชาชาติถือเป็นสิ่งที่ดี และสะท้อนให้เห็นว่าพม่าเริ่มเปิดและมีความพร้อมจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยของตนมากขึ้น จากเดิมที่พม่ามองว่าเป็นเรื่องภายในของตน ทำให้มีความหวังจะเห็นพม่าเดินหน้าตามกระบวนการปรองดองแห่งชาติ รวมถึงการปล่อยตัวนาง ออง ซาน ซู จีด้วย
เลขาธิการสหประชาชาติแจ้งว่า กำลังจับตามองพม่าและอนาคตของนางออง ซาน ซู จีอย่างใกล้ชิด และมีความหวังอย่างยิ่งว่าพม่าจะปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จีโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะถ้าจะเป็นภายใน 1-2 วันนี้ หรือวันที่ 27 พฤษภาคมได้ก็จะยิ่งดี เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 3 ปีของการกักตัวของนาง ถือเป็นจังหวะดีที่จะทบทวน สำหรับไทยเองก็เห็นด้วยว่า หากพม่าดำเนินการในลักษณะเช่นนั้นก็จะทำให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าง่ายขึ้น และความสัมพันธ์ของพม่ากับไทย และกับนานาประเทศก็จะดีขึ้นด้วย แม้จะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จีหรือไม่ แต่เราก็ยังมีความหวังและยังรอคอยอยู่
5. เกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในติมอร์เลสเตเมื่อเร็วๆ นี้ เลขาธิการสหประชาชาติมีความห่วงกังวล จึงได้ส่งผู้แทนสหประชาชาติเดินทางไปสำรวจสถานการณ์ และได้แสดงความยินดีที่มาเลเซียได้รับเชิญให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกองกำลังนานาชาติรักษาความสงบ (ร่วมกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และโปรตุเกส) สำหรับไทยนั้น เลขาธิการสหประชาชาติยังไม่ได้เชิญไทยให้เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพครั้งนี้ แต่ก็ได้ขอบคุณบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือติมอร์เลสเตในอดีต โดยเฉพาะช่วงการก่อตั้งประเทศ ซึ่งไทยได้เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในขณะนั้น และยังได้ช่วยเหลือติมอร์เลสเตในด้านต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ เลขาธิการสหประชาชาติได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการที่ติมอร์เลสเตจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า อาเซียนกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกันอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีต่างประเทศเปิดเผย นายกรัฐมนตรีหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติหลายประเด็น ครอบคลุมเรื่องพัฒนาการทางการเมืองในไทย การปฏิรูปสหประชาชาติ การเตรียมรับภัยพิบัติเช่นสึนามิ และสถานการณ์ในภูมิภาค เช่นกรณีของนางออง ซาน ซู จี และความไม่สงบในติมอร์เลสเต
เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 ณ ทำเนียบรัฐบาล ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือข้อราชการระหว่างนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
1. เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า ภารกิจหลักที่เดินทางมาเยือนไทยครั้งนี้ คือเพื่อมาทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสหประชาชาติเห็นว่าพระองค์ทรงมีบทบาทด้านการพัฒนาที่สำคัญมาก และเป็นตัวอย่างอันดีแก่นานาประเทศทั่วโลก
2. นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองภายในของประเทศไทยและกระบวนการต่างๆ โดยยืนยันว่าจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวหน้าต่อไปโดยวิถีทางประชาธิปไตยได้
3. ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างประเทศไทยกับสหประชาชาติที่มีอยู่อย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ รวมทั้งได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำคนหนึ่งที่ได้รับเชิญจากสวีเดนให้เข้าร่วมในกลุ่มเครือข่ายผู้นำ 14 ประเทศ ที่สนับสนุนการผลักดันการปฏิรูปสหประชาชาติ และนายโคฟี อันนันได้กล่าวชื่นชมบทบาทของประเทศไทยในการรับมือกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ และการป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
4. นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องพม่า โดยสหประชาชาติชื่นชมบทบาทของไทยต่อพม่า ทั้งบทบาทที่เปิดเผยและบทบาทที่ดำเนินไปเงียบๆ โดยเฉพาะความพยายามในการ “ส่งสัญญาณ” ไปยังพม่า ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องการเห็นความปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยเฉพาะการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ นายอิบรอฮิม กัมบารี รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง ก็เพิ่งเดินทางไปเยือนพม่าและได้พบนางออง ซาน ซู จี รัฐมนตรีต่างประเทศเห็นว่า การที่ทางการพม่ายอมรับการเยือนของผู้แทนพิเศษจากอาเซียนและผู้แทนพิเศษจากสหประชาชาติถือเป็นสิ่งที่ดี และสะท้อนให้เห็นว่าพม่าเริ่มเปิดและมีความพร้อมจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยของตนมากขึ้น จากเดิมที่พม่ามองว่าเป็นเรื่องภายในของตน ทำให้มีความหวังจะเห็นพม่าเดินหน้าตามกระบวนการปรองดองแห่งชาติ รวมถึงการปล่อยตัวนาง ออง ซาน ซู จีด้วย
เลขาธิการสหประชาชาติแจ้งว่า กำลังจับตามองพม่าและอนาคตของนางออง ซาน ซู จีอย่างใกล้ชิด และมีความหวังอย่างยิ่งว่าพม่าจะปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จีโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะถ้าจะเป็นภายใน 1-2 วันนี้ หรือวันที่ 27 พฤษภาคมได้ก็จะยิ่งดี เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 3 ปีของการกักตัวของนาง ถือเป็นจังหวะดีที่จะทบทวน สำหรับไทยเองก็เห็นด้วยว่า หากพม่าดำเนินการในลักษณะเช่นนั้นก็จะทำให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าง่ายขึ้น และความสัมพันธ์ของพม่ากับไทย และกับนานาประเทศก็จะดีขึ้นด้วย แม้จะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จีหรือไม่ แต่เราก็ยังมีความหวังและยังรอคอยอยู่
5. เกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในติมอร์เลสเตเมื่อเร็วๆ นี้ เลขาธิการสหประชาชาติมีความห่วงกังวล จึงได้ส่งผู้แทนสหประชาชาติเดินทางไปสำรวจสถานการณ์ และได้แสดงความยินดีที่มาเลเซียได้รับเชิญให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกองกำลังนานาชาติรักษาความสงบ (ร่วมกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และโปรตุเกส) สำหรับไทยนั้น เลขาธิการสหประชาชาติยังไม่ได้เชิญไทยให้เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพครั้งนี้ แต่ก็ได้ขอบคุณบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือติมอร์เลสเตในอดีต โดยเฉพาะช่วงการก่อตั้งประเทศ ซึ่งไทยได้เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในขณะนั้น และยังได้ช่วยเหลือติมอร์เลสเตในด้านต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ เลขาธิการสหประชาชาติได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการที่ติมอร์เลสเตจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า อาเซียนกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกันอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-