อนาคต...ประเทศไทยจะพึ่งพาตนเองเรื่องพลังงานได้มากน้อยขนาดไหน? อนนต์ สิริแสงทักษิณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บอกว่า ต้องย้อนกลับไปดูสัก 30 ปีที่แล้ว
“ช่วงนั้น ยังไม่มีองค์กรรัฐ...เอกชนเข้ามาดูแลบริหารในเรื่องพลังงาน หรือเข้ามาจัดการเกี่ยวกับความมั่นคงเรื่องพลังงาน พอเกิดสงครามระหว่างอิรัก...อิหร่าน เราเจอปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมัน...ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก”
ไม่ต้องพูดถึงการเจรจาต่อรอง ประเทศไทยไม่สามารถที่จะต่อรอง กับบริษัทน้ำมันต่างชาติให้จัดหาน้ำมันเข้ามาขายในประเทศ
“ซื้อแพง...ขายถูก เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครทำ”
อนนต์ บอกว่า จากวันนั้น...เป็นจุดเริ่มต้นของ ปตท. รัฐอยากให้ ปตท.เข้ามามีบทบาทในการจัดการพลังงาน ดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงาน ขยายเครือข่ายทางด้านน้ำมัน...คลังแก๊ส...คลังน้ำมัน...รวมไปถึงสถานีบริการ
ประเด็นที่ต้องพูดถึงคือ...แก๊สธรรมชาติ ช่วงเริ่มต้นทุกคนฝากความหวังเอาไว้มาก จุดแรกเริ่มที่บ่อเอราวัณ มีการขุดพบแก๊ส คาดหวัง กันว่า...จะเป็นบ่อแก๊สบ่อแรกของประเทศไทย
“เราพึ่งพลังงานจากบ่อแก๊สแห่งนี้วันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต”
บ่อเอราวัณ...คือความหวังแรก มีการลงทุนไปมากมาย เฉพาะท่อส่งแก๊ส ขนาด 34 นิ้ว เป็นท่อในทะเล ณ ช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นท่อแก๊ส ที่ยาวที่สุดในโลก
ภายใต้ความเชื่อมั่นที่มีไม่มากนัก ลูกค้าก็มีเพียงรายเดียวคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
“ทำๆไป...แก๊สที่คาดว่าจะมีวันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก็ลดฮวบเหลือ 80 ล้าน จนเป็นที่ถกเถียง เกือบจะต้องใช้วิธีการชี้ขาดผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ”
อีกมุมหนึ่ง...อนนต์ บอกว่า ถ้าไม่ตัดสินใจเริ่มต้น กว่าจะถึงวันนี้... ทุกคนคงจะไม่มั่นใจ แก๊สในอ่าวไทยจะมีมากน้อยสักแค่ไหน
เมื่อเริ่มคุ้นเคยจากแก๊สบ่อเอราวัณ รู้ว่า...แก๊สใต้พื้นพิภพอ่าวไทย ต้องใช้วิธีเจาะหลายๆหลุม ไม่เหมือนแก๊สบ่ออื่นๆ ที่เจาะขึ้นมาหลุม...สองหลุม ดูดขึ้นมา แล้วจะได้แก๊สปริมาณมากๆ
ผลต่อเนื่องทำให้การลงทุนขยายมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น พัฒนามากขึ้น
เหล่านี้คือสิ่งที่เกิดต้นทาง ถึงปลายทาง...ตลาดแก๊ส ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราใช้แก๊สวันละ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต แทนที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ก็นำไปใช้ประโยชน์หลากหลายมากขึ้น
“แก๊สในอ่าวไทยมีคุณภาพพิเศษ มีองค์ประกอบที่สามารถนำมาใช้ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้” อนนต์ ว่า
การขยายงานต่อยอดอุตสาหกรรมก็ไล่กันไปกับการเพิ่มโรงแยกแก๊ส โรงที่ 1...2...3...4...5 แล้วยังมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่รวมกับปิโตรเคมีแห่งชาติ ไทยโอลิฟิน เป็นพีทีทีเคม ก็กลายเป็นโรงงานปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่ จนเทียบเคียงโรงงานในระดับภูมิภาคนี้ได้
คำถาม...แก๊ส 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขุดกี่หลุม?
ในอ่าวไทย วันนี้บ่อเอราวัณ เรียกกันว่ายูโนแคล 1...2...3...4 ในแต่ละแหล่งที่ผลิต ก็ขุดเป็นร้อยๆหลุม แล้วยังมีแหล่งบงกช พื้นที่ร่วมในอ่าวไทย มีแก๊สร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ มาจากพม่า
สัดส่วนการใช้แก๊สร้อยละ 70 ยังใช้ในการผลิตไฟฟ้า...ร้อยละ 15 ใช้ผลิตวัตถุดิบปิโตรเคมี ที่เหลือนำมาใช้เป็นแก๊สหุงต้มแอลพีจี และใช้ในอุตสาหกรรม
“ศักยภาพเรื่องพลังงานของเรามีขีดจำกัด โชคดีที่ยังมีแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย”
อนนต์ บอกว่า วันนี้...การขยายตัวด้านแหล่งแก๊สทำได้ค่อนข้างดี 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ตั้งต้นที่คำถาม...ประเทศไทยจะพึ่งพาตนเองเรื่องพลังงานได้มากน้อย ก็ต้องพุ่งเป้าไปที่การลดการนำเข้าน้ำมัน และจะนำแก๊สธรรมชาติเข้ามามีบทบาทได้แค่ไหน
ประเทศไทยใช้พลังงานวันละ 1.5 ล้านบาร์เรล
ปี 2549 ช่วง 5 เดือนแรก เฉลี่ยวันละ 1.55 ล้านบาร์เรล คิดเป็นน้ำมันกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แก๊สธรรมชาติ 37 เปอร์เซ็นต์ พลังงานที่เหลือเป็นถ่านหิน มีทั้งในประเทศ...นำเข้า ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เป็นพลังงานน้ำ
บนสัดส่วนการใช้พลังงานอย่างนี้...มองถึงอนาคต เรามีแก๊สวันละ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต เทียบเท่าน้ำมัน อยู่ที่ 4 แสนบาร์เรล ก็ถือว่าค่อนข้างมาก
ผนวกกับน้ำมันที่ผลิตได้เองในประเทศ จากแหล่งสิริกิติ์ วันละ 20,000 บาร์เรล ในอ่าวไทย จากแหล่งของเชฟรอน อีกวันละ 5-6 หมื่นบาร์เรล
รวมกัน...ยังไม่ถึงแสนบาร์เรลต่อวัน
พลังงานในประเทศอยู่ที่ระดับ 7-8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ยังต่อนำเข้าอีกวันละ 8 แสนบาร์เรล
ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันค่อนข้างสูงมาก ใช้หนักไปที่ภาคขนส่ง...ภาคอุตสาหกรรมอย่างละประมาณครึ่ง...ครึ่ง
อีก 10 ปีข้างหน้า อนนต์ประมาณการว่า ถ้าเศรษฐกิจไทยโตอยู่ในระดับเฉลี่ย 5% การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น 5%
การใช้พลังงานจะเติบโตขึ้นจาก 1.55 เป็น 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้ ประเมินรวมไปถึงมาตรการต่างๆ ที่รัฐมีนโยบายรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อาทิ การนำระบบขนส่งมวลชนกับระบบการขนส่งจากรถเป็นราง... เรือ ให้มีปริมาณการใช้จำนวนมากๆ แต่ลดการใช้พลังงานให้น้อยลง
รวมไปถึงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม มุ่งไปสู่ในเรื่องของอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น แต่ใช้พลังงานน้อยลง
การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะเอามาจากไหน?
ศักยภาพในไทยที่จะมีการขุดพบบ่อน้ำมันขนาดใหญ่ คงไม่มี ความหวังเดียวที่มีคงต้องพึ่งพาแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทยต่อไป
“วันนี้...เราพึ่งพาแหล่งพลังงานในประเทศได้ 35 เปอร์เซ็นต์ อีก 65 เปอร์เซ็นต์...ยังต้องนำเข้าทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติบางส่วนจากพม่า”
พลังงานหลักที่นำเข้า หนีไม่พ้นน้ำมัน แต่อีก 10 ปี...ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพแหล่งแก๊สในอ่าวไทย ให้สามารถผลิตแก๊สเพิ่มขึ้นได้
ความหวังอื่นที่พอจะทำได้...ประเทศไทยจะเอาแก๊สมาเพิ่มจากไหนได้อีก
อนนต์ บอกอีกว่า แหล่งแก๊สใหม่ที่ ปตท.กำลังนำเข้าสู่ระบบ อาทิ แหล่งอาทิตย์ ปตท.สผ.มีหุ้นส่วนอยู่ 80%...แหล่งเจดีเอ มีการขยายโครงการจากบล็อก A 18 ผลิตแก๊สมากขึ้นและเริ่มขยายมาที่บล็อก B 17
แหล่งเดิม...บงกช มีศักยภาพสูง พอที่จะพัฒนาการผลิต เพิ่มปริมาณแก๊สได้อีกจำนวนหนึ่ง
แหล่งยูโนแคลในปัจจุบัน รวมถึงแหล่งไพลินในอ่าวไทยรวมๆ กันแล้ว ...ตามแผนพัฒนา อีก 4-5 ปีข้างหน้า จะดึงแก๊สขึ้นมาได้อีก 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต
แหล่งแก๊สย่อยๆเหล่านี้ เมื่อรวมกับกำลังผลิตแหล่งแก๊สแหล่งใหญ่ในอ่าวไทย (ไม่รวมฝั่งพม่า) ปัจจุบันอยู่ระดับ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตกว่าๆ...อนาคตจะมีศักยภาพผลิตเพิ่มเป็น 4,000-5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
แหล่งแก๊สทั้งหมดนี้ จะเป็นพลังงานในอนาคตสำหรับคนไทยทั้งประเทศ.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
“ช่วงนั้น ยังไม่มีองค์กรรัฐ...เอกชนเข้ามาดูแลบริหารในเรื่องพลังงาน หรือเข้ามาจัดการเกี่ยวกับความมั่นคงเรื่องพลังงาน พอเกิดสงครามระหว่างอิรัก...อิหร่าน เราเจอปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมัน...ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก”
ไม่ต้องพูดถึงการเจรจาต่อรอง ประเทศไทยไม่สามารถที่จะต่อรอง กับบริษัทน้ำมันต่างชาติให้จัดหาน้ำมันเข้ามาขายในประเทศ
“ซื้อแพง...ขายถูก เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครทำ”
อนนต์ บอกว่า จากวันนั้น...เป็นจุดเริ่มต้นของ ปตท. รัฐอยากให้ ปตท.เข้ามามีบทบาทในการจัดการพลังงาน ดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงาน ขยายเครือข่ายทางด้านน้ำมัน...คลังแก๊ส...คลังน้ำมัน...รวมไปถึงสถานีบริการ
ประเด็นที่ต้องพูดถึงคือ...แก๊สธรรมชาติ ช่วงเริ่มต้นทุกคนฝากความหวังเอาไว้มาก จุดแรกเริ่มที่บ่อเอราวัณ มีการขุดพบแก๊ส คาดหวัง กันว่า...จะเป็นบ่อแก๊สบ่อแรกของประเทศไทย
“เราพึ่งพลังงานจากบ่อแก๊สแห่งนี้วันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต”
บ่อเอราวัณ...คือความหวังแรก มีการลงทุนไปมากมาย เฉพาะท่อส่งแก๊ส ขนาด 34 นิ้ว เป็นท่อในทะเล ณ ช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นท่อแก๊ส ที่ยาวที่สุดในโลก
ภายใต้ความเชื่อมั่นที่มีไม่มากนัก ลูกค้าก็มีเพียงรายเดียวคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
“ทำๆไป...แก๊สที่คาดว่าจะมีวันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก็ลดฮวบเหลือ 80 ล้าน จนเป็นที่ถกเถียง เกือบจะต้องใช้วิธีการชี้ขาดผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ”
อีกมุมหนึ่ง...อนนต์ บอกว่า ถ้าไม่ตัดสินใจเริ่มต้น กว่าจะถึงวันนี้... ทุกคนคงจะไม่มั่นใจ แก๊สในอ่าวไทยจะมีมากน้อยสักแค่ไหน
เมื่อเริ่มคุ้นเคยจากแก๊สบ่อเอราวัณ รู้ว่า...แก๊สใต้พื้นพิภพอ่าวไทย ต้องใช้วิธีเจาะหลายๆหลุม ไม่เหมือนแก๊สบ่ออื่นๆ ที่เจาะขึ้นมาหลุม...สองหลุม ดูดขึ้นมา แล้วจะได้แก๊สปริมาณมากๆ
ผลต่อเนื่องทำให้การลงทุนขยายมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น พัฒนามากขึ้น
เหล่านี้คือสิ่งที่เกิดต้นทาง ถึงปลายทาง...ตลาดแก๊ส ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราใช้แก๊สวันละ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต แทนที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ก็นำไปใช้ประโยชน์หลากหลายมากขึ้น
“แก๊สในอ่าวไทยมีคุณภาพพิเศษ มีองค์ประกอบที่สามารถนำมาใช้ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้” อนนต์ ว่า
การขยายงานต่อยอดอุตสาหกรรมก็ไล่กันไปกับการเพิ่มโรงแยกแก๊ส โรงที่ 1...2...3...4...5 แล้วยังมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่รวมกับปิโตรเคมีแห่งชาติ ไทยโอลิฟิน เป็นพีทีทีเคม ก็กลายเป็นโรงงานปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่ จนเทียบเคียงโรงงานในระดับภูมิภาคนี้ได้
คำถาม...แก๊ส 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขุดกี่หลุม?
ในอ่าวไทย วันนี้บ่อเอราวัณ เรียกกันว่ายูโนแคล 1...2...3...4 ในแต่ละแหล่งที่ผลิต ก็ขุดเป็นร้อยๆหลุม แล้วยังมีแหล่งบงกช พื้นที่ร่วมในอ่าวไทย มีแก๊สร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ มาจากพม่า
สัดส่วนการใช้แก๊สร้อยละ 70 ยังใช้ในการผลิตไฟฟ้า...ร้อยละ 15 ใช้ผลิตวัตถุดิบปิโตรเคมี ที่เหลือนำมาใช้เป็นแก๊สหุงต้มแอลพีจี และใช้ในอุตสาหกรรม
“ศักยภาพเรื่องพลังงานของเรามีขีดจำกัด โชคดีที่ยังมีแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย”
อนนต์ บอกว่า วันนี้...การขยายตัวด้านแหล่งแก๊สทำได้ค่อนข้างดี 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ตั้งต้นที่คำถาม...ประเทศไทยจะพึ่งพาตนเองเรื่องพลังงานได้มากน้อย ก็ต้องพุ่งเป้าไปที่การลดการนำเข้าน้ำมัน และจะนำแก๊สธรรมชาติเข้ามามีบทบาทได้แค่ไหน
ประเทศไทยใช้พลังงานวันละ 1.5 ล้านบาร์เรล
ปี 2549 ช่วง 5 เดือนแรก เฉลี่ยวันละ 1.55 ล้านบาร์เรล คิดเป็นน้ำมันกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แก๊สธรรมชาติ 37 เปอร์เซ็นต์ พลังงานที่เหลือเป็นถ่านหิน มีทั้งในประเทศ...นำเข้า ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เป็นพลังงานน้ำ
บนสัดส่วนการใช้พลังงานอย่างนี้...มองถึงอนาคต เรามีแก๊สวันละ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต เทียบเท่าน้ำมัน อยู่ที่ 4 แสนบาร์เรล ก็ถือว่าค่อนข้างมาก
ผนวกกับน้ำมันที่ผลิตได้เองในประเทศ จากแหล่งสิริกิติ์ วันละ 20,000 บาร์เรล ในอ่าวไทย จากแหล่งของเชฟรอน อีกวันละ 5-6 หมื่นบาร์เรล
รวมกัน...ยังไม่ถึงแสนบาร์เรลต่อวัน
พลังงานในประเทศอยู่ที่ระดับ 7-8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ยังต่อนำเข้าอีกวันละ 8 แสนบาร์เรล
ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันค่อนข้างสูงมาก ใช้หนักไปที่ภาคขนส่ง...ภาคอุตสาหกรรมอย่างละประมาณครึ่ง...ครึ่ง
อีก 10 ปีข้างหน้า อนนต์ประมาณการว่า ถ้าเศรษฐกิจไทยโตอยู่ในระดับเฉลี่ย 5% การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น 5%
การใช้พลังงานจะเติบโตขึ้นจาก 1.55 เป็น 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้ ประเมินรวมไปถึงมาตรการต่างๆ ที่รัฐมีนโยบายรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อาทิ การนำระบบขนส่งมวลชนกับระบบการขนส่งจากรถเป็นราง... เรือ ให้มีปริมาณการใช้จำนวนมากๆ แต่ลดการใช้พลังงานให้น้อยลง
รวมไปถึงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม มุ่งไปสู่ในเรื่องของอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น แต่ใช้พลังงานน้อยลง
การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะเอามาจากไหน?
ศักยภาพในไทยที่จะมีการขุดพบบ่อน้ำมันขนาดใหญ่ คงไม่มี ความหวังเดียวที่มีคงต้องพึ่งพาแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทยต่อไป
“วันนี้...เราพึ่งพาแหล่งพลังงานในประเทศได้ 35 เปอร์เซ็นต์ อีก 65 เปอร์เซ็นต์...ยังต้องนำเข้าทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติบางส่วนจากพม่า”
พลังงานหลักที่นำเข้า หนีไม่พ้นน้ำมัน แต่อีก 10 ปี...ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพแหล่งแก๊สในอ่าวไทย ให้สามารถผลิตแก๊สเพิ่มขึ้นได้
ความหวังอื่นที่พอจะทำได้...ประเทศไทยจะเอาแก๊สมาเพิ่มจากไหนได้อีก
อนนต์ บอกอีกว่า แหล่งแก๊สใหม่ที่ ปตท.กำลังนำเข้าสู่ระบบ อาทิ แหล่งอาทิตย์ ปตท.สผ.มีหุ้นส่วนอยู่ 80%...แหล่งเจดีเอ มีการขยายโครงการจากบล็อก A 18 ผลิตแก๊สมากขึ้นและเริ่มขยายมาที่บล็อก B 17
แหล่งเดิม...บงกช มีศักยภาพสูง พอที่จะพัฒนาการผลิต เพิ่มปริมาณแก๊สได้อีกจำนวนหนึ่ง
แหล่งยูโนแคลในปัจจุบัน รวมถึงแหล่งไพลินในอ่าวไทยรวมๆ กันแล้ว ...ตามแผนพัฒนา อีก 4-5 ปีข้างหน้า จะดึงแก๊สขึ้นมาได้อีก 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต
แหล่งแก๊สย่อยๆเหล่านี้ เมื่อรวมกับกำลังผลิตแหล่งแก๊สแหล่งใหญ่ในอ่าวไทย (ไม่รวมฝั่งพม่า) ปัจจุบันอยู่ระดับ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตกว่าๆ...อนาคตจะมีศักยภาพผลิตเพิ่มเป็น 4,000-5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
แหล่งแก๊สทั้งหมดนี้ จะเป็นพลังงานในอนาคตสำหรับคนไทยทั้งประเทศ.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-