กรุงเทพ--20 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 33 (OIC ICFM 33) ที่จะมีขึ้นระหว่าง 19-21 มิถุนายน 2549 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ดังนี้
1. ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม OIC ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ โดยจะใช้โอกาสนี้ พบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก OIC เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคี และจะใช้โอกาสนี้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมเพื่อแสดงท่าทีและข้อเสนอของไทย
2. ปัจจุบัน OIC มีสมาชิก 57 ประเทศ นับเป็นหนึ่งในสามของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันและบริโภคน้ำมัน
3. สำหรับระเบียบวาระการประชุมในครั้งนี้ จะปรับเปลี่ยนจากยุคแห่งความขัดแย้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศสมาชิก รวมทั้งการปรับตัวในกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยใช้หัวข้อ (Theme) สำหรับการประชุมครั้งนี้ว่า “Rights, Freedom, Justice and Harmony”
4. ประเทศไทยประสงค์ที่จะเห็น OIC มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป และให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security concerns) ทั้งนี้ OIC ได้กำหนดแผนปฏิบัติการ 10 ปี (10 Year Programme of Action) ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
5. การประชุมครั้งนี้ ไม่มีระเบียบวาระเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย แต่อาจมีการกล่าวถึง
ในเอกสารเกี่ยวกับสภาพการณ์ของชุมชนมุสลิมและชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก OIC
6. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดในภาคใต้นั้น ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันว่า
รายงานข่าว โดยเฉพาะส่วนที่พาดพิงมาเลเซียในเหตุการณ์ระเบิดต่างๆ นั้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานส่วนบุคคล
และยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ระบุว่ามาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้อง ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ พร้อมทั้งฝ่ายความมั่นคง และตำรวจต่างประสานงานกันและร่วมมือกันอย่าง
ใกล้ชิด ในขณะนี้ ได้ดำเนินมาตรการร่วมกันในการตรวจตราชายแดนอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น ล่าสุด รองนายกรัฐมนตรี ชิดชัย วรรณสถิตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยว่า ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะแสดงว่ามาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้
ดร. กันตธีร์ฯ ก็คงจะมีโอกาสพบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียในช่วงการประชุม OIC นี้
7. ต่อข้อคำถามของผู้สื่อข่าวว่าเวทีการประชุม OIC จะการให้การสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์
เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงการที่ที่ประชุม NAM ได้ให้การสนับสนุนที่ตำแหน่งดังกล่าวน่าจะเป็นวาระของประเทศเอเชียแล้ว ดังนั้น ประเทศสมาชิก OIC ก็น่าจะมีท่าทีเดียวกัน และคงจะไม่ยกเรื่องนี้ในกรอบการประชุม OIC แต่จะดำเนินการในลักษณะทวิภาคี ส่วนกรณีที่มีรายงานข่าวว่ามีผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากประเทศในเอเชีย อาทิ อินเดีย นั้น ก็ไม่ใช่เรื่อง
แปลก เนื่องจากมีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ และเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นในช่วงที่ใกล้การพ้นวาระ
ของเลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 33 (OIC ICFM 33) ที่จะมีขึ้นระหว่าง 19-21 มิถุนายน 2549 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ดังนี้
1. ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม OIC ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ โดยจะใช้โอกาสนี้ พบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก OIC เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคี และจะใช้โอกาสนี้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมเพื่อแสดงท่าทีและข้อเสนอของไทย
2. ปัจจุบัน OIC มีสมาชิก 57 ประเทศ นับเป็นหนึ่งในสามของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันและบริโภคน้ำมัน
3. สำหรับระเบียบวาระการประชุมในครั้งนี้ จะปรับเปลี่ยนจากยุคแห่งความขัดแย้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศสมาชิก รวมทั้งการปรับตัวในกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยใช้หัวข้อ (Theme) สำหรับการประชุมครั้งนี้ว่า “Rights, Freedom, Justice and Harmony”
4. ประเทศไทยประสงค์ที่จะเห็น OIC มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป และให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security concerns) ทั้งนี้ OIC ได้กำหนดแผนปฏิบัติการ 10 ปี (10 Year Programme of Action) ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
5. การประชุมครั้งนี้ ไม่มีระเบียบวาระเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย แต่อาจมีการกล่าวถึง
ในเอกสารเกี่ยวกับสภาพการณ์ของชุมชนมุสลิมและชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก OIC
6. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดในภาคใต้นั้น ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันว่า
รายงานข่าว โดยเฉพาะส่วนที่พาดพิงมาเลเซียในเหตุการณ์ระเบิดต่างๆ นั้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานส่วนบุคคล
และยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ระบุว่ามาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้อง ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ พร้อมทั้งฝ่ายความมั่นคง และตำรวจต่างประสานงานกันและร่วมมือกันอย่าง
ใกล้ชิด ในขณะนี้ ได้ดำเนินมาตรการร่วมกันในการตรวจตราชายแดนอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น ล่าสุด รองนายกรัฐมนตรี ชิดชัย วรรณสถิตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยว่า ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะแสดงว่ามาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้
ดร. กันตธีร์ฯ ก็คงจะมีโอกาสพบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียในช่วงการประชุม OIC นี้
7. ต่อข้อคำถามของผู้สื่อข่าวว่าเวทีการประชุม OIC จะการให้การสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์
เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงการที่ที่ประชุม NAM ได้ให้การสนับสนุนที่ตำแหน่งดังกล่าวน่าจะเป็นวาระของประเทศเอเชียแล้ว ดังนั้น ประเทศสมาชิก OIC ก็น่าจะมีท่าทีเดียวกัน และคงจะไม่ยกเรื่องนี้ในกรอบการประชุม OIC แต่จะดำเนินการในลักษณะทวิภาคี ส่วนกรณีที่มีรายงานข่าวว่ามีผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากประเทศในเอเชีย อาทิ อินเดีย นั้น ก็ไม่ใช่เรื่อง
แปลก เนื่องจากมีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ และเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นในช่วงที่ใกล้การพ้นวาระ
ของเลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-