เนื่องจากที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยได้ปรับขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกและการลงทุนอย่างเห็นได้ชัด โดยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้นับตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นแล้ว ถึง 7.6% ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียว โดยการแข็งค่าเงินบาท 1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้จีดีพีลดลง 0.29% ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ 0.1%
กระทรวงการคลังให้ความเห็นว่าหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะหนุนเศรษฐกิจให้เติบโต ซึ่งในขณะนี้กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการปรับลดอัตราภาษีอากรขาเข้าใน 2 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาห-กรรมอาหารแปรรูป เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกสินค้าดังกล่าวในภูมิภาคด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุน
ประเด็นวิเคราะห์:
ผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลต่ออุปสงค์ที่แท้จริงของผู้ผลิตและผู้บริโภคสำหรับด้านการลงทุน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อทุนการกู้ยืม เพื่อให้การลงทุนในประเทศสูงขึ้นแต่ในมุมกลับกันก็จะเป็นเหตุให้การลงทุนชะลอตัวลง เนื่องจากผลตอบแทนที่ต่ำลงนอกจากนี้การนำเข้าและการส่งออกก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน โดยราคาสินค้านำเข้าจะถูกลงในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกจะสูงขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th