นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์แถลงวันนี้ (27 เม.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า ตนตะเดินหน้าปราบคอร์รัปชันต่อไปโดยไม่หวั่นแม้หากจะถูกนายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีมหาดไทยฟ้องหมิ่นประมาท เพราะถือว่าทำหน้าที่โดยสุจริตในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยเฉพาะการยื่นคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานต่อ ปปช. ให้สอบสวนนายโภคิน พลกุล และนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า กทม. กรณีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยโดยใช้งบกระทรวงมหาดไทย 60% และงบประมาณกทม. 40% วงเงิน 6,687 ล้านบาท งบผูกพันปีงบประมาณ 2549 — 2553 มีพฤติกรรมไม่โปร่งใสส่อทุจริตทำให้ทางราชการเสียเปรียบและเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า นายโภคินไม่ควรเบี่ยงเบนหรือปัดความรับผิดชอบโดยหาแพะด้วยการโยนความผิดพลาดไปให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่ากทม. เพราะนายอภิรักษ์ได้ทำหนังสือถึงนายโภคินถึง 2 ครั้งเพื่อดิ้นรนขอให้มีการทบทวนการจัดซื้อเนื่องจากเห็นว่าไม่มีการเปรียบเทียบราคาในการจัดซื้อและมีผู้ร้อง ปปช. ให้ตรวจสอบแต่ทำไมนายโภคินจึงจำไม่ได้ว่าตนเองเป็นคนสั่งให้ผู้ว่าอภิรักษ์ดำเนินการตามข้อตกลง AOU (Agreement of Understanding) ที่นายโภคินเซ็นกับทูตออสเตรียและยังมีเลขารัฐมนตรีทำหนังสือเร่งรัดให้ผู้ว่าอภิรักษ์ เปิดแอลซี ตามสัญญาซื้อขายอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ประธานคณะทำงานตรวจการทุจริตพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นายโภคินจะต้องตอบคนไทยทั้งประเทศใน 3 ประเด็นคือ
1. ทำไมจึงไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการโดยเสนอโครงการจัดซื้อและราคาสินค้าที่มีราคาแพงเกินจริงต่อคณะรัฐมนตรีทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบและเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
2. ทำไมจึงไม่ทบทวนการจัดซื้อที่ไม่มีการเปรียบเทียบราคาหรือต่อรองราคาตามที่ผู้ว่ากทม. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เสนอเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2547 และวันที่ 12 ต.ค. 2547 ตรงข้ามกลับสั่งให้ กทม. ดำเนินการตามข้อตกลง AOU โดยมีหนังสือด่วนที่สุดที่ มท. 0100/13625 ลงวันที่ 5 พ.ย. 2547 ลงนามโดยนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น
3. ทำไมจึงมีหนังสือด่วนที่สุดจากสำนักงานรัฐมนตรีที่ มท. 0100.2(1)/940 วันที่ 1 ต.ค. 2547 และหนังสือที่ มท. 0100.2(1) / 954 วันที่ 7 ต.ค.2547 ลงนามโดยผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อ้างคำสั่งรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย เร่งรัดผู้ว่ากทม. ให้ดำเนินการเปิดแอลซี ถามว่า นายโภคินรู้เรื่องนี้หรือไม่ ถ้ารู้เหตุใดต้องเร่งรัดให้เปิดแอลซี
นายอลงกรณ์กล่าวว่า นายโภคินควรใช้เวลาในการหาเหตุผลและหลักฐานไปชี้แจงกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดีกว่ามาสร้างประเด็นการเมืองและถ้า ปปช. ชี้ว่ามีมูลนายโภคินจะต้องชดใช้ความเสียหายร่วมกับนายสมัครไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท นายโภคินควรขอบคุณนายอภิรักษ์แทนที่จะโดยความผิดพลาดไปให้เพราะนายอภิรักษ์พยายามเสนอให้ทบทวนการจัดซื้อที่เสียเปรียบต่อนายโภคินซึ่งถ้าปฏิบัติตามข้อเสนอของนายอภิรักษ์ก็คงไม่ต้องไปให้ ปปช. สอบสวน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 เม.ย. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า นายโภคินไม่ควรเบี่ยงเบนหรือปัดความรับผิดชอบโดยหาแพะด้วยการโยนความผิดพลาดไปให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่ากทม. เพราะนายอภิรักษ์ได้ทำหนังสือถึงนายโภคินถึง 2 ครั้งเพื่อดิ้นรนขอให้มีการทบทวนการจัดซื้อเนื่องจากเห็นว่าไม่มีการเปรียบเทียบราคาในการจัดซื้อและมีผู้ร้อง ปปช. ให้ตรวจสอบแต่ทำไมนายโภคินจึงจำไม่ได้ว่าตนเองเป็นคนสั่งให้ผู้ว่าอภิรักษ์ดำเนินการตามข้อตกลง AOU (Agreement of Understanding) ที่นายโภคินเซ็นกับทูตออสเตรียและยังมีเลขารัฐมนตรีทำหนังสือเร่งรัดให้ผู้ว่าอภิรักษ์ เปิดแอลซี ตามสัญญาซื้อขายอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ประธานคณะทำงานตรวจการทุจริตพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นายโภคินจะต้องตอบคนไทยทั้งประเทศใน 3 ประเด็นคือ
1. ทำไมจึงไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการโดยเสนอโครงการจัดซื้อและราคาสินค้าที่มีราคาแพงเกินจริงต่อคณะรัฐมนตรีทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบและเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
2. ทำไมจึงไม่ทบทวนการจัดซื้อที่ไม่มีการเปรียบเทียบราคาหรือต่อรองราคาตามที่ผู้ว่ากทม. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เสนอเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2547 และวันที่ 12 ต.ค. 2547 ตรงข้ามกลับสั่งให้ กทม. ดำเนินการตามข้อตกลง AOU โดยมีหนังสือด่วนที่สุดที่ มท. 0100/13625 ลงวันที่ 5 พ.ย. 2547 ลงนามโดยนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น
3. ทำไมจึงมีหนังสือด่วนที่สุดจากสำนักงานรัฐมนตรีที่ มท. 0100.2(1)/940 วันที่ 1 ต.ค. 2547 และหนังสือที่ มท. 0100.2(1) / 954 วันที่ 7 ต.ค.2547 ลงนามโดยผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อ้างคำสั่งรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย เร่งรัดผู้ว่ากทม. ให้ดำเนินการเปิดแอลซี ถามว่า นายโภคินรู้เรื่องนี้หรือไม่ ถ้ารู้เหตุใดต้องเร่งรัดให้เปิดแอลซี
นายอลงกรณ์กล่าวว่า นายโภคินควรใช้เวลาในการหาเหตุผลและหลักฐานไปชี้แจงกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดีกว่ามาสร้างประเด็นการเมืองและถ้า ปปช. ชี้ว่ามีมูลนายโภคินจะต้องชดใช้ความเสียหายร่วมกับนายสมัครไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท นายโภคินควรขอบคุณนายอภิรักษ์แทนที่จะโดยความผิดพลาดไปให้เพราะนายอภิรักษ์พยายามเสนอให้ทบทวนการจัดซื้อที่เสียเปรียบต่อนายโภคินซึ่งถ้าปฏิบัติตามข้อเสนอของนายอภิรักษ์ก็คงไม่ต้องไปให้ ปปช. สอบสวน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 เม.ย. 2549--จบ--