คุณถาม : ผู้ส่งออกรายใหม่ควรเลือกใช้ท่าเรืออย่างไร
EXIM ตอบ : การเลือกใช้ท่าเรืออย่างเหมาะสมเพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกเนื่องจากทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้ ผู้ส่งออกจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบโดยดูจากทำเลที่ตั้งของโรงงานประกอบกับเส้นทางการเดินเรือแต่ละแห่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดของไทยในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอาทิ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ด้วย ปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศในปี 2547 สูงถึง 3.5 ล้าน TEUs(Twenty-foot Equivalent Units หรือเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) คิดเป็นสัดส่วนราว 70 % ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 2 คาดว่าจะเสร็จในปี 2552 ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้สูงถึง 10.8 ล้าน TEUs ต่อปี
-ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือสำคัญในเขตภาคกลางในฐานะประตูสู่ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบังด้วยศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าราว 1 ล้าน TEUs ต่อปี ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้าออกจริงสูงถึงกว่า 1.3 ล้าน TEUs ทำให้ภาครัฐมีนโยบายที่จะลดปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพให้เหลือไม่เกิน 0.6 ล้าน TEUs ต่อปี พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศและเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานให้บริการด้านการส่งออกและนำเข้าเพื่อผลักดันให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าหันไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังแทนซึ่งช่วยลดปัญหาความแออัดบริเวณท่าเรือและลดปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
-ท่าเรือเชียงแสน เป็นท่าเรือที่สำคัญทางภาคเหนือในฐานะประตูสู่จีนตอนใต้โยเส้นทางเดินเรือตามลำน้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปยังมณฑลอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหากเทียบกับการต้องขนสินค้ากลับมาลงเรือที่กรุงเทพฯปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านเรือเชียงแสนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรโยเฉพาะลำไยอบแห้งและยางพารา อย่างไรก็ตาม การที่ท่าเรือเชียงแสนมีข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงสรางท่าเรือเชียงแสนแห่งไหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงโดยมุ่งเพิ่มขนาดของท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในปี 2551
-ท่าเรือระนอง เป็นท่าเรือสำคัญบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในฐานะประตูสู่ประเทศในแถบเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาท่าเรือระนองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2549 ทั้งนี้เป็นที่คาดว่าการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังภมิภาคดังกล่าวโดยผ่านท่าเรือระนองจะช่วยลดทั้งระยะทางระยะเวลา และต้นทุนการขนส่งลงได้มากเมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือบริเวณอ่าวไทย
คุณถาม :อยากทราบว่าสถานการณ์ส่งออกเนื้อจระเข้แช่แข็งของไทยไปยังจีน
EXIMตอบ : ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเพาะเลี้ยงจระเข้และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากจระเข้ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยกลับเป็นหนังจระเข้ขณะที่เนื้อจระเข้ยังมีมูลค่าส่งออกน้อยมากแม้ว่ากำลังเป็นที่นิยมบริโภคและมีตลาดรองรับอีกมาก โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และประชากรจำนวนมากนิยมบริโภคเนื้อจระเข้เนื่องจากมีความเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาและเป็นอาหารบำรุงกำลัง ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อจระเข้ไปจีนได้เนื่องจากจีนไม่มีระเบียบรองรับการนำเข้าเนื้อจระเข้จากต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกจากไทยไปจีนในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะจระเข้มีชีวิตเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดดังกล่าวกำลังจะหมดไปในปี 2549 เนื่องจากไทยและจีนได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วย"การตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน"เมื่อเดือนกันยายน 2548 หลังจากที่เจ้าหน้าที่จีนเข้ามาตรวจสอบวิธีการควบคุมการเลี้ยงและการชำแหละเนื้อจระเข้ของไทย โดยกรมประมงเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบบ่อเลี้ยงและโรงชำแหละ ซึ่งมีพิธีสารดังกล่าวคาดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยเพื่อรับรองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในจีน โดยคาดว่าจีนจะเริ่มนำเนื้อจระเข้ภายในปี 2549 ทั้งนี้สาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีนมีดังนี้
คุณสมบัติของเนื้อจระเข้
- เนื้อจระเข้ที่ส่งออกไปจีนต้องมาจากจระเข้ในฟาร์มเพาะเลี้ยงที่กรมประมงรับรองมาตรฐานวิธีเกษตรดีที่เหมาะสม(Good Agricultural Practice :GAP)
- เนื้อไก่ที่เป็นอาหารของจระเข้ต้องมาจากโรงชำแหละไก่เพื่อการส่งออกเท่านั้น
- เนื้อจระเข้ส่งออกต้องมาจากจระเข้ที่มีสุขภาพดีและปลอดจากพยาธิและเชื้ออหิวาตกโรค
- โรงชำแหละและโรงงานแปรรูปต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน พร้อมขึ้นทะเบียนกับกรมประมงของไทย
ปริมาณการนำเข้า
- จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อจระเข้แช่แข็งจากไทยได้ไม่จำกัดปริมาณ
จากการที่ไทยประสบความสำเร็จในการลงพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีนเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในปัจจุบัน ประกอบกับไทยมีกำลังการผลิตจระเข้ส่งออกรวมประมาณ 4-5 แสนตัว/ปีจากฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ 18 รายที่ขึ้นทะเบียนส่งออกกับกรมประมงขณะที่จีนมีความต้องการบริโภคมากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการส่งออกของไทย ผู้ประกอบการไทยจึงควรรักษาโอกาสนี้ด้วยการเน้นคุณภาพรวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่จีนกำหนดอย่างเข้มงวด อันจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของผู้ส่งออกและการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พส/พห-
EXIM ตอบ : การเลือกใช้ท่าเรืออย่างเหมาะสมเพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกเนื่องจากทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้ ผู้ส่งออกจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบโดยดูจากทำเลที่ตั้งของโรงงานประกอบกับเส้นทางการเดินเรือแต่ละแห่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดของไทยในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอาทิ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ด้วย ปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศในปี 2547 สูงถึง 3.5 ล้าน TEUs(Twenty-foot Equivalent Units หรือเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) คิดเป็นสัดส่วนราว 70 % ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 2 คาดว่าจะเสร็จในปี 2552 ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้สูงถึง 10.8 ล้าน TEUs ต่อปี
-ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือสำคัญในเขตภาคกลางในฐานะประตูสู่ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบังด้วยศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าราว 1 ล้าน TEUs ต่อปี ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้าออกจริงสูงถึงกว่า 1.3 ล้าน TEUs ทำให้ภาครัฐมีนโยบายที่จะลดปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพให้เหลือไม่เกิน 0.6 ล้าน TEUs ต่อปี พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศและเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานให้บริการด้านการส่งออกและนำเข้าเพื่อผลักดันให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าหันไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังแทนซึ่งช่วยลดปัญหาความแออัดบริเวณท่าเรือและลดปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
-ท่าเรือเชียงแสน เป็นท่าเรือที่สำคัญทางภาคเหนือในฐานะประตูสู่จีนตอนใต้โยเส้นทางเดินเรือตามลำน้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปยังมณฑลอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหากเทียบกับการต้องขนสินค้ากลับมาลงเรือที่กรุงเทพฯปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านเรือเชียงแสนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรโยเฉพาะลำไยอบแห้งและยางพารา อย่างไรก็ตาม การที่ท่าเรือเชียงแสนมีข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงสรางท่าเรือเชียงแสนแห่งไหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงโดยมุ่งเพิ่มขนาดของท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในปี 2551
-ท่าเรือระนอง เป็นท่าเรือสำคัญบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในฐานะประตูสู่ประเทศในแถบเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาท่าเรือระนองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2549 ทั้งนี้เป็นที่คาดว่าการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังภมิภาคดังกล่าวโดยผ่านท่าเรือระนองจะช่วยลดทั้งระยะทางระยะเวลา และต้นทุนการขนส่งลงได้มากเมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือบริเวณอ่าวไทย
คุณถาม :อยากทราบว่าสถานการณ์ส่งออกเนื้อจระเข้แช่แข็งของไทยไปยังจีน
EXIMตอบ : ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเพาะเลี้ยงจระเข้และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากจระเข้ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยกลับเป็นหนังจระเข้ขณะที่เนื้อจระเข้ยังมีมูลค่าส่งออกน้อยมากแม้ว่ากำลังเป็นที่นิยมบริโภคและมีตลาดรองรับอีกมาก โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และประชากรจำนวนมากนิยมบริโภคเนื้อจระเข้เนื่องจากมีความเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาและเป็นอาหารบำรุงกำลัง ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อจระเข้ไปจีนได้เนื่องจากจีนไม่มีระเบียบรองรับการนำเข้าเนื้อจระเข้จากต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกจากไทยไปจีนในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะจระเข้มีชีวิตเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดดังกล่าวกำลังจะหมดไปในปี 2549 เนื่องจากไทยและจีนได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วย"การตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน"เมื่อเดือนกันยายน 2548 หลังจากที่เจ้าหน้าที่จีนเข้ามาตรวจสอบวิธีการควบคุมการเลี้ยงและการชำแหละเนื้อจระเข้ของไทย โดยกรมประมงเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบบ่อเลี้ยงและโรงชำแหละ ซึ่งมีพิธีสารดังกล่าวคาดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยเพื่อรับรองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในจีน โดยคาดว่าจีนจะเริ่มนำเนื้อจระเข้ภายในปี 2549 ทั้งนี้สาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีนมีดังนี้
คุณสมบัติของเนื้อจระเข้
- เนื้อจระเข้ที่ส่งออกไปจีนต้องมาจากจระเข้ในฟาร์มเพาะเลี้ยงที่กรมประมงรับรองมาตรฐานวิธีเกษตรดีที่เหมาะสม(Good Agricultural Practice :GAP)
- เนื้อไก่ที่เป็นอาหารของจระเข้ต้องมาจากโรงชำแหละไก่เพื่อการส่งออกเท่านั้น
- เนื้อจระเข้ส่งออกต้องมาจากจระเข้ที่มีสุขภาพดีและปลอดจากพยาธิและเชื้ออหิวาตกโรค
- โรงชำแหละและโรงงานแปรรูปต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน พร้อมขึ้นทะเบียนกับกรมประมงของไทย
ปริมาณการนำเข้า
- จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อจระเข้แช่แข็งจากไทยได้ไม่จำกัดปริมาณ
จากการที่ไทยประสบความสำเร็จในการลงพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีนเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในปัจจุบัน ประกอบกับไทยมีกำลังการผลิตจระเข้ส่งออกรวมประมาณ 4-5 แสนตัว/ปีจากฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ 18 รายที่ขึ้นทะเบียนส่งออกกับกรมประมงขณะที่จีนมีความต้องการบริโภคมากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการส่งออกของไทย ผู้ประกอบการไทยจึงควรรักษาโอกาสนี้ด้วยการเน้นคุณภาพรวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่จีนกำหนดอย่างเข้มงวด อันจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของผู้ส่งออกและการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พส/พห-