แท็ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรคประชาธิปัตย์
พิณทองทา ชินวัตร
สภาผู้แทนราษฎร
ตลาดหลักทรัพย์
พานทองแท้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)ระบุมีแนวโน้มทำผิดเกี่ยวกับการรายงานการถือครองหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ของนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ไม่ครบถ้วนตามมาตรา 246 ของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯ ซึ่งจะมีการลงโทษเปรียบเทียบปรับว่า อยากให้กลต.เปิดเผยหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของของบริษัทแอมเพิล ริช อินเวสเม้นท์ จำกัด เพื่อการตรวจสอบ เพราะหลักฐานในเรื่องเหล่านี้จะมีผลต่อเรื่องอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะในแง่กฎหมายกลต.เท่านั้น และที่สำคัญคือจะต้องมีการตรวจสอบต่อไปว่ามีการกระทำผิดตามมาตราอื่นอีกหรือไม่
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องหนังสือที่ทางพรรคฯ ได้ดำเนินการยื่นไปที่กลต.แล้วนั้น มีประเด็นที่จะต้องทำการตรวจสอบทั้งเรื่องการซื้อขายของบริษัทแอมเพิลริชฯ และในส่วนของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เคยแจ้งหรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้น และสิ่งที่กลต.ควรทำให้ชัดเจนคือ ในส่วนของบริษัทชินคอร์ปฯได้มีการเจรจากับเทมาเส็กเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเมื่อไหร่ เพราะนายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูลชินวัตร เคยพูดไว้ชัดเจนว่ามีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายหุ้นตั้งแต่กลางปี ขณะที่เมื่อมีข่าว แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลับปฏิเสธว่าไม่มีการซื้อขาย และควรจะไปตรวจสอบว่ามีการซื้อขายของหุ้นในช่วงนั้นโดยใครอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พรรคได้ชี้ช่องและทำหนังสือไปบ้างแล้วจึงอยากให้มีความชัดเจนตรงนี้ด้วย
“ประเด็นที่ได้วินิจฉัยว่ามีการดำเนินการผิดก็ว่ากันไป แต่น่าจะตั้งคำถามไปถึงฝ่ายของท่านนายกรัฐมนตรีด้วยว่า ถ้ายืนยันเด็ดขาดว่าไม่เคยทำผิด อย่ายอมรับการเปรียบเทียบปรับ ขอให้ไปศาลได้ไหม เพราะถ้าท่านนายกรัฐมนตรียังยืนยันว่าทุกคนทำถูกต้อง ก็ไม่ควรจะยอมรับว่าทำผิด และยอมเสียค่าปรับ แต่ขอให้ลองไปขึ้นศาลดีกว่า เพราะตรงนี้เป็นเรื่องของกฎหมายอาญา ให้กลต.เอาเรื่องขึ้นศาล ให้ศาลวินิจฉัยว่าจะลงโทษอย่างไร จะได้พิสูจน์กันไปว่าที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดว่าไม่ผิดนั้นจะจริงหรือไม่ อย่ายอมแต่เปรียบเทียบปรับ จะได้มีความชัดเจนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำผิดกฎหมายที่มีความผิดทางอาญา ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวท่านนายกรัฐมนตรีจะบิดเบือนว่าเป็นเรื่องความผิดกฎระเบียบเล็ก ๆ น้อย ๆ และถ้ายังมาพูดเช่นนี้ก็เท่ากับเป็นการพูดเท็จ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนนายกรัฐมนตรีควรจะต้องรับผิดชอบอะไรกับคำพูดที่เคยบอกว่าไม่มีการทำผิดกฎหมายนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีน่าจะต้องแสดงท่าทีต่อสิ่งที่เคยพูดว่าไม่เคยมีการทำผิดจะตอบเรื่องนี้อย่างไร และจะต้องรับผิดชอบคำพูดด้วย แต่วันนี้การรับผิดชอบคำพูดที่สำคัญกว่าคือเอาชื่อส.ส.มาให้ฝ่ายค้านเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
สำหรับคำวินิจฉัยของกลต.จะช่วยสนับสนุนญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านให้มีน้ำหนักมากขึ้นหรือไม่นั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุน แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือหลักฐานที่ยืนยันว่าใครเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทแอมเพิลริชฯจะมีผลต่อคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนเคยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการตรวจสอบกับนายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กรุงเทพฯในเรื่องการตรวจสอบบ้างและเห็นว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเรื่องการยื่นตีความคุณสมบัติน่าจะเป็นเรื่องที่ต้องมีการวินิจฉัย และน่าจะเป็นคนละกระบวนการกับในอดีต กรณีที่มีการร้องว่ามีการทุจริตและผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดังนั้นการมีหรือไม่มีป.ป.ช.ในตอนนี้ถือว่าไม่มีผลอะไร เพราะกรณีที่ส.ว.ดำเนินการเป็นเรื่องการตีความคุณสมบัติ แต่หากเห็นว่าการกระทำของนายกรัฐมนตรีผิดรัฐธรรมนูญจึงจะต้องผ่านปปช.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.พ. 2549--จบ--
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องหนังสือที่ทางพรรคฯ ได้ดำเนินการยื่นไปที่กลต.แล้วนั้น มีประเด็นที่จะต้องทำการตรวจสอบทั้งเรื่องการซื้อขายของบริษัทแอมเพิลริชฯ และในส่วนของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เคยแจ้งหรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้น และสิ่งที่กลต.ควรทำให้ชัดเจนคือ ในส่วนของบริษัทชินคอร์ปฯได้มีการเจรจากับเทมาเส็กเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเมื่อไหร่ เพราะนายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูลชินวัตร เคยพูดไว้ชัดเจนว่ามีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายหุ้นตั้งแต่กลางปี ขณะที่เมื่อมีข่าว แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลับปฏิเสธว่าไม่มีการซื้อขาย และควรจะไปตรวจสอบว่ามีการซื้อขายของหุ้นในช่วงนั้นโดยใครอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พรรคได้ชี้ช่องและทำหนังสือไปบ้างแล้วจึงอยากให้มีความชัดเจนตรงนี้ด้วย
“ประเด็นที่ได้วินิจฉัยว่ามีการดำเนินการผิดก็ว่ากันไป แต่น่าจะตั้งคำถามไปถึงฝ่ายของท่านนายกรัฐมนตรีด้วยว่า ถ้ายืนยันเด็ดขาดว่าไม่เคยทำผิด อย่ายอมรับการเปรียบเทียบปรับ ขอให้ไปศาลได้ไหม เพราะถ้าท่านนายกรัฐมนตรียังยืนยันว่าทุกคนทำถูกต้อง ก็ไม่ควรจะยอมรับว่าทำผิด และยอมเสียค่าปรับ แต่ขอให้ลองไปขึ้นศาลดีกว่า เพราะตรงนี้เป็นเรื่องของกฎหมายอาญา ให้กลต.เอาเรื่องขึ้นศาล ให้ศาลวินิจฉัยว่าจะลงโทษอย่างไร จะได้พิสูจน์กันไปว่าที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดว่าไม่ผิดนั้นจะจริงหรือไม่ อย่ายอมแต่เปรียบเทียบปรับ จะได้มีความชัดเจนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำผิดกฎหมายที่มีความผิดทางอาญา ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวท่านนายกรัฐมนตรีจะบิดเบือนว่าเป็นเรื่องความผิดกฎระเบียบเล็ก ๆ น้อย ๆ และถ้ายังมาพูดเช่นนี้ก็เท่ากับเป็นการพูดเท็จ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนนายกรัฐมนตรีควรจะต้องรับผิดชอบอะไรกับคำพูดที่เคยบอกว่าไม่มีการทำผิดกฎหมายนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีน่าจะต้องแสดงท่าทีต่อสิ่งที่เคยพูดว่าไม่เคยมีการทำผิดจะตอบเรื่องนี้อย่างไร และจะต้องรับผิดชอบคำพูดด้วย แต่วันนี้การรับผิดชอบคำพูดที่สำคัญกว่าคือเอาชื่อส.ส.มาให้ฝ่ายค้านเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
สำหรับคำวินิจฉัยของกลต.จะช่วยสนับสนุนญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านให้มีน้ำหนักมากขึ้นหรือไม่นั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุน แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือหลักฐานที่ยืนยันว่าใครเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทแอมเพิลริชฯจะมีผลต่อคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนเคยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการตรวจสอบกับนายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กรุงเทพฯในเรื่องการตรวจสอบบ้างและเห็นว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าเรื่องการยื่นตีความคุณสมบัติน่าจะเป็นเรื่องที่ต้องมีการวินิจฉัย และน่าจะเป็นคนละกระบวนการกับในอดีต กรณีที่มีการร้องว่ามีการทุจริตและผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดังนั้นการมีหรือไม่มีป.ป.ช.ในตอนนี้ถือว่าไม่มีผลอะไร เพราะกรณีที่ส.ว.ดำเนินการเป็นเรื่องการตีความคุณสมบัติ แต่หากเห็นว่าการกระทำของนายกรัฐมนตรีผิดรัฐธรรมนูญจึงจะต้องผ่านปปช.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.พ. 2549--จบ--