ตั้งแต่ปลายปี 2005 ที่ผ่านมา จนถึงไตรมาสแรกของปี 2006 แม้ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และเกิดภัยธรรมชาติหลายครั้งทั่วโลก แต่เศรษฐกิจโลกยังคงรักษาระดับการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี และภาวะเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่สหรัฐฯ สามารถครองตำแหน่งตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญต่อไป แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น จีน และอินเดีย กำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ กระแสการลงทุนในประเทศที่เริ่มเปิดตลาดการค้าใหม่ ยังสามารถต้านภาวะราคาน้ำมันแพงได้ ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจโลกค่อยๆเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาฟื้นตัวจากไตรมาสก่อน แต่ปัญหาหลักคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ และคาดว่าผลกระทบของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 จะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ลดลงประมาณร้อยละ 1 ส่วนเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป เริ่มมีการฟื้นตัว โดยภาคธุรกิจส่งสัญญานการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง แต่การบริโภคภาคเอกชนยังคงไม่กระเตื้อง แต่เมื่อพิจารณาตลอดทั้งปี คาดว่าเศรษฐกิจ EU จะเติบโตประมาณร้อยละ 2 สำหรับญี่ปุ่น มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับเงินเฟ้อ ราคาที่ดิน และการปล่อยกู้ของธนาคาร ขยับตัวสูงขึ้น การปรับปรุงสถานการณ์ในตลาดแรงงาน มีแนวโน้มจะกระตุ้นการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นกำลังหาทางแก้ไขนโยบายการเงินการคลังที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากนัก และแนวทางรับมือกับการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัยชรา
ทางด้านจีน และอินเดีย เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศยังคงเติบโตในอัตราสูง โดยจีนควรปรับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการเน้นพึ่งพาการส่งออก เป็นการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันรัฐบาลจีนกำลังเร่งส่งเสริมการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพและการศึกษา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้ จะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในระยะปานกลาง ส่วนอินเดีย ได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานฝีมือทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ อินเดียจำเป็นต้องเร่งขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นสูง หากต้องการรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันจากการได้เปรียบของค่าแรงงานในกลุ่มแรงงานเทคโนโลยี
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2548 ชะลอตัวลง จากการประมาณการผลิตภัณฑ์ประชาชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยที่ครึ่งหลังของปี 2548 เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าครึ่งปีแรก จากการที่การส่งออกสุทธิทั้งสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น และ GDP ภาคอุตสาหกรรมในปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 5.5 ลดลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.2
สำหรับภาคอุตสาหกรรมจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม (ในระดับ ISIC4 หลัก) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 8..2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 เช่นกัน เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ส่วนสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 59,525.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 29,560.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 29,965.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.31 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดุลการค้าขาดดุล 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 68,067.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,180.96 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 68,078.37 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ —11.32 ล้านบาท ส่วนการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 329 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 115 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 21,200 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 66,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นเนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามฤดูกาล มูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า นำโดยกลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ในขณะที่สินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.39 จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC
เคมีภัณฑ์
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,344 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 21,582 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,440 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมนี้ (Life Cycle)
ทางด้านการส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,241 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 26.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่องในสินค้าที่ทำจากธรรมชาติ ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติและสมุนไพรจากไทย และอุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 301 ล้านบาทลดลงร้อยละ 64.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ปิโตรเคมี
ไตรมาส 1 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ Rayong Olefins Co. (ROC) กลับมาเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี หลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน และการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTT Chemical Plc. ซึ่งเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตัน/ปี และโพรพิลีน 377,000 ตัน/ปี เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกในปี 2549 และหน่วยที่สองในปี 2551 สำหรับในไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 21.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เหล็กและเหล็กกล้า
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง ขณะที่ผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 28.24 และ 28.34 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.09 แต่การใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลง เล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีการขยายตัวในช่วงนี้ สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 21.86 และ 23.26 โดยเหล็กแท่งแบนมีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเนื่องจากเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งมีการผลิตที่ลดลง รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก ลดลง ร้อยละ 55.46 เนื่องจากเป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาว ซึ่งภาคก่อสร้างมีการชะลอตัว สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบในทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อรถยนต์บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะการเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภทมากกว่า ซึ่งตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงขยายตัว เนื่องจากสามารถใช้งานได้เอนกประสงค์ และเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ประกอบกับ ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รุ่นใหม่ของค่ายฟอร์ด มาสด้า ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดของรถยนต์ประเภทนี้รุนแรงมากขึ้น ในส่วนของรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย เพราะเป็นรถที่มีขนาดที่ประหยัดทั้งด้านราคาและพลังงาน เหมาะสมกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด โดยในปีนี้มีการนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดหลากหลายรุ่นมากกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และ 2.10 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12, 23.60 และ 9.35 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และ 8.46 แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24
ด้านการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกรถยนต์นั่งมีลู่ทางที่สดใสในตลาดประเทศแถบตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มที่ดีในตลาดออสเตรเลีย และประเทศในอาเซียน ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน สามารถเพิ่มการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ประเทศในแถบยุโรป และประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ การส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.54 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66
พลาสติก
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 467 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 548 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,194 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 39.43 บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 49)
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวการณ์ผลิตหนังฟอกลดลงจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่ลดลงและการส่งออกก็ลดลง การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้น มีการนำเข้ากระเป๋าและรองเท้าจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดภายในประเทศจึงควรมีมาตรการปกป้องสินค้าคุณภาพต่ำที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค โดยรองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ รองเท้าอื่น ๆ รองเท้าหนัง รองเท้าแตะ และ รองเท้ากีฬา เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 4.5 4.1 และ 0.7 ตามลำดับ เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ4.3 ส่วนหนังดิบและหนังฟอก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -14.7
อาหาร
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.1 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 15.1 แม้ว่าโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต การบริโภค และการส่งออก เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าขนส่ง ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาแรงงานต่างด้าว และการขาดแคลนวัตถุดิบจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการประกาศติดฉลากสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ของประเทศผู้ นำเข้า และการบังคับใช้มาตรฐานสุขอนามัยและสวัสดิภาพสัตว์ของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกที่ ส่งผลดีต่อการผลิตเพื่อส่งออกของไทย ได้แก่ การได้คืนสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป การทบทวนการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสินค้ากุ้งของสหรัฐฯ และการระบาดของเชื้อวัวบ้าและไข้หวัดนก เป็นต้น สำหรับภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมข้าว) มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 19.5 แต่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.6 ส่วนมูลค่าการส่งออกลดลงจาก ไตรมาสก่อนร้อยละ 7.7 แต่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.3 ทั้งนี้สินค้าอาหารส่วนใหญ่สามารถส่งออกในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.04 และ12.28 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ส่วนการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ของไทย เช่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลางก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ภาวะภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสแรกของ ปี 2549 ควรแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น และ 2 กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ในกลุ่มที่ 1 ผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น หากเป็นชาวสวนยางหรือกลุ่มโรงงานแปรรูปขั้นต้นที่ไม่มีการตกลงราคาซื้อขายล่วงหน้า น่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการที่ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางหรือโรงงานแปรรูปที่มีการตกลงการซื้อขายล่วงหน้าน่าจะมีผลกระทบจากราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้องขายในราคาที่คิดต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการมีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อชะลอดูผลกระทบจากการปรับตัวของราคายางที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว
อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกของยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ของ ปี 2549 ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกหมวดผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ยังมีการขยายตัวและราคายางพาราที่มีทิศทางปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น มีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จำนวน 1,252.00 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 14.32 และหากเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้วมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 42.88 ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 จำนวน 691.40 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.52 และเติบโตจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 33.06
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสภาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา แต่มีปัจจัยลบที่มีอิทธิพลค่อนข้างมาก อาทิ ราคาน้ำมันที่ทรงตัว ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน โดยภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 251,834.6 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 6.1 ตามลำดับ
อุตสาหรรมกระดาษ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 689,393.0 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.7 และ 1.4 ตามลำดับ
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2549 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวน 5,919.3 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0เนื่องจากวัตถุดิบทั้งที่เป็นตัวยาสำคัญ และวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตยาปรับราคาสูงขึ้น สำหรับปริมาณการจำหน่ายลดลงเช่นเดียวกัน มีจำนวน 5,398.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคที่เป็นยาสิทธิบัตร ซึ่งใช้สำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งออกอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค และยาสำเร็จรูป โดยการนำเข้ามีมูลค่า 7,891.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนร้อยละ 29.9 และ 11.2 ตามลำดับ และการส่งออก มีมูลค่า 1,567.4 ล้านบาท ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.4
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 1.3 การผลิตผ้าฯ ลดลงร้อยละ 5.8 และ 1.7 ขณะที่การผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายซึ่งลดลงเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกไปต่างประเทศ เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยกเว้นเพียงการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการจำหน่ายล่วงหน้าสำหรับฤดูกาลเปิดภาคการเรียนใหม่ที่จะมาถึง
ปูนซีเมนต์
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตทรงตัวและการจำหน่ายในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.13 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.04 และ 1.93 ตามลำดับ และการจำหน่าย มีปริมาณ 8.33 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.30
เซรามิก
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูการขาย ซึ่งการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 43.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.06 และ 6.59 ตามลำดับ แต่แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่าย กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.60 และ 9.99 ตามลำดับ ชะลอตัวลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาจากปัจจัยทั้งด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศจะยังคงชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจชะลอแผนขยายการลงทุนออกไป และหันไปเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยเจาะตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.45 แม้ว่าจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาฟื้นตัวจากไตรมาสก่อน แต่ปัญหาหลักคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ และคาดว่าผลกระทบของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 จะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ลดลงประมาณร้อยละ 1 ส่วนเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป เริ่มมีการฟื้นตัว โดยภาคธุรกิจส่งสัญญานการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง แต่การบริโภคภาคเอกชนยังคงไม่กระเตื้อง แต่เมื่อพิจารณาตลอดทั้งปี คาดว่าเศรษฐกิจ EU จะเติบโตประมาณร้อยละ 2 สำหรับญี่ปุ่น มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับเงินเฟ้อ ราคาที่ดิน และการปล่อยกู้ของธนาคาร ขยับตัวสูงขึ้น การปรับปรุงสถานการณ์ในตลาดแรงงาน มีแนวโน้มจะกระตุ้นการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นกำลังหาทางแก้ไขนโยบายการเงินการคลังที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากนัก และแนวทางรับมือกับการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัยชรา
ทางด้านจีน และอินเดีย เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศยังคงเติบโตในอัตราสูง โดยจีนควรปรับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการเน้นพึ่งพาการส่งออก เป็นการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันรัฐบาลจีนกำลังเร่งส่งเสริมการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพและการศึกษา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้ จะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในระยะปานกลาง ส่วนอินเดีย ได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานฝีมือทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ อินเดียจำเป็นต้องเร่งขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นสูง หากต้องการรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันจากการได้เปรียบของค่าแรงงานในกลุ่มแรงงานเทคโนโลยี
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2548 ชะลอตัวลง จากการประมาณการผลิตภัณฑ์ประชาชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยที่ครึ่งหลังของปี 2548 เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าครึ่งปีแรก จากการที่การส่งออกสุทธิทั้งสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น และ GDP ภาคอุตสาหกรรมในปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 5.5 ลดลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.2
สำหรับภาคอุตสาหกรรมจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม (ในระดับ ISIC4 หลัก) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 8..2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 เช่นกัน เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ส่วนสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 59,525.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 29,560.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 29,965.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.31 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดุลการค้าขาดดุล 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 68,067.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,180.96 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 68,078.37 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ —11.32 ล้านบาท ส่วนการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 329 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 115 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 21,200 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 66,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นเนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามฤดูกาล มูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า นำโดยกลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ในขณะที่สินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.39 จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC
เคมีภัณฑ์
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,344 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 21,582 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,440 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมนี้ (Life Cycle)
ทางด้านการส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,241 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 26.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่องในสินค้าที่ทำจากธรรมชาติ ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติและสมุนไพรจากไทย และอุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 301 ล้านบาทลดลงร้อยละ 64.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ปิโตรเคมี
ไตรมาส 1 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ Rayong Olefins Co. (ROC) กลับมาเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี หลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน และการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTT Chemical Plc. ซึ่งเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตัน/ปี และโพรพิลีน 377,000 ตัน/ปี เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกในปี 2549 และหน่วยที่สองในปี 2551 สำหรับในไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 21.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เหล็กและเหล็กกล้า
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง ขณะที่ผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 28.24 และ 28.34 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.09 แต่การใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลง เล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีการขยายตัวในช่วงนี้ สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 21.86 และ 23.26 โดยเหล็กแท่งแบนมีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเนื่องจากเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งมีการผลิตที่ลดลง รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก ลดลง ร้อยละ 55.46 เนื่องจากเป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาว ซึ่งภาคก่อสร้างมีการชะลอตัว สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบในทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อรถยนต์บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะการเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภทมากกว่า ซึ่งตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงขยายตัว เนื่องจากสามารถใช้งานได้เอนกประสงค์ และเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ประกอบกับ ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รุ่นใหม่ของค่ายฟอร์ด มาสด้า ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดของรถยนต์ประเภทนี้รุนแรงมากขึ้น ในส่วนของรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย เพราะเป็นรถที่มีขนาดที่ประหยัดทั้งด้านราคาและพลังงาน เหมาะสมกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด โดยในปีนี้มีการนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดหลากหลายรุ่นมากกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และ 2.10 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12, 23.60 และ 9.35 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และ 8.46 แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24
ด้านการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกรถยนต์นั่งมีลู่ทางที่สดใสในตลาดประเทศแถบตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มที่ดีในตลาดออสเตรเลีย และประเทศในอาเซียน ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน สามารถเพิ่มการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ประเทศในแถบยุโรป และประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ การส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.54 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66
พลาสติก
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 467 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 548 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,194 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 39.43 บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 49)
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวการณ์ผลิตหนังฟอกลดลงจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่ลดลงและการส่งออกก็ลดลง การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้น มีการนำเข้ากระเป๋าและรองเท้าจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดภายในประเทศจึงควรมีมาตรการปกป้องสินค้าคุณภาพต่ำที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค โดยรองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ รองเท้าอื่น ๆ รองเท้าหนัง รองเท้าแตะ และ รองเท้ากีฬา เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 4.5 4.1 และ 0.7 ตามลำดับ เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ4.3 ส่วนหนังดิบและหนังฟอก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -14.7
อาหาร
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.1 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 15.1 แม้ว่าโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต การบริโภค และการส่งออก เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าขนส่ง ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาแรงงานต่างด้าว และการขาดแคลนวัตถุดิบจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการประกาศติดฉลากสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ของประเทศผู้ นำเข้า และการบังคับใช้มาตรฐานสุขอนามัยและสวัสดิภาพสัตว์ของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกที่ ส่งผลดีต่อการผลิตเพื่อส่งออกของไทย ได้แก่ การได้คืนสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป การทบทวนการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสินค้ากุ้งของสหรัฐฯ และการระบาดของเชื้อวัวบ้าและไข้หวัดนก เป็นต้น สำหรับภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมข้าว) มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 19.5 แต่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.6 ส่วนมูลค่าการส่งออกลดลงจาก ไตรมาสก่อนร้อยละ 7.7 แต่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.3 ทั้งนี้สินค้าอาหารส่วนใหญ่สามารถส่งออกในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.04 และ12.28 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ส่วนการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ของไทย เช่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลางก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ภาวะภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสแรกของ ปี 2549 ควรแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น และ 2 กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ในกลุ่มที่ 1 ผู้ผลิตยางแปรรูปขั้นต้น หากเป็นชาวสวนยางหรือกลุ่มโรงงานแปรรูปขั้นต้นที่ไม่มีการตกลงราคาซื้อขายล่วงหน้า น่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการที่ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางหรือโรงงานแปรรูปที่มีการตกลงการซื้อขายล่วงหน้าน่าจะมีผลกระทบจากราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้องขายในราคาที่คิดต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการมีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อชะลอดูผลกระทบจากการปรับตัวของราคายางที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว
อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกของยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ของ ปี 2549 ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกหมวดผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ยังมีการขยายตัวและราคายางพาราที่มีทิศทางปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น มีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จำนวน 1,252.00 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 14.32 และหากเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้วมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 42.88 ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 จำนวน 691.40 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.52 และเติบโตจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 33.06
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสภาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา แต่มีปัจจัยลบที่มีอิทธิพลค่อนข้างมาก อาทิ ราคาน้ำมันที่ทรงตัว ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน โดยภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 251,834.6 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 6.1 ตามลำดับ
อุตสาหรรมกระดาษ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 689,393.0 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.7 และ 1.4 ตามลำดับ
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2549 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวน 5,919.3 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0เนื่องจากวัตถุดิบทั้งที่เป็นตัวยาสำคัญ และวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตยาปรับราคาสูงขึ้น สำหรับปริมาณการจำหน่ายลดลงเช่นเดียวกัน มีจำนวน 5,398.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคที่เป็นยาสิทธิบัตร ซึ่งใช้สำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งออกอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค และยาสำเร็จรูป โดยการนำเข้ามีมูลค่า 7,891.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนร้อยละ 29.9 และ 11.2 ตามลำดับ และการส่งออก มีมูลค่า 1,567.4 ล้านบาท ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.4
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 1.3 การผลิตผ้าฯ ลดลงร้อยละ 5.8 และ 1.7 ขณะที่การผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายซึ่งลดลงเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกไปต่างประเทศ เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยกเว้นเพียงการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการจำหน่ายล่วงหน้าสำหรับฤดูกาลเปิดภาคการเรียนใหม่ที่จะมาถึง
ปูนซีเมนต์
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตทรงตัวและการจำหน่ายในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.13 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.04 และ 1.93 ตามลำดับ และการจำหน่าย มีปริมาณ 8.33 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.30
เซรามิก
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูการขาย ซึ่งการจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 43.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.06 และ 6.59 ตามลำดับ แต่แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่าย กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.60 และ 9.99 ตามลำดับ ชะลอตัวลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาจากปัจจัยทั้งด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศจะยังคงชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจชะลอแผนขยายการลงทุนออกไป และหันไปเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยเจาะตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.45 แม้ว่าจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-