แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,244.87 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 597.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 647.87 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.48 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.70 ตัน
การตลาด
เกษตรกรมีปัญหาการส่งออกกุ้งตลาดสหรัฐอเมริกา
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ขณะนี้การส่งออกสินค้ากุ้งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2549 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.2 แสนตัน จากเป้าหมายทั้งปีที่กรมประมงตั้งไว้ประมาณ 3.8 แสนตัน ซึ่งเป็นผลจากที่ประเทศไทยได้รับคืนสิทธิพิเศษทางศุลกากร(GSP) จากสหภาพยุโรป ทำให้ราคากุ้งไทยปรับตัวลดลง ผู้ประกอบการเอกชนจากหลายประเทศในยุโรปเริ่มเจรจาขอนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้งไทยมากขึ้น ในเบื้องต้นกรมประมงมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังสหภาพ- ยุโรปเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกเดิมที่ไทยเคยทำได้ก่อนถูกตัดสิทธิ GSP อย่างไรก็ตาม ขณะที่การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น แต่สินค้ากุ้งไทยที่จะส่งไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยกลับต้องเผชิญกับปัญหาทางการค้า เมื่อบริษัท Wall Mart ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ประเทศผู้ผลิตกุ้งที่จะส่งไปจำหน่ายใน Wall Mart นอกจากจะต้องมีการตรวจรับรองเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยแล้ว จะต้องผ่านการตรวจรับรองเรื่องสุขาภิบาลฟาร์ม และสิ่งแวดล้อม จากหน่วยงาน ACC หรือ ERUEPGAP ด้วย โดยจะมีผลบังคับในระดับโรงงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และระดับฟาร์มในปี 2550 ในเบื้องต้นจึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทย
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ในปี 2549 กรมประมงมีแผนจะผลักดันการส่งออกกุ้งชิลและกุ้งแปรรูปเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่งเบื้องต้นจากการนำบริษัทเอกชน 15 บริษัทไปร่วมงาน Sea Food Expo งานแสดงสินค้าประมงที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยทุกบริษัทมียอดสั่งซื้อเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตามถึงแม้แนวโน้มการส่งออกจะดีขึ้น แต่กรมประมงยังคงเข้มงวดการตรวจสอบรับรองด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยที่ดำเนินการ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการตรวจรับรองกุ้งไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ตลอดจนรักษาความมั่นใจของผู้บริโภคต่อสินค้ากุ้งไทยด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 133.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.14 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.76 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22 - 26 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,244.87 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 597.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 647.87 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.48 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.70 ตัน
การตลาด
เกษตรกรมีปัญหาการส่งออกกุ้งตลาดสหรัฐอเมริกา
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ขณะนี้การส่งออกสินค้ากุ้งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2549 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.2 แสนตัน จากเป้าหมายทั้งปีที่กรมประมงตั้งไว้ประมาณ 3.8 แสนตัน ซึ่งเป็นผลจากที่ประเทศไทยได้รับคืนสิทธิพิเศษทางศุลกากร(GSP) จากสหภาพยุโรป ทำให้ราคากุ้งไทยปรับตัวลดลง ผู้ประกอบการเอกชนจากหลายประเทศในยุโรปเริ่มเจรจาขอนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้งไทยมากขึ้น ในเบื้องต้นกรมประมงมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังสหภาพ- ยุโรปเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกเดิมที่ไทยเคยทำได้ก่อนถูกตัดสิทธิ GSP อย่างไรก็ตาม ขณะที่การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น แต่สินค้ากุ้งไทยที่จะส่งไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยกลับต้องเผชิญกับปัญหาทางการค้า เมื่อบริษัท Wall Mart ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ประเทศผู้ผลิตกุ้งที่จะส่งไปจำหน่ายใน Wall Mart นอกจากจะต้องมีการตรวจรับรองเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยแล้ว จะต้องผ่านการตรวจรับรองเรื่องสุขาภิบาลฟาร์ม และสิ่งแวดล้อม จากหน่วยงาน ACC หรือ ERUEPGAP ด้วย โดยจะมีผลบังคับในระดับโรงงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และระดับฟาร์มในปี 2550 ในเบื้องต้นจึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทย
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ในปี 2549 กรมประมงมีแผนจะผลักดันการส่งออกกุ้งชิลและกุ้งแปรรูปเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่งเบื้องต้นจากการนำบริษัทเอกชน 15 บริษัทไปร่วมงาน Sea Food Expo งานแสดงสินค้าประมงที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยทุกบริษัทมียอดสั่งซื้อเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตามถึงแม้แนวโน้มการส่งออกจะดีขึ้น แต่กรมประมงยังคงเข้มงวดการตรวจสอบรับรองด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยที่ดำเนินการ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการตรวจรับรองกุ้งไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ตลอดจนรักษาความมั่นใจของผู้บริโภคต่อสินค้ากุ้งไทยด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 133.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.14 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.76 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22 - 26 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2549--
-พห-