สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องในน่านน้ำอินโดนีเซีย
แหล่งข่าวจากกรมประมงเปิดเผยถึงการประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านการประมงไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 8 - 9 สิงหาคมที่ผ่านมาที่บาหลีว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุม ครั้งสำคัญก่อนที่การต่ออายุสัมปทานการทำประมงของเรือประมงไทยจะหมดอายุลงในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยฝ่ายอินโดนีเซียได้ประกาศอย่างชัดเจนออกมาว่าจะไม่มีการต่ออายุสัมปทานในช่วงการปรับตัวตามที่ไทยร้องขอมาอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ การประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือฯ จะมีนายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ส่วนฝ่ายอินโดนีเซียมี Prof.Dr.Martani Huseini อธิบดีกรมการแปรรูปและการตลาดผลิตภัณฑ์ประมง เป็นหัวหน้า โดย Prof.Huseini ได้แจ้งให้กับฝ่ายไทยทราบว่า รัฐบาล อินโดนีเซียมีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะส่งเสริม “การร่วมลงทุน” ทางการประมง ระหว่าง นักธุรกิจอินโดนีเซีย กับ นักธุรกิจ ต่างชาติ พร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงแบบผสมผสาน เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ การสร้างงานให้กับชาวอินโดนีเซีย และการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศจากทรัพยากรทางทะเล
อย่างไรก็ตาม วันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงอินโดนีเซียได้ออกประกาศกระทรวงฉบับใหม่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาการประมงของอินโดนีเซียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจประมงของชาวต่างชาติ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียมุ่งเน้นให้เป็นการทำธุรกิจแบบการลงทุนร่วมกับ ต่างประเทศ กับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการประมงของนักธุรกิจอินโดนีเซีย แต่ต้องเสนอโครงการให้กรมประมง อินโดนีเซีย เป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆ ไป ประกาศฉบับดังกล่าวถูกเขียนออกมาเป็นภาษาอินโดนีเซีย เรายังไม่ได้รับฉบับจริงอย่างเป็นทางการ มีเพียงเรือประมงไทยที่เข้าไปจับปลาในอินโดนีเซียนำออกมาแปลเป็นภาษาไทย อาจจะมีการแปลสาระผิดหรือถูกไปบ้าง ก็คือ ฝ่ายอินโดนีเซียต้องการให้เรือประมงไทยเข้าไปทำธุรกิจต่อเนื่องกับการประมง ส่วนการจับปลาจะต้องทำในรูปของการลงทุนร่วมกันเท่านั้น โดยสัตว์น้ำที่จับได้จะต้องนำขึ้นที่ท่าเรืออินโดนีเซียทั้งหมด เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประมงไม่มีการนำกลับไทยอีก แต่ใช่ว่า ประกาศกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมง จะบังคับให้นักธุรกิจต่างชาติจะต้องทำธุรกิจประมงแบบการลงทุนร่วมไปเสียทั้งหมด เนื่องจากทางอินโดนีเซียกำลังดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์สำหรับนักธุรกิจอินโดนีเซียสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติเข้ามาทำการประมงได้ โดยอาจจะมีเงื่อนไขกำหนดให้บริษัทต้องมีเงินทุนใน อุตสาหกรรมประมงแบบผสมผสานเป็นจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดมีรายงานว่าปลายเดือนสิงหาคมนี้จะมีคณะผู้แทนส่งเสริมการลงทุนอินโดนีเซีย เดินทางมาเยือนไทย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ และการส่งเสริมการลงทุนอินโดนีเซีย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทางด้านการประมงของอินโดนีเซียที่เรียกร้องให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการทำประมงอยู่ในขณะนี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 30-31 ก.ค. , 1-10 ส.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,919.85 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 951.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 968.58 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.96 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.97 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 201.50 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.53 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.08 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.79 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.73 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.60 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.91 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21-25 ส.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21-27 สิงหาคม 2549
-พห-
การผลิต
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องในน่านน้ำอินโดนีเซีย
แหล่งข่าวจากกรมประมงเปิดเผยถึงการประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านการประมงไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 8 - 9 สิงหาคมที่ผ่านมาที่บาหลีว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุม ครั้งสำคัญก่อนที่การต่ออายุสัมปทานการทำประมงของเรือประมงไทยจะหมดอายุลงในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยฝ่ายอินโดนีเซียได้ประกาศอย่างชัดเจนออกมาว่าจะไม่มีการต่ออายุสัมปทานในช่วงการปรับตัวตามที่ไทยร้องขอมาอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ การประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือฯ จะมีนายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ส่วนฝ่ายอินโดนีเซียมี Prof.Dr.Martani Huseini อธิบดีกรมการแปรรูปและการตลาดผลิตภัณฑ์ประมง เป็นหัวหน้า โดย Prof.Huseini ได้แจ้งให้กับฝ่ายไทยทราบว่า รัฐบาล อินโดนีเซียมีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะส่งเสริม “การร่วมลงทุน” ทางการประมง ระหว่าง นักธุรกิจอินโดนีเซีย กับ นักธุรกิจ ต่างชาติ พร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงแบบผสมผสาน เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ การสร้างงานให้กับชาวอินโดนีเซีย และการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศจากทรัพยากรทางทะเล
อย่างไรก็ตาม วันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงอินโดนีเซียได้ออกประกาศกระทรวงฉบับใหม่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาการประมงของอินโดนีเซียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจประมงของชาวต่างชาติ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียมุ่งเน้นให้เป็นการทำธุรกิจแบบการลงทุนร่วมกับ ต่างประเทศ กับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการประมงของนักธุรกิจอินโดนีเซีย แต่ต้องเสนอโครงการให้กรมประมง อินโดนีเซีย เป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆ ไป ประกาศฉบับดังกล่าวถูกเขียนออกมาเป็นภาษาอินโดนีเซีย เรายังไม่ได้รับฉบับจริงอย่างเป็นทางการ มีเพียงเรือประมงไทยที่เข้าไปจับปลาในอินโดนีเซียนำออกมาแปลเป็นภาษาไทย อาจจะมีการแปลสาระผิดหรือถูกไปบ้าง ก็คือ ฝ่ายอินโดนีเซียต้องการให้เรือประมงไทยเข้าไปทำธุรกิจต่อเนื่องกับการประมง ส่วนการจับปลาจะต้องทำในรูปของการลงทุนร่วมกันเท่านั้น โดยสัตว์น้ำที่จับได้จะต้องนำขึ้นที่ท่าเรืออินโดนีเซียทั้งหมด เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประมงไม่มีการนำกลับไทยอีก แต่ใช่ว่า ประกาศกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมง จะบังคับให้นักธุรกิจต่างชาติจะต้องทำธุรกิจประมงแบบการลงทุนร่วมไปเสียทั้งหมด เนื่องจากทางอินโดนีเซียกำลังดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์สำหรับนักธุรกิจอินโดนีเซียสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติเข้ามาทำการประมงได้ โดยอาจจะมีเงื่อนไขกำหนดให้บริษัทต้องมีเงินทุนใน อุตสาหกรรมประมงแบบผสมผสานเป็นจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดมีรายงานว่าปลายเดือนสิงหาคมนี้จะมีคณะผู้แทนส่งเสริมการลงทุนอินโดนีเซีย เดินทางมาเยือนไทย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ และการส่งเสริมการลงทุนอินโดนีเซีย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทางด้านการประมงของอินโดนีเซียที่เรียกร้องให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการทำประมงอยู่ในขณะนี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 30-31 ก.ค. , 1-10 ส.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,919.85 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 951.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 968.58 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.96 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.97 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 201.50 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.53 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.08 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.79 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.73 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.60 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.91 บาท ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ของสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21-25 ส.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21-27 สิงหาคม 2549
-พห-