วันนี้ (3 ก.ย.49) เวลา 14.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ แถลงข่าวร่วมกันในกรณีตอบโต้พรรคไทยรักไทยที่ออกมาเกทับว่านโยบายรถไฟฟ้า 10 สายเก็บค่าโดยสารถูกกว่าและลงทุนถูกกว่าทำให้ประชาชนสับสนเมื่อวานนี้ (2 ก.ย.49)
นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าขอลำดับที่มาของนโยบายรถไฟฟ้าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มาโครงการรถไฟฟ้าของพรรคไทยรักไทยพร้อมกันเพื่อความชัดเจนวันนี้ โดยเรียนว่านโยบายรถไฟฟ้าเริ่มเป็นนโยบายของทางพรรคการเมือง ตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน 1 ปี 2537 คณะรัฐมนตรียุคนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีการสรุปแผนแม่บทเรื่องรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งมอบให้ สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) ที่ปัจจุบันแปลงเป็น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นผู้ดำเนินการในแง่ของการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
นายกรณ์เปิดเผยที่มาที่ไปเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าว่า สืบเนื่องจากตรงนั้นคือปี 38 จากรายงานของ สจร.ในปี 2537 ได้มีการอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายหัวลำโพงสู่บางซื่อก็คือสายสีน้ำเงินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้ใต้ดินสายปัจจุบันที่มีอยู่เป็นโครงการที่ได้มีการริเริ่มโดยรัฐบาลชวน 1 ในปี 2537 ผ่านช่วงหลายรัฐบาลก่อนที่จะมีการเปิดบริการให้กับประชาชนในปี 2547 นอกนั้นในปี 2541 หลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านไป หลังจากที่รัฐบาลโดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์กลับเข้ามาหรือที่รู้จักกันว่าชวน 2 ได้มีการยกแผนการศึกษาที่เคยทำในสมัยชวน 1 ขึ้นมาทบทวน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปจากวิกฤตเศษฐกิจในปี 2539 -2540
“รัฐบาลชวน 2 ได้งบประมาณไปติดต่อกับทางเจบิค สถาบันทางการเมืองของทางญี่ปุ่นที่จะเป็นแหล่งทุนสำคัญของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไทยรักไทยหรือประชาธิปัตย์ก็ตามในการที่จะลงทุน รัฐบาลชวน 2 ติดต่อเจบิคเพื่อของบประมาณมาจัดทำศึกษาทบทวนแผนแม่บทปี 37 ก็ได้มาตรงนี้ เพราะฉะนั้นที่เรียกว่า เออร์แม็กซ์ไฟนอล แพลน ริเริ่มการศึกษาเรื่องนี้ด้วยงบประมาณเจบิคและ เออร์แม็กซ์ก็คือที่มาของรถไฟฟ้าทุกสายที่พรรคประชาธิปัตย์พรรคไทยรักไทยได้นำมาเสนอต่อสาธารณชน” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์ เปิดเผยต่อไปว่า ฉะนั้นที่มาของรถไฟฟ้าทุกสายที่ทุกพรรคพูดถึงมาจากกฎการศึกษาที่ริเริ่มโดยรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์โดยการนำของนายชวน ตรงนี้เพื่อความกระจ่างว่าที่มาของรถไฟฟ้าที่พูดถึง 7 สาย 10 สาย 3 สายก็ตามทั้งหมดมาจากการศึกษาที่ได้ทุนจากการเจบิคและริเริ่มโดยรัฐบาลประชาธิปัตย์
“เมื่อวานนี้พรรคไทยรักไทยโดยเฉพาะนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคดูแลเรื่องคมนาคม ได้พูดถึงค่าโดยสารภายใต้ที่ไทยรักไทยนำเสนอและมีการพาดพิงถึงค่าโดยสารที่คงจะเป็นภายใต้นโยบายประชาธิปัตย์ได้นำเสนอ ผมก็จะขอเรียนว่านโยบายพรรคไทยรักไทยนั้นมีความสับสนมาตั้งแต่แรกมาทุกวันนี้ก็ยังสับสนอยู่ เดิมที่พูดถึง 10 สายช่วงหาเสียงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 48 พอเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ลดลงมาเหลือ 7 สาย ล่าสุด 2 อาทิตย์ที่แล้วก็พูดถึง 3 สาย แต่เมื่อวานกลับมาพูด 10 สายอีกแล้ว” รองเลขาธิการพรรคกล่าว
นายกรณ์ฝากคำถามถึงพรรคไทยรักไทยว่า สุดท้ายแล้วจะทำกี่เส้นทางกันแน่ จะเริ่มทำเมื่อไร จะแล้วเสร็จเมื่อไร งบ 570,000 ล้านบาทที่พูดถึงนั้นเงินจะใช้เมื่อไรอย่างไร ตรงนี้ผมจะนำเสนอในแง่ของที่มาของรายได้และรายจ่ายตามคำแถลงของพรรคไทยรักไทยเมื่อวานนี้ ตรงนี้มีสมมติฐานว่าเมื่อเสร็จแล้วเส้นทางมีผู้โดยสาร 3,500,000 คน พรรคไทยรักไทยจะเก็บ 15 บาทต่อคน แต่รายได้ที่จะได้รวมคือ 90 ล้านบาทเท่ากับราวๆ 33,000 ล้านบาทต่อปี แต่ว่าคำนวณดูง่ายๆแล้ว 15 คูณ 350,000 เที่ยว ไม่ได้ออกมาเป็น 90 ล้านบาท ออกมาแค่ 52 ล้านบาท ตนเลยบอกว่าสับสนเรื่องรายได้ ไม่แน่ใจว่านายสุริยะคำนวณยังไงให้ 2 ตัวนี้ออกมา 90 ล้านบาทได้
“ตามสมมติฐานไทยรักไทยเอง พรรคประชาธิปัตย์ก็คำนวณว่ารายได้ในระบบของไทยรักไทยจะออกมาที่ราวๆ 20,000 ล้านบาทต่อปี ไม่ใช่ 33,000 ล้านบาท มาดูในแง่ของรายจ่ายทางไทยรักไทยระบุว่าคิดจากฐานคือวิ่งรถไฟฟ้าทุกวันนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายวันละเท่าไร โดยอ้างอิงกับระบบของรถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบัน วันนี้มีค่าใช้จ่ายอยู่ 200,000 บาทต่อกิโลเส้นทาง รถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบันมี 20 กิโล เท่ากับ 4,000,000 ล้านต่อวัน 10 เส้นทางไทยรักไทยรวมแล้วเท่ากับ 333 กิโล ผมคูณง่ายๆ เท่ากับ 66 ล้านบาทต่อวัน หรือ 24,000 ล้านบาทต่อปี แต่เมื่อวานนายสุริยะอ้างว่ารถไฟฟ้าของไทยรักไทยจะมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 15,000 ล้านบาท” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์กล่าวต่อไปว่า ตนไม่แน่ใจว่า ตัวเลข 15,000 ล้านบาทนั้นมาจากไหน เพราะคิดยังไงก็คิดออกมาไม่ได้ ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อไทยรักไทยบอกว่าจะมีรายได้ 33,000 ล้านบาท แต่จะมีค่าใช้จ่าย 15,000 ล้านบาท เหมือนกำลังบอกประชาชนว่า รถไฟฟ้าของไทยรักไทยจะมีกำไรเกือบ 18,000 ล้านบาทด้วยค่าโดยสารเพียง คนละ 15 บาท แต่ตรงนี้เปรียบเทียบดูแล้วมันไม่เป็นความจริง ถ้าคิด 15 บาทจริงและตามรายได้ตามค่าใช้จ่ายเท่านี้ชัดเจนว่าระบบรถไฟฟ้าจะมีการขาดทุนปีละ 5,000 ล้านบาทซึ่งยังไม่นับค่าเสื่อมในส่วนของ 570,000 ล้านบาทที่พรรคประชาธิปัตย์จะลงทุนทำอุโมงค์ ทำตอม่อ วางราง
“ถ้าบวกตรงนี้เข้าไปด้วยแทนที่จะขาดทุนคนละ 4 บาทต่อเที่ยวอัตราการขาดทุนคำนวณคร่าวๆประมาณ 8 บาท ทุกครั้งที่มีการใช้รถไฟฟ้ารัฐจะขาดทุน 8 บาท ผมถามว่า นี่เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ก็แล้วแต่รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดในอนาคตว่าอยากให้ค่าโดยสารเป็นเท่าไร ไม่อยากที่จะมาเถียงประเด็นนี้ในวันนี้ พรรคเพียงจะบอกว่ารัฐบาลควรพูดความจริงว่า ถ้าจะเก็บค่าโดยสารเท่านี้จริงรัฐบาลจะต้องหางบประมาณมาราวๆปีละ 10,000 ล้านบาทในการที่จะใช้อัตราค่าโดยสารเท่านี้ด้วยเงินภาษีของประชาชนคนทั่วประเทศที่จะต้องตัดสินใจว่ามีความเหมาะสมแค่ไหนที่จะเอามาสนับสนุนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของคนทั้งกรุงเทพฯ” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตนอยากจะชี้ให้เห็นว่าที่มาของตัวเลขนายสุริยะ ควรพูดได้อย่างสุภาพว่า สับสนมากและถ้าจะคิดจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาท รัฐต้องใช้เงินภาษีเข้าไปอุดหนุนโครงการอย่างน้อยปีละราวๆ 10,000 ล้านบาทซึ่งตรงนี้ก็ควรจะเป็นการตัดสินใจของรัฐบาลในอนาคตว่ามีความเหมาะสมมากแค่ไหนอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็อยากที่จะเรียนว่าประเด็นที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่มาแข่งมาทะเลาะกันว่า ใครเป็นคนคิดก่อน ใครเป็นคนเลียนแบบก่อนและตนคิดว่าไม่ใช่จังหวะเวลาที่เหมาะสมที่จะมาพูดว่าค่าโดยสารต้องเป็นกี่บาทเพราะว่าก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จตั้ง 3 ปี กว่าจะเสร็จทั้งหมดทั้งโครงการของพรรคประชาธิปัตย์ก็ใช้เวลาประมาณ 5 ปี
“ไม่ควรที่จะมาหาเสียงกันตื้นๆ ด้วยการเสนอราคา ถ้าพรรคไทยรักไทยมีความจริงใจที่จะกำหนดราคา 15 บาท มีคำถามง่ายๆที่ประชาชนควรถามกลับพรรคไทยรักไทยว่า ทุกวันนี้มีอยู่แค่ 2 สาย ทำไมไม่ทำให้เป็น 15 บาทตรงนี้ก็คงหาคำตอบยากแล้ว ฉะนั้นไม่ควรที่จะมาเป็นประเด็นที่จะมาถกเถียงกันในวันนี้ สิ่งที่ประชาชนต้องการที่จะทราบก็คือ ไม่ว่าพรรคใดก็แล้วแต่จะเริ่มสร้าง เมื่อไรที่ประชาชนจะมีโอกาสได้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกสบายและรวดเร็ว ครอบคลุมทุกพื้นที่ประชาชนต้องการจะไป” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องรถไฟฟ้า ที่บอกว่าจะทำ 10 สาย หลังจากที่พรรค ปชป.ได้นำเสนอ รถไฟฟ้า ปชป. ไปแล้วที่เห็นชัดเจนว่าเป็นการนำเสนอ ที่พยายามที่ช่วงชิง คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้นำเสนอในแง่ที่เป็นวาระประชาชนเกี่ยวกับรถไฟฟ้า แล้วก็มีรายละเอียดชัดเจน
นอกจากนี้นายองอาจยังชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมในการนำเสนอนโยบายของพรรค ทรท.เป็นลักษณะยึกยัก ชักเข้าชักออก แล้วหลอกชาวบ้านตอนเลือกตั้ง ว่าจะทำ 10 สาย แล้วเหลือ 7 สาย และ 3 สายตามลำดับ มาคราวนี้เราจึงไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ อย่างไร หรือจะเวียนมาหลอกชาวบ้านช่วงเลือกตั้ง เพราะหลังการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลแล้วก็มาเปลี่ยนแปลงใหม่ ครั้งเมื่อปี 48
นายองอาจเสริมอีกว่าวันนี้ไม่มีใครลอกนโยบายเรื่องรถไฟฟ้า ชัดเจนว่าทุกคนต้องทำตามแผนแม่บท ของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ซึ่งริเริ่มมาจากรัฐบาลชวน 1 ต่อเนื่องมาชวน 2 ก็มีนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล หลังจากนี้ไปก็ต้องดำเนินตามนี้ เรื่องการศึกษาเส้นทาง เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกัน กับระบบขนส่งกรุงเทพฯ สิ่งที่แตกต่างทางการก็คือการบริหารและการจัดการ ซึ่งผมคิดว่าการยึกยักรถไฟฟ้า 10 เดียว 7 สายและ 3 สายชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเป็นการบริหารการจัดการที่ล้มเหลว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--
นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าขอลำดับที่มาของนโยบายรถไฟฟ้าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มาโครงการรถไฟฟ้าของพรรคไทยรักไทยพร้อมกันเพื่อความชัดเจนวันนี้ โดยเรียนว่านโยบายรถไฟฟ้าเริ่มเป็นนโยบายของทางพรรคการเมือง ตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน 1 ปี 2537 คณะรัฐมนตรียุคนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีการสรุปแผนแม่บทเรื่องรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งมอบให้ สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) ที่ปัจจุบันแปลงเป็น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นผู้ดำเนินการในแง่ของการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
นายกรณ์เปิดเผยที่มาที่ไปเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าว่า สืบเนื่องจากตรงนั้นคือปี 38 จากรายงานของ สจร.ในปี 2537 ได้มีการอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายหัวลำโพงสู่บางซื่อก็คือสายสีน้ำเงินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้ใต้ดินสายปัจจุบันที่มีอยู่เป็นโครงการที่ได้มีการริเริ่มโดยรัฐบาลชวน 1 ในปี 2537 ผ่านช่วงหลายรัฐบาลก่อนที่จะมีการเปิดบริการให้กับประชาชนในปี 2547 นอกนั้นในปี 2541 หลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านไป หลังจากที่รัฐบาลโดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์กลับเข้ามาหรือที่รู้จักกันว่าชวน 2 ได้มีการยกแผนการศึกษาที่เคยทำในสมัยชวน 1 ขึ้นมาทบทวน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปจากวิกฤตเศษฐกิจในปี 2539 -2540
“รัฐบาลชวน 2 ได้งบประมาณไปติดต่อกับทางเจบิค สถาบันทางการเมืองของทางญี่ปุ่นที่จะเป็นแหล่งทุนสำคัญของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไทยรักไทยหรือประชาธิปัตย์ก็ตามในการที่จะลงทุน รัฐบาลชวน 2 ติดต่อเจบิคเพื่อของบประมาณมาจัดทำศึกษาทบทวนแผนแม่บทปี 37 ก็ได้มาตรงนี้ เพราะฉะนั้นที่เรียกว่า เออร์แม็กซ์ไฟนอล แพลน ริเริ่มการศึกษาเรื่องนี้ด้วยงบประมาณเจบิคและ เออร์แม็กซ์ก็คือที่มาของรถไฟฟ้าทุกสายที่พรรคประชาธิปัตย์พรรคไทยรักไทยได้นำมาเสนอต่อสาธารณชน” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์ เปิดเผยต่อไปว่า ฉะนั้นที่มาของรถไฟฟ้าทุกสายที่ทุกพรรคพูดถึงมาจากกฎการศึกษาที่ริเริ่มโดยรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์โดยการนำของนายชวน ตรงนี้เพื่อความกระจ่างว่าที่มาของรถไฟฟ้าที่พูดถึง 7 สาย 10 สาย 3 สายก็ตามทั้งหมดมาจากการศึกษาที่ได้ทุนจากการเจบิคและริเริ่มโดยรัฐบาลประชาธิปัตย์
“เมื่อวานนี้พรรคไทยรักไทยโดยเฉพาะนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคดูแลเรื่องคมนาคม ได้พูดถึงค่าโดยสารภายใต้ที่ไทยรักไทยนำเสนอและมีการพาดพิงถึงค่าโดยสารที่คงจะเป็นภายใต้นโยบายประชาธิปัตย์ได้นำเสนอ ผมก็จะขอเรียนว่านโยบายพรรคไทยรักไทยนั้นมีความสับสนมาตั้งแต่แรกมาทุกวันนี้ก็ยังสับสนอยู่ เดิมที่พูดถึง 10 สายช่วงหาเสียงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 48 พอเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ลดลงมาเหลือ 7 สาย ล่าสุด 2 อาทิตย์ที่แล้วก็พูดถึง 3 สาย แต่เมื่อวานกลับมาพูด 10 สายอีกแล้ว” รองเลขาธิการพรรคกล่าว
นายกรณ์ฝากคำถามถึงพรรคไทยรักไทยว่า สุดท้ายแล้วจะทำกี่เส้นทางกันแน่ จะเริ่มทำเมื่อไร จะแล้วเสร็จเมื่อไร งบ 570,000 ล้านบาทที่พูดถึงนั้นเงินจะใช้เมื่อไรอย่างไร ตรงนี้ผมจะนำเสนอในแง่ของที่มาของรายได้และรายจ่ายตามคำแถลงของพรรคไทยรักไทยเมื่อวานนี้ ตรงนี้มีสมมติฐานว่าเมื่อเสร็จแล้วเส้นทางมีผู้โดยสาร 3,500,000 คน พรรคไทยรักไทยจะเก็บ 15 บาทต่อคน แต่รายได้ที่จะได้รวมคือ 90 ล้านบาทเท่ากับราวๆ 33,000 ล้านบาทต่อปี แต่ว่าคำนวณดูง่ายๆแล้ว 15 คูณ 350,000 เที่ยว ไม่ได้ออกมาเป็น 90 ล้านบาท ออกมาแค่ 52 ล้านบาท ตนเลยบอกว่าสับสนเรื่องรายได้ ไม่แน่ใจว่านายสุริยะคำนวณยังไงให้ 2 ตัวนี้ออกมา 90 ล้านบาทได้
“ตามสมมติฐานไทยรักไทยเอง พรรคประชาธิปัตย์ก็คำนวณว่ารายได้ในระบบของไทยรักไทยจะออกมาที่ราวๆ 20,000 ล้านบาทต่อปี ไม่ใช่ 33,000 ล้านบาท มาดูในแง่ของรายจ่ายทางไทยรักไทยระบุว่าคิดจากฐานคือวิ่งรถไฟฟ้าทุกวันนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายวันละเท่าไร โดยอ้างอิงกับระบบของรถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบัน วันนี้มีค่าใช้จ่ายอยู่ 200,000 บาทต่อกิโลเส้นทาง รถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบันมี 20 กิโล เท่ากับ 4,000,000 ล้านต่อวัน 10 เส้นทางไทยรักไทยรวมแล้วเท่ากับ 333 กิโล ผมคูณง่ายๆ เท่ากับ 66 ล้านบาทต่อวัน หรือ 24,000 ล้านบาทต่อปี แต่เมื่อวานนายสุริยะอ้างว่ารถไฟฟ้าของไทยรักไทยจะมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 15,000 ล้านบาท” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์กล่าวต่อไปว่า ตนไม่แน่ใจว่า ตัวเลข 15,000 ล้านบาทนั้นมาจากไหน เพราะคิดยังไงก็คิดออกมาไม่ได้ ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อไทยรักไทยบอกว่าจะมีรายได้ 33,000 ล้านบาท แต่จะมีค่าใช้จ่าย 15,000 ล้านบาท เหมือนกำลังบอกประชาชนว่า รถไฟฟ้าของไทยรักไทยจะมีกำไรเกือบ 18,000 ล้านบาทด้วยค่าโดยสารเพียง คนละ 15 บาท แต่ตรงนี้เปรียบเทียบดูแล้วมันไม่เป็นความจริง ถ้าคิด 15 บาทจริงและตามรายได้ตามค่าใช้จ่ายเท่านี้ชัดเจนว่าระบบรถไฟฟ้าจะมีการขาดทุนปีละ 5,000 ล้านบาทซึ่งยังไม่นับค่าเสื่อมในส่วนของ 570,000 ล้านบาทที่พรรคประชาธิปัตย์จะลงทุนทำอุโมงค์ ทำตอม่อ วางราง
“ถ้าบวกตรงนี้เข้าไปด้วยแทนที่จะขาดทุนคนละ 4 บาทต่อเที่ยวอัตราการขาดทุนคำนวณคร่าวๆประมาณ 8 บาท ทุกครั้งที่มีการใช้รถไฟฟ้ารัฐจะขาดทุน 8 บาท ผมถามว่า นี่เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ก็แล้วแต่รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดในอนาคตว่าอยากให้ค่าโดยสารเป็นเท่าไร ไม่อยากที่จะมาเถียงประเด็นนี้ในวันนี้ พรรคเพียงจะบอกว่ารัฐบาลควรพูดความจริงว่า ถ้าจะเก็บค่าโดยสารเท่านี้จริงรัฐบาลจะต้องหางบประมาณมาราวๆปีละ 10,000 ล้านบาทในการที่จะใช้อัตราค่าโดยสารเท่านี้ด้วยเงินภาษีของประชาชนคนทั่วประเทศที่จะต้องตัดสินใจว่ามีความเหมาะสมแค่ไหนที่จะเอามาสนับสนุนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของคนทั้งกรุงเทพฯ” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตนอยากจะชี้ให้เห็นว่าที่มาของตัวเลขนายสุริยะ ควรพูดได้อย่างสุภาพว่า สับสนมากและถ้าจะคิดจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาท รัฐต้องใช้เงินภาษีเข้าไปอุดหนุนโครงการอย่างน้อยปีละราวๆ 10,000 ล้านบาทซึ่งตรงนี้ก็ควรจะเป็นการตัดสินใจของรัฐบาลในอนาคตว่ามีความเหมาะสมมากแค่ไหนอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็อยากที่จะเรียนว่าประเด็นที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่มาแข่งมาทะเลาะกันว่า ใครเป็นคนคิดก่อน ใครเป็นคนเลียนแบบก่อนและตนคิดว่าไม่ใช่จังหวะเวลาที่เหมาะสมที่จะมาพูดว่าค่าโดยสารต้องเป็นกี่บาทเพราะว่าก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จตั้ง 3 ปี กว่าจะเสร็จทั้งหมดทั้งโครงการของพรรคประชาธิปัตย์ก็ใช้เวลาประมาณ 5 ปี
“ไม่ควรที่จะมาหาเสียงกันตื้นๆ ด้วยการเสนอราคา ถ้าพรรคไทยรักไทยมีความจริงใจที่จะกำหนดราคา 15 บาท มีคำถามง่ายๆที่ประชาชนควรถามกลับพรรคไทยรักไทยว่า ทุกวันนี้มีอยู่แค่ 2 สาย ทำไมไม่ทำให้เป็น 15 บาทตรงนี้ก็คงหาคำตอบยากแล้ว ฉะนั้นไม่ควรที่จะมาเป็นประเด็นที่จะมาถกเถียงกันในวันนี้ สิ่งที่ประชาชนต้องการที่จะทราบก็คือ ไม่ว่าพรรคใดก็แล้วแต่จะเริ่มสร้าง เมื่อไรที่ประชาชนจะมีโอกาสได้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกสบายและรวดเร็ว ครอบคลุมทุกพื้นที่ประชาชนต้องการจะไป” รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องรถไฟฟ้า ที่บอกว่าจะทำ 10 สาย หลังจากที่พรรค ปชป.ได้นำเสนอ รถไฟฟ้า ปชป. ไปแล้วที่เห็นชัดเจนว่าเป็นการนำเสนอ ที่พยายามที่ช่วงชิง คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้นำเสนอในแง่ที่เป็นวาระประชาชนเกี่ยวกับรถไฟฟ้า แล้วก็มีรายละเอียดชัดเจน
นอกจากนี้นายองอาจยังชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมในการนำเสนอนโยบายของพรรค ทรท.เป็นลักษณะยึกยัก ชักเข้าชักออก แล้วหลอกชาวบ้านตอนเลือกตั้ง ว่าจะทำ 10 สาย แล้วเหลือ 7 สาย และ 3 สายตามลำดับ มาคราวนี้เราจึงไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ อย่างไร หรือจะเวียนมาหลอกชาวบ้านช่วงเลือกตั้ง เพราะหลังการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลแล้วก็มาเปลี่ยนแปลงใหม่ ครั้งเมื่อปี 48
นายองอาจเสริมอีกว่าวันนี้ไม่มีใครลอกนโยบายเรื่องรถไฟฟ้า ชัดเจนว่าทุกคนต้องทำตามแผนแม่บท ของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ซึ่งริเริ่มมาจากรัฐบาลชวน 1 ต่อเนื่องมาชวน 2 ก็มีนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล หลังจากนี้ไปก็ต้องดำเนินตามนี้ เรื่องการศึกษาเส้นทาง เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกัน กับระบบขนส่งกรุงเทพฯ สิ่งที่แตกต่างทางการก็คือการบริหารและการจัดการ ซึ่งผมคิดว่าการยึกยักรถไฟฟ้า 10 เดียว 7 สายและ 3 สายชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเป็นการบริหารการจัดการที่ล้มเหลว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--