1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นเนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามฤดูกาล
มูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า นำโดยกลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ทั้งเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ และคอมเพรสเซอร์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนและจากการที่สินค้าไทยขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.39 จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC และอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3.01 แสน ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อนำมาผลิต
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่าย 58.63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.91 ตามการขยายตัวของสินค้าในกลุ่ม consumer electronics ของโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 เนื่องจากได้แรงหนุนของสินค้าในกลุ่มครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ตามดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น พัดลม หม้อหุงข้าว และกระติกน้ำร้อน ร้อยละ 39.30 16.12 และ 10.21 ตามลำดับเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่เข้ามาแย่งตลาดของสินค้าไทยมากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.27 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตมีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น และสินค้าที่มีเทคโนโนยีสูง เช่น จอภาพ LCD และกล้องถ่ายรูปดิจิทัล เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจอภาพ LCD ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.29 ซึ่งดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ของประเทศญี่ปุ่น
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการลดลงจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
ภาวะการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นยังคงทรงตัวโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.47 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 2.28 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ในภาพรวมแล้วยังขยายตัวได้ดี โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบและสินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 42,424.0 ล้านบาท และ 34,200.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.0 และ 25.0 ของการส่งออกสินค้าไฟฟ้าทั้งหมด โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ
การส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.6 และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 14.9 เช่น เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 24,793.97 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 ) ตู้เย็น 7,190.41 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.01) เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนและตลาดส่งออกหลักๆในปัจจุบันยังมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบของไทย ได้แก่ สเปน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังได้คำสั่งซื้อจากตลาดใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น ตู้เย็น ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศคิวบาเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีบริษัทขนาดใหญ่บางรายสามารถประมูลงานโครงการของรัฐบาลได้ เป็นต้น
ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆของไทยส่วนใหญ่ยังมีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เครื่องซักผ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.87 เครื่องวีดีโอ VCD และ DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.83 เครื่องซักผ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็นต้น ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์ มีการส่งออกลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.26 เนื่องจากตลาดหลักของไทย เช่น ตลาดญี่ปุ่นมีการนำเข้าลดลงมากเนื่องจากตลาดญี่ปุ่นหันมานิยมเครื่องรับโทรทัศน์ประเภทจอ LCD และ Plasma มากขึ้น อย่างไรก็ตามเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยสามารถส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้นทดแทนได้ เช่น ตลาดอินเดีย เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกไตรมาส 1 ปี 2549 แสดงในตารางที่ 5
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มูลค่าทั้งสิ้น 1.06 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าปรับตัวสูงถึงร้อยละ 16.72 โยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต ซึ่งกลุ่มสินค้าหลักๆที่ไทยนำเข้าได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง และเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง โดยมีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.0 และ 17.0 ของสินค้านำเข้าทั้งหมดของไทยโดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2
สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ของไทยเป็นสินค้าประเภทส่วนประกอบเพื่อนำมาผลิตเป็นหลัก เช่น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ และ สายไฟฟ้าและชุดสายไฟ เป็นต้น โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทนไตรมาส 1 ปี 2549
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาล เพราะบริษัทได้เร่งผลิตสินค้าในช่วงปลายปี เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และทำยอดก่อนปิดบัญชี ทำให้ไตรมาสนี้มีการชะลอการผลิตลงจากเดิมเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.24 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC , Monolithic IC และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.64 22.92 และ 30.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกขยายตัว โดยสินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์ขยายตัวถึงร้อยละ 31 และ 13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็น Printer ลดลงมากถึงร้อยละ 48.88 เพราะ ตลาดมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีปริมาณการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทได้ดำเนินกลยุทธ์โดยการเพิ่ม Model ให้หลากหลายมากขึ้น รองลงมาคือหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) และหลอดภาพคอมพิวเตอร์ลดลงมากถึงร้อยละ 40.79 และ 36.90 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ราคาของจอประเภท LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง รวมถึงสินค้าจากจีนเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกของไทย
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 ชะลอลงเล็กน้อยโดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2.86 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะลดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาได้ส่งสินค้าเพื่อป้อนตลาดไปแล้ว ทั้งนี้สอดคล้องกับภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.44 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC , Monolithic IC และ HDD ร้อยละ 48.35 21.97 และ 31.22 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 1 ปี 2549 จากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่าชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 58.63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.91 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer Product) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตลาดส่งออก
จากสถิติการส่งออกซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่า 2.37 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ IC ลดลงร้อยละ 0.75 และ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสอดคล้องกับภาวการณ์ผลิตและภาวะตลาดโลกที่ไตรมาสนี้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย
สำหรับการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.39โดยสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัว คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรรวม ไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.59 และ43.48 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม วงจรพิมพ์ (PCB) มีการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 30.90 ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ จึงมีการผลิตลดลงจากปีก่อน และผู้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ในประเทศบางส่วนเริ่มมีการจำหน่ายต่อให้กับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศมากขึ้น(รายละเอียดแสดงในตารางที่ 10)
โดยสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ตามลำดับ
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 พบว่ามีมูลค่ารวม 194,918.33 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 0.52 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 11)
สำหรับการนำเข้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.25 ซึ่งสินค้าสำคัญทุกประเภทมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการนำเข้ามาก คือ แผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.49 ซึ่งมีการนำเข้าจากมาเลเซียและญี่ปุ่นมากขึ้นถึงร้อยละ 45.55 และ 96.42 ตามลำดับ รองลงมาคือ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.76 โดยเป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.07 และ 64.73 ตามลำดับ
โดยสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามาก ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ Mobile Phone วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2549
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในไตรมาสที่ 2 ต้องเผชิญกับปัจจัยลบหลายอย่างทั้งจาก ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศทำให้เกิดการชะลอการซื้อสินค้าใหม่ลง นอกจากนี้จากตัวเลขของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ที่ขยายตัวลดลงคาดว่าความต้องการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในประเทศโดยรวมจะขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 2 นี้ การจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะยังคงได้แรงหนุนจากสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม และตู้เย็น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูร้อนของไทย รวมไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์ที่จะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายจะมีจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายอย่างมากในช่วงนี้ จึงทำให้การจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ในระดับร้อยละ 3-5 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 เนื่องจากสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นในตลาดใหม่ๆ เช่น เอเชียใต้ อเมริกาใต้ เป็นต้น
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่มีการชะลอในช่วงไตรมาสที่ 1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างมาก ตามการขยายตัวของสินค้า Consumer electronic ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการออกผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงกระตุ้นตลาดให้มีเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามมีสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลังที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของการบริโภคในตลาด และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นเนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามฤดูกาล
มูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า นำโดยกลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น ทั้งเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ และคอมเพรสเซอร์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนและจากการที่สินค้าไทยขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.39 จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC และอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3.01 แสน ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อนำมาผลิต
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่าย 58.63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.91 ตามการขยายตัวของสินค้าในกลุ่ม consumer electronics ของโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 เนื่องจากได้แรงหนุนของสินค้าในกลุ่มครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ตามดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น พัดลม หม้อหุงข้าว และกระติกน้ำร้อน ร้อยละ 39.30 16.12 และ 10.21 ตามลำดับเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่เข้ามาแย่งตลาดของสินค้าไทยมากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.27 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตมีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น และสินค้าที่มีเทคโนโนยีสูง เช่น จอภาพ LCD และกล้องถ่ายรูปดิจิทัล เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจอภาพ LCD ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.29 ซึ่งดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ของประเทศญี่ปุ่น
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการลดลงจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
ภาวะการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นยังคงทรงตัวโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.47 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 2.28 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ในภาพรวมแล้วยังขยายตัวได้ดี โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.38 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบและสินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 42,424.0 ล้านบาท และ 34,200.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.0 และ 25.0 ของการส่งออกสินค้าไฟฟ้าทั้งหมด โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ
การส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.6 และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 14.9 เช่น เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 24,793.97 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 ) ตู้เย็น 7,190.41 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.01) เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนและตลาดส่งออกหลักๆในปัจจุบันยังมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบของไทย ได้แก่ สเปน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังได้คำสั่งซื้อจากตลาดใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น ตู้เย็น ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศคิวบาเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีบริษัทขนาดใหญ่บางรายสามารถประมูลงานโครงการของรัฐบาลได้ เป็นต้น
ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆของไทยส่วนใหญ่ยังมีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เครื่องซักผ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.87 เครื่องวีดีโอ VCD และ DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.83 เครื่องซักผ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็นต้น ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์ มีการส่งออกลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.26 เนื่องจากตลาดหลักของไทย เช่น ตลาดญี่ปุ่นมีการนำเข้าลดลงมากเนื่องจากตลาดญี่ปุ่นหันมานิยมเครื่องรับโทรทัศน์ประเภทจอ LCD และ Plasma มากขึ้น อย่างไรก็ตามเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยสามารถส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้นทดแทนได้ เช่น ตลาดอินเดีย เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกไตรมาส 1 ปี 2549 แสดงในตารางที่ 5
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มูลค่าทั้งสิ้น 1.06 แสนล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าปรับตัวสูงถึงร้อยละ 16.72 โยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต ซึ่งกลุ่มสินค้าหลักๆที่ไทยนำเข้าได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง และเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง โดยมีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.0 และ 17.0 ของสินค้านำเข้าทั้งหมดของไทยโดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2
สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ของไทยเป็นสินค้าประเภทส่วนประกอบเพื่อนำมาผลิตเป็นหลัก เช่น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ และ สายไฟฟ้าและชุดสายไฟ เป็นต้น โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทนไตรมาส 1 ปี 2549
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาล เพราะบริษัทได้เร่งผลิตสินค้าในช่วงปลายปี เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และทำยอดก่อนปิดบัญชี ทำให้ไตรมาสนี้มีการชะลอการผลิตลงจากเดิมเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.24 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC , Monolithic IC และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.64 22.92 และ 30.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกขยายตัว โดยสินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์ขยายตัวถึงร้อยละ 31 และ 13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็น Printer ลดลงมากถึงร้อยละ 48.88 เพราะ ตลาดมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้มีปริมาณการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทได้ดำเนินกลยุทธ์โดยการเพิ่ม Model ให้หลากหลายมากขึ้น รองลงมาคือหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) และหลอดภาพคอมพิวเตอร์ลดลงมากถึงร้อยละ 40.79 และ 36.90 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ราคาของจอประเภท LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง รวมถึงสินค้าจากจีนเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกของไทย
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 ชะลอลงเล็กน้อยโดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2.86 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะลดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาได้ส่งสินค้าเพื่อป้อนตลาดไปแล้ว ทั้งนี้สอดคล้องกับภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.44 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC , Monolithic IC และ HDD ร้อยละ 48.35 21.97 และ 31.22 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 1 ปี 2549 จากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่าชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 58.63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.91 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer Product) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตลาดส่งออก
จากสถิติการส่งออกซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่า 2.37 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ IC ลดลงร้อยละ 0.75 และ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสอดคล้องกับภาวการณ์ผลิตและภาวะตลาดโลกที่ไตรมาสนี้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย
สำหรับการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.39โดยสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัว คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรรวม ไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.59 และ43.48 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม วงจรพิมพ์ (PCB) มีการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 30.90 ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ จึงมีการผลิตลดลงจากปีก่อน และผู้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ในประเทศบางส่วนเริ่มมีการจำหน่ายต่อให้กับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศมากขึ้น(รายละเอียดแสดงในตารางที่ 10)
โดยสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ตามลำดับ
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 พบว่ามีมูลค่ารวม 194,918.33 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 0.52 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 11)
สำหรับการนำเข้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.25 ซึ่งสินค้าสำคัญทุกประเภทมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการนำเข้ามาก คือ แผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.49 ซึ่งมีการนำเข้าจากมาเลเซียและญี่ปุ่นมากขึ้นถึงร้อยละ 45.55 และ 96.42 ตามลำดับ รองลงมาคือ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.76 โดยเป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.07 และ 64.73 ตามลำดับ
โดยสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามาก ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ Mobile Phone วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2549
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในไตรมาสที่ 2 ต้องเผชิญกับปัจจัยลบหลายอย่างทั้งจาก ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศทำให้เกิดการชะลอการซื้อสินค้าใหม่ลง นอกจากนี้จากตัวเลขของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ที่ขยายตัวลดลงคาดว่าความต้องการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในประเทศโดยรวมจะขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 2 นี้ การจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะยังคงได้แรงหนุนจากสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม และตู้เย็น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูร้อนของไทย รวมไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์ที่จะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายจะมีจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายอย่างมากในช่วงนี้ จึงทำให้การจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ในระดับร้อยละ 3-5 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 เนื่องจากสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นในตลาดใหม่ๆ เช่น เอเชียใต้ อเมริกาใต้ เป็นต้น
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่มีการชะลอในช่วงไตรมาสที่ 1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างมาก ตามการขยายตัวของสินค้า Consumer electronic ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการออกผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงกระตุ้นตลาดให้มีเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามมีสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลังที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของการบริโภคในตลาด และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-