ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยปี 50 ขยายตัว 4.5-5.5% ตามที่คาดการณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 50 ว่า ยังคงจะสามารถขยายตัวได้ดี โดยอยู่ในช่วงที่ ธปท.ประเมินไว้คือ 4.5-5.5% ถึงแม้การซื้อขายใน
ตลาดหุ้นจะแย่ลง แต่ก็เป็นผลที่เกิดขึ้นในตลาดรอง ไม่ได้มีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงแต่อย่างใด สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้ายังคงเป็น
การลงทุนภาคเอกชนตามที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนน่าจะปรับตัวดีขึ้นคือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
(เมกะโปรเจ็ก) สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในปีหน้าคือ ราคาน้ำมันที่อาจกลับมาสูงขึ้นอีก และภาวะตลาดโลกที่อาจจะชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
รวมถึงปัญหาในตลาดสหรัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและค่าเงินบาท ทั้งนี้ คาดว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเนื่องจากเชื่อว่า
จะยังมีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเช่นเดิม และหากเงินบาทแข็งค่าไล่เลี่ยกับสกุลอื่นๆ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ
ผู้ส่งออกไทย (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังชี้แจงการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวส่งผลต่อนักลงทุนต่างชาติทั้งในแง่บวกและลบ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กรณีความกังวลของนักลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจ
คนต่างด้าว พ.ศ.... ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เห็นร่างแก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจคน
ต่างด้าวที่ ก.พาณิชย์อยู่ระหว่างการแก้ไข คาดว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะเห็นรายละเอียดทั้งหมด สำหรับความกังวลของนักลงทุนต่างชาติมีทั้งจุดที่
พอใจและไม่พอใจ โดยจุดที่น่าพอใจคือ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนว่า บริษัทที่มีลักษณะใดเป็นบริษัทต่างชาติ และบริษัท
ลักษณะใดที่เป็นบริษัทนอมินี นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติยังพอใจประเด็นที่หลังแก้กฎหมายแล้ว รัฐบาลจะให้ระยะเวลากับบริษัทต่างชาติในการ
แก้ไขเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้อง สำหรับประเด็นที่มีความอ่อนไหวอยู่ คือ ประเด็นเกี่ยวกับรายชื่อประเภทธุรกิจในบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ซึ่งจะมีการ
กำหนดว่าธุรกิจประเภทใดสงวนไว้ให้คนไทยหรืออนุญาตให้คนต่างด้าวทำได้ โดยนักลงทุนต่างชาติต้องการให้รายชื่อประเภทธุรกิจในส่วนนี้มี
จำนวนน้อย ขณะที่นักธุรกิจไทยต้องการให้มีจำนวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาผ่อนผันมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอแนะให้ ธปท.ยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30%
ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังพิจารณาว่าควรจะผ่อนผันให้หรือไม่ โดยอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นหลังมี
มาตรการว่ามีการเปลี่ยแปลงไปอย่างไรและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่คาดว่าไม่น่าจะมีการดำเนินการใดๆ ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากค่าเงินบาท
เริ่มทรงตัว โดยเคลื่อนไหวที่ระดับ 36.30-36.40 บาท/ดอลลาร์ สรอ. รวมถึงตลาด พธบ.และตลาดหุ้นที่ดัชนีไม่แกว่งตัวนัก (กรุงเทพธุรกิจ,
ไทยโพสต์, มติชน)
4. คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.3% ในปี 49 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยตัวเลข
การขยายตัวของอุตสาหกรรมในปี 49 ว่าจะขยายตัวประมาณ 5.3% เนื่องจากมีความชัดเจนด้านการเมือง มีการใช้จ่ายจากการลงทุนภาครัฐ
และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ในปี 50 ไทยจะยังได้รับผลดีกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐ ใช้มาตรการการค้ากับจีนจนถึงปี 51
และหากไทยสามารถเจรจาเอฟทีเอกับญี่ปุ่นได้จะทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอดีขึ้น (โลกวันนี้)
5. ภาวะการค้าไทย-จีนภายใต้เอฟทีเอในช่วง 9 เดือนแรกปี 49 ขยายตัว 24% อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึง
ภาวะการค้าระหว่างไทยกับจีนภายใต้เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) 2549 ตามสถิติของกรม
ศุลกากรว่า มีมูลค่า 18,462 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกมีมูลค่า 8,342 ล.ดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้ามีมูลค่า 10,120 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าจีน 1,778 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่หากแยกเฉพาะสินค้าเกษตรพิกัด
01-08 (ผัก-ผลไม้) พบว่า ไทยเกินดุลการค้ากับจีนมูลค่า 591 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 ทั้งนี้ ผลจากการ
ทำเอฟทีเอช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การค้าไทยกับจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32% และแม้ไทยจะขาดดุลการค้ากับจีน แต่มีแนวโน้มขาดดุลในอัตรา
ที่ลดลง เนื่องจากไทยมีโอกาสส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อยภาษีเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 26 ธ.ค.49 ก. Internal Affairs and Communications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยรวม
ที่แท้จริงของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.3 แต่หากเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สำหรับการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเฉลี่ยในเดือน พ.ย.49 อยู่ที่จำนวน 282,860 เยน
(2,380 ดอลลาร์ สรอ.) ส่วนการใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับผู้มีเงินเดือนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 49 ทางการ
ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. อัตรการว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลงจากร้อยละ 4.1 เมื่อเดือนก่อนหน้า
และลดลงจากร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว โดยในเดือน พ.ย. มีจำนวนผู้ว่างงาน 2.59 ล้านคน ลดลงจาก 2.81 ล้านคนเมื่อเดือน
ต.ค. และลดลงจาก 2.92 ล้านคนในเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีหน้าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.5 รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.49 ศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร
ของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 เนื่องจากการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
สามารถชดเชยการชะลอตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และการค้าต่างประเทศได้ และคาดว่าค่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นอีกประมาณร้อยละ
3 — 4 ที่ผ่านมาทางการจีนได้มีมาตรการที่จะลดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและลดการใช้พลังงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะป้องกัน
ภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงมากเกินไป เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรโดยรวมในครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 31.3
สร้างความวิตกว่าเศรษฐกิจอาจจะขยายตัวอย่างร้อนแรง ทำให้ทางการจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพิ่มทุนสำรองทางการที่ธพ. และมีคำสั่งให้
ตรวจสอบโครงการลงทุนใหม่ๆ หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้คาดว่าอาจจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 ขณะ
ที่ภาวะเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. KDI ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 รายงานจากโซล เมื่อ 25 ธ.ค. 49
The Korea Development Institute (KDI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้ ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้
สำหรับปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากร้อยละ 4.3 ที่ประมาณการไว้เมื่อ 2 เดือนก่อนหน้า อันสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการไว้
ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังต่ำกว่าปี 49 ที่ทั้ง 2 สถาบันประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวที่
ระดับร้อยละ 5.0 นอกจากนี้ KDI ยังคาดการณ์ว่า การลงทุนในทรัพย์สินประเภททุนในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 7.6 และการบริโภคภาคเอกชน
จะขยายตัวร้อยละ 3.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.0 และ 3.8 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 17 ต.ค.49 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 50
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ใกล้เคียงกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ธ.ค. 49 25 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.42 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.1613/36.5608 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12563 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.32/5.07 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.97 58.51 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยปี 50 ขยายตัว 4.5-5.5% ตามที่คาดการณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 50 ว่า ยังคงจะสามารถขยายตัวได้ดี โดยอยู่ในช่วงที่ ธปท.ประเมินไว้คือ 4.5-5.5% ถึงแม้การซื้อขายใน
ตลาดหุ้นจะแย่ลง แต่ก็เป็นผลที่เกิดขึ้นในตลาดรอง ไม่ได้มีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงแต่อย่างใด สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้ายังคงเป็น
การลงทุนภาคเอกชนตามที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนน่าจะปรับตัวดีขึ้นคือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
(เมกะโปรเจ็ก) สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในปีหน้าคือ ราคาน้ำมันที่อาจกลับมาสูงขึ้นอีก และภาวะตลาดโลกที่อาจจะชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
รวมถึงปัญหาในตลาดสหรัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและค่าเงินบาท ทั้งนี้ คาดว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเนื่องจากเชื่อว่า
จะยังมีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเช่นเดิม และหากเงินบาทแข็งค่าไล่เลี่ยกับสกุลอื่นๆ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ
ผู้ส่งออกไทย (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังชี้แจงการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวส่งผลต่อนักลงทุนต่างชาติทั้งในแง่บวกและลบ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กรณีความกังวลของนักลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจ
คนต่างด้าว พ.ศ.... ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เห็นร่างแก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจคน
ต่างด้าวที่ ก.พาณิชย์อยู่ระหว่างการแก้ไข คาดว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะเห็นรายละเอียดทั้งหมด สำหรับความกังวลของนักลงทุนต่างชาติมีทั้งจุดที่
พอใจและไม่พอใจ โดยจุดที่น่าพอใจคือ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนว่า บริษัทที่มีลักษณะใดเป็นบริษัทต่างชาติ และบริษัท
ลักษณะใดที่เป็นบริษัทนอมินี นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติยังพอใจประเด็นที่หลังแก้กฎหมายแล้ว รัฐบาลจะให้ระยะเวลากับบริษัทต่างชาติในการ
แก้ไขเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้อง สำหรับประเด็นที่มีความอ่อนไหวอยู่ คือ ประเด็นเกี่ยวกับรายชื่อประเภทธุรกิจในบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ซึ่งจะมีการ
กำหนดว่าธุรกิจประเภทใดสงวนไว้ให้คนไทยหรืออนุญาตให้คนต่างด้าวทำได้ โดยนักลงทุนต่างชาติต้องการให้รายชื่อประเภทธุรกิจในส่วนนี้มี
จำนวนน้อย ขณะที่นักธุรกิจไทยต้องการให้มีจำนวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาผ่อนผันมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอแนะให้ ธปท.ยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30%
ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังพิจารณาว่าควรจะผ่อนผันให้หรือไม่ โดยอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นหลังมี
มาตรการว่ามีการเปลี่ยแปลงไปอย่างไรและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่คาดว่าไม่น่าจะมีการดำเนินการใดๆ ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากค่าเงินบาท
เริ่มทรงตัว โดยเคลื่อนไหวที่ระดับ 36.30-36.40 บาท/ดอลลาร์ สรอ. รวมถึงตลาด พธบ.และตลาดหุ้นที่ดัชนีไม่แกว่งตัวนัก (กรุงเทพธุรกิจ,
ไทยโพสต์, มติชน)
4. คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.3% ในปี 49 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยตัวเลข
การขยายตัวของอุตสาหกรรมในปี 49 ว่าจะขยายตัวประมาณ 5.3% เนื่องจากมีความชัดเจนด้านการเมือง มีการใช้จ่ายจากการลงทุนภาครัฐ
และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ในปี 50 ไทยจะยังได้รับผลดีกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐ ใช้มาตรการการค้ากับจีนจนถึงปี 51
และหากไทยสามารถเจรจาเอฟทีเอกับญี่ปุ่นได้จะทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอดีขึ้น (โลกวันนี้)
5. ภาวะการค้าไทย-จีนภายใต้เอฟทีเอในช่วง 9 เดือนแรกปี 49 ขยายตัว 24% อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึง
ภาวะการค้าระหว่างไทยกับจีนภายใต้เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) 2549 ตามสถิติของกรม
ศุลกากรว่า มีมูลค่า 18,462 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกมีมูลค่า 8,342 ล.ดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้ามีมูลค่า 10,120 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าจีน 1,778 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่หากแยกเฉพาะสินค้าเกษตรพิกัด
01-08 (ผัก-ผลไม้) พบว่า ไทยเกินดุลการค้ากับจีนมูลค่า 591 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 ทั้งนี้ ผลจากการ
ทำเอฟทีเอช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การค้าไทยกับจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32% และแม้ไทยจะขาดดุลการค้ากับจีน แต่มีแนวโน้มขาดดุลในอัตรา
ที่ลดลง เนื่องจากไทยมีโอกาสส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อยภาษีเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 26 ธ.ค.49 ก. Internal Affairs and Communications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยรวม
ที่แท้จริงของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.3 แต่หากเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สำหรับการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเฉลี่ยในเดือน พ.ย.49 อยู่ที่จำนวน 282,860 เยน
(2,380 ดอลลาร์ สรอ.) ส่วนการใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับผู้มีเงินเดือนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 49 ทางการ
ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. อัตรการว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลงจากร้อยละ 4.1 เมื่อเดือนก่อนหน้า
และลดลงจากร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว โดยในเดือน พ.ย. มีจำนวนผู้ว่างงาน 2.59 ล้านคน ลดลงจาก 2.81 ล้านคนเมื่อเดือน
ต.ค. และลดลงจาก 2.92 ล้านคนในเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีหน้าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.5 รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.49 ศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร
ของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 เนื่องจากการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
สามารถชดเชยการชะลอตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และการค้าต่างประเทศได้ และคาดว่าค่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นอีกประมาณร้อยละ
3 — 4 ที่ผ่านมาทางการจีนได้มีมาตรการที่จะลดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและลดการใช้พลังงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะป้องกัน
ภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงมากเกินไป เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรโดยรวมในครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 31.3
สร้างความวิตกว่าเศรษฐกิจอาจจะขยายตัวอย่างร้อนแรง ทำให้ทางการจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพิ่มทุนสำรองทางการที่ธพ. และมีคำสั่งให้
ตรวจสอบโครงการลงทุนใหม่ๆ หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้คาดว่าอาจจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 ขณะ
ที่ภาวะเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. KDI ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 รายงานจากโซล เมื่อ 25 ธ.ค. 49
The Korea Development Institute (KDI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้ ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้
สำหรับปี 50 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากร้อยละ 4.3 ที่ประมาณการไว้เมื่อ 2 เดือนก่อนหน้า อันสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการไว้
ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังต่ำกว่าปี 49 ที่ทั้ง 2 สถาบันประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวที่
ระดับร้อยละ 5.0 นอกจากนี้ KDI ยังคาดการณ์ว่า การลงทุนในทรัพย์สินประเภททุนในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 7.6 และการบริโภคภาคเอกชน
จะขยายตัวร้อยละ 3.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.0 และ 3.8 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 17 ต.ค.49 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 50
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ใกล้เคียงกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ธ.ค. 49 25 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.42 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.1613/36.5608 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12563 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 684.32/5.07 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.97 58.51 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--