ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกได้แล้วส่งผลให้ผู้บริโภคกลับมามีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
สมาคมผู้ผลิตและผู้เลี้ยงไก่ รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือคัดค้านต่อสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย ในกรณีที่ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.นี้เป็นต้นไป สหภาพยุโรป (EU) ขึ้นโควตาภาษีในสินค้าไก่แปรรูป ไก่หมักเกลือและไก่งวงที่นำเข้าจากทั่วโลก เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ โดยหากนำเข้าในโควตา จะเสียภาษีนำเข้า 10.9 % นอกโควตาภาษี 53% จากเดิมที่สินค้าไก่ปรุงสุกคิดอัตราภาษีร้อยละ 10.9, ไก่หมักเกลือ ร้อยละ 15.4 และเนื้อไก่งวง ร้อยละ 8.5 คาดว่าไทยจะได้โควตาไม่เกิน 2 แสน ตัน การขึ้นภาษีดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกไก่ปรุงสุกไปอียูลดลง ซึ่งอียูเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย มูลค่า 15,000 ล้านบาทต่อปี และจะไม่ขยายตัวตามเป้าหมายที่ 30% เพราะมีต้นทุนสูงขึ้น เสียเปรียบคู่แข่ง โดยเฉพาะบราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไก่ไปอียูอันดับ 1 และส่งออกได้ทั้งไก่สดและไก่ปรุงสุก เพราะไม่มีปัญหาไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.06 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.86 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21-27 สิงหาคม 2549
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกได้แล้วส่งผลให้ผู้บริโภคกลับมามีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
สมาคมผู้ผลิตและผู้เลี้ยงไก่ รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือคัดค้านต่อสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย ในกรณีที่ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.นี้เป็นต้นไป สหภาพยุโรป (EU) ขึ้นโควตาภาษีในสินค้าไก่แปรรูป ไก่หมักเกลือและไก่งวงที่นำเข้าจากทั่วโลก เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ โดยหากนำเข้าในโควตา จะเสียภาษีนำเข้า 10.9 % นอกโควตาภาษี 53% จากเดิมที่สินค้าไก่ปรุงสุกคิดอัตราภาษีร้อยละ 10.9, ไก่หมักเกลือ ร้อยละ 15.4 และเนื้อไก่งวง ร้อยละ 8.5 คาดว่าไทยจะได้โควตาไม่เกิน 2 แสน ตัน การขึ้นภาษีดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกไก่ปรุงสุกไปอียูลดลง ซึ่งอียูเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย มูลค่า 15,000 ล้านบาทต่อปี และจะไม่ขยายตัวตามเป้าหมายที่ 30% เพราะมีต้นทุนสูงขึ้น เสียเปรียบคู่แข่ง โดยเฉพาะบราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไก่ไปอียูอันดับ 1 และส่งออกได้ทั้งไก่สดและไก่ปรุงสุก เพราะไม่มีปัญหาไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.06 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.86 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21-27 สิงหาคม 2549
-พห-