วันนี้ (16 กค.49) นายเกียรติ สิทธีอมร อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อปีที่แล้วของพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับเรื่องเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนั้นเอกสารที่เป็นหลักฐานสำคัญมาจากสหรัฐอเมริกา ได้มีเอกสารแนบ A ไม่ได้มีการระบุชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้แต่มีการบอกว่าบริษัท A ผู้รับเหมาหลัก A เป็นต้น และด้วยเหตุนั้นเองทางพรรคฯ จึงได้ผลักดันให้รัฐบาลซึ่งมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศกับสหรัฐอเมริกา ขอข้อมูลหลักฐานมาเพื่อเปิดเผย และมีการดำเนินคดีต่อไป
ขณะนี้นายเกียรติ มีหลักฐานหลายฉบับที่ได้เก็บรวบรวมไว้ โดยในวันที่ 21 ต.ค. 48 ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีการทำหนังสือขอข้อมูลไปทางกระทรวงยุติธรรม ของสหรัฐฯ และได้รับข้อมูลเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 49 แต่มิได้มีการเปิดเผยแต่อย่างใด โดยนายเกียรติ ระบุว่า เอกสารเหล่านั้นประกอบด้วยเอกสารที่ระบุชื่อบริษัท และบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีสินบนข้ามชาติ CTX โดยเอกสารได้ระบุถึงผู้บริหารบริษัท อินวิชั่น เทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ชื่อบริษัท จีอี อินวิชั่น โดยมีนายเดวิด พิลเลอร์ และมีบริษัทในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องชื่อ บริษัทการท่าอากาศยานแห่งใหม่ (การท่าอากาศยานไทย) บริษัทกิจการร่วมค้า ไอจีโอ บริษัทแพทริออท และบุคคลที่ระบุชื่อว่า นายวรพจน์ ยศทัศน์ (เสี่ยเช)
นายเกียรติตั้งคำถามว่า เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนจนถึงวันนี้ ได้รับรู้ชื่อบุคคล รู้ชื่อบริษัท ผู้กระทำความผิด แต่เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน และดำเนินคดีกับบุคคล และบริษัทเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่ทราบรายชื่อเหล่านี้ตั้งแต่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา และนายเกียรติไม่เชื่อว่าเรื่องนี้ นายกฯ ทักษิณและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) จะไม่รู้
นอกเหนือจากนี้นายเกียรติระบุว่า ในขณะนั้นเคยมีข้อโต้แย้งมากมายว่า เนื้องานของสัญญานั้นตรงกันหรือซ้ำซ้อนกัน โดยมีการเรียกเก็บเงิน 2 — 3 ครั้ง จากการรับเหมาช่วงหลาย ๆ ทอด ขณะนี้ทางสำนักงานอัยการสูงสุดยังได้รับเอกสารสัญญาขั้นต้นระหว่างบริษัทอินวิชั่น กับบริษัทแพทริออท และข้อเสนอระหว่าง บริษัทแพทริออท กับบริษัทกิจการร่วมค้าไอทีโอ มาแล้ว เอกสารเหล่านี้จะเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับสัญญาการรับเหมาทั้งหมด
นายเกียรติเปิดเผยต่อไปว่า จากอดีตที่เคยมีการโต้แย้งถึงค่าบำรุงรักษาจำนวน 191 ล้านบาทนั้น
ขณะนี้ตนมีเอกสารที่เป็นแถลงการณ์ของบริษัท ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ที่ยืนยันว่าราคาขั้นต้นที่มีการนำเสนอนั้น ได้รวมค่าบำรุงรักษาแล้ว เพราะฉะนั้น ณ จุดนี้ หลักฐานข้อมูลชัดเจนว่ามีการเก็บเงินซ้ำซ้อนในมูลค่าสัญญาแต่ละทอด และจากหลักฐานนี้เองทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า ความซ้ำซ้อนของสัญญานั้นทำให้สัญญาที่ซื้อสูงเกินไปเกือบ 800 ล้านบาท
เมื่อรวบรวมจากเอกสารที่ปรากฎในขณะนี้พบว่า การซื้อตรงจะทำให้มีเงินหล่นหายไป 1,200 ล้านบาท ประกอบด้วยภาษีที่จ่ายซ้ำซ้อนและวงเงินที่ซ้ำซ้อน นายเกียรติตั้งคำถามว่าเงินจำนวนนี้อยู่ในกระเป๋าของใคร และการตัดสินในการซื้อตรงกับบริษัทโดยไม่ผ่านตัวกลาง 2 ทอด แต่ยังซื้อในราคาเดิม ใครเป็นบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจครั้งนั้นบ้าง และนักการเมืองคนใดอยู่เบื้องหลังการอนุมัติให้มีการซื้อตรงในราคาเท่าเดิม ก็มีความผิดเช่นกัน โดยรัฐบาลดำเนินการเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้อย่างไรบ้าง
หลังจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปีที่แล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีการตรวจสอบเส้นทางเงิน โดยเฉพาะเงินในส่วนที่บริษัทแพทริออท หรือนายวรพจน์ ได้รับจากกิจการร่วมค้าไอทีโอ 6 ครั้งเป็นยอดเงิน 643 ล้านบาท โดยนายวรพจน์นำไปซื้อที่ดินเปล่า 4 ไร่ ในสนามกอล์ฟ ราชพฤกษ์ 80 ล้านบาท ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน 6 หลัง 60 ล้านบาท ซื้อต้นลีลาวดี 50 ล้านบาท ซื้อรถยนต์ 9 คัน 26 ล้านบาท เงินสดในบัญชีส่วนตัว 100 ล้านบาท โดยทั้งหมดมีการตรวจสอบและมีรายงานไปแล้วตั้งแต่ 31 ส.ค. 48 แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เลย ถึงแม้ว่าจะปรากฎรายชื่อผู้รับในบัญชีธนาคารต่าง ๆ ประกอบด้วยบุคคลที่มีตำแหน่งถึงผู้พิพากษาอาวุโส, นักธุรกิจ และ เจ้าหน้าที่ธนาคารบางแห่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.ค. 2549--จบ--
ขณะนี้นายเกียรติ มีหลักฐานหลายฉบับที่ได้เก็บรวบรวมไว้ โดยในวันที่ 21 ต.ค. 48 ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีการทำหนังสือขอข้อมูลไปทางกระทรวงยุติธรรม ของสหรัฐฯ และได้รับข้อมูลเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 49 แต่มิได้มีการเปิดเผยแต่อย่างใด โดยนายเกียรติ ระบุว่า เอกสารเหล่านั้นประกอบด้วยเอกสารที่ระบุชื่อบริษัท และบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีสินบนข้ามชาติ CTX โดยเอกสารได้ระบุถึงผู้บริหารบริษัท อินวิชั่น เทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ชื่อบริษัท จีอี อินวิชั่น โดยมีนายเดวิด พิลเลอร์ และมีบริษัทในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องชื่อ บริษัทการท่าอากาศยานแห่งใหม่ (การท่าอากาศยานไทย) บริษัทกิจการร่วมค้า ไอจีโอ บริษัทแพทริออท และบุคคลที่ระบุชื่อว่า นายวรพจน์ ยศทัศน์ (เสี่ยเช)
นายเกียรติตั้งคำถามว่า เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนจนถึงวันนี้ ได้รับรู้ชื่อบุคคล รู้ชื่อบริษัท ผู้กระทำความผิด แต่เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน และดำเนินคดีกับบุคคล และบริษัทเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่ทราบรายชื่อเหล่านี้ตั้งแต่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา และนายเกียรติไม่เชื่อว่าเรื่องนี้ นายกฯ ทักษิณและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) จะไม่รู้
นอกเหนือจากนี้นายเกียรติระบุว่า ในขณะนั้นเคยมีข้อโต้แย้งมากมายว่า เนื้องานของสัญญานั้นตรงกันหรือซ้ำซ้อนกัน โดยมีการเรียกเก็บเงิน 2 — 3 ครั้ง จากการรับเหมาช่วงหลาย ๆ ทอด ขณะนี้ทางสำนักงานอัยการสูงสุดยังได้รับเอกสารสัญญาขั้นต้นระหว่างบริษัทอินวิชั่น กับบริษัทแพทริออท และข้อเสนอระหว่าง บริษัทแพทริออท กับบริษัทกิจการร่วมค้าไอทีโอ มาแล้ว เอกสารเหล่านี้จะเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับสัญญาการรับเหมาทั้งหมด
นายเกียรติเปิดเผยต่อไปว่า จากอดีตที่เคยมีการโต้แย้งถึงค่าบำรุงรักษาจำนวน 191 ล้านบาทนั้น
ขณะนี้ตนมีเอกสารที่เป็นแถลงการณ์ของบริษัท ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ที่ยืนยันว่าราคาขั้นต้นที่มีการนำเสนอนั้น ได้รวมค่าบำรุงรักษาแล้ว เพราะฉะนั้น ณ จุดนี้ หลักฐานข้อมูลชัดเจนว่ามีการเก็บเงินซ้ำซ้อนในมูลค่าสัญญาแต่ละทอด และจากหลักฐานนี้เองทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า ความซ้ำซ้อนของสัญญานั้นทำให้สัญญาที่ซื้อสูงเกินไปเกือบ 800 ล้านบาท
เมื่อรวบรวมจากเอกสารที่ปรากฎในขณะนี้พบว่า การซื้อตรงจะทำให้มีเงินหล่นหายไป 1,200 ล้านบาท ประกอบด้วยภาษีที่จ่ายซ้ำซ้อนและวงเงินที่ซ้ำซ้อน นายเกียรติตั้งคำถามว่าเงินจำนวนนี้อยู่ในกระเป๋าของใคร และการตัดสินในการซื้อตรงกับบริษัทโดยไม่ผ่านตัวกลาง 2 ทอด แต่ยังซื้อในราคาเดิม ใครเป็นบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจครั้งนั้นบ้าง และนักการเมืองคนใดอยู่เบื้องหลังการอนุมัติให้มีการซื้อตรงในราคาเท่าเดิม ก็มีความผิดเช่นกัน โดยรัฐบาลดำเนินการเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้อย่างไรบ้าง
หลังจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปีที่แล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีการตรวจสอบเส้นทางเงิน โดยเฉพาะเงินในส่วนที่บริษัทแพทริออท หรือนายวรพจน์ ได้รับจากกิจการร่วมค้าไอทีโอ 6 ครั้งเป็นยอดเงิน 643 ล้านบาท โดยนายวรพจน์นำไปซื้อที่ดินเปล่า 4 ไร่ ในสนามกอล์ฟ ราชพฤกษ์ 80 ล้านบาท ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน 6 หลัง 60 ล้านบาท ซื้อต้นลีลาวดี 50 ล้านบาท ซื้อรถยนต์ 9 คัน 26 ล้านบาท เงินสดในบัญชีส่วนตัว 100 ล้านบาท โดยทั้งหมดมีการตรวจสอบและมีรายงานไปแล้วตั้งแต่ 31 ส.ค. 48 แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เลย ถึงแม้ว่าจะปรากฎรายชื่อผู้รับในบัญชีธนาคารต่าง ๆ ประกอบด้วยบุคคลที่มีตำแหน่งถึงผู้พิพากษาอาวุโส, นักธุรกิจ และ เจ้าหน้าที่ธนาคารบางแห่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.ค. 2549--จบ--