ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ออกประกาศเรื่องวิธีการหรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ใด ในระหว่างมีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในหน้า ๒๔ — ๒๕ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ ข้อ ๓
พรรคประชาธิปัตย์ตระหนักดีว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมุ่งมั่นตั้งใจที่จะให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นภายใต้สภาวะที่สงบนิ่ง แต่พรรคฯ เห็นว่า การห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ใด หาเสียงด้วยวิธีการตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๓ (๑) — (๓) นั้น เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยเหตุหลัก ๆ ดังนี้
๑. ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๔ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้นั้นก็ไม่ได้ห้ามผู้มิสิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ดังนั้น การห้ามมิให้ผู้สมัคร นำภาพบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาใช้ในการโฆษณาหาเสียง จึงเท่ากับเป็นการห้ามนำภาพผู้สมัครมาโฆษณาหาเสียง ซึ่งถือเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้สมัครที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ และยังเป็นการขัดกับวิถีประชาธิปไตยด้วย
๒. การห้ามมิให้บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการโฆษณา หาเสียง น่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลด้วยเช่นเดียวกัน เพราะบุคคลที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในแนวคิดและอุดมการณ์ต่อผู้ลงสมัครคนใด ก็ควรจะมีสิทธิช่วยหาเสียงให้คนนั้นได้
อีกประการหนึ่ง ข้อมูลปัจจุบันพบว่า มีประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอยู่ประมาณ 25 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนเหล่านี้ ซึ่งโดยธรรมชาติจะเป็นผู้สนใจการเมืองเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ถูกจำกัดสิทธิโดยไม่ชอบธรรม
๓. การห้ามมิให้พรรคการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ก็ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและธรรมชาติ รวมถึงวิถีประชาธิปไตย
ในความเป็นจริง สังคมไทยได้มีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการพัฒนาและสรรค์สร้างการเมืองให้เป็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงได้ส่งเสริมความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง ในทุกระดับอย่างสร้างสรรค์
แม้ตลอดเส้นทางของการพัฒนาประชาธิปไตย อาจมีเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคอยู่บ้างเป็น ครั้งคราว แต่ทุกภาคส่วนก็ควรเร่งร่วมมือกันแก้ไขและปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมในเรื่องวิถีประชาธิปไตยให้ถูกทิศทาง การห้ามดำเนินการในลักษณะนี้ ดูจะเป็นการหยุดยั้งการพัฒนาประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
พรรคฯ ขอกราบเรียนว่า พรรคฯ เชื่ออย่างจริงใจว่าการเปิดให้บุคคลได้ดำเนินการโฆษณาหาเสียงตามธรรมชาติของประชาธิปไตย โดยอาศัยกลไกกฎหมายที่ชอบธรรมเป็นกรอบ น่าจะช่วยส่งเสริมให้เจตนารมณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งบัดนี้ได้แปรเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีโอกาสบรรลุได้มากขึ้น
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาทบทวนประกาศดังกล่าวโดยเร็วด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สำนักงานเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๗๐-๐๐๓๖ (๒๐ คู่สาย)
โทรสาร : ๐๒-๒๗๙-๖๐๘๖
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 พ.ย. 2549--จบ--
พรรคประชาธิปัตย์ตระหนักดีว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมุ่งมั่นตั้งใจที่จะให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นภายใต้สภาวะที่สงบนิ่ง แต่พรรคฯ เห็นว่า การห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ใด หาเสียงด้วยวิธีการตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๓ (๑) — (๓) นั้น เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยเหตุหลัก ๆ ดังนี้
๑. ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๔ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้นั้นก็ไม่ได้ห้ามผู้มิสิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ดังนั้น การห้ามมิให้ผู้สมัคร นำภาพบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาใช้ในการโฆษณาหาเสียง จึงเท่ากับเป็นการห้ามนำภาพผู้สมัครมาโฆษณาหาเสียง ซึ่งถือเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้สมัครที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ และยังเป็นการขัดกับวิถีประชาธิปไตยด้วย
๒. การห้ามมิให้บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการโฆษณา หาเสียง น่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลด้วยเช่นเดียวกัน เพราะบุคคลที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในแนวคิดและอุดมการณ์ต่อผู้ลงสมัครคนใด ก็ควรจะมีสิทธิช่วยหาเสียงให้คนนั้นได้
อีกประการหนึ่ง ข้อมูลปัจจุบันพบว่า มีประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอยู่ประมาณ 25 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนเหล่านี้ ซึ่งโดยธรรมชาติจะเป็นผู้สนใจการเมืองเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ถูกจำกัดสิทธิโดยไม่ชอบธรรม
๓. การห้ามมิให้พรรคการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ก็ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและธรรมชาติ รวมถึงวิถีประชาธิปไตย
ในความเป็นจริง สังคมไทยได้มีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการพัฒนาและสรรค์สร้างการเมืองให้เป็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงได้ส่งเสริมความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง ในทุกระดับอย่างสร้างสรรค์
แม้ตลอดเส้นทางของการพัฒนาประชาธิปไตย อาจมีเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคอยู่บ้างเป็น ครั้งคราว แต่ทุกภาคส่วนก็ควรเร่งร่วมมือกันแก้ไขและปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมในเรื่องวิถีประชาธิปไตยให้ถูกทิศทาง การห้ามดำเนินการในลักษณะนี้ ดูจะเป็นการหยุดยั้งการพัฒนาประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
พรรคฯ ขอกราบเรียนว่า พรรคฯ เชื่ออย่างจริงใจว่าการเปิดให้บุคคลได้ดำเนินการโฆษณาหาเสียงตามธรรมชาติของประชาธิปไตย โดยอาศัยกลไกกฎหมายที่ชอบธรรมเป็นกรอบ น่าจะช่วยส่งเสริมให้เจตนารมณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งบัดนี้ได้แปรเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีโอกาสบรรลุได้มากขึ้น
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาทบทวนประกาศดังกล่าวโดยเร็วด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สำนักงานเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๗๐-๐๐๓๖ (๒๐ คู่สาย)
โทรสาร : ๐๒-๒๗๙-๖๐๘๖
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 พ.ย. 2549--จบ--