แท็ก
ปลาดุก
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-13 ต.ค.49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,052.59 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 587.84 ตัน สัตว์น้ำจืด 464.75 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.64 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 43.24 ตัน
การตลาด
ประมงชี้ยอดส่งออกกุ้งแช่เย็นตลาดเกาหลีเพิ่มขึ้น
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมงเปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมลงนามข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าประมง และผลิตภัณฑ์นำเข้าและส่งออกกับกระทรวงพาณิชย์นาวีและกิจการประมงแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
คณะผู้แทนจากกรมประมงได้เดินทางเยือนเกาหลี เพื่อร่วมวางแผนและศึกษาระบบตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของสาธารณรัฐเกาหลีและได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ การนำเข้าสินค้าประมงร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน ในการควบคุมคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้าประมงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงปลายปีเจ้าหน้าที่จากสาธารณรัฐเกาหลี จะเดินทางมาศึกษาดูงานด้านการตรวจสอบรับรองสินค้าประมงของไทยด้วย
ทั้งนี้ จากการสำรวจตลาดสินค้าสัตว์น้ำในเกาหลี พบว่ากุ้งชิลหรือกุ้งแช่เย็นของไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเกาหลีเป็นอย่างมากและไทยยังเป็นผู้ส่งออกกุ้งชิลรายใหญ่ครองสัดส่วนในตลาดเป็นอันดับหนึ่งในเกาหลี โดยราคาจำหน่ายกุ้งชิลในซุปเปอร์มาร์เก็ตสูงถึงกิโลกรัมละ 700 บาท
ดร.จิราวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่าตลาดกุ้งชิลของไทยในเกาหลีถือว่ามีแนวโน้มที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าเกาหลียังเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าประมงนำเข้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จึงขอให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกกุ้งชิล ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและมีใบรับรองสินค้าสัตว์น้ำอย่างถูกต้อง จะได้ไม่เกิดปัญหาด้านการส่งออกในภายหลัง
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการส่งออกอย่างรัดกุม เพื่อให้การวางแผนผลผลิตกุ้งและการบริหารจัดการด้านสินค้าส่งออกเป็นไปตามข้อตกลงของลูกค้า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยสนใจส่งออกกุ้งชิลไปยังสาธารณรัฐเกาหลีเป็นจำนวนมาก มีโรงงานกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ขึ้นทะเบียนแล้ว 224 แห่ง โรงงาน packing house 17 แห่ง และโรงงานแปรูปสินค้าพื้นเมือง 10 แห่ง ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.42 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 123.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.84 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16-20 ต.ค.2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 16-22 ตุลาคม 2549--
-พห-
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-13 ต.ค.49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,052.59 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 587.84 ตัน สัตว์น้ำจืด 464.75 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.64 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 43.24 ตัน
การตลาด
ประมงชี้ยอดส่งออกกุ้งแช่เย็นตลาดเกาหลีเพิ่มขึ้น
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมงเปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมลงนามข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าประมง และผลิตภัณฑ์นำเข้าและส่งออกกับกระทรวงพาณิชย์นาวีและกิจการประมงแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
คณะผู้แทนจากกรมประมงได้เดินทางเยือนเกาหลี เพื่อร่วมวางแผนและศึกษาระบบตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของสาธารณรัฐเกาหลีและได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ การนำเข้าสินค้าประมงร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน ในการควบคุมคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้าประมงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงปลายปีเจ้าหน้าที่จากสาธารณรัฐเกาหลี จะเดินทางมาศึกษาดูงานด้านการตรวจสอบรับรองสินค้าประมงของไทยด้วย
ทั้งนี้ จากการสำรวจตลาดสินค้าสัตว์น้ำในเกาหลี พบว่ากุ้งชิลหรือกุ้งแช่เย็นของไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเกาหลีเป็นอย่างมากและไทยยังเป็นผู้ส่งออกกุ้งชิลรายใหญ่ครองสัดส่วนในตลาดเป็นอันดับหนึ่งในเกาหลี โดยราคาจำหน่ายกุ้งชิลในซุปเปอร์มาร์เก็ตสูงถึงกิโลกรัมละ 700 บาท
ดร.จิราวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่าตลาดกุ้งชิลของไทยในเกาหลีถือว่ามีแนวโน้มที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าเกาหลียังเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าประมงนำเข้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จึงขอให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกกุ้งชิล ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและมีใบรับรองสินค้าสัตว์น้ำอย่างถูกต้อง จะได้ไม่เกิดปัญหาด้านการส่งออกในภายหลัง
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการส่งออกอย่างรัดกุม เพื่อให้การวางแผนผลผลิตกุ้งและการบริหารจัดการด้านสินค้าส่งออกเป็นไปตามข้อตกลงของลูกค้า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยสนใจส่งออกกุ้งชิลไปยังสาธารณรัฐเกาหลีเป็นจำนวนมาก มีโรงงานกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ขึ้นทะเบียนแล้ว 224 แห่ง โรงงาน packing house 17 แห่ง และโรงงานแปรูปสินค้าพื้นเมือง 10 แห่ง ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.42 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 123.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.84 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16-20 ต.ค.2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 16-22 ตุลาคม 2549--
-พห-