คำถาม : ต้องการทำธุรกิจร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น ธสน. มีคำแนะนำอย่างไร
คำตอบ : ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการประกอบธุรกิจร้านอาหารไทย เนื่องจากชาวญี่ปุ่น ยอมรับว่าอาหารไทยมี
ความโดดเด่นของรสชาติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันอาหารไทยเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับในญี่ปุ่น เมื่อประกอบ
กับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นซึ่งมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้าง ความก้าวหน้าของอาชีพการงาน ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มพึ่งพาการรับประทานอาหารนอก
บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นภายใต้โครงการ ครัวไทยสู่เจแปน ที่ตั้งเป้าขยาย
จำนวนร้านอาหารไทยรูปแบบอาหารจานด่วนในญี่ปุ่นให้ได้ 1,000 แห่งภายในปี 2553 รวมถึงความตกลง หุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-
Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่คาดว่าจะมี การลงนามกันภายในปี 2549 ซึ่งจะเอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจบริการ
รวมถึงร้านอาหารไทย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วน เกื้อหนุนต่อการขยายตัวของร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 500 แห่ง และราว
ครึ่งหนึ่งมีเจ้าของ เป็นคนไทย
ข้อมูลที่ควรทราบในการทำธุรกิจร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น มีดังนี้
* ระเบียบการจัดตั้งร้านอาหาร ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนเองทั้งหมดในการเปิด ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น โดยต้องมีเงินทุนจด
ทะเบียนไม่ต่ำกว่า 6 ล้านเยน (ราว 2 ล้านบาท) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ รวมทั้งยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหาร
และยื่นขอใบรับรองสุขอนามัย (Sanitation Certificate) พร้อมกับส่งแบบแปลนของร้านอาหารให้สำนักงานสาธารณสุขประจำเขตที่เป็นสถานที่ตั้ง
ร้านอาหารพิจารณา และต้องแจ้งให้หน่วยงานดับเพลิงเข้าตรวจสอบสภาพของร้านด้วย เมื่อการตรวจสอบต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจึงจะได้รับ
อนุญาตให้ดำเนินกิจการได้
* ค่าใช้จ่ายในการตั้งร้านอาหาร ที่สำคัญ ได้แก่
ประเภทของค่าใช้จ่าย มูลค่า
เงินลงทุนขั้นต่ำ (ค่าเช่าร้าน เงินมัดจำค่าเช่า ร้านอาหารขนาดเล็ก พื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร (30 ที่นั่ง)
ค่าตกแต่งร้าน ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ : 25-30 ล้านเยน (ราว 8.8-10.5 ล้านบาท)
ทำอาหาร) ร้านอาหารขนาดกลาง พื้นที่ประมาณ 165 ตารางเมตร (50-60 ที่นั่ง)
: 50-60 ล้านเยน (ราว 17.5-21 ล้านบาท)
ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของร้านอาหารเป็นสำคัญ
เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือน (ค่าวัตถุดิบ ร้านอาหารขนาดเล็ก : 2-2.5 ล้านเยน (ราว 0.7-0.9 ล้านบาท)
อาหาร และค่าจ้างพนักงาน) ร้านอาหารขนาดกลาง : 2.7-3.5 ล้านเยน (ราว 0.9-1.2 ล้านบาท)
ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการขอ 7,000-10,000 เยน (ราว 2,450-3,500 บาท)
ใบรับรองสุขอนามัย (มีอายุ 5 ปี)
* สิทธิประโยชน์ภายใต้ JTEPA ประโยชน์ที่คาดว่าธุรกิจร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นจะได้รับจากความตกลงฯ มีดังนี้
- พ่อครัว/แม่ครัวไทยสามารถเข้าไปประกอบอาชีพในร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นโดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(จากเดิมที่กำหนดให้พ่อครัว/แม่ครัวไทยต้องสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยใน ระดับปริญญาตรี) แต่ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานของไทยที่ได้รับการ
ยอมรับ อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังลดข้อจำกัดด้านประสบการณ์ในการทำงานของพ่อครัว/แม่ครัวไทย
เหลือ 5 ปี จากเดิม 10 ปี
- ญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรไทยซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหารไทย อาทิ กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง
(จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0) กุ้งต้มและกุ้งแปรรูป (จากร้อยละ 4.8-5.3 เหลือร้อยละ 0) และไก่ปรุงสุก (จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 3)
นอกจากนี้ เพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นที่ดึงดูดของชาวญี่ปุ่น มีคำแนะนำว่าควรตั้งชื่อร้านอาหารโดยใช้คำที่เกี่ยวเนื่องกับภาพลักษณ์ที่ดี
ของประเทศไทย หรือเป็นคำที่รู้จักทั่วไป อาทิ ชื่ออาหารไทย หรือชื่อคนไทย รวมทั้งควรสร้างบรรยากาศภายในร้านที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็น
ไทย อาทิ การใช้เพลงไทยหรือเครื่องดนตรีไทย ในการขับกล่อมลูกค้าในร้าน การตกแต่งร้านด้วยของใช้และของตกแต่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทย
เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญและซาบซึ้งกับวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการประกอบธุรกิจร้านอาหารไทย เนื่องจากชาวญี่ปุ่น ยอมรับว่าอาหารไทยมี
ความโดดเด่นของรสชาติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันอาหารไทยเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับในญี่ปุ่น เมื่อประกอบ
กับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นซึ่งมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้าง ความก้าวหน้าของอาชีพการงาน ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มพึ่งพาการรับประทานอาหารนอก
บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นภายใต้โครงการ ครัวไทยสู่เจแปน ที่ตั้งเป้าขยาย
จำนวนร้านอาหารไทยรูปแบบอาหารจานด่วนในญี่ปุ่นให้ได้ 1,000 แห่งภายในปี 2553 รวมถึงความตกลง หุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-
Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่คาดว่าจะมี การลงนามกันภายในปี 2549 ซึ่งจะเอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจบริการ
รวมถึงร้านอาหารไทย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วน เกื้อหนุนต่อการขยายตัวของร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 500 แห่ง และราว
ครึ่งหนึ่งมีเจ้าของ เป็นคนไทย
ข้อมูลที่ควรทราบในการทำธุรกิจร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น มีดังนี้
* ระเบียบการจัดตั้งร้านอาหาร ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนเองทั้งหมดในการเปิด ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น โดยต้องมีเงินทุนจด
ทะเบียนไม่ต่ำกว่า 6 ล้านเยน (ราว 2 ล้านบาท) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ รวมทั้งยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหาร
และยื่นขอใบรับรองสุขอนามัย (Sanitation Certificate) พร้อมกับส่งแบบแปลนของร้านอาหารให้สำนักงานสาธารณสุขประจำเขตที่เป็นสถานที่ตั้ง
ร้านอาหารพิจารณา และต้องแจ้งให้หน่วยงานดับเพลิงเข้าตรวจสอบสภาพของร้านด้วย เมื่อการตรวจสอบต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจึงจะได้รับ
อนุญาตให้ดำเนินกิจการได้
* ค่าใช้จ่ายในการตั้งร้านอาหาร ที่สำคัญ ได้แก่
ประเภทของค่าใช้จ่าย มูลค่า
เงินลงทุนขั้นต่ำ (ค่าเช่าร้าน เงินมัดจำค่าเช่า ร้านอาหารขนาดเล็ก พื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร (30 ที่นั่ง)
ค่าตกแต่งร้าน ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ : 25-30 ล้านเยน (ราว 8.8-10.5 ล้านบาท)
ทำอาหาร) ร้านอาหารขนาดกลาง พื้นที่ประมาณ 165 ตารางเมตร (50-60 ที่นั่ง)
: 50-60 ล้านเยน (ราว 17.5-21 ล้านบาท)
ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของร้านอาหารเป็นสำคัญ
เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือน (ค่าวัตถุดิบ ร้านอาหารขนาดเล็ก : 2-2.5 ล้านเยน (ราว 0.7-0.9 ล้านบาท)
อาหาร และค่าจ้างพนักงาน) ร้านอาหารขนาดกลาง : 2.7-3.5 ล้านเยน (ราว 0.9-1.2 ล้านบาท)
ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการขอ 7,000-10,000 เยน (ราว 2,450-3,500 บาท)
ใบรับรองสุขอนามัย (มีอายุ 5 ปี)
* สิทธิประโยชน์ภายใต้ JTEPA ประโยชน์ที่คาดว่าธุรกิจร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นจะได้รับจากความตกลงฯ มีดังนี้
- พ่อครัว/แม่ครัวไทยสามารถเข้าไปประกอบอาชีพในร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นโดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(จากเดิมที่กำหนดให้พ่อครัว/แม่ครัวไทยต้องสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยใน ระดับปริญญาตรี) แต่ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานของไทยที่ได้รับการ
ยอมรับ อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังลดข้อจำกัดด้านประสบการณ์ในการทำงานของพ่อครัว/แม่ครัวไทย
เหลือ 5 ปี จากเดิม 10 ปี
- ญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรไทยซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหารไทย อาทิ กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง
(จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0) กุ้งต้มและกุ้งแปรรูป (จากร้อยละ 4.8-5.3 เหลือร้อยละ 0) และไก่ปรุงสุก (จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 3)
นอกจากนี้ เพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นที่ดึงดูดของชาวญี่ปุ่น มีคำแนะนำว่าควรตั้งชื่อร้านอาหารโดยใช้คำที่เกี่ยวเนื่องกับภาพลักษณ์ที่ดี
ของประเทศไทย หรือเป็นคำที่รู้จักทั่วไป อาทิ ชื่ออาหารไทย หรือชื่อคนไทย รวมทั้งควรสร้างบรรยากาศภายในร้านที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็น
ไทย อาทิ การใช้เพลงไทยหรือเครื่องดนตรีไทย ในการขับกล่อมลูกค้าในร้าน การตกแต่งร้านด้วยของใช้และของตกแต่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทย
เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญและซาบซึ้งกับวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2549--
-พห-