ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาจากราคา
ยางดิบหรือยางแปรรูปขั้นต้นที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยประมาณ 60 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงไตรมาสที่ 2 และมีแนว
โน้มจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัมในอนาคต ส่งผลให้เกษตรกรในภาคการผลิตยางพาราของไทยมีรายได้จากราคายางดังกล่าว
เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจากราคาวัตถุดิบยางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวก็มีผลทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยต้องรับซื้อวัตถุดิบ
ในราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ยางที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก แต่ผู้ประกอบการของไทยก็ยังคงได้
เปรียบในเรื่องของค่าขนส่ง เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราหรือยางแปรรูปขั้นต้นในอันดับที่หนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณร้อยละ 35
ของการผลิตยางพาราทั่วโลก โดยในไตรมาสที่สองของปี 2549 ไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 1,943.40 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกประเภทยางพารา แปรรูปขั้นต้น 1,185.00 ล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 61.25 และมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ยาง 749.50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 38.75 ของมูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด
1. การผลิต
ประเทศไทยผลิตยางแปรรูปขั้นต้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิต ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี(ประมาณร้อยละ 35 ของการผลิต
ยางพาราทั่วโลก) โดยยางแปรรูปขั้นต้นของไทยส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายและใช้ภายในประเทศ
ในส่วนของการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีการผลิตยางแท่งจำนวน 220,135.45 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 10.52 และยางแผ่นมีการผลิตจำนวน 60,157.95ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 29.79
สำหรับการผลิตของผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ของปี 2549 ส่วนใหญ่มีปริมาณการผลิตที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคายางพาราแปรรูปขั้น
ต้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องรับภาระขาดทุนหากมีการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าจากราคาต้นทุนที่คิดในปัจจุบัน จึงต้องมีการปรับลดการ
ผลิตลงเพื่อประเมินสถานการณ์ใหม่ โดยการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง มีจำนวน 3,062,765 เส้น ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.48 ยางนอก
รถจักรยานยนต์ จำนวน 5,624,624 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.29 ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 4,812,423 เส้น ลดลงจากไตรมาส
ก่อนร้อยละ 6.99 และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,402,809 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.04 ยางในรถจักรยาน จำนวน
4,815,035 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.68 และถุงมือยางจำนวน 2,240.55 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.33
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิต หน่วย ไตรมาสที่ 2/2548 ไตรมาสที่ 4/2548 2548 ไตรมาสที่ 1/2549 ไตรมาสที่ 2/2549 % %
1/2549 2/2549
2/2549 2/2549
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,223,485.00 3,284,790.00 13,416,169.00 3,173,256.00 3,062,765.00 -3.48 -4.99
ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,337,024.00 1,515,718.00 5,635,959.00 1,440,781.00 1,456,604.00 1.1 8.94
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 1,072,865.00 1,026,685.00 4,303,606.00 1,257,668.00 1,186,864.00 -5.63 10.63
และรถโดยสาร
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,399,552.00 5,752,119.00 21,752,485.00 5,816,037.00 5,624,624.00 -3.29 4.17
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 5,097,383.00 4,972,308.00 21,783,763.00 5,173,919.00 4,812,423.00 -6.99 -5.59
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 50,676.00 45,255.00 190,397.00 50,109.00 46,845.00 -6.51 -7.56
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 450,659.00 425,486.00 1,888,013.00 441,732.00 446,351.00 1.05 -0.96
ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 493,124.00 550,400.00 2,135,262.00 541,476.00 489,939.00 -9.52 -0.65
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 8,771,194.00 9,110,286.00 34,512,902.00 9,039,311.00 8,402,809.00 -7.04 -4.2
ยางในรถจักรยาน เส้น 5,517,398.00 4,521,736.00 20,822,467.00 5,390,951.00 4,815,035.00 -10.7 -12.7
ยางรอง เส้น 660,542.00 716,138.00 2,839,211.00 889,483.00 976,636.00 9.8 47.85
ยางหล่อดอก เส้น 52,746.00 62,704.00 227,810.00 46,033.00 44,515.00 -3.3 -15.6
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,647,882,480 2,356,689,549 9,567,164,856 2,366,767,547 2,240,552,621 -5.33 -15.4
ยางรัดของ ตัน 4,412.95 3,603.42 16,965.58 3,399.21 3,542.31 4.21 -19.7
ยางแผ่น ตัน 48,581.09 68,673.37 297,119.04 85,680.71 60,157.95 -29.8 23.83
ยางแท่ง ตัน 188,283.41 182,603.67 787,880.94 246,037.99 220,153.45 -10.5 16.93
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาส
ที่ 2 ของปี 2549 จำนวน 1,185.00 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าปรับตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 5.35 และหากเปรียบเทียบไตรมาส
เดียวกันกับปีที่แล้วมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65.39 โดยตลาดส่งออกสำคัญในหมวดนี้ ยังคงเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐ
อเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่ง
ออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 จำนวน 749.50 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.40 และเติบโตจากไตรมาสเดียวกันกับปี
ก่อนร้อยละ 30.48 โดยตลาดส่งออกสำคัญในหมวดนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่ประเทศไทยยังคงมีการนำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ยางวัลแค
ไนซ์ เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มี
มูลค่าการนำเข้า 153.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี
2548 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.41 โดยผลิตภัณฑ์ประเภทท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง มีการนำเข้า 26.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ร้อย 3.09 ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 74.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.27
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2547 2548 ไตรมาสที่2/ ไตรมาสที่ 4/ ไตรมาสที่ 1/ ไตรมาสที่ 2/ % %
2548 2548 2549 2549 1/2549 2/2549
2/2549 2/2548
ยางพารา 3,432.50 3,714.80 716.5 1,095.10 1,252.00 1,185.00 -5.35 65.39
ยางแผ่น 1,329.00 1,322.20 200.7 407.9 447.6 365.6 -18.32 82.16
ยางแท่ง 1,325.30 1,565.20 355.3 434.9 493.6 496.9 0.67 39.85
น้ำยางข้น 713.7 757.7 148.6 232.3 280.3 302.9 8.06 103.84
ยางพาราอื่น ๆ 64.4 69.8 11.9 20.1 30.5 20.4 -33.11 71.43
ผลิตภัณฑ์ยาง 1,959.60 2,358.30 574.4 637.1 691.4 749.5 8.4 30.48
ยางยานพาหนะ 679.8 904.9 217.4 249.1 273.1 288.1 5.49 32.52
ถุงมือยาง 489.4 515.9 123.4 138.5 133.4 134.6 0.9 9.08
ยางรัดของ 45.9 47.9 11.1 12.1 13.7 14.9 8.76 34.23
หลอดและท่อ 83.9 86.6 19.4 23.9 23.4 24.4 4.27 25.77
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 24.8 31.4 8.2 8.4 8.8 11.2 27.27 36.59
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 151.1 190 51.3 49.2 43.8 54.8 25.11 6.82
ยางวัลแคไนซ์ 121.1 147.8 37.9 37.4 45.8 57 24.45 50.4
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 363.5 433.8 105.7 118.4 145 168.9 16.48 59.79
ที่มา :
1. สำนักบริหารสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2547 2548 ไตรมาสที่2/ ไตรมาสที่4/ ไตรมาสที่1/ ไตรมาสที่ 2/ % %
2548 2548 2549 2549 2/2549 2/2549
1/2549 2/2548
ผลิตภัณฑ์ยาง 395 533 143 132.8 137.7 153.6 11.55 7.41
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 81.6 96.1 24.6 23.9 25.9 26.7 3.09 8.54
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 260.7 287.1 77.3 70.9 71.8 74 3.06 -4.27
เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 126.8 149.8 41.1 38 40 52.9 32.25 28.71
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะโดยรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่สองของ ปี 2549 สามารถแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ กลุ่มผู้ผลิต
ยางแปรรูปขั้นต้นหรือผู้ผลิตในกลุ่มต้นน้ำควร น่าจะได้รับผลดีจากราคายางที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ผลิตยางพาราอยู่แล้วและมีต้นทุนเพียง
ค่าแรงในการกรีดยางและสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงต้นฤดูฝน จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถผลิตน้ำยางพาราดิบ
ได้เพิ่มมากขึ้น และชะลอการตัดไม้ยางพาราที่มีอายุขัยออกไปเพื่อตักตวงผลผลิตจากน้ำยางที่สามารถทำกำไรได้มากในช่วงไตรมาส 2 นี้ ส่วนกลุ่มผู้
ผลิตผลิตภัณฑ์ยางหรือกลุ่มปลายน้ำ คงต้องแบกรับภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผู้ประกอบการของไทยยังคงได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบที่มี
อยู่ภายในประเทศหากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้า เนื่องจากประเทศไทยยังถือเป็นประเทศที่สามารถผลิตยางพาราในอันดับที่หนึ่งของ
โลก อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยการนำการบริหารที่มีประสิทธิภาพมาช่วยลดต้นทุนทางด้านอื่น เพื่อสร้างข้อได้เปรียบจากการที่อยู่ใกล้
แหล่งผลิตวัตถุดิบ ในการสร้างเงื่อนไขข้อได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป แต่ผลจากการที่ราคายางประเภทยางแปรรูปขั้นต้นมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ส่งผลให้
เกิดการชลอตัวในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในเกือบทุกหมวดของผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากพิจารณาในส่วนของมูลค่าในการส่งออกของกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางยังคงมีการ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เนื่องจากราคาน้ำยางพาราดิบหรือยางแปรรูปขั้นต้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่อง
มาจากราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อันมีผลกระทบมาจากภาวะสงครามในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของผลิตภัณฑ์ใน
กลุ่มอุตสาหกรรมยางต้องมีการปรับคัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อาจจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากให้กับผู้ประกอบการ
ประเภทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่อยู่ปลายน้ำที่มีเงินทุนไม่มากในการสต็อกยางเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตดังกล่าวต้องหยุดการผลิตลง ดัง
นั้นการในช่วงไตรมาสที่ 3 ทางผู้ประกอบการอาจมีการเรียกร้องให้ทางรัฐเข้ามาดำเนินการหรือจัดหามาตรการบางอย่างให้ราคาวัตถุดิบดังกล่าวมี
เสถียรภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการปลายน้ำสามารถอยู่รอดได้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ยางดิบหรือยางแปรรูปขั้นต้นที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยประมาณ 60 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงไตรมาสที่ 2 และมีแนว
โน้มจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัมในอนาคต ส่งผลให้เกษตรกรในภาคการผลิตยางพาราของไทยมีรายได้จากราคายางดังกล่าว
เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจากราคาวัตถุดิบยางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวก็มีผลทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยต้องรับซื้อวัตถุดิบ
ในราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ยางที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก แต่ผู้ประกอบการของไทยก็ยังคงได้
เปรียบในเรื่องของค่าขนส่ง เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราหรือยางแปรรูปขั้นต้นในอันดับที่หนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณร้อยละ 35
ของการผลิตยางพาราทั่วโลก โดยในไตรมาสที่สองของปี 2549 ไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 1,943.40 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกประเภทยางพารา แปรรูปขั้นต้น 1,185.00 ล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 61.25 และมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ยาง 749.50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 38.75 ของมูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด
1. การผลิต
ประเทศไทยผลิตยางแปรรูปขั้นต้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิต ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี(ประมาณร้อยละ 35 ของการผลิต
ยางพาราทั่วโลก) โดยยางแปรรูปขั้นต้นของไทยส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายและใช้ภายในประเทศ
ในส่วนของการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีการผลิตยางแท่งจำนวน 220,135.45 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 10.52 และยางแผ่นมีการผลิตจำนวน 60,157.95ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 29.79
สำหรับการผลิตของผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ของปี 2549 ส่วนใหญ่มีปริมาณการผลิตที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคายางพาราแปรรูปขั้น
ต้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องรับภาระขาดทุนหากมีการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าจากราคาต้นทุนที่คิดในปัจจุบัน จึงต้องมีการปรับลดการ
ผลิตลงเพื่อประเมินสถานการณ์ใหม่ โดยการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง มีจำนวน 3,062,765 เส้น ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.48 ยางนอก
รถจักรยานยนต์ จำนวน 5,624,624 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.29 ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 4,812,423 เส้น ลดลงจากไตรมาส
ก่อนร้อยละ 6.99 และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,402,809 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.04 ยางในรถจักรยาน จำนวน
4,815,035 เส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.68 และถุงมือยางจำนวน 2,240.55 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.33
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิต หน่วย ไตรมาสที่ 2/2548 ไตรมาสที่ 4/2548 2548 ไตรมาสที่ 1/2549 ไตรมาสที่ 2/2549 % %
1/2549 2/2549
2/2549 2/2549
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,223,485.00 3,284,790.00 13,416,169.00 3,173,256.00 3,062,765.00 -3.48 -4.99
ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,337,024.00 1,515,718.00 5,635,959.00 1,440,781.00 1,456,604.00 1.1 8.94
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 1,072,865.00 1,026,685.00 4,303,606.00 1,257,668.00 1,186,864.00 -5.63 10.63
และรถโดยสาร
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,399,552.00 5,752,119.00 21,752,485.00 5,816,037.00 5,624,624.00 -3.29 4.17
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 5,097,383.00 4,972,308.00 21,783,763.00 5,173,919.00 4,812,423.00 -6.99 -5.59
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 50,676.00 45,255.00 190,397.00 50,109.00 46,845.00 -6.51 -7.56
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 450,659.00 425,486.00 1,888,013.00 441,732.00 446,351.00 1.05 -0.96
ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 493,124.00 550,400.00 2,135,262.00 541,476.00 489,939.00 -9.52 -0.65
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 8,771,194.00 9,110,286.00 34,512,902.00 9,039,311.00 8,402,809.00 -7.04 -4.2
ยางในรถจักรยาน เส้น 5,517,398.00 4,521,736.00 20,822,467.00 5,390,951.00 4,815,035.00 -10.7 -12.7
ยางรอง เส้น 660,542.00 716,138.00 2,839,211.00 889,483.00 976,636.00 9.8 47.85
ยางหล่อดอก เส้น 52,746.00 62,704.00 227,810.00 46,033.00 44,515.00 -3.3 -15.6
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,647,882,480 2,356,689,549 9,567,164,856 2,366,767,547 2,240,552,621 -5.33 -15.4
ยางรัดของ ตัน 4,412.95 3,603.42 16,965.58 3,399.21 3,542.31 4.21 -19.7
ยางแผ่น ตัน 48,581.09 68,673.37 297,119.04 85,680.71 60,157.95 -29.8 23.83
ยางแท่ง ตัน 188,283.41 182,603.67 787,880.94 246,037.99 220,153.45 -10.5 16.93
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาส
ที่ 2 ของปี 2549 จำนวน 1,185.00 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าปรับตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 5.35 และหากเปรียบเทียบไตรมาส
เดียวกันกับปีที่แล้วมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65.39 โดยตลาดส่งออกสำคัญในหมวดนี้ ยังคงเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐ
อเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่ง
ออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 จำนวน 749.50 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.40 และเติบโตจากไตรมาสเดียวกันกับปี
ก่อนร้อยละ 30.48 โดยตลาดส่งออกสำคัญในหมวดนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่ประเทศไทยยังคงมีการนำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ยางวัลแค
ไนซ์ เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มี
มูลค่าการนำเข้า 153.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี
2548 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.41 โดยผลิตภัณฑ์ประเภทท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง มีการนำเข้า 26.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ร้อย 3.09 ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 74.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.27
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2547 2548 ไตรมาสที่2/ ไตรมาสที่ 4/ ไตรมาสที่ 1/ ไตรมาสที่ 2/ % %
2548 2548 2549 2549 1/2549 2/2549
2/2549 2/2548
ยางพารา 3,432.50 3,714.80 716.5 1,095.10 1,252.00 1,185.00 -5.35 65.39
ยางแผ่น 1,329.00 1,322.20 200.7 407.9 447.6 365.6 -18.32 82.16
ยางแท่ง 1,325.30 1,565.20 355.3 434.9 493.6 496.9 0.67 39.85
น้ำยางข้น 713.7 757.7 148.6 232.3 280.3 302.9 8.06 103.84
ยางพาราอื่น ๆ 64.4 69.8 11.9 20.1 30.5 20.4 -33.11 71.43
ผลิตภัณฑ์ยาง 1,959.60 2,358.30 574.4 637.1 691.4 749.5 8.4 30.48
ยางยานพาหนะ 679.8 904.9 217.4 249.1 273.1 288.1 5.49 32.52
ถุงมือยาง 489.4 515.9 123.4 138.5 133.4 134.6 0.9 9.08
ยางรัดของ 45.9 47.9 11.1 12.1 13.7 14.9 8.76 34.23
หลอดและท่อ 83.9 86.6 19.4 23.9 23.4 24.4 4.27 25.77
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 24.8 31.4 8.2 8.4 8.8 11.2 27.27 36.59
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 151.1 190 51.3 49.2 43.8 54.8 25.11 6.82
ยางวัลแคไนซ์ 121.1 147.8 37.9 37.4 45.8 57 24.45 50.4
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 363.5 433.8 105.7 118.4 145 168.9 16.48 59.79
ที่มา :
1. สำนักบริหารสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2547 2548 ไตรมาสที่2/ ไตรมาสที่4/ ไตรมาสที่1/ ไตรมาสที่ 2/ % %
2548 2548 2549 2549 2/2549 2/2549
1/2549 2/2548
ผลิตภัณฑ์ยาง 395 533 143 132.8 137.7 153.6 11.55 7.41
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 81.6 96.1 24.6 23.9 25.9 26.7 3.09 8.54
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 260.7 287.1 77.3 70.9 71.8 74 3.06 -4.27
เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 126.8 149.8 41.1 38 40 52.9 32.25 28.71
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะโดยรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่สองของ ปี 2549 สามารถแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ กลุ่มผู้ผลิต
ยางแปรรูปขั้นต้นหรือผู้ผลิตในกลุ่มต้นน้ำควร น่าจะได้รับผลดีจากราคายางที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ผลิตยางพาราอยู่แล้วและมีต้นทุนเพียง
ค่าแรงในการกรีดยางและสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงต้นฤดูฝน จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถผลิตน้ำยางพาราดิบ
ได้เพิ่มมากขึ้น และชะลอการตัดไม้ยางพาราที่มีอายุขัยออกไปเพื่อตักตวงผลผลิตจากน้ำยางที่สามารถทำกำไรได้มากในช่วงไตรมาส 2 นี้ ส่วนกลุ่มผู้
ผลิตผลิตภัณฑ์ยางหรือกลุ่มปลายน้ำ คงต้องแบกรับภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผู้ประกอบการของไทยยังคงได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบที่มี
อยู่ภายในประเทศหากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้า เนื่องจากประเทศไทยยังถือเป็นประเทศที่สามารถผลิตยางพาราในอันดับที่หนึ่งของ
โลก อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยการนำการบริหารที่มีประสิทธิภาพมาช่วยลดต้นทุนทางด้านอื่น เพื่อสร้างข้อได้เปรียบจากการที่อยู่ใกล้
แหล่งผลิตวัตถุดิบ ในการสร้างเงื่อนไขข้อได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป แต่ผลจากการที่ราคายางประเภทยางแปรรูปขั้นต้นมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ส่งผลให้
เกิดการชลอตัวในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในเกือบทุกหมวดของผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากพิจารณาในส่วนของมูลค่าในการส่งออกของกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางยังคงมีการ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เนื่องจากราคาน้ำยางพาราดิบหรือยางแปรรูปขั้นต้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่อง
มาจากราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อันมีผลกระทบมาจากภาวะสงครามในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของผลิตภัณฑ์ใน
กลุ่มอุตสาหกรรมยางต้องมีการปรับคัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อาจจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากให้กับผู้ประกอบการ
ประเภทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่อยู่ปลายน้ำที่มีเงินทุนไม่มากในการสต็อกยางเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตดังกล่าวต้องหยุดการผลิตลง ดัง
นั้นการในช่วงไตรมาสที่ 3 ทางผู้ประกอบการอาจมีการเรียกร้องให้ทางรัฐเข้ามาดำเนินการหรือจัดหามาตรการบางอย่างให้ราคาวัตถุดิบดังกล่าวมี
เสถียรภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการปลายน้ำสามารถอยู่รอดได้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-