แท็ก
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช
องอาจ คล้ามไพบูลย์
พรรคประชาธิปัตย์
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
วันนี้ (12 ก.ค.2549) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีทำจดหมายถึงนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่มีเนื้อหาบิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงว่า วันนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้พิจารณาเนื้อหาสาระในจดหมายแล้วพบว่าเป็นจดหมายที่มีการบิดเบือนข้อมูลอยู่หลายตอน นอกจากนั้นเป็นจดหมายที่พยายามใส่ร้ายป้ายสีบุคคล กลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลเหล่านั้นไม่สามารถที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงใดได้ที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นจดหมายที่พยายามพูดเข้าข่ายลักษณะเอาความดีใส่ตัวโยนความชั่วให้คนอื่น และพบว่าในจดหมายฉบับนี้ล้วนแล้วแต่เขียนเพื่อประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ของประชาชนหรือประเทศชาติตามที่กล่าวอ้างว่าส่งจดหมายนี้ไปเพื่อธิบายความต่างๆเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแต่อย่างใดจึงไม่ทราบว่าทำจดหมายฉบับนี้ไปแล้วประชาชนจะได้อะไรได้ประโยชน์อะไรจาการทำจดหมายฉบับนี้
นอกจากนี้เมื่อได้พิจารณาเนื้อหาสาระของจดหมายที่เป็นภาษาอังกฤษรวมทั้งคำแปลภาษาไทยมีข้อความอยู่หลายตอนนั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ ต้องการตั้งคำถามสอบถามไปยังท่านนายกฯในฐานะผู้นำประเทศไทยที่ทำจดหมายฉบับนี้ไปถึงประธานาธิบดี บุช ข้อความแรกในย่อหน้าที่ 2 ที่ท่านบอกว่า “นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาได้เกิดมีภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย”
คำถามข้อแรก ที่ต้องการสอบถามไปยังท่านนายกฯ คือ ภัยคุกคามที่ท่านนายกฯกล่าวถึงนั้นคืออะไรอะไรที่เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยในประเทศไทยและภัยคุกคามนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำของใครท่านนายกฯทราบว่ามีภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย ท่านได้ดำเนินการอย่างไรกับผู้ที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประเทศไทย
คำถามข้อที่ 2 ในจดหมายฉบับนี้กล่าวถึงสถาบันหลักประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งและธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อจำกัดของรัฐบาลได้ถูกทำลายลงแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องพึ่งพาการสร้างความโกลาหลและการชุมนุมประท้วงในท้องถนนในกรุงเทพ พรรคประชาธิปัตย์ อยากทราบว่า คำว่า กลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องพึ่งพาการสร้างความโกลาหลและการชุมนุมในท้องถนนในกรุงเทพที่ท่านระบุไปในจดหมายถึงท่าน ปธน.บุช กลุ่มผลประโยชน์ที่ท่านว่านี้หมายถึงกลุ่มใดและกลุ่มผลประโยชน์นี้มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ต้องมาดำเนินการสร้างความโกลาหลตามที่ท่านระบุไว้ในจดหมายฉบับนี้
ประเด็นที่ 3 ท่านกล่าวถึงการชุมนุมประท้วงในท้องถนนเป็นพฤติกรรมเพื่อได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่กลุ่มเหล่านี้ไม่อาจได้รับด้วยการได้ชัยชนะในการเลือกตั้งคำถามที่เราถามไปยังท่านนายกฯก็คือว่า เนื่องจากข้อความได้กล่าวพาดพิงถึง เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่อาจได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คำถามก็คือว่า กลุ่มที่ว่านี้ท่านหมายถึงพรรคฝ่ายค้าน พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมหรือท่านหมายถึงใคร
ประการที่ 4 ต่อเนื่องมาบอกว่า เพราะล้มเหลวในการกระพือให้เกิดความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นมาได้ถามว่าใครคือผู้กระพือความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นมาในประเทศไทยท่านได้ดำเนินการกับผู้ที่ล้มเหลวที่จะกระพือความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นในประเทศไทยหรือไม่
ประเด็นที่ 5 ที่บอกว่าฝ่ายตรงกันข้ามของข้าพเจ้าในเวลานี้ก็พยายามหันมาใช้วิธีนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญคำถามของเราที่จะถามถึงท่านนายกฯก็คือว่า ฝ่ายตรงกันข้ามที่ท่านนายกฯที่ท่านพูดถึงว่าจะใช้กำลังพยายามใช้วิธีนอกเหนือรัฐธรรมนูญฝ่ายตรงกันข้ามที่ท่านนายกฯกำลังพูดถึงนั้นคือใครเป็นตัวบุคคล คณะบุคคลหรือองค์กรเป็นกลุ่มองค์กรทางการเมืองหรือไม่ เป็นนักการเมืองหรือไม่
ประเด็นที่ 6 ท่านนายกฯได้พูดบอกว่าในวันที่ 2 เมษายนไทยรักไทยพรรคการเมืองของข้าพเจ้าได้ชัยชนะได้รับเสียงข้างมากอย่างน่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศ คำถามข้อนี้หมายถึงว่า ท่านนายกฯ กำลังประกาศให้ชาวโลกได้ยินชัดเจนรวมทั้ง ประธานาธิบดี บุชใช่หรือไม่ว่าพรรคการเมืองที่ชื่อพรรคไทยรักไทยไม่ใช่พรรคการเมืองของพี่น้องประชาชนแต่เป็นพรรคการเมืองส่วนตัวของท่านนายกฯที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคใช่หรือไม่ และที่ท่านบอกว่าได้รับชัยชนะได้รับเสียงข้างมากอย่างน่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศอยากจะเรียนถามว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนที่ท่านบอกว่าเป็นการเลือกตั้งที่น่าพอใจนั้นเป็นชัยชนะที่น่าพอใจจริงหรือ ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนนั้นเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประกาศให้เป็นโมฆะในที่สุดจนกระทั่งถือได้ว่าเปรียบเสมือนหนึ่งไม่มีการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เหตุใดท่านนายกฯ จึงกล้าเขียนไปในจดหมายฉบับนี้ถึง ประธานาธิบดี บุช ว่า “การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนนั้นเป็นชัยชนะที่ได้รับเสียงข้างมากที่น่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วประเทศ” ท่านนายกฯไม่ได้คิดว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเปรียบเสมือนการเลือกตั้งพรรคการเมืองเดียว เหตุใดท่านจึงกล้าไปบอกว่าเป็นชัยชนะที่น่าพอใจ
ประเด็นที่ 7 ท่านบอกว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเพราะพวกเขารู้ดีว่าจะได้รับการพ่ายแพ้อีกครั้ง ประเด็นที่ 7 ถือว่าอยู่ในประเด็นของการใส่ร้ายป้ายสีและแน่นอนที่สุด คงไม่ต้องตั้งคำถามท่านนายกฯว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของท่านนายกฯที่ท่านระบุไว้ในจดหมายถึงท่าน ปธน.บุชจะหมายถึงใครเพราะท่านได้พูดต่อไปว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งเพราะกลัวแพ้การเลือกตั้งฝ่ายตรงข้ามในที่นี้ท่านคงหมายถึงพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคที่บอยคอตการเลือกตั้งปัญหาก็คือว่า ทำไมท่านนายกฯจึงได้ไปบิดเบือนความเป็นจริงว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือบอยคอตการเลือกตั้งเพราะกลัวพ่ายแพ้การเลือกตั้งท่านไปใส่ร้ายป้ายสีในลักษณะนี้เพื่อประโยชน์อะไร
ประการที่ 8 ท่านได้พูดไปถึงอนาคตว่านักสังเกตการณ์ที่เป็นกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าพรรคการเมืองของข้าพเจ้าจะได้รับฉันทานุมัติของประชาชนให้จัดตั้งรัฐบาลในระหว่างช่วงเวลานั้น สิ่งที่อยากจะสอบถามท่านนายกฯ ก็คือว่า ท่านรู้ได้อย่างไรว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเดือนตุลาคมและนักสังเกตการณ์ที่เป็นกลางที่ท่านระบุถึงนั้นคือใครท่านหมายถึงใครอย่างไร
ประเด็นสำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งที่อาจจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับนานาชาติถ้าหากจดหมายนี้ถูกเปิดเผยก็คือว่า ประโยคที่ท่านนายกฯใช้เป็นภาษาอังกฤษในย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 6 ประโยคที่ว่า “I could not allow my country to drift without leadership, Our on — going war on terror must be prosecuted” แปลเป็นภาษาไทยว่าข้าพเจ้าไม่อาจปล่อยให้ประเทศของข้าพเจ้าถดถอยต่อไปโดยไร้ผู้นำการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของเราจำเป็นต้องดำเนินไป เศรษฐกิจของเราจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการใช้ภาษาอังกฤษว่า War on terror แปลว่า ข้าพเจ้าไม่อาจปล่อยให้ประเทศของข้าพเจ้าถดถอยต่อไปโดยไร้ผู้นำการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ถามว่าท่านนายกฯ กำลังมองปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นสงครามเช่นนั้นหรือท่านจึงได้ระบุในนี้ว่า ทำสงครามก็แสดงว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ว่ามันเป็นสงครามเช่นนั้นหรือ
นายองอาจกล่าวต่อไปว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อหาสาระในจดหมายฉบับนี้ซึ่งมีหลายประโยคหลายตอนหลายคำถามที่ท่านนายกฯจะต้องตอบจะต้องชี้แจงเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ในส่วนของ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ายังมีความจำเป็นที่รัฐบาลควรจะเปิดเผยจดหมายฉบับจริงออกมาให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าจดหมายฉบับจริงนั้นมีเนื้อหาสาระเหมือนอย่างที่ปรากฎในสื่อหรือไม่ มีเนื้อหาสาระที่ถูกตัดออกไปหรือไม่ และตราบใดที่จดหมายฉบับจริงยังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา ก็ยังไม่อาจมั่นใจได้ว่า ท่านนายกฯได้เขียนอะไรลงไปในทำนองให้ร้ายโดยไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของท่านนายกฯจากการเขียนจดหมายฉบับนี้ไปถึง ประธานาธิบดีบุชนั้นเป็นพฤติกรรมที่ผู้นำประเทศไม่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งในการไปบิดเบือนข้อมูลความเป็นจริงในประเทศของเราให้ผู้นำประเทศอื่นได้รับทราบ
นายองอาจ กล่าวอีกว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่สงครามแน่นอน แต่การใช้คำว่า War นั้น ไม่น่าจะถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาวิเคราะห์ว่าไม่น่าจะหมายถึงการร่วมมือทำสงครามก่อการร้ายระหว่างประเทศกับสหรัฐฯ เช่นกัน เพราะ ในประโยคถัดมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ และ การเมืองในไทย แต่แปลกใจว่าเหตุใดนายกฯถึงประเมินสถานการณ์ใต้ว่าเป็นสงคราม
นอกจากนี้ นายองอาจ ยังกล่าวอีกว่า ไม่ได้เป็นจดหมายส่วนตัวแน่นอน เพราะหัวหนังสือระบุชัดเจนว่าเขียนจาก Office of the Prime Minister, Government House หรือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล และยังลงชื่อในบรรทัดสุดท้ายว่า โดยใช้ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และยืนยันว่าในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 และเลขานุการรัฐมนตรี ในสมัยชวน 2 ไม่เคยส่งจดหมายเล่าเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองที่บิดเบือนให้กับผู้นำประเทศอื่นรับทราบ อาจจะมีจดหมายแสดงความยินดี หรือเศร้าใจต่อเหตุการณ์ต่างๆบ้าง กรณีนี้เป็นการใช้สถานะนายกฯ เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ นายองอาจกล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าใครจะคิดทำอะไร เพราะนายกฯ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และปัจจุบันการลอบสังหารไม่ได้ทำง่าย เพราะมีความระมัดระวัง และป้องกันเป็นอย่างมาก ซึ่งความขัดแย้งมีเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ความขัดแย้งส่วนตัวเป็นเรื่องความไม่เห็นด้วยกับวิธีการในฐานะที่เป็นนายกฯ ดังนั้น คิดว่า เรื่องนี้เป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าการเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตอย่างมาก จะได้ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกรูปแบบ รวมทั้งเป็นการสร้างกระแสความสงสารให้กับตัวนายกฯ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2549--จบ--
นอกจากนี้เมื่อได้พิจารณาเนื้อหาสาระของจดหมายที่เป็นภาษาอังกฤษรวมทั้งคำแปลภาษาไทยมีข้อความอยู่หลายตอนนั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ ต้องการตั้งคำถามสอบถามไปยังท่านนายกฯในฐานะผู้นำประเทศไทยที่ทำจดหมายฉบับนี้ไปถึงประธานาธิบดี บุช ข้อความแรกในย่อหน้าที่ 2 ที่ท่านบอกว่า “นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาได้เกิดมีภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย”
คำถามข้อแรก ที่ต้องการสอบถามไปยังท่านนายกฯ คือ ภัยคุกคามที่ท่านนายกฯกล่าวถึงนั้นคืออะไรอะไรที่เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยในประเทศไทยและภัยคุกคามนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำของใครท่านนายกฯทราบว่ามีภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย ท่านได้ดำเนินการอย่างไรกับผู้ที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประเทศไทย
คำถามข้อที่ 2 ในจดหมายฉบับนี้กล่าวถึงสถาบันหลักประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งและธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อจำกัดของรัฐบาลได้ถูกทำลายลงแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องพึ่งพาการสร้างความโกลาหลและการชุมนุมประท้วงในท้องถนนในกรุงเทพ พรรคประชาธิปัตย์ อยากทราบว่า คำว่า กลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องพึ่งพาการสร้างความโกลาหลและการชุมนุมในท้องถนนในกรุงเทพที่ท่านระบุไปในจดหมายถึงท่าน ปธน.บุช กลุ่มผลประโยชน์ที่ท่านว่านี้หมายถึงกลุ่มใดและกลุ่มผลประโยชน์นี้มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ต้องมาดำเนินการสร้างความโกลาหลตามที่ท่านระบุไว้ในจดหมายฉบับนี้
ประเด็นที่ 3 ท่านกล่าวถึงการชุมนุมประท้วงในท้องถนนเป็นพฤติกรรมเพื่อได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่กลุ่มเหล่านี้ไม่อาจได้รับด้วยการได้ชัยชนะในการเลือกตั้งคำถามที่เราถามไปยังท่านนายกฯก็คือว่า เนื่องจากข้อความได้กล่าวพาดพิงถึง เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่อาจได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คำถามก็คือว่า กลุ่มที่ว่านี้ท่านหมายถึงพรรคฝ่ายค้าน พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมหรือท่านหมายถึงใคร
ประการที่ 4 ต่อเนื่องมาบอกว่า เพราะล้มเหลวในการกระพือให้เกิดความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นมาได้ถามว่าใครคือผู้กระพือความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นมาในประเทศไทยท่านได้ดำเนินการกับผู้ที่ล้มเหลวที่จะกระพือความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นในประเทศไทยหรือไม่
ประเด็นที่ 5 ที่บอกว่าฝ่ายตรงกันข้ามของข้าพเจ้าในเวลานี้ก็พยายามหันมาใช้วิธีนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญคำถามของเราที่จะถามถึงท่านนายกฯก็คือว่า ฝ่ายตรงกันข้ามที่ท่านนายกฯที่ท่านพูดถึงว่าจะใช้กำลังพยายามใช้วิธีนอกเหนือรัฐธรรมนูญฝ่ายตรงกันข้ามที่ท่านนายกฯกำลังพูดถึงนั้นคือใครเป็นตัวบุคคล คณะบุคคลหรือองค์กรเป็นกลุ่มองค์กรทางการเมืองหรือไม่ เป็นนักการเมืองหรือไม่
ประเด็นที่ 6 ท่านนายกฯได้พูดบอกว่าในวันที่ 2 เมษายนไทยรักไทยพรรคการเมืองของข้าพเจ้าได้ชัยชนะได้รับเสียงข้างมากอย่างน่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศ คำถามข้อนี้หมายถึงว่า ท่านนายกฯ กำลังประกาศให้ชาวโลกได้ยินชัดเจนรวมทั้ง ประธานาธิบดี บุชใช่หรือไม่ว่าพรรคการเมืองที่ชื่อพรรคไทยรักไทยไม่ใช่พรรคการเมืองของพี่น้องประชาชนแต่เป็นพรรคการเมืองส่วนตัวของท่านนายกฯที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคใช่หรือไม่ และที่ท่านบอกว่าได้รับชัยชนะได้รับเสียงข้างมากอย่างน่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศอยากจะเรียนถามว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนที่ท่านบอกว่าเป็นการเลือกตั้งที่น่าพอใจนั้นเป็นชัยชนะที่น่าพอใจจริงหรือ ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนนั้นเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประกาศให้เป็นโมฆะในที่สุดจนกระทั่งถือได้ว่าเปรียบเสมือนหนึ่งไม่มีการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เหตุใดท่านนายกฯ จึงกล้าเขียนไปในจดหมายฉบับนี้ถึง ประธานาธิบดี บุช ว่า “การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนนั้นเป็นชัยชนะที่ได้รับเสียงข้างมากที่น่าพอใจในการเลือกตั้งทั่วประเทศ” ท่านนายกฯไม่ได้คิดว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเปรียบเสมือนการเลือกตั้งพรรคการเมืองเดียว เหตุใดท่านจึงกล้าไปบอกว่าเป็นชัยชนะที่น่าพอใจ
ประเด็นที่ 7 ท่านบอกว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเพราะพวกเขารู้ดีว่าจะได้รับการพ่ายแพ้อีกครั้ง ประเด็นที่ 7 ถือว่าอยู่ในประเด็นของการใส่ร้ายป้ายสีและแน่นอนที่สุด คงไม่ต้องตั้งคำถามท่านนายกฯว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของท่านนายกฯที่ท่านระบุไว้ในจดหมายถึงท่าน ปธน.บุชจะหมายถึงใครเพราะท่านได้พูดต่อไปว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งเพราะกลัวแพ้การเลือกตั้งฝ่ายตรงข้ามในที่นี้ท่านคงหมายถึงพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคที่บอยคอตการเลือกตั้งปัญหาก็คือว่า ทำไมท่านนายกฯจึงได้ไปบิดเบือนความเป็นจริงว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือบอยคอตการเลือกตั้งเพราะกลัวพ่ายแพ้การเลือกตั้งท่านไปใส่ร้ายป้ายสีในลักษณะนี้เพื่อประโยชน์อะไร
ประการที่ 8 ท่านได้พูดไปถึงอนาคตว่านักสังเกตการณ์ที่เป็นกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าพรรคการเมืองของข้าพเจ้าจะได้รับฉันทานุมัติของประชาชนให้จัดตั้งรัฐบาลในระหว่างช่วงเวลานั้น สิ่งที่อยากจะสอบถามท่านนายกฯ ก็คือว่า ท่านรู้ได้อย่างไรว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเดือนตุลาคมและนักสังเกตการณ์ที่เป็นกลางที่ท่านระบุถึงนั้นคือใครท่านหมายถึงใครอย่างไร
ประเด็นสำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งที่อาจจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับนานาชาติถ้าหากจดหมายนี้ถูกเปิดเผยก็คือว่า ประโยคที่ท่านนายกฯใช้เป็นภาษาอังกฤษในย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 6 ประโยคที่ว่า “I could not allow my country to drift without leadership, Our on — going war on terror must be prosecuted” แปลเป็นภาษาไทยว่าข้าพเจ้าไม่อาจปล่อยให้ประเทศของข้าพเจ้าถดถอยต่อไปโดยไร้ผู้นำการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของเราจำเป็นต้องดำเนินไป เศรษฐกิจของเราจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการใช้ภาษาอังกฤษว่า War on terror แปลว่า ข้าพเจ้าไม่อาจปล่อยให้ประเทศของข้าพเจ้าถดถอยต่อไปโดยไร้ผู้นำการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ถามว่าท่านนายกฯ กำลังมองปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นสงครามเช่นนั้นหรือท่านจึงได้ระบุในนี้ว่า ทำสงครามก็แสดงว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ว่ามันเป็นสงครามเช่นนั้นหรือ
นายองอาจกล่าวต่อไปว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อหาสาระในจดหมายฉบับนี้ซึ่งมีหลายประโยคหลายตอนหลายคำถามที่ท่านนายกฯจะต้องตอบจะต้องชี้แจงเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ในส่วนของ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ายังมีความจำเป็นที่รัฐบาลควรจะเปิดเผยจดหมายฉบับจริงออกมาให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าจดหมายฉบับจริงนั้นมีเนื้อหาสาระเหมือนอย่างที่ปรากฎในสื่อหรือไม่ มีเนื้อหาสาระที่ถูกตัดออกไปหรือไม่ และตราบใดที่จดหมายฉบับจริงยังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา ก็ยังไม่อาจมั่นใจได้ว่า ท่านนายกฯได้เขียนอะไรลงไปในทำนองให้ร้ายโดยไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของท่านนายกฯจากการเขียนจดหมายฉบับนี้ไปถึง ประธานาธิบดีบุชนั้นเป็นพฤติกรรมที่ผู้นำประเทศไม่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งในการไปบิดเบือนข้อมูลความเป็นจริงในประเทศของเราให้ผู้นำประเทศอื่นได้รับทราบ
นายองอาจ กล่าวอีกว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่สงครามแน่นอน แต่การใช้คำว่า War นั้น ไม่น่าจะถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาวิเคราะห์ว่าไม่น่าจะหมายถึงการร่วมมือทำสงครามก่อการร้ายระหว่างประเทศกับสหรัฐฯ เช่นกัน เพราะ ในประโยคถัดมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ และ การเมืองในไทย แต่แปลกใจว่าเหตุใดนายกฯถึงประเมินสถานการณ์ใต้ว่าเป็นสงคราม
นอกจากนี้ นายองอาจ ยังกล่าวอีกว่า ไม่ได้เป็นจดหมายส่วนตัวแน่นอน เพราะหัวหนังสือระบุชัดเจนว่าเขียนจาก Office of the Prime Minister, Government House หรือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล และยังลงชื่อในบรรทัดสุดท้ายว่า โดยใช้ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และยืนยันว่าในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 และเลขานุการรัฐมนตรี ในสมัยชวน 2 ไม่เคยส่งจดหมายเล่าเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองที่บิดเบือนให้กับผู้นำประเทศอื่นรับทราบ อาจจะมีจดหมายแสดงความยินดี หรือเศร้าใจต่อเหตุการณ์ต่างๆบ้าง กรณีนี้เป็นการใช้สถานะนายกฯ เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ นายองอาจกล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าใครจะคิดทำอะไร เพราะนายกฯ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และปัจจุบันการลอบสังหารไม่ได้ทำง่าย เพราะมีความระมัดระวัง และป้องกันเป็นอย่างมาก ซึ่งความขัดแย้งมีเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ความขัดแย้งส่วนตัวเป็นเรื่องความไม่เห็นด้วยกับวิธีการในฐานะที่เป็นนายกฯ ดังนั้น คิดว่า เรื่องนี้เป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าการเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตอย่างมาก จะได้ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกรูปแบบ รวมทั้งเป็นการสร้างกระแสความสงสารให้กับตัวนายกฯ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2549--จบ--