สศอ.เผยไทย-ญี่ปุ่นจับมือร่วมพัฒนาอุตฯเหล็ก หวังเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เชื่อได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชูการเจรจาสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 (The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue) คือแนวทางสู่ความแกร่งในเวทีโลก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า หลังการประชุม The 1 st Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee และ The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue โดยนางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ระหว่างวันที่ 2 — 3 กุมภาพันธ์ 2549 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า จากการที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของประเทศญี่ปุ่นได้มีความตกลงร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในการที่จะจัดให้มีการประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและวิชาการระหว่างอุตสาหกรรมเหล็กของทั้งสองประเทศ โดยจะจัดให้มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง และสลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง
โดยการประชุมครั้งที่ 3 ไทยได้มีการเสนอโปรแกรมขอความร่วมมือทางด้านวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นในส่วนของเทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทักษะช่างเทคนิคและวิศวกรในโรงงานเหล็กของไทย และขอความสนับสนุนทางการศึกษาจากสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียด ดังนั้นในที่ประชุมจึงได้มีการเสนอให้จัดตั้ง Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนฝ่ายญี่ปุ่น 6 คน และฝ่ายไทย 7 คน
“เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 คณะ Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ได้มีการประชุมหารือครั้งที่ 1 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้มีการพิจารณาข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นยังไม่สามารถรับข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามฝ่ายญี่ปุ่นรับว่า จะขอนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง และจะแจ้งผลให้ฝ่ายไทยทราบก่อนการประชุมครั้งต่อไปซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยประมาณเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม 2549 สำหรับผลการประชุมครั้งนี้ได้รายงานต่อที่ประชุม The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue ซึ่งจัดขึ้นในวันถัดมาคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรม Palace กรุงโตเกียว”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สำหรับการประชุม The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลภาวะเศรษฐกิจของประเทศและภาวะตลาดเหล็ก รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นภาวะตลาดโลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากประเทศจีนที่มีผลผลิตเกินความต้องการภายในประเทศและได้ส่งออกเหล็กราคาถูกไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนั้น ยังได้มีการหารือถึงบทบาทของ Steel Dialogue ในอนาคต รวมทั้งเห็นชอบในการให้คณะกรรมการ Japan-Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ซึ่งอยู่ภายใต้ Steel Dialogue เป็นผู้ดูแลเรื่องความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งคาดว่าจากการประชุมครั้งนี้จะนำมาสู่แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า หลังการประชุม The 1 st Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee และ The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue โดยนางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ระหว่างวันที่ 2 — 3 กุมภาพันธ์ 2549 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า จากการที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของประเทศญี่ปุ่นได้มีความตกลงร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในการที่จะจัดให้มีการประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและวิชาการระหว่างอุตสาหกรรมเหล็กของทั้งสองประเทศ โดยจะจัดให้มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง และสลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง
โดยการประชุมครั้งที่ 3 ไทยได้มีการเสนอโปรแกรมขอความร่วมมือทางด้านวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นในส่วนของเทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทักษะช่างเทคนิคและวิศวกรในโรงงานเหล็กของไทย และขอความสนับสนุนทางการศึกษาจากสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียด ดังนั้นในที่ประชุมจึงได้มีการเสนอให้จัดตั้ง Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนฝ่ายญี่ปุ่น 6 คน และฝ่ายไทย 7 คน
“เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 คณะ Japan — Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ได้มีการประชุมหารือครั้งที่ 1 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้มีการพิจารณาข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นยังไม่สามารถรับข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามฝ่ายญี่ปุ่นรับว่า จะขอนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง และจะแจ้งผลให้ฝ่ายไทยทราบก่อนการประชุมครั้งต่อไปซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยประมาณเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม 2549 สำหรับผลการประชุมครั้งนี้ได้รายงานต่อที่ประชุม The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue ซึ่งจัดขึ้นในวันถัดมาคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรม Palace กรุงโตเกียว”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สำหรับการประชุม The 4 th Japan — Thailand Steel Dialogue ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลภาวะเศรษฐกิจของประเทศและภาวะตลาดเหล็ก รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นภาวะตลาดโลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากประเทศจีนที่มีผลผลิตเกินความต้องการภายในประเทศและได้ส่งออกเหล็กราคาถูกไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนั้น ยังได้มีการหารือถึงบทบาทของ Steel Dialogue ในอนาคต รวมทั้งเห็นชอบในการให้คณะกรรมการ Japan-Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee ซึ่งอยู่ภายใต้ Steel Dialogue เป็นผู้ดูแลเรื่องความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งคาดว่าจากการประชุมครั้งนี้จะนำมาสู่แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-