สศอ.เผยยานยนต์-คอมพ์ฯแรงไม่แผ่วผู้ผลิตเร่งส่งสินค้าใหม่ทำตลาดคึกคัก เน้นสร้างความต่างหนีคู่แข่ง คาดสินค้าใหม่ดันยอดโตต่อเนื่อง ส่งดัชนีอุตฯมี.ค.เพิ่มทุกตัวชี้วัด
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม อยู่ที่ระดับ 172.42 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 160.59 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 72.4
สำหรับในเดือนมีนาคม ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 177.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 จากระดับ 166.43 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 154.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 จากระดับ 150.54 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 179.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.59 จากระดับ 152.85 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 147.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.99 จากระดับ 119.18
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 120.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63 จากระดับ 119.73 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.57 จากระดับ 140.23
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตน้ำตาล
การผลิตยานยนต์ นับตั้งแต่ปลายปี 2548 จนกระทั่งต้นปี 2549 อุตสาหกรรมยานยนต์มีความคึกคักเป็นอย่างมาก ผู้ผลิตแต่ละรายต่างทยอยส่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆออกมาทำตลาดมากขึ้น อีกทั้งมาตรการจูงใจผู้บริโภคที่กระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.5 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ซึ่งการจำหน่ายในประเทศ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เครื่องยนต์ไม่เกิน 1800 ซีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และรถปิคอัพเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ส่วนตลาดส่งออก รถปิคอัพยังคงเป็นหัวจักรสำคัญ โดยไตรมาสแรกของปี 2549 สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือส่งออกได้ถึง 87,200 คัน จากที่ส่งออกได้ 34,000 คัน
การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการขยายตัวได้ดีตามแรงสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าทั้งกลุ่มเติบโตได้กว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ยังคงเป็น Hard Disk Drive ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 ในไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2547 ได้เริ่มการผลิตอย่างเต็มที่ รวมทั้งปัจจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง สินค้าในกลุ่มสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอื่นๆจึงส่งผลต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การผลิตน้ำตาล ถึงแม้ฤดูกาลผลิตปีนี้จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลน้อยลง แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสามารถผลิตน้ำตาลรวมได้ถึง 847,191 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 215 โดยแยกเป็นน้ำตาลดิบ 166,173 ตัน น้ำตาลทรายขาวธรรมดา 464,632 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 215,465 ตัน และกากน้ำตาล 447,070 ตัน ส่วนจำหน่ายเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค ที่ขยายตัวทั้งในประเทศและการส่งออก
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมีนาคม ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนมีภาวะการผลิตและจำหน่ายที่ชะลอลง โดยเหล็กทรงยาวมีการชะลอตัวลงเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจรวมทั้งโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาลได้เลื่อนออกไป ส่วนเหล็กทรงแบนซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงอยู่ จึงลดการผลิตลงเพื่อระบายสินค้าที่มีอยู่ออกไป
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น เมื่อรวมเข้าสู่กระบวนการผลิตอื่นๆทำให้ต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง และไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ เนื่องจากจะกระทบต่อกลุ่มลูกค้าในตลาดหลักที่จะหันไปสั่งสินค้าจากคู่ประเทศแข่งแทน จึงส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่มนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม อยู่ที่ระดับ 172.42 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 160.59 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 72.4
สำหรับในเดือนมีนาคม ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 177.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 จากระดับ 166.43 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 154.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 จากระดับ 150.54 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 179.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.59 จากระดับ 152.85 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 147.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.99 จากระดับ 119.18
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 120.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63 จากระดับ 119.73 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.57 จากระดับ 140.23
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตน้ำตาล
การผลิตยานยนต์ นับตั้งแต่ปลายปี 2548 จนกระทั่งต้นปี 2549 อุตสาหกรรมยานยนต์มีความคึกคักเป็นอย่างมาก ผู้ผลิตแต่ละรายต่างทยอยส่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆออกมาทำตลาดมากขึ้น อีกทั้งมาตรการจูงใจผู้บริโภคที่กระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.5 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ซึ่งการจำหน่ายในประเทศ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เครื่องยนต์ไม่เกิน 1800 ซีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และรถปิคอัพเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ส่วนตลาดส่งออก รถปิคอัพยังคงเป็นหัวจักรสำคัญ โดยไตรมาสแรกของปี 2549 สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือส่งออกได้ถึง 87,200 คัน จากที่ส่งออกได้ 34,000 คัน
การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการขยายตัวได้ดีตามแรงสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าทั้งกลุ่มเติบโตได้กว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ยังคงเป็น Hard Disk Drive ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 ในไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2547 ได้เริ่มการผลิตอย่างเต็มที่ รวมทั้งปัจจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง สินค้าในกลุ่มสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอื่นๆจึงส่งผลต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การผลิตน้ำตาล ถึงแม้ฤดูกาลผลิตปีนี้จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลน้อยลง แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสามารถผลิตน้ำตาลรวมได้ถึง 847,191 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 215 โดยแยกเป็นน้ำตาลดิบ 166,173 ตัน น้ำตาลทรายขาวธรรมดา 464,632 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 215,465 ตัน และกากน้ำตาล 447,070 ตัน ส่วนจำหน่ายเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค ที่ขยายตัวทั้งในประเทศและการส่งออก
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมีนาคม ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนมีภาวะการผลิตและจำหน่ายที่ชะลอลง โดยเหล็กทรงยาวมีการชะลอตัวลงเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจรวมทั้งโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาลได้เลื่อนออกไป ส่วนเหล็กทรงแบนซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงอยู่ จึงลดการผลิตลงเพื่อระบายสินค้าที่มีอยู่ออกไป
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น เมื่อรวมเข้าสู่กระบวนการผลิตอื่นๆทำให้ต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง และไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ เนื่องจากจะกระทบต่อกลุ่มลูกค้าในตลาดหลักที่จะหันไปสั่งสินค้าจากคู่ประเทศแข่งแทน จึงส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่มนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-