สศอ.เผยดัชนีอุตฯ เคลื่อนไหวบวก อุตฯส่งออกขยายตัวไปได้ดี ชี้การผลิตคอมพ์-ยานยนต์-เสื้อผ้า เป็นปัจจัยหลักหนุนดัชนีอุตฯต.ค. เพิ่มร้อยละ 5.74 จากเดือนเดียวกันของปี 2548
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนว่า เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่มีความแข็งแกร่ง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ การผลิตรถยนต์ และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เติบโตได้ถึงร้อยละ 9.8
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk ขนาด 2.5 นิ้ว เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้โน้ตบุ๊คแพร่หลายจึงกระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้าสนองต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น
การผลิตยานยนต์ แม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ในประเทศจะซบเซาลงบ้าง เนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับที่สูง อัตราดอกเบี้ย สภาพการเมืองที่ไม่ชัดเจน และปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดลงโดยเฉพาะภาคเกษตรกร แต่ในช่วงปลายปีจะมีการเร่งผลิต เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ที่มีการกระตุ้นตลาดครั้งใหญ่ในงานมอเตอร์โชว์ ส่วนด้านการส่งออกยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยใน 10 เดือนแรกของปี 2549 การส่งออกมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 43.2 เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 และ 7.8 ตามลำดับ
การผลิตเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย แม้ตลาดโดยรวมจะซบเซาอยู่มากเนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง แต่ภาวการณ์ผลิตเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ผลิตเร่งผลิตสินค้าให้ทันตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามา และในช่วงปลายปีจะมีการแข่งขันสูงมากทำให้ผู้ผลิตบางรายมีการปิดออเดอร์ก่อนสิ้นปี
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนต.ค.มีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตโทรทัศน์
โดย การผลิตโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 11.1 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 7.98 เนื่องจากการส่งออกลดลง และอีกปัจจัยที่ทำให้มีการผลิตลดลง เนื่องจากตลาดเครื่องรับโทรทัศน์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง โดยเทคโนโลยี LCD จะเข้ามาแทนที่โทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพ จึงทำให้ภาวการณ์ผลิตและจำหน่ายจึงลดลง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ในบางส่วนแล้ว
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 163.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.74 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.87 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 163.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 187.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.59 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.14 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 115.59 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.36 ดัชนีผลิตภาพแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 136.14 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.70 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.01
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนว่า เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่มีความแข็งแกร่ง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ การผลิตรถยนต์ และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เติบโตได้ถึงร้อยละ 9.8
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk ขนาด 2.5 นิ้ว เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้โน้ตบุ๊คแพร่หลายจึงกระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้าสนองต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น
การผลิตยานยนต์ แม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ในประเทศจะซบเซาลงบ้าง เนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับที่สูง อัตราดอกเบี้ย สภาพการเมืองที่ไม่ชัดเจน และปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดลงโดยเฉพาะภาคเกษตรกร แต่ในช่วงปลายปีจะมีการเร่งผลิต เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ที่มีการกระตุ้นตลาดครั้งใหญ่ในงานมอเตอร์โชว์ ส่วนด้านการส่งออกยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยใน 10 เดือนแรกของปี 2549 การส่งออกมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 43.2 เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 และ 7.8 ตามลำดับ
การผลิตเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย แม้ตลาดโดยรวมจะซบเซาอยู่มากเนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง แต่ภาวการณ์ผลิตเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ผลิตเร่งผลิตสินค้าให้ทันตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามา และในช่วงปลายปีจะมีการแข่งขันสูงมากทำให้ผู้ผลิตบางรายมีการปิดออเดอร์ก่อนสิ้นปี
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนต.ค.มีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตโทรทัศน์
โดย การผลิตโทรทัศน์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 11.1 การจำหน่ายลดลงร้อยละ 7.98 เนื่องจากการส่งออกลดลง และอีกปัจจัยที่ทำให้มีการผลิตลดลง เนื่องจากตลาดเครื่องรับโทรทัศน์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง โดยเทคโนโลยี LCD จะเข้ามาแทนที่โทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพ จึงทำให้ภาวการณ์ผลิตและจำหน่ายจึงลดลง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ในบางส่วนแล้ว
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 163.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.74 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.87 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 163.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 187.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.59 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.14 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 115.59 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.36 ดัชนีผลิตภาพแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 136.14 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.70 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.01
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-