วันนี้ (17 ก.ค.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ร่วมกันแถลงข่าวก่อนเดินทางไปให้การต่อศาลอาญารัชดา กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ซึ่งศาลอาญาจะพิจารณาปิดคดีในวันที่ 25 กรกฎาคมที่ว่า ระเบียบที่ตนอ้างว่าจำเลยทั้ง 3 คนได้กระทำความผิดคือระเบียบของ กกต.ก็คือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งปี 2543 ทั้งหมด 9 ข้อในข้อ 6 ข้อ 7 เขียนไว้ชัดว่าในการเลือกตั้งใหม่ห้ามมิให้มีการเปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งถอนการสมัครรับเลือกตั้ง นายวีระศักดิ์ กรรณสูต ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศไว้ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษากฤษฎีกาเล่มที่ 117 ตอนที่ 120 ก.วันที่ 26 ธันวาคม 2543 อันนี้ชัดเจนมากจะเห็นได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าได้มีประกาศของ กกต.ฉบับนี้อยู่ว่าห้ามไม่ให้รับสมัครใหม่แต่ยังฝืนรับสมัครเพื่อที่จะช่วยพรรคไทยรักไทยให้มีคู้แข่งขันใน 38 เขตเลือกตั้ง
นายถาวร กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่ว่าด้วยตนเป็นผู้เสียหายหรือไม่ที่จะนำคดีนี้มาฟ้องที่ศาล คำว่าผู้เสียหายที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้มีอยู่ 2 นัย 1. เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายก็คือกฎมายบัญญัติให้ตนเป็นผู้เสียหายนั่นคือเป็นผู้เสียหายที่ถูกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยบุคคลหรือองค์กร 2. เป็นผู้เสียหายตามความเป็นจริง ผู้เสียหายตามความเป็นจริงก็คือ ตนในฐานะเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเจตเลือกตั้งที่ 6 จ.สงขลาเมื่อจำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) 2 ครั้ง คือวันที่ 2 และวันที่ 23 เมษายน
“ถ้าผมไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตนก็จะต้องเสียสิทธิ์ 8 ประการ นั่นคือตนถูกบังคับ ไม่ว่าการเลือกตั้งจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจะถูกเพิกถอนในภายหลังก็ตาม ประการที่ 2 ความเสียหายตามความเป็นจริงก็คือเมื่อผมเดินทางออกจากบ้านอย่างน้อยที่ตนก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเติมน้ำมันรถเสียเวลา เขาเรียกว่าความเสียหายตามความเป็นจริง” รองเลขาธิการ ปชป.กล่าว
นายถาวร เปิดเผยต่อไปว่า ความเสียหายตามความเป็นจริงประการที่ 3 ก็คือ เมื่อการจัดการเลือกตั้งของลำเลยถูกเพิกถอนการถูกเพิกถอนนั่นคือตนไม่มี ส.ส.ที่จะใช้สิทธิ์ในฐานะเป็นพลเมืองคนที่มี ส.ส.หรือการที่เรามี ส.ส.ในเขตเลือกตั้งสามารถให้ ส.ส.เป็นปากเป็นเสียงแทนเราได้ พิจารณาเรื่องต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญหรือตามที่พระราชบัญญัติเปิดโอกาสให้ ส.ส.ทำหน้าที่แทนเราได้นั่นถึงเป็นความเสียหายตามความเป็นจริง ดังนั้นดังที่ได้แจ้งพวกเราสื่อมวลชนแล้วว่า ประเด็นของการเป็นผู้เสียหายตนเสียหายตามความเป็นจริงและเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
“นอกจากนั้นกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้ในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ก็คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ในคราวประชุมมีนายพีระพันธุ์ พาลุสุข ได้ถามประธานในที่ประชุมซึ่งเป็นการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 นายพีระพันธ์ ถามว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ประธานในที่ประชุมบอกว่าเป็นผู้เสียหายได้ให้เจตนารมณ์ตาม รธน.บัญญัติให้ผมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายได้ ส่วนความเสียหายตามความเป็นจริงตามที่ตนได้แจ้งว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเสียเวลาได้รับผลกระทบจากกระทำของจำเลยที่จัดการเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมและถูกเพิกถอนในภายหลัง” รองเลขา ปชป.กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ก.ค. 2549--จบ--
นายถาวร กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่ว่าด้วยตนเป็นผู้เสียหายหรือไม่ที่จะนำคดีนี้มาฟ้องที่ศาล คำว่าผู้เสียหายที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้มีอยู่ 2 นัย 1. เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายก็คือกฎมายบัญญัติให้ตนเป็นผู้เสียหายนั่นคือเป็นผู้เสียหายที่ถูกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยบุคคลหรือองค์กร 2. เป็นผู้เสียหายตามความเป็นจริง ผู้เสียหายตามความเป็นจริงก็คือ ตนในฐานะเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเจตเลือกตั้งที่ 6 จ.สงขลาเมื่อจำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) 2 ครั้ง คือวันที่ 2 และวันที่ 23 เมษายน
“ถ้าผมไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตนก็จะต้องเสียสิทธิ์ 8 ประการ นั่นคือตนถูกบังคับ ไม่ว่าการเลือกตั้งจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจะถูกเพิกถอนในภายหลังก็ตาม ประการที่ 2 ความเสียหายตามความเป็นจริงก็คือเมื่อผมเดินทางออกจากบ้านอย่างน้อยที่ตนก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเติมน้ำมันรถเสียเวลา เขาเรียกว่าความเสียหายตามความเป็นจริง” รองเลขาธิการ ปชป.กล่าว
นายถาวร เปิดเผยต่อไปว่า ความเสียหายตามความเป็นจริงประการที่ 3 ก็คือ เมื่อการจัดการเลือกตั้งของลำเลยถูกเพิกถอนการถูกเพิกถอนนั่นคือตนไม่มี ส.ส.ที่จะใช้สิทธิ์ในฐานะเป็นพลเมืองคนที่มี ส.ส.หรือการที่เรามี ส.ส.ในเขตเลือกตั้งสามารถให้ ส.ส.เป็นปากเป็นเสียงแทนเราได้ พิจารณาเรื่องต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญหรือตามที่พระราชบัญญัติเปิดโอกาสให้ ส.ส.ทำหน้าที่แทนเราได้นั่นถึงเป็นความเสียหายตามความเป็นจริง ดังนั้นดังที่ได้แจ้งพวกเราสื่อมวลชนแล้วว่า ประเด็นของการเป็นผู้เสียหายตนเสียหายตามความเป็นจริงและเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
“นอกจากนั้นกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้ในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ก็คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ในคราวประชุมมีนายพีระพันธุ์ พาลุสุข ได้ถามประธานในที่ประชุมซึ่งเป็นการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 นายพีระพันธ์ ถามว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ประธานในที่ประชุมบอกว่าเป็นผู้เสียหายได้ให้เจตนารมณ์ตาม รธน.บัญญัติให้ผมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายได้ ส่วนความเสียหายตามความเป็นจริงตามที่ตนได้แจ้งว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเสียเวลาได้รับผลกระทบจากกระทำของจำเลยที่จัดการเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมและถูกเพิกถอนในภายหลัง” รองเลขา ปชป.กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ก.ค. 2549--จบ--