นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐาน0000ประธานคณะตรวจสอบทุจริต พรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคได้ตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการดำเนินโครงการโทรศัพท์มือถือภูมิภาค(ซีดีเอ็มเอ) 51 จังหวัด ของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เฟสที่ 1 วงเงิน 7,000 ล้านบาท พบว่าโครงการนี้มีแนวโน้มว่าฝ่ายราชการจะเสียเปรียบ
ดังนั้นในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ตนจะยื่นหนังสือให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) พิจารณาโครงการดังกล่าวใน 3 ประเด็นคือ 1.ทำไมบริษัท กสท.อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) จึงไม่พิจารณาปรับบริษัทคู่สัญญาที่เป็นกิจกรรมร่วมค้าได้แก่ บริษัท หัวเหว่ย (เทคโนโลยี) จำกัด จากกรณีส่งงานล่าช้าไม่ทันกำหนดตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยบริษัทนี้ต้องเสียค่าปรับวันละ 90 ล้านบาท จำนวน 42 วัน รวมมูลค่ากว่า 3,700 ล้านบาท
2.ขอให้ สตง.พิจารณาว่ามีการแก้ไขสัญญาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหรือไม่ และ3.ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกสท.มีมากน้อยเพียงไร เนื่องจากตามเป้าหมาย หากโครงการนี้สำเร็จในปี 2549 กสท.จะมีลูกค้า 6 หมื่นราย แต่ปัจจุบัน ผลจากความล่าช้าของโครงการ ทำให้กสท.มีลูกค้าเพียง 5 พันรายเท่านั้น
ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.ไอซีที ต้องมีส่วนรับผิดชอบตนทราบมาว่าการประมูลโครงการนี้มีเงื่อนงำ โดยเฉพาะการอนุญาตให้เอกชนไม่ต้องทดสอบประสิทธิภาพทางเทคนิค ทั้งที่มีส่วนสำคัญ แต่รัฐบาลกลับเร่งรัด และไม่ตรวจสอบความสามารถทางเทคนิค
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไปนั่งหัวโต๊ะดูแลการประมูลด้วยตัวเอง ซึ่งน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นเพราะบริษัท หัวเหว่ย เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือชินวัตรของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ จึงอยากให้ตรวจสอบ เพราะไม่อยากเห็นกรณีค่าโง่ 7 พันล้านบาทจากโครงการซีดีเอ็มเอ
ยังทราบมาว่าโครงการเฟสที่ 2 ก็มีแนวโน้มจะไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จึงอยากฝากให้นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.ไอซีที เร่งเข้าตรวจสอบโครงการนี้ เพราะถ้าความเสียหายเกิดขึ้นอีก จะส่งผลกระทบกลับแผนแม่บทและการพัฒนาบริษัท กสท. อย่างแน่นอน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยยืนยันต้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกลับเข้าประเทศเพื่อเป็นพยานปากแรกในคดียุบพรรคว่า เรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และถือว่าเป็นสิทธิของพรรคไทยรักไทยที่จะเสนอชื่อพันตำรวจโททักษิณเป็นพยายาน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่นิ่ง จึงขอเสนอทางออกแก่ตุลาการรัฐธรรมนูญให้พันตำรวจโททักษิณเบิกความผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ควรใส่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการพิจารณาข้อกล่าวหากับพันตำรวจโททักษิณใน 4 ประเด็นได้แก่ เรื่องการทุจริต แทรกแซงองค์กรอิสระ หมิ่นเบื้องสูงและสร้างความแตกแยกให้สังคม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ธ.ค. 2549--จบ--
ดังนั้นในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ตนจะยื่นหนังสือให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) พิจารณาโครงการดังกล่าวใน 3 ประเด็นคือ 1.ทำไมบริษัท กสท.อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) จึงไม่พิจารณาปรับบริษัทคู่สัญญาที่เป็นกิจกรรมร่วมค้าได้แก่ บริษัท หัวเหว่ย (เทคโนโลยี) จำกัด จากกรณีส่งงานล่าช้าไม่ทันกำหนดตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยบริษัทนี้ต้องเสียค่าปรับวันละ 90 ล้านบาท จำนวน 42 วัน รวมมูลค่ากว่า 3,700 ล้านบาท
2.ขอให้ สตง.พิจารณาว่ามีการแก้ไขสัญญาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหรือไม่ และ3.ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกสท.มีมากน้อยเพียงไร เนื่องจากตามเป้าหมาย หากโครงการนี้สำเร็จในปี 2549 กสท.จะมีลูกค้า 6 หมื่นราย แต่ปัจจุบัน ผลจากความล่าช้าของโครงการ ทำให้กสท.มีลูกค้าเพียง 5 พันรายเท่านั้น
ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.ไอซีที ต้องมีส่วนรับผิดชอบตนทราบมาว่าการประมูลโครงการนี้มีเงื่อนงำ โดยเฉพาะการอนุญาตให้เอกชนไม่ต้องทดสอบประสิทธิภาพทางเทคนิค ทั้งที่มีส่วนสำคัญ แต่รัฐบาลกลับเร่งรัด และไม่ตรวจสอบความสามารถทางเทคนิค
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไปนั่งหัวโต๊ะดูแลการประมูลด้วยตัวเอง ซึ่งน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นเพราะบริษัท หัวเหว่ย เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือชินวัตรของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ จึงอยากให้ตรวจสอบ เพราะไม่อยากเห็นกรณีค่าโง่ 7 พันล้านบาทจากโครงการซีดีเอ็มเอ
ยังทราบมาว่าโครงการเฟสที่ 2 ก็มีแนวโน้มจะไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จึงอยากฝากให้นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.ไอซีที เร่งเข้าตรวจสอบโครงการนี้ เพราะถ้าความเสียหายเกิดขึ้นอีก จะส่งผลกระทบกลับแผนแม่บทและการพัฒนาบริษัท กสท. อย่างแน่นอน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยยืนยันต้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกลับเข้าประเทศเพื่อเป็นพยานปากแรกในคดียุบพรรคว่า เรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และถือว่าเป็นสิทธิของพรรคไทยรักไทยที่จะเสนอชื่อพันตำรวจโททักษิณเป็นพยายาน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่นิ่ง จึงขอเสนอทางออกแก่ตุลาการรัฐธรรมนูญให้พันตำรวจโททักษิณเบิกความผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ควรใส่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการพิจารณาข้อกล่าวหากับพันตำรวจโททักษิณใน 4 ประเด็นได้แก่ เรื่องการทุจริต แทรกแซงองค์กรอิสระ หมิ่นเบื้องสูงและสร้างความแตกแยกให้สังคม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ธ.ค. 2549--จบ--