รัฐประกาศขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศอีกกิโลกรัมละ 3 บาท โรงงานยิ้มมีหวังปีหน้าผลผลิตอ้อยไม่ตกต่ำ ชาวไร่คาดราคาขั้นสุดท้ายสูงกว่าตันละ 800 บาทแน่นอน
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 เห็นชอบให้กำหนดราคาน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 14 และ 15 บาทตามลำดับ เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 3 บาทส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้ายของอ้อยโรงงานปีเพาะปลูก 2548/49 และผลตอบแทนที่โรงงานน้ำตาลจะได้รับ นั่นคือ ปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปีเพาะปลูก 2548/49 ซึ่งเป็นราคาอ้อยที่เข้าหีบระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ตันละ 800 บาท ณ ระดับความหวาน 10 ccs. สูงขึ้นจากราคาขั้นสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรได้รับเพียงตันละ 575-673 บาท กอรปกับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกสูงขึ้นจาก 15-16 เซนต์ต่อปอนด์ ปัจจุบันอยู่ที่ 17-18 เซนต์ต่อปอนด์ จะส่งผลให้ราคาขั้นสุดท้ายในปีนี้สูงขึ้นกว่าตันละ 800 บาท อย่างแน่นอน
จากปัจจัยราคาดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตอ้อยโรงงาน ปีเพาะปลูก 2549/50 จะได้ 50.7 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปี 2548/49 ร้อยละ 12.85 มีเนื้อที่เพาะปลูก 6.172 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากราคาจะเป็นแรงกระตุ้นโรงงานน้ำตาลส่งเสริมให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก โดยการสนับสนุนเงินลงทุนและการจัดหาพันธุ์อ้อย เช่น เขตภาคเหนือเกษตรกรส่วนใหญ่ขยายเนื้อที่เพาะปลูกอ้อยแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวนาดอน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เป็นต้น ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ เกษตรกรที่เคยปลูกอ้อยยังคงปลูกเช่นเดิม แม้ว่าพืชแข่งขันอื่นเช่น มันสำปะหลังจะมีราคา และบางส่วนจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูปลูกอ้อยต้นฝนคือในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2549
อีกปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิต ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ สำหรับปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งประสบภาวะแห้งแล้งติดต่อกันตั้งแต่ฤดูเพาะปลูก 2547/48 ได้ผลผลิตน้อย ทำให้ปี 2548 ขาดแคลนพันธุ์อ้อย จนถึงปีเพาะปลูก 2548/49 เกิดภาวะแห้งแล้งอีกตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ซึ่งเป็นช่วงปลูกอ้อยข้ามแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเดือนมิถุนายน 2548 ผลผลิตต่อไร่ปี 2548/49 จึงลดลงจากปี 2547/48 อีกประมาณไร่ละ 100 กิโลกรัม แต่ปีเพาะปลูก 2549/50 คาดว่าสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นคือ 8,216 กิโลกรัมต่อไร่หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12
ผลของการขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ จึงน่าจะส่งผลดีต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงาน ที่ผลผลิตตกต่ำติดต่อกันมาแล้ว 2 ปี ในขณะที่ความต้องการยังมีมากทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร น้ำอัดลมและเอทานอล เลขาธิการ สศก. กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 เห็นชอบให้กำหนดราคาน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 14 และ 15 บาทตามลำดับ เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 3 บาทส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้ายของอ้อยโรงงานปีเพาะปลูก 2548/49 และผลตอบแทนที่โรงงานน้ำตาลจะได้รับ นั่นคือ ปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปีเพาะปลูก 2548/49 ซึ่งเป็นราคาอ้อยที่เข้าหีบระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ตันละ 800 บาท ณ ระดับความหวาน 10 ccs. สูงขึ้นจากราคาขั้นสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรได้รับเพียงตันละ 575-673 บาท กอรปกับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกสูงขึ้นจาก 15-16 เซนต์ต่อปอนด์ ปัจจุบันอยู่ที่ 17-18 เซนต์ต่อปอนด์ จะส่งผลให้ราคาขั้นสุดท้ายในปีนี้สูงขึ้นกว่าตันละ 800 บาท อย่างแน่นอน
จากปัจจัยราคาดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการผลผลิตอ้อยโรงงาน ปีเพาะปลูก 2549/50 จะได้ 50.7 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปี 2548/49 ร้อยละ 12.85 มีเนื้อที่เพาะปลูก 6.172 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากราคาจะเป็นแรงกระตุ้นโรงงานน้ำตาลส่งเสริมให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก โดยการสนับสนุนเงินลงทุนและการจัดหาพันธุ์อ้อย เช่น เขตภาคเหนือเกษตรกรส่วนใหญ่ขยายเนื้อที่เพาะปลูกอ้อยแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวนาดอน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เป็นต้น ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ เกษตรกรที่เคยปลูกอ้อยยังคงปลูกเช่นเดิม แม้ว่าพืชแข่งขันอื่นเช่น มันสำปะหลังจะมีราคา และบางส่วนจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูปลูกอ้อยต้นฝนคือในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2549
อีกปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิต ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ สำหรับปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งประสบภาวะแห้งแล้งติดต่อกันตั้งแต่ฤดูเพาะปลูก 2547/48 ได้ผลผลิตน้อย ทำให้ปี 2548 ขาดแคลนพันธุ์อ้อย จนถึงปีเพาะปลูก 2548/49 เกิดภาวะแห้งแล้งอีกตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ซึ่งเป็นช่วงปลูกอ้อยข้ามแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเดือนมิถุนายน 2548 ผลผลิตต่อไร่ปี 2548/49 จึงลดลงจากปี 2547/48 อีกประมาณไร่ละ 100 กิโลกรัม แต่ปีเพาะปลูก 2549/50 คาดว่าสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นคือ 8,216 กิโลกรัมต่อไร่หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12
ผลของการขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ จึงน่าจะส่งผลดีต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงาน ที่ผลผลิตตกต่ำติดต่อกันมาแล้ว 2 ปี ในขณะที่ความต้องการยังมีมากทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร น้ำอัดลมและเอทานอล เลขาธิการ สศก. กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-