นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - กุมภาพันธ์ 2549) ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 ดังนี้
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 93,716 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,694 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.4) สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้มีการขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากกรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 12.3 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 34,001 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,547 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7) สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่
2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ 14,640 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,901 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.9) เนื่องจากเดือนนี้ผู้ประกอบการมีการจ่ายโบนัสและเงินปันผลตามผลประกอบการของธุรกิจที่ยังเติบโตดี จึงทำให้มีรายได้ประเภทภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 464,383 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,891 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่า ประมาณการดังกล่าว นอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการแล้ว ยังมีผลมาจากการที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายที่ประมาณการไว้ด้วย
ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 334,702 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 29,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,940 และ 9,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6 และ 13.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.9 และ 15.0 ตามลำดับ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 108,013 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,111 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.0 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5) เนื่องจากภาษีที่สำคัญเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันและภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 6,333 และ 3,984 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.5 และ 23.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 6,333 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลโดยในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2548 ลดลง 1 บาทต่อลิตร และในช่วงเดือนธันวาคม 2548-กุมภาพันธ์ 2549 ลดลง 0.50 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ การที่ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเนื่องจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 79 ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง รวมทั้งผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคบุหรี่ราคาถูกในสัดส่วนที่สูงขึ้นด้วย
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 41,891 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,309 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.6) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 8,069 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.4 ทั้งนี้ เนื่องจากจะมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้มีการชะลอตัวของการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าว
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 46,109 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 3,624 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 เนื่องจากรายได้นำส่งคลังจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 2,581 ล้านบาท และธนาคารออมสินนำส่งรายได้บางส่วนจากกำไรสุทธิ 1,500 ล้านบาท
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่ารัฐบาลจะยังคงสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ได้ตามประมาณการที่ตั้งไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 18/2549 8 มีนาคม 49--
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 93,716 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,694 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.4) สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้มีการขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากกรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 12.3 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 34,001 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,547 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7) สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่
2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ 14,640 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,901 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.9) เนื่องจากเดือนนี้ผู้ประกอบการมีการจ่ายโบนัสและเงินปันผลตามผลประกอบการของธุรกิจที่ยังเติบโตดี จึงทำให้มีรายได้ประเภทภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 464,383 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,891 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่า ประมาณการดังกล่าว นอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการแล้ว ยังมีผลมาจากการที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายที่ประมาณการไว้ด้วย
ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 334,702 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 29,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,940 และ 9,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6 และ 13.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.9 และ 15.0 ตามลำดับ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 108,013 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,111 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.0 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5) เนื่องจากภาษีที่สำคัญเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันและภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 6,333 และ 3,984 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.5 และ 23.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 6,333 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลโดยในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2548 ลดลง 1 บาทต่อลิตร และในช่วงเดือนธันวาคม 2548-กุมภาพันธ์ 2549 ลดลง 0.50 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ การที่ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเนื่องจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 79 ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง รวมทั้งผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคบุหรี่ราคาถูกในสัดส่วนที่สูงขึ้นด้วย
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 41,891 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,309 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.6) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 8,069 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.4 ทั้งนี้ เนื่องจากจะมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้มีการชะลอตัวของการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าว
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 46,109 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 3,624 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 เนื่องจากรายได้นำส่งคลังจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 2,581 ล้านบาท และธนาคารออมสินนำส่งรายได้บางส่วนจากกำไรสุทธิ 1,500 ล้านบาท
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่ารัฐบาลจะยังคงสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ได้ตามประมาณการที่ตั้งไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 18/2549 8 มีนาคม 49--